สัญญาณเตือน! อาการขาดแมกนีเซียม มีอะไรบ้าง? ส่งผลเสียต่อร่างกายมากแค่ไหน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

แมกนีเซียมถือเป็นแร่ธาตุที่จำเป็นสำหรับร่างกายมาก ๆ ถ้าหากร่างกายได้รับปริมาณแมกนีเซียมที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายในแต่ละวัน ก็จะช่วยให้ระบบประสาท และกล้ามเนื้อทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ช่วยรักษาสมดุลการเต้นของใจ ลดภาวะซึมเศร้า รวมถึงช่วยเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง เป็นต้น เรียกได้ว่ามีประโยชน์ต่อร่างกายหลากหลายมาก ๆ เลยนะคะ แต่ถ้าหากร่างกายคนเรานั้นเกิดการขาดแมกนีเซียมขึ้น จะส่งผลกระทบต่อร่างกายอย่างไรบ้าง จะมีสัญญาณอะไรที่บ่งบอกถึง อาการขาดแมกนีเซียม บ้าง บทความวันนี้เรามีคำตอบมาฝากค่ะ ไปดูพร้อมกันเลย

 

แมกนีเซียม (Magnesium)  คืออะไร?

 

 

แมกนีเซียม คือแร่ธาตุที่มีความสำคัญต่อร่างกายมนุษย์ สามารถพบได้ในเซลล์ของร่างกาย บริเวณที่พบมาก ก็คือบริเวณกระดูก กล้ามเนื้อ และเนื้อเยื่อ ดังนั้น แมกนีเซียมจึงมีความสำคัญและจำเป็นต่อระบบการทำงานภายในร่างกายมาก ๆ เช่น มีส่วนช่วยให้การทำงานระบบประสาท และกล้ามเนื้อ ให้ทำงานปกติ ช่วยลดความเครียด ลดอาการปวดหัวไมเกรน ลดการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ ลดความเสี่ยงในการเกิดตะคริว ซึ่งแหล่งอาหารที่สามารถพบแมกนีเซียมได้ก็จะมี อาหารจำพวกปลา เมล็ดธัญพืช ธัญพืชไม่ผ่านการขัดสี ผักสีเขียว กล้วย เป็นต้น

 

สาเหตุของการขาดแมกนีเซียม

  • การรับประทานอาหารที่มีแมกนีเซียมน้อยเกินไป ทำให้ร่างกายไม่ได้รับปริมาณแมกนีเซียมที่เพียงพอต่อร่างกาย
  • การใช้ยาบางชนิดก็อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ร่างกายนั้นขาดแมกนีเซียมได้เช่นกัน อย่าง การใช้ยารักษาโรคกรดไหลย้อนบางชนิด, ยาปฏิชีวนะบางชนิด, ยาขับปัสสาวะ, อินซูลิน เป็นต้น
  • ปัญหาของโรคบางอย่างก็อาจส่งผลทำให้ขาดแมกนีเซียมได้ เช่น โรคเบาหวาน, โรคไตบางชนิด, โรคเกี่ยวกับลำไส้, โรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน เป็นต้น

บทความที่เกี่ยวข้อง : แมกนีเซียม กินแล้วดียังไง? สารอาหารสำคัญที่แม่อย่างเราควรต้องรู้!

อาการขาดแมกนีเซียม เป็นอย่างไร?

เนื่องจากร่างกายไม่สามารถผลิตแมกนีเซียมขึ้นมาได้เอง ถ้าหากร่างกายเกิดนั้นเกิดขาดแมกนีเซียมขึ้นมา หรือมีระดับที่ต่ำกว่าปกติ ก็อาจจะทำให้เกิดอาการข้างเคียงอื่น ๆ ตามมา ดังนี้

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

คลื่นไส้อาเจียน

การขาดแมกนีเซียม ก็อาจจะทำให้มีอาการคลื่นไส้ อาเจียนออกมาได้ เนื่องจากแมกนีเซียมมีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำงานของระบบประสาท ดังนั้น เมื่อเส้นประสาทในทางเดินอาหารนั้นทำงานผิดปกติ ก็อาจจะทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ได้

 

 

กล้ามเนื้อเป็นตะคริวบ่อย

การที่ร่างกายนั้นขาดแมกนีเซียมก็อาจจะทำให้มีอาการตะคริวเกิดขึ้นบ่อย ๆ ได้ เพราะถ้าหากร่างกายมีระดับแมกนีเซียมในร่างกายต่ำ ก็จะส่งผลกระทบต่อระบบประสาท และกล้ามเนื้อ ทำงานผิดปกติ ซึ่งอาจจะทำให้กล้ามเนื้อเกิดการหดเกร็งบ่อย ทำให้เพิ่มโอกาสการเกิดตะคริวมากขึ้น ดังนั้น ถ้าหากรับประทานแมกนีเซียมให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย จึงมีส่วนช่วยลดการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ และหลอดเลือดได้ และลดความเสี่ยงโอกาสการเกิดตะคริวค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

จังหวะการเต้นของหัวใจผิดปกติ

การที่ร่างกายนั้นขาดแมกนีเซียมนั้นอาจจะมีส่วนในการส่งผลต่อของระบบประสาท ทำให้เส้นประสาทของกล้ามเนื้อหัวใจทำงานผิดปกติ และอาจไปกระตุ้นให้เกิดการเต้นผิดจังหวะได้

 

กล้ามเนื้อชา

เมื่อร่างกายขาดแมกนีเซียมก็จะเริ่มมีการเกิดอาการกล้ามเนื้อชา หรือเกิดกล้ามเนื้อกระตุก ซึ่งอาการเหล่านี้ล้วนมาจากสาเหตุของการหดเกร็งของกล้ามเนื้อทำงานผิดปกติ ยิ่งถ้าหากมีอาการรุนแรงขึ้น ก็อาจจะลุกลามไปจนทำให้เกิดอาการชักขึ้นได้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

เกิดความวิตกกังวล

การที่ร่างกายนั้นมีระดับแมกนีเซียมที่ต่ำ หรือไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ก็อาจจะทำให้เกิดโรควิตกกังวล ความเครียด หรือภาวะซึมเศร้าได้ ดังนั้น ถ้าหากร่างกายของคุณได้รับปริมาณแมกนีเซียมที่เพียงพอ ก็จะช่วยทำให้ผ่อนคลายจากความเครียด และลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะซึมเศร้าได้ค่ะ

 

โรคกระดูกพรุน

แมกนีเซียม ถือเป็นแร่ธาตุที่มีความสำคัญที่จะช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูกได้อย่างมีประสิทธิภาพ ถ้าหากร่างกายขาดแมกนีเซียมก็อาจจะทำให้เกิดความเสี่ยงในการเกิดโรคกระดูกพรุนได้ แต่ถ้าหากร่างกายได้รับปริมาณแมกนีเซียมที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ก็จะช่วยเพิ่มความหนาแน่นของกระดูก ลดความเสี่ยงของการเกิดกระดูกเปราะหักง่าย และโรคกระดูกพรุน

 

วิธีป้องกันอาการขาดแมกนีเซียม

  • สำหรับวิธีรักษาคนป่วยที่ขาดแมกนีเซียม ที่ไม่มีอาการรุนแรง ควรเริ่มจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทาน ควรหันมารับประทานอาหารที่มีแมกนีเซียมเพิ่มมากยิ่งขึ้นให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย เช่น ผักสีเขียว, ดาร์กช็อกโกแลต, เมล็ดฟักทอง เม็ดมะม่วงหิมพานต์ กล้วย เป็นต้น
    หรือถ้าหากใครไม่สะดวกรับประทานอาหารที่มีแมกนีเซียม สามารถเลือกซื้ออาหารเสริมแมกนีเซียมที่มีคุณภาพมาไว้รับประทานแทนก็ได้นะคะเพื่อทดแทนสารอาหารที่ขาดไป แต่เพื่อความปลอดภัยของสุขภาพ ควรรับประทานในปริมาณที่เหมาะสมต่อวัน และจะต้องอยู่ภายใต้คำแนะนำของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
  • ควรหลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ หรือจำกัดปริมาณของการดื่มแอลกอฮอล์ เพราะการดื่มแอลกอฮอล์อาจจะทำให้ร่างกายดูดซึมแมกนีเซียมได้น้อยลง และอาจทำให้ร่างกายขจัดแมกนีเซียมออกมาพร้อมกับปัสสาวะค่ะ
  • สำหรับคนที่มีโรคประจำตัว แพทย์ผู้เชี่ยวชาญก็อาจจะทำการรักษาโดยควบคุมอาการของโรคประจำตัวชนิดนั้น ๆ เพราะโรคบางอย่างก็อาจทำให้ระดับแมกนีเซียมในเลือดต่ำ เช่น อาการท้องเสียเรื้อรัง, โรคเบาหวาน และภาวะหัวใจวาย เป็นต้น

บทความที่เกี่ยวข้อง : ประโยชน์ของแมกนีเซียม ดีต่อคนท้องอย่างไร ? ส่งผลต่อทารกอย่างไรบ้าง

 

เป็นอย่างไรกันบ้างคะ สำหรับบทความในวันนี้ การที่ร่างกายนั้นมีระดับแมกนีเซียมต่ำกว่าปกติ อาจจะส่งผลกระทบต่อการทำงานภายในร่างกายหลาย ๆ อย่าง เช่น เกิดตะคริวบ่อยขึ้น ปวดหัวไมเกรน มีความวิตกกังวลเกิดขึ้น เป็นต้น แม้ว่า อาการขาดแมกนีเซียม แต่ก็อาจจะไม่เป็นอันตรายถึงชีวิต ก็อาจจะทำให้เกิดความรู้สึกเจ็บปวดขึ้นได้ แต่ถ้าหากร่างกายนั้นได้รับปริมาณแมกนีเซียมที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ก็จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดอาการเหล่านี้ขึ้น

ซึ่งวิธีที่ทุกคนสามารถทำได้ง่าย ๆ เพื่อเพิ่มแมกนีเซียมเข้าสู่ร่างกาย ก็คือการรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ และจะต้องรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยแมกนีเซียมเข้าไปด้วย  หรือเลือกรับประทานอาหารเสริมแมกนีเซียมเสริมเพื่อทดแทน แต่ถ้าหากใครที่มีอาการที่รุนแรง และส่งผลกระทบการใช้ชีวิตประจำวัน ควรรีบพบแพทย์เพื่อทำการรักษาทันที หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับทุกคนนะคะ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ระวัง! แม่ท้องขาดแคลเซียม อาจเป็นอันตรายต่อตัวเอง ส่งผลกระทบต่อทารกในครรภ์ธาตุ

โรคโลหิตจาง ในคนท้อง หากแม่ท้องขาดธาตุเหล็กเสี่ยงแท้งหรือเปล่า?

เจ็บหน้าอกขวา เสี่ยงโรคปอดและโรคหัวใจ บอกสัญญาณโรคร้ายอะไรได้อีกบ้าง

ที่มา : megawecare, pobpad, naturebiotec

บทความโดย

Suttida Butdeewong