เมื่อลูกน้อยเริ่มโตขึ้น คุณพ่อคุณแม่อาจสงสัยว่า เด็กเริ่มเรียน ได้ตอนไหน เพราะเด็กบางคนก็อาจยังไม่พร้อมที่จะไปโรงเรียน วันนี้ theAsianparent Thailand จะพาคุณพ่อคุณแม่ไปไขคำตอบว่า เด็กเริ่มเรียน ได้ตอนกี่ขวบ ให้ลูกเข้าเรียนเตรียมอนุบาลดีไหม และมีวิธีเตรียมตัวอย่างไรบ้าง ไปดูกันค่ะ
เด็กเริ่มเรียน ได้ตอนกี่ขวบ?
การให้ลูกน้อยเข้าเรียน อาจเป็นเรื่องที่ยากสำหรับคุณพ่อคุณแม่หลายคน เพราะเป็นการพาลูกน้อยออกจากบ้าน และตัวคุณพ่อคุณแม่ครั้งแรก ปัจจุบันมีการส่งลูกเข้าเรียนในระดับเตรียมอนุบาล คุณพ่อคุณแม่จึงอาจเกิดคำถามว่า แล้วให้ลูกเข้าเรียนกี่ขวบดี อย่างไรก็ตาม การให้ลูกเข้าเรียนนั้น ไม่สามารถบอกเป็นเวลาตายตัวได้ แต่จะต้องคำนึงถึงพัฒนาการทางร่างกาย และอารมณ์ของลูกน้อย รวมถึงสถานการณ์ของครอบครัวอีกด้วย หากเด็กตั้งแต่ 0-5 ปี มีพัฒนาทางร่างกาย และอารมณ์ที่ดี ก็จะส่งผลให้เด็กมีพัฒนาการสมวัย พร้อมแก่การเริ่มเรียน ซึ่งคุณพ่อคุณแม่สามารถพาลูกเข้าเตรียมอนุบาลได้ตั้งแต่ 3 ขวบ แต่ก็อาจต้องพิจารณาถึงความพร้อมของเด็ก และความเหมาะสมเพื่อตัดสินใจอีกด้วย
ให้ลูกเริ่มเรียนเตรียมอนุบาลดีไหม?
การให้เริ่มเรียนเตรียมอนุบาลตอน 3 ขวบ ลูกน้อยจะได้พบเจอกับบุคคลอื่น ๆ นอกจากคนในครอบครัว ไม่ว่าจะเป็นคุณครู ครูพี่เลี้ยง และเด็กคนอื่น ๆ ในชั้นเรียน ซึ่งการที่ได้พบเจอคนใหม่ ๆ จะช่วยพัฒนาทักษะการเข้าสังคมของลูกน้อยได้ อีกทั้งยังช่วยให้ลูกฝึกนิสัยการมีระเบียบ และการกล้าแสดงออก แต่หากลูกน้อยของคุณแม่อายุน้อยกว่า 3 ขวบ ก็จะเข้าไปเรียนในชั้นเรียนศูนย์เด็กเล็กแทน อย่างไรก็ตามการให้ลูกเริ่มเรียนเตรียมอนุบาล คุณพ่อคุณแม่ควรเลือกโรงเรียน หรือสถาบันให้แก่ลูกอย่างเหมาะสม โดยต้องคำนึงถึงคุณภาพของสถานที่เรียน บุคลากร และระบบการดูแลเด็ก เพื่อให้ลูกได้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม และได้รับการดูแลจากผู้เชี่ยวชาญโดยตรง
บทความที่เกี่ยวข้อง : ให้ลูกเข้าเตรียมอนุบาลดีไหม 6 ข้อดีของการให้ลูกเรียนเตรียมอนุบาล!
วิธีเตรียมความพร้อมให้ลูกก่อนเข้าเรียน
การเตรียมความพร้อมให้ลูกก่อนเข้าเรียน เป็นสิ่งสำคัญอีกอย่างนอกจากการหาโรงเรียนลูก คุณพ่อคุณแม่ควรเตรียมความพร้อมให้ลูกแต่เนิ่น ๆ เพื่อให้ลูกได้รู้สึกพร้อม และไม่ร้องไห้งอแงมากจนเกินไป โดยการเตรียมความให้ลูกเริ่มเรียน คุณพ่อคุณแม่ควรฝึกความพร้อมให้ลูกในช่วง 3 ขวบปีแรก โดยวิธีการเตรียมตัวลูกนั้น มีดังนี้
เมื่อลูกรู้ว่าตัวเองต้องไปโรงเรียน เขาอาจเกิดความกลัวในการต้องแยกจากคุณพ่อคุณแม่ ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่จึงควรให้ความมั่นใจให้แก่ลูกว่าจะไปรับลูกกลับบ้าน และอาจบอกให้ลูกฟังว่า จะมารับตอนไหน นอกจากนี้ เมื่อไปส่งลูกที่โรงเรียน คุณพ่อคุณแม่ควรหันหลังเดินกลับอย่างยิ้มแย้ม ไม่แสดงความวิตกกังวลเมื่อต้องแยกจากลูก เพราะการที่ลูกเห็นคุณน้ำตาซึมนั้น อาจทำให้เขาวิตกกังวลได้ค่ะ
คุณพ่อคุณแม่สามารถพาลูกไปดูโรงเรียน เพื่อช่วยให้ลูกได้ทำความรู้จัก และสร้างความคุ้นเคยกับสถานที่เรียนได้ รวมทั้งคุณพ่อคุณแม่อาจพาเขาไปนั่งในห้องเรียนจริง หรือพาไปพูดคุยกับคุณครู และเล่นภายในโรงเรียนก่อน ก็จะช่วยให้ลูกได้ทำความคุ้นเคยก่อนเปิดเทอมจริง
นอกจากการเตรียมความพร้อมในด้านของจิตใจแล้ว การเตรียมร่างกายให้ลูกถือเป็นอีกสิ่งสำคัญสำหรับเด็กเป็นอย่างมาก โดยคุณพ่อคุณแม่ควรให้ลูกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ให้ลูกได้ออกกำลังกาย และนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ เพื่อให้ลูกได้เตรียมร่างกายก่อนเข้าเรียน นอกจากนี้ ควรพาลูกไปฉีดวัคซีนให้ครบถ้วน เพราะโรงเรียนอนุบาล เป็นแหล่งเชื้อโรคระบาดที่อาจเป็นอันตรายแก่ลูก
เมื่อลูกต้องไปโรงเรียน เขาจะไม่มีคนมาคอยดูแลอย่างใกล้ชิด เหมือนกับอยู่กับคุณพ่อคุณแม่ คุณพ่อคุณแม่จึงควรให้ลูกรู้จักการช่วยเหลือตัวเอง หรือรู้จักขอความช่วยเหลือจากคุณครู เพราะเด็กที่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้นั้น จะสามารถปรับตัวได้เข้ากับโรงเรียนได้เร็วกว่าคนอื่น ๆ
บทความที่เกี่ยวข้อง : เตรียมลูกก่อนเข้าอนุบาล พ่อแม่ควรสอนลูกเรื่องอะไรบ้าง ทักษะอะไรที่ลูกควรมี!
การฝึกให้ลูกรู้จักการอดทน เป็นอีกสิ่งจำเป็นสำหรับเด็ก เพราะเด็กบางคนอาจเกิดอาการงอแงเมื่อต้องรอเป็นเวลานาน ๆ คุณพ่อคุณแม่อาจค่อย ๆ ฝึกลูกทีละน้อยเด็กให้ลูกรู้จักในสิ่งที่อยากได้ เช่น ลูกอยากได้โมเดล หรืออยากเล่นอะไรสักอย่าง คุณพ่อคุณแม่อาจให้ลูกรอสักครู่หนึ่ง แล้วชวนเขาพูดคุยแทน เพื่อเป็นการเบี่ยงเบนความสนใจของลูก และทำให้เขารู้จักการรอ
-
ส่งเสริมทักษะการเข้าสังคม
อีกหนึ่งวิธีในการเตรียมตัวลูกเข้าเรียน คือการฝึกลูกเข้าสังคม เพราะเด็กวัยนี้ต้องรู้จักแบ่งปัน และเล่นกับเด็กคนอื่นเป็น โดยคุณพ่อคุณแม่สามารถเล่นกับลูกก่อน เช่น ให้ลูกรู้จักแบ่งของเล่นให้พ่อแม่บ้าง ซึ่งเมื่อลูกได้เล่นกับเด็กคนอื่น เขาก็จะรู้การแบ่งปัน และแบ่งของเล่นให้ผู้อื่น อย่างไรก็ตาม คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรบังคับลูกจนเกินไป เพราะอาจจะทำให้ลูกหวงของเล่นมากขึ้น
-
สอนลูกให้รู้จักสื่อสารกับผู้อื่น
นอกจากการให้ลูกรู้จักการแบ่งปันแล้ว ควรฝึกลูกรู้จักสื่อสารกับผู้อื่น เพื่อบอกความต้องการของตัวเอง เพราะเวลาลูกอยู่ที่โรงเรียน ครูอาจไม่รู้ใจลูกเหมือนอยู่ที่บ้านได้ ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่จึงควรฝึกให้ลูกสามารถบอกคุณครูว่าต้องการอะไร ชอบอะไร ไม่ชอบอะไร หรือเมื่อเพื่อนมาเล่นของเล่น ลูกสามารถปฏิเสธไปว่าอย่าแย่งได้
-
สร้างทัศนคติที่ดีในการไปโรงเรียน
บางครั้งการพูดถึงโรงเรียนในแง่ดี ๆ ก็อาจช่วยให้ลูกอยากไปโรงเรียนมากขึ้นได้ คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรใช้คำที่ทำให้โรงเรียนดูน่ากลัว เช่น ถ้าดื้อมาก ๆ จะส่งไปอยู่กับคุณครูที่โรงเรียน เป็นต้น เพราะอาจทำให้ลูกวิตกกังวล และมองว่าโรงเรียนเป็นสิ่งที่ไม่ดี จนทำให้ลูกเกิดการต่อต้าน ไม่อยากไปโรงเรียน ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่จึงควรพูดถึงโรงเรียนในแง่ ๆ บวกเข้าไว้ ตามความเป็นจริงค่ะ
บทความที่เกี่ยวข้อง : ประเภทของโรงเรียน และความแตกต่างที่พ่อแม่ควรรู้ ก่อนส่งลูกเข้าเรียน
สังเกตอย่างไรว่าลูกยังไม่พร้อมเรียน?
เมื่อเวลาผ่านไป คุณพ่อคุณแม่ควรหมั่นสังเกตว่าลูกมีปฏิกิริยาอย่างไร สามารถปรับตัวเข้าโรงเรียนได้ไหม โดยคุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตพฤติกรรมของลูกได้ด้วยวิธีดังต่อไปนี้
- ลูกมีอารมณ์ซึมเศร้า ไม่มีความสุข เก็บตัว และร้องไห้บ่อย ๆ
- ลูกมีอาการต่อต้าน ไม่อยากไปโรงเรียนนานหลายเดือน และเริ่มรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ
- มีการต่อต้านอย่างรุนแรงจนเริ่มก้าวร้าว เช่น โยนข้าวของ หรือทำร้าย ทุบตีพ่อแม่ เป็นต้น
- ลูกมีอาการทางกายบ่อย ๆ เช่น ปวดท้อง ปวดหัว โดยมักจะเป็นเฉพาะตอนเช้า หรือตอนกลางคืนก่อนไปโรงเรียน แต่วันหยุดมักจะไม่เป็น
การให้ลูกเริ่มเรียน คุณพ่อคุณแม่ควรเช็กความพร้อมของร่างกาย และจิตใจของลูกก่อนว่าลูกมีความพร้อมในการเรียนแล้วหรือยัง หากลูกพร้อมเข้าเรียนแล้ว คุณพ่อคุณแม่สามารถเตรียมความพร้อมให้แก่ลูกได้ แต่หากลูกยังไม่มีพัฒนาการที่เหมาะสม คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรบังคับให้ลูกเขาเรียน เพราะอาจทำให้เขาเกิดอาการต่อต้าน ซึมเศร้า และไม่มีความสุขในการเรียนได้
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
ทำความเข้าใจเรื่อง “น้ำหนักส่วนสูงเด็ก” ก่อนลูกเข้าเรียนอนุบาล
กิจกรรมสำหรับเด็กก่อนวัยเรียน สิ่งที่ลูกควรทำก่อนเข้าเรียนอนุบาลมีอะไรบ้าง
เตรียมของให้ลูกไปโรงเรียนอนุบาล ลูกเข้าเรียนอนุบาลต้องใช้อะไรบ้าง เช็คเลย!
ที่มา : Babi Mild, mamaexpert, Facebook: สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ , rakluke
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!