แม่ให้นม คันนม คุณแม่ให้นมท่าไหนที่กำลังประสบกับปัญหามีอาการคันนมกันบ้างเอ่ย … ไม่ต้องกังวลใจไปแต่อย่างใดนะคะ เพราะอาการดังกล่าวเนี่ย เป็นเรื่องปกติมาก ๆ เลยละค่ะ และนี่คือสาเหตุอาการคันนมดังกล่าว ที่คุณแม่ให้นมทุกควรที่จะต้องรู้
1. โรคเชื้อราที่ปาก เป็นโรคเชื้อราที่อาจเกิดที่หัวนมหรือในเต้านม เนื่องจากเชื้อสามารถเจริญเติบโตได้ในน้ำนม ทำให้เกิดเชื้อ Candida ที่มีปริมาณมากเกินไป โดยปกติแล้วเชื้อที่ว่านี้สามารถพบได้ในร่างกายคนปกติโดยร่างกายจะควบคุมให้อยู่ในระดับที่ไม่เป็นอันตราย แต่เมื่อไรที่ความสมดุลเปลี่ยนไป เชื้อดังกล่าวก็เพิ่มปริมาณมากขึ้นจนทำให้เกิดการติดเชื้อได้ ซึ่งปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคเชื้อราในปากนั้น มีตั้งแต่ผิวหนังที่มีความชื้นมากไป หัวนมปวดหรือแตก เป็นต้น
จะรู้ได้อย่างไรว่าเราเป็น: ให้คุณแม่ลองสังเกตดูว่า หัวนมของคุณแม่เป็นสีชมพู ใสเป็นมันหรือมีสะเก็ดหรือไม่ ถ้ามีแล้วละก็อย่านิ่งนอนใจค่ะ เพราะนั่นอาจเป็นสัญญาณหนึ่งที่บ่งบอกให้ทราบว่า เราอาจจะติดเชื้อราก็เป็นได้
แล้วลูกละจะติดหรือไม่: ที่สำคัญโรคนี้สามารถติดต่อกับลูกได้เช่นกัน คุณแม่ก็ต้องคอยสังเกตกระพุ้งแก้ม เหงือก ลิ้น ริมฝีปากและคอของลูกให้ดีนะคะว่ามีลักษณะเหมือนผื่นผ้าอ้อมหรือไม่ ลูกยอมดูดนม หงุดหงิดหรือมีแก๊สในท้องหรือเปล่า ถ้ามีอาการตามที่กล่าวมา นั่นก็อาจหมายถึงลูกน้อยของคุณแม่ติดโรคที่ว่านี้ได้ค่ะ
วิธีรักษา ใช้ยาฆ่าเชื้อราได้แก่ Gentian violet ทาบริเวณหัวนม และอาจต้องใช้ทาในปากทารกด้วยเช่นกัน แต่ถ้าน้องหรือคุณแม่เป็นมาก ๆ ละก็ขอแนะนำให้ปรึกษาคุณหมอทันที
2. ท่อนมอุดตันหรือเต้านมอักเสบ เมื่อไหร่ก็ตามที่น้ำนมไม่ถูกระบายออก ก็ย่อมเป็นที่มาของการเกิดท่อนมอุดตันหรือเต้านมอักเสบ ซึ่งภาวะดังกล่าวนั้น มักทำให้มีอาการปวดหรือมีก้อนในเต้านม หรืออาจจะไข้ ปวดหรืออาเจียนร่วมด้วย ซึ่งท่อนมอุดตันนั้น มักจะเกิดขึ้นทีละเต้า และมักจะดีขึ้นภายใน 24-48 ชั่วโมง
วิธีแก้ไขมีดังนี้
- บรรเทาอาการปวดด้วยความร้อนเพื่อเพิ่มการไหลเวียนของโลหิตบริเวณที่ปวดด้วยการใช้แผ่นความร้อนหรือขวดน้ำร้อนขวดเล็ก ๆ
- ให้ลูกดูดนมข้างที่มีอาการดังกล่าวบ่อย ๆ ซึ่งจะช่วยให้หายอุดตันและน้ำนมไหลได้สะดวกขึ้นและช่วยระบายนมที่เต็มเต้า ให้ลูกดูดนมด้านที่เป็นทุก 2 ชั่วโมงทั้งกลางวันและกลางคืนจะช่วยให้หายเร็วขึ้น
- พักผ่อนให้เพียงพอและนอนยกเท้าให้สูงจะช่วยได้มาก อาการท่อน้ำนมอุดตันและเต้านมอักเสบเป็นสัญญาณแรกที่แสดงว่าแม่ทำงานมากเกินไปและเหนื่อยเกินไป
- สวมเสื้อชั้นในที่มีขนาดพอดีไม่รัดเกินไป
- หากคุณไม่ดีขึ้นภายใน 24 ชั่วโมงหลังทำตามขั้นตอนดังกล่าวและมีไข้หรือมีอาการแย่ลง ให้ปรึกษาแพทย์เพราะคุณอาจต้องรับประทานยาแก้อักเสบ หรือหากเต้านมอักเสบทั้งสองข้างหรือหากคุณมีหนองหรือเลือดในน้ำนม หรือมีริ้วๆบริเวณที่เป็น หรือมีอาการรุนแรงและเฉียบพลันให้รีบไปพบแพทย์ทันที
- ถึงแม้ว่าคุณต้องรับประทานยาแก้อักเสบ การยังคงให้ลูกดูดนมระหว่างการรักษาก็เป็นสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับคุณและลูก ยาแก้อักเสบส่วนใหญ่ไม่มีผลต่อลูกโดยผ่านทางทางน้ำนม
ที่มา: Momtricks และ Thaibreastfeeding
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ:
เจาะลึกทุกคำถามและคำตอบของการให้นมแม่
แม่ให้นมลูก ไม่ต้องซี๊ดซ๊าด หัวนมแตกป้องกันได้!
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!