X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

เงินอุดหนุนเด็กแรกเกิดกับเงินสงเคราะห์บุตรคือตัวเดียวกันหรือไม่

บทความ 5 นาที
เงินอุดหนุนเด็กแรกเกิดกับเงินสงเคราะห์บุตรคือตัวเดียวกันหรือไม่

แม่สงสัยเงินอุดหนุนเด็กแรกเกิดกับเงินสงเคราะห์บุตรคือตัวเดียวกันหรือไม่ แม่ต้องยื่นยังไง พ่อยื่นแทนได้ไหม มีเงื่อนไขอย่างไร แล้วจะได้เงินส่วนไหนบ้าง

เงินอุดหนุนเด็กแรกเกิดกับเงินสงเคราะห์บุตรคือตัวเดียวกันหรือไม่

คำถามที่แม่ ๆ ถามกันบ่อย คือ เงินอุดหนุนเด็กแรกเกิดกับเงินสงเคราะห์บุตรคือตัวเดียวกันหรือไม่ ขอตอบตรงนี้เลยว่า อยู่คนละส่วนกันค่ะ แล้วก็มีเงื่อนไขที่แตกต่างกันด้วย

โครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด

เงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด มีเงื่อนไขว่า เด็กที่มีสิทธิ์ได้รับเงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด ต้องเป็นเด็กสัญชาติไทย บิดาและ/หรือมารดามีสัญชาติไทย อยู่ในครัวเรือนยากจนและครัวเรือนที่เสี่ยงต่อความยากจน และไม่ได้รับสวัสดิการหรือสิทธิประโยชน์อื่นใด จากหน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ

นั่นหมายความว่า ต้องไม่ได้รับเงินสงเคราะห์บุตรจากกองทุนประกันสังคม

ครัวเรือนยากจนและครัวเรือนที่เสี่ยงต่อความยากจน

หมายถึง ครัวเรือนที่สมาชิกในครัวเรือนมีรายได้เฉลี่ยต่ำกว่า 3,000 บาท ต่อคน ต่อเดือน หรือต่ำกว่า 36,000 บาท ต่อคน ต่อปีโดยนํารายได้ของสมาชิก ทั้งหมดในครอบครัว หารด้วยจํานวนสมาชิกทั้งหมดในครอบครัว ซึ่งรวมเด็กแรกเกิดด้วย

สำหรับคุณสมบัติผู้มีสิทธิ์รับเงินอุดหนุน ปีงบประมาณ 2560

หญิงตั้งครรภ์ต้องมีกําหนดคลอดระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2559 – 30 กันยายน 2560 สามารถยื่นลงทะเบียนไว้ก่อนได้ (หากการคลอดบุตรในภายหลัง ไม่ได้เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2559 – 30 กันยายน 2560 ให้ถือว่าสิทธิ์ที่ลงทะเบียนไว้ถูกระงับไปโดยปริยาย)

รับลงทะเบียนตั้งแต่ วันที่ 1 เมษายน 2559 เป็นต้นไป จะสิ้นสุดการลงทะเบียนวันที่ 30 กันยายน 2560 ไม่รับลงทะเบียนย้อนหลัง ให้ลงทะเบียนตามระยะเวลาที่กําหนดเท่านั้น

สถานที่รับลงทะเบียน

  • ส่วนภูมิภาค : ลงทะเบียนสำนักงานเทศบาลหรือที่ทําการองค์การบริหารส่วนตําบล
  • เมืองพัทยา : ลงทะเบียน ณ ศาลาว่าการเมืองพัทยา
  • กรุงเทพมหานคร : ลงทะเบียน ณ สำนักงานเขต

เอกสารหลักฐานประกอบการลงทะเบียน มีดังนี้

  1. แบบลงทะเบียนเพื่อขอรับสิทธิ์ฯ (แบบ ดร. 01)
  2. แบบรับรองสถานะของครัวเรือน (แบบ ดร. 02)ที่ได้รับการรับรองแล้ว
  3. สำเนาบัตรประจําตัวประชาชนของหญิงตั้งครรภ์หรือบัตรอื่นที่ออกโดยหน่วยงานของรัฐ
  4. สำเนาเอกสารแสดงการฝากครรภ์หรือ สําเนาสมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก หน้า 1
  5. สำเนาสูติบัตรเด็กแรกเกิด (ยื่นหลังคลอด)
  6. สำเนาสมุดบัญชีธนาคารกรุงไทย (กรณีประสงค์รับเงินผ่านบัญชีธนาคาร)

การจ่ายเงิน 600 บาท จะเริ่มจ่ายเมื่อใด

Advertisement

เด็กที่เกิดปีงบประมาณ 2560 จะได้รับเงิน 600 บาท ตั้งแต่เดือนที่เกิดเป็นต้นไป

* เด็กที่ได้รับสทธิ์เงินอุดหนุนจะได้รับเงินอุดหนุน ตั้งแต่แรกเกิดถึง 3 ปี (36 เดือน)

ข้อมูลเพิ่มเติม : หากหญิงตั้งครรภ์คลอดบุตรแล้ว ปรากฏว่าเป็นลูกแฝด จะได้รับสิทธิ์เท่าจานวนของเด็กที่เกิดมา

 

อ่านเงื่อนไข เงินสงเคราะห์บุตร ประกันสังคม หน้าถัดไป

สิทธิประกันสังคม

แม่ท้องหรือคุณแม่ตั้งครรภ์ จะได้รับสิทธิประกันสังคม กรณีคลอดบุตร โดยมีหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการเกิดสิทธิ ด้วยการจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 เดือน ภายใน 15 เดือนก่อนเดือนคลอดบุตร ในกรณีสามีและภรรยาเป็นผู้ประกันตนทั้งคู่ ให้ใช้สิทธิในการเบิกค่าคลอดบุตรฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ไม่จำกัดจำนวนบุตร/ครั้ง

ผู้ประกันตนหญิง หรือคุณแม่ตั้งครรภ์

เบิกกรณีคลอดบุตรจะได้รับค่าคลอดบุตรเหมาจ่าย 13,000 บาทต่อครั้ง เงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ย เป็นเวลา 90 วัน (คิดจากฐานค่าจ้างที่นำส่งประกันสังคม ฐานสูงสุดไม่เกินเดือนละ 15,000 บาท)

ทั้งนี้ การใช้สิทธิบุตรคนที่ 3 จะไม่ได้รับสิทธิเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรเหมาจ่ายในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ยเป็นระยะเวลา 90 วัน

แต่หากมีอายุครรภ์ 28 สัปดาห์ ต่อมาแท้งบุตร ผู้ประกันตนมีสิทธิเบิกค่าคลอดบุตรเหมาจ่ายและเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรได้ เนื่องจากการตั้งครรภ์ไม่น้อยกว่า 28 สัปดาห์ ไม่ว่าทารกจะมีชีวิตรอดหรือไม่ถือเป็นกรณีคลอดบุตร

ผู้ประกันตนชาย หรือสามี

สามารถเบิกค่าคลอดบุตรให้ภรรยาได้ แต่ต้องมีการนำส่งเงินสมทบมาแล้ว 5 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนคลอดบุตร โดยผู้ประกันตนชายจะได้รับเงินค่าคลอดบุตรเหมาจ่ายกรณีคลอดบุตรจำนวน 13,000 บาท และถ้าสามีภรรยาอยู่กินกันโดยเปิดเผย แต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน สามารถเบิกค่าคลอดบุตรได้ โดยในการยื่นคำขอให้ใช้หนังสือรับรองของผู้ประกันตนกรณีไม่มีทะเบียนสมรสแทนทะเบียนสมรส ในกรณีที่สามีเป็นผู้ประกันตนและมีภรรยาเพียงคนเดียว

อ่านเพิ่มเติม เช็คเลย! เรื่องที่แม่ท้องต้องรู้ เกี่ยวกับสิทธิประกันสังคม กรณีคลอดบุตร

สิทธิประกันสังคม กรณีสงเคราะห์บุตร

หลักเกณฑ์และสิทธิประโยชน์

  • หลักเกณฑ์ที่จะทำให้ท่านมีสิทธิ คือ จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน ภายในระยะเวลา 36 เดือน ก่อนเดือนที่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน สิทธิที่ท่านจะได้รับเงินสงเคราะห์บุตรเหมาจ่ายเดือนละ 400 บาทต่อบุตรหนึ่งคน
  • สำหรับบุตรชอบด้วยกฎหมาย ยกเว้น บุตรบุญธรรมหรือบุตรซึ่งยกให้เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่นและบุตรมีอายุตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 6 ปีบริบูรณ์ จำนวนคราวละไม่เกิน 3 คน

เงื่อนไขที่ได้รับกรณีสงเคราะห์บุตร

  • เงินสงเคราะห์บุตร สำหรับบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งมีอายุแรกเกิดจนถึง 6 ปีบริบูรณ์ จำนวนคราวละไม่เกิน 3 คน (บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายดังกล่าวไม่รวมถึงบุตรบุญธรรมหรือบุตรซึ่งได้ยกให้ เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่น)
  • ผู้ประกันตนมี สิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีสงเคราะห์บุตรสำหรับบุตรซึ่งมีอายุไม่เกิน 6 ปีบริบูรณ์ เว้นแต่ผู้ประกันตนเป็นผู้ทุพพลภาพหรือถึงแก่ความตาย ในขณะที่บุตรมีอายุแรกเกิดจนถึง 6 ปีบริบูรณ์ จะมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนต่อจนอายุ 6 ปีบริบูรณ์

การหมดสิทธิรับเงินกรณีสงเคราะห์บุตร

  • เมื่อบุตรมีอายุครบ 6 ปีบริบูรณ์
  • บุตรเสียชีวิต
  • ยกบุตรให้เป็นบุตรบุญธรรมของคนอื่น
  • ความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง

ไขข้อข้องใจกันไปแล้วว่า เงินอุดหนุนเด็กแรกเกิดกับเงินสงเคราะห์บุตรนั้นเป็นคนละส่วนกัน คุณพ่อคุณแม่สามารถเข้าไปดูเงื่อนไขและรายละเอียดเพิ่มเติมได้ด้านล่างค่ะ

โครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด

กองทุนประกันสังคม กรณีสงเคราะห์บุตร

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

พ่อกับแม่ใครมีสิทธิในตัวลูกมากกว่ากัน

เบิกค่าคลอดบุตรประกันสังคม ได้มั๊ยถ้าพ่อแม่ไม่ได้จดทะเบียน??!! ฟังชัดๆ จากประสบการณ์คุณแม่

บ้านไหนมีหนี้เตรียมเฮ! รัฐเปิด คลีนิกแก้หนี้ ช่วยปลดหนี้สูงสุด 2 ล้าน!

 

บทความจากพันธมิตร
ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์
ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

Tulya

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • เงินอุดหนุนเด็กแรกเกิดกับเงินสงเคราะห์บุตรคือตัวเดียวกันหรือไม่
แชร์ :
  • คนท้อง น้ำคร่ำน้อย ทำไงดี? 4 วิธีเพิ่มน้ำคร่ำ ที่คุณแม่ทำได้

    คนท้อง น้ำคร่ำน้อย ทำไงดี? 4 วิธีเพิ่มน้ำคร่ำ ที่คุณแม่ทำได้

  • 7 เคล็ดลับ ลดน้ำตาลในเลือด คนท้อง ให้คุณแม่ตรวจเบาหวานผ่านฉลุย!

    7 เคล็ดลับ ลดน้ำตาลในเลือด คนท้อง ให้คุณแม่ตรวจเบาหวานผ่านฉลุย!

  • กระตุ้นปากมดลูก กี่วันคลอด วิธีไหนทำให้ปากมดลูกเปิดไวๆ

    กระตุ้นปากมดลูก กี่วันคลอด วิธีไหนทำให้ปากมดลูกเปิดไวๆ

  • คนท้อง น้ำคร่ำน้อย ทำไงดี? 4 วิธีเพิ่มน้ำคร่ำ ที่คุณแม่ทำได้

    คนท้อง น้ำคร่ำน้อย ทำไงดี? 4 วิธีเพิ่มน้ำคร่ำ ที่คุณแม่ทำได้

  • 7 เคล็ดลับ ลดน้ำตาลในเลือด คนท้อง ให้คุณแม่ตรวจเบาหวานผ่านฉลุย!

    7 เคล็ดลับ ลดน้ำตาลในเลือด คนท้อง ให้คุณแม่ตรวจเบาหวานผ่านฉลุย!

  • กระตุ้นปากมดลูก กี่วันคลอด วิธีไหนทำให้ปากมดลูกเปิดไวๆ

    กระตุ้นปากมดลูก กี่วันคลอด วิธีไหนทำให้ปากมดลูกเปิดไวๆ

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว