ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A : ร้ายแรงกว่าที่คิด! ภัยร้ายใกล้ตัว รู้ไว้ ป้องกันได้!

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A หนึ่งในโรคติดต่อทางระบบทางเดินหายใจที่พบได้บ่อย สร้างความกังวลให้กับผู้ปกครองเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝน วันนี้ทาง theAsianparent จะพาคุณพ่อคุณแม่มาไขข้อสงสัย พร้อมทำความรู้จักกับไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A เรียนรู้วิธีป้องกัน และเตรียมพร้อมรับมือหากเผชิญกับโรคนี้กันค่ะ

 

ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A ร้ายแรง! เด็ก 7 ขวบ ป่วยหนัก นอนหมดสติ 11 วัน

รายงานจากเพจเฟซบุ๊ก Survive – สายไหมต้องรอด ได้มีการโพสต์ภาพเด็กหญิงนอนป่วยอยู่บนเตียงคนไข้ เต็มไปด้วยอุปกรณ์แพทย์ระโยงระยาง โดยระบุข้อความว่า

“เตือนภัยไข้หวัดสายพันธุ์ A แชร์ให้ถึงคุณหมอ แอดคะ ช่วยชีวิตลูกหนูด้วยค่ะ ลูกหนู อายุ 7 ขวบ เรียนอยู่ชั้น ป.2 ลูกหนูไปโรงเรียนเมื่อวันที่ 5 มิ.ย.67 ไปได้แค่ 2 วัน

พอวันที่ 7 มิ.ย.67 อยู่ๆก็ป่วยไข้ขึ้นสูงมากแล้วน้องก็หมดสติไปเลยค่ะ ไปถึง รพ.นครปฐม  คุณหมอบอกว่าเป็นไข้หวัดสายพันธุ์ A ชนิดขึ้นสมองเฉียบพลัน น้องนอนอยู่ในห้องไอซียู ตั้งแต่วันที่ 7 มิ.ย. จนถึงวันนี้ นอนหมดสติมา 11 วันแล้ว ยังไม่รู้สึกตัวเลยค่ะ คุณหมอบอกให้หนูทำใจ เพราะโรงพยาบาลรักษาเต็มความสามารถแล้ว

คุณหมอบอกว่าเด็กที่ป่วยเป็นไข้หวัดสายพันธุ์ A แบบนี้ที่มารักษาที่นี่ ยังไม่มีใครได้กลับออกไปเลย หนูฟังแล้วทำใจไม่ได้เลยค่ะ หนูไม่อยากเสียลูกไปค่ะ หนูขอให้เพจสายไหมต้องรอด ช่วยแชร์เรื่องของลูกหนูไปให้ถึงคุณหมอ หรือโรงพยาบาลที่พอจะช่วยชีวิตลูกหนู หนูขอร้องช่วยชีวิตลูกหนูด้วยนะคะ”

 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ซึ่งล่าสุด ทางโรงพยาบาลนครปฐมได้ออกหนังสือชี้แจงถึงรายละเอียดการรักษา ของเด็กหญิงอายุ 7 ปี โดยระบุว่า ผู้ป่วยมีอาการไข้ ไม่รู้สึกตัว ขาทั้งสองข้างเกร็ง ตรวจพบภาวะก้านสมองบวมจากผลเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ แพทย์วินิจฉัยว่า ติดเชื้อไข้สมองอักเสบรุนแรง

ทางแพทย์ได้ให้การรักษาและเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด ในห้องไอซียูกุมารเวชกรรม ซึ่งประกอบด้วย ยาต้านชัก ยาลดสมองบวม ยาต้านการอักเสบ (Anti Interleukin 6 และ Methylprednisolone) ยาต้านไวรัส ยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการติดเชื้อในปอด และใช้เครื่องช่วยหายใจเพื่อควบคุมการหายใจ รอการฟื้นตัวจากภาวะสมองอักเสบรุนแรง โดยแพทย์ได้เผยว่า สาเหตุของ ไข้สมองอักเสบรุนแรง มักเกิดจากเชื้อไวรัส เช่น ไวรัสไข้หวัดใหญ่ ไวรัสโควิด หรือไวรัสอื่น ๆ

ทั้งนี้ทางทีมงาน theAsianparent ขอส่งกำลังใจให้คุณแม่และลูกน้อย หวังเป็นอย่างยิ่งว่าลูกน้อยของคุณแม่จะอาการดีขึ้นและปลอดภัยในเร็ววันนี้ค่ะ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ที่มา: dailynews, Thairath

 

ไข้สมองอักเสบรุนแรง คืออะไร?

โรคไข้สมองอักเสบ คือ ภาวะที่สมองเกิดการอักเสบจากสาเหตุต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการติดเชื้อ การทำงานผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันที่ไปทำลายเซลล์สมอง หรือถูกแมลงบางชนิดกัดต่อย โรคนี้นับเป็นโรคร้ายแรงที่อาจส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการรุนแรง เสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนหากไม่ได้รับการรักษาที่ทันท่วงที ดังนั้นสิ่งที่สำคัญคือการสังเกตสัญญาณเตือนของโรคไข้สมองอักเสบ เช่น ไข้สูง ปวดศีรษะรุนแรง คอแข็ง อาเจียน ซึม อ่อนเพลีย ชัก ซึ่งหากพบอาการเหล่านี้ควรรีบไปพบแพทย์โดยทันที เพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาอย่างถูกต้อง

หากแม่ ๆ สนใจข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ไข้สมองอักเสบรุนแรง สามารถอ่านเพิ่มได้ ที่นี่ ค่ะ

 

ทำความรู้จักกับ โรคไข้หวัดใหญ่

ไข้หวัดใหญ่ (Influenza) คือ โรคติดต่อทางระบบทางเดินหายใจที่เกิดจากเชื้อไวรัส โดยเชื้อไวรัสสามารถแพร่กระจายจากคนสู่คนได้ง่ายผ่านละอองฝอยที่เกิดจากการไอหรือจาม รวมไปถึงการสัมผัสกับสิ่งของที่ปนเปื้อนเชื้อไวรัส

โดยปกติแล้ว ไข้หวัดใหญ่ สามารถแบ่งได้ออกเป็น 3 สายพันธุ์หลัก คือ A B และ C โดยไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A มักเป็นสาเหตุของการระบาดใหญ่ และทำให้เกิดการเจ็บป่วยและภาวะแทรกซ้อนรุนแรงกว่าสายพันธุ์อื่น ๆ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ช่วงที่โรคไข้หวัดใหญ่ มักพบได้บ่อยในช่วงที่มีสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะช่วงหน้าฝนและหน้าหนาว อากาศที่เย็นและชื้นเอื้ออำนวยต่อการเจริญเติบโตและแพร่กระจายของเชื้อไวรัสได้ง่าย

 

ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A คืออะไร?

ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A เป็นโรคติดต่อทางระบบทางเดินหายใจที่เกิดจากเชื้อไวรัส แบ่งย่อยออก 2 ตระกูล คือ H1N1 และ H3N2 โดยเชื้อไวรัสจะอยู่ในเสมหะ น้ำมูก และน้ำลายของผู้ป่วย หากมีการไอ จาม หรือสัมผัสกับสารคัดหลั่งเหล่านี้ มีโอกาสติดเชื้อได้ง่าย

ไข้หวัดใหญ่ ชนิด H1N1 หรือที่รู้จักกันในชื่อ “ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009” เป็นโรคติดต่อที่แพร่กระจายอย่างรวดเร็วจากประเทศเม็กซิโกไปยังทั่วโลก เกิดจากการผสมข้ามสายพันธุ์ของไวรัสจากทั้งคนและสัตว์ กลายพันธุ์จนสามารถแพร่กระจายจากคนสู่คนได้

ในทางกลับกันไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A ชนิด H3N2 จะเป็นเชื้อไวรัสร้ายแรงที่แพร่กระจายจากสัตว์สู่คน และจากคนสู่คนได้ง่าย โดยมีต้นกำเนิดมาจากหมู

การติดเชื้อสามารถเกิดขึ้นได้ผ่าน 2 ช่องทางหลัก

  • การสัมผัส สารคัดหลั่งจากสัตว์ป่วย เช่น น้ำลาย ละอองฝอยจากการไอจาม หรือการสัมผัสเนื้อสัตว์ที่ปนเปื้อนเชื้อ
  • การทานเนื้อหมู ที่ปนเปื้อนเชื้อไวรัสโดยไม่สุก

อาการของ ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A

 

 

โดยปกติแล้ว อาการของโรคไข้หวัดใหญ่มักปรากฏภายใน 1-3 วันหลังจากได้รับเชื้อ โดยทั่วไปจะมีอาการดังนี้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • ไข้สูง
  • ไอ
  • เจ็บคอ
  • น้ำมูกไหล
  • ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
  • อ่อนเพลีย
  • บางรายอาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย
  • ในผู้ป่วยบางราย อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนร้ายแรง เช่น ปอดอักเสบ หัวใจวาย สมองอักเสบ ซึ่งอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้

กลุ่มเสี่ยงที่ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ ได้แก่

  • เด็กเล็ก อายุต่ำกว่า 5 ขวบ
  • คนชรา อายุ 60 ปีขึ้นไป
  • หญิงตั้งครรภ์
  • ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง หอบหืด โรคหัวใจ โรคปอด โรคไต ภูมิคุ้มกันบกพร่อง เป็นต้น

 

ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A ต่างจากสายพันธุ์อื่นอย่างไร?

หัวข้อ ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ B
ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ C
เชื้อไวรัส Influenza A virus Influenza B virus
Influenza C virus
ความรุนแรง มักรุนแรงกว่าสายพันธุ์ B และ C มักไม่รุนแรงเท่าสายพันธุ์ A มักไม่รุนแรง
อาการ ไข้สูง ไอ เจ็บคอ น้ำมูกไหล ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย บางรายอาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ไข้สูง ไอ เจ็บคอ น้ำมูกไหล ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย
ไข้ ไอ เจ็บคอ น้ำมูกไหล
การแพร่กระจาย แพร่กระจายได้ง่ายผ่านละอองฝอยจากการไอ จาม พูดคุยใกล้ชิด แพร่กระจายได้ง่ายผ่านละอองฝอยจากการไอ จาม พูดคุยใกล้ชิด
แพร่กระจายได้ยากกว่าสายพันธุ์ A และ B
ระยะฟักตัว 1-3 วัน 1-3 วัน 1-4 วัน
ภาวะแทรกซ้อน ปอดอักเสบ หลอดลมอักเสบ หัวใจวาย สมองอักเสบ ปอดอักเสบ หลอดลมอักเสบ หายาก
กลุ่มเสี่ยง เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ หญิงตั้งครรภ์ ผู้ที่มีโรคประจำตัว เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ หญิงตั้งครรภ์ ผู้ที่มีโรคประจำตัว
ไม่พบกลุ่มเสี่ยงที่ชัดเจน
การรักษา พักผ่อนให้เพียงพอ ทานอาหารที่มีประโยชน์ ดื่มน้ำสะอาดมากๆ ทานยาตามแพทย์สั่ง พักผ่อนให้เพียงพอ ทานอาหารที่มีประโยชน์ ดื่มน้ำสะอาดมากๆ ทานยาตามแพทย์สั่ง
พักผ่อนให้เพียงพอ ทานอาหารที่มีประโยชน์ ดื่มน้ำสะอาดมากๆ
การป้องกัน ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ล้างมือบ่อยๆ สวมหน้ากากอนามัย หลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วย ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ล้างมือบ่อยๆ สวมหน้ากากอนามัย หลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วย
ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ล้างมือบ่อยๆ สวมหน้ากากอนามัย หลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วย

บทความที่น่าสนใจ: อะดีโนไวรัส (Adenovirus) ทำลูกไข้สูง เป็นหวัด ตาแดง พ่อแม่ต้องระวัง!

 

วิธีการป้องกัน ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A

วัคซีนไข้หวัดใหญ่ เป็นวัคซีนชนิดเชื้อตาย ผลิตจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ที่ถูกทำให้ตายแล้ว ไม่สามารถก่อให้เกิดโรคได้ ผ่านกระบวนการผลิตที่ปลอดภัย มีประสิทธิภาพในการกระตุ้นภูมิคุ้มกัน ช่วยป้องกันการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ และลดความรุนแรงของโรค โดยการฉีดวัคซีนนั้นสามารถฉีดได้ตลอดทั้งปี แต่แนะนำให้ฉีดซ้ำทุกปีค่ะ ผู้ที่ควรฉีดวัคซีน ได้แก่ เด็กอายุ 6 เดือนขึ้นไป ผู้ใหญ่ทุกวัย หญิงตั้งครรภ์ ผู้มีโรคประจำตัว และผู้ที่ทำงานใกล้ชิดกับผู้ป่วย

 

ชนิดของวัคซีน

 

 

ปัจจุบันมีวัคซีนไข้หวัดใหญ่ 2 ชนิด คือ

1) วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ 3 สายพันธุ์ 

สามารถป้องกันเชื้อไวรัสสายพันธุ์ A H1N1 และ H3N2 และสายพันธุ์ B ตระกูล Yamagata หรือ Victoria

2) วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ 4 สายพันธุ์ 

สามารถป้องกันเชื้อไวรัสสายพันธุ์ A H1N1 และ H3N2 และสายพันธุ์ B ตระกูล Yamagata และ Victoria ได้

 

การฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่สามารถเริ่มฉีดได้ตั้งแต่เด็ก อายุ 6 เดือนขึ้นไป และจำเป็นต้องได้รับวัคซีนทุกปี ปีละ 1 ครั้ง อย่างไรก็ตามสายพันธุ์ของไวรัสไข้หวัดใหญ่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ องค์การอนามัยโลก (WHO) จึงแนะนำให้ปรับส่วนประกอบของเชื้อไวรัสในวัคซีนให้ตรงกับสายพันธุ์ที่มีแนวโน้มระบาดในแต่ละปี

นอกจากการฉีดวัคซีนแล้ว ยังมีวิธีป้องกันไข้หวัดใหญ่เพิ่มเติม ดังนี้

 

 

  • ล้างมือบ่อย ๆ ด้วยน้ำสบู่หรือเจลล้างมือ
  • สวมหน้ากากอนามัยเมื่อไอหรือจาม หรืออยู่ในสถานที่ที่แออัด
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วย
  • พักผ่อนให้เพียงพอ ทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ

 

ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A แม้จะพบได้บ่อยและมักไม่รุนแรงในบางราย แต่ก็อาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรง โดยเฉพาะในกลุ่มเสี่ยง เช่น ผู้สูงอายุ เด็กเล็ก ผู้มีโรคประจำตัว หญิงตั้งครรภ์ หรือผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง การป้องกันที่ดีที่สุดคือการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ทุกปี ควบคู่ไปกับการดูแลสุขภาพให้แข็งแรง ล้างมือบ่อยๆ สวมหน้ากากอนามัยเมื่อไอหรือจาม หลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วย พักผ่อนให้เพียงพอ ทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เท่านี้คุณพ่อคุณแม่และลูกน้อยก็จะสามารถห่างไกลจากโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A และโรคร้ายอื่น ๆ ได้อย่างแน่นอนค่ะ

ที่มา: paolohospital, ch9airport, pobpad

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

ไข้หวัดใหญ่ในเด็ก พ่อแม่ควรระวัง! โรคติดเชื้อทางเดินหายใจที่พบบ่อย

 ปอดอักเสบในเด็ก อาการป่วยอันตราย สังเกตอย่างไรได้บ้าง?

โควิดสายพันธุ์ JN.1 จ่อระบาดในไทย สายพันธุ์ใหม่ ติดง่าย อาการคล้ายหวัด

บทความโดย

samita