X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

วิธีสอนลูกอย่างไร ? ให้ลูกเชื่อฟัง เป็นเด็กดี และไม่ต่อต้านพ่อแม่

บทความ 5 นาที
วิธีสอนลูกอย่างไร ? ให้ลูกเชื่อฟัง เป็นเด็กดี และไม่ต่อต้านพ่อแม่

อะไรก็ตามที่พ่อแม่ต้องการให้ลูก ๆ ทำ อย่างแรกเลยคือพ่อแม่ต้องทำให้เป็นตัวอย่างให้ลูกก่อน เด็ก ๆ จะจำบทเรียนจากพวกคุณ ไม่ว่าพ่อแม่เริ่มต้นที่จะทำอะไรหรือไม่ทำอะไร ทุกการกระทำจะส่งผลกระทบต่อลูก ๆ ไม่ทางใดก็ทางหนึ่งแน่นอน และถ้าคุณต้องการให้ลูก ๆ เชื่อฟัง นี่คือเคล็ดลับง่าย ๆ ที่จะช่วยให้คุณพ่อคุณแม่รู้ว่าจะทำให้ลูกเชื่อฟังได้อย่างไร

วิธีสอนลูกอย่างไร ให้เชื่อฟังนั้น นอกจากการเริ่มเป็นตัวอย่างให้ทำให้ลูกเห็นก่อนแล้ว เราก็มี วิธีสอนลูกอย่างไร แบบง่าย ๆ ที่จะช่วยให้คุณพ่อคุณแม่รู้ว่าจะทำให้ลูกเชื่อฟังและไม่ต่อต้านพ่อแม่มาฝากกัน โดยเรารวบรวมมาให้แล้ว มาดูกัน

 

เริ่มต้นที่จะฟังลูกก่อน

การที่จะทำให้ลูกฟังสิ่งที่พ่อแม่พูดนั้นจัดเป็นงานที่ท้าทายอีกอย่างหนึ่ง ก่อนที่จะคุณจะทำให้ลูก ๆ หันมาฟังคุณพูดนั้น พ่อแม่ต้องทำเป็นตัวอย่างก่อน และใช้จุดนี้เป็นสอนให้ลูกรู้จักทักษะการเป็นผู้ฟังที่ดี ซึ่งพวกคุณต้องแน่ใจว่าเป็นผู้ฟังที่ดีของลูกอย่างเต็มที่ด้วยหรือยัง ดังนั้นหากลูกเดินเข้ามาหาเพื่อต้องการจะพูดคุยกับคุณ ก็ควรหยุดทุกอย่างที่ทำอยู่และหันมาสนใจฟังในสิ่งที่ลูกกำลังพูด คอยสบตาเพื่อให้ลูกรู้ว่าพ่อแม่กำลังฟัง และไม่ขัดจังหวะในขณะที่ลูกพูด อาจมีคำพูดง่าย ๆ ตอบรับในบางจังหวะ แต่ก็ควรระมัดระวังน้ำเสียงในขณะที่กำลังพูดคุยกับลูกด้วย การที่พ่อแม่ตั้งใจรับฟังลูกพูดทันทีที่ลูกต้องการ เขาจะเห็นได้ถึงความห่วงใยของพวกคุณ และกล้าที่จะพูดคุยกับพ่อแม่อย่างเปิดใจมากขึ้นด้วย เพราะฉะนั้นถ้าต้องการให้ลูก ๆ ฟังคุณ มันเป็นเรื่องสำคัญอันดับแรกที่ต้องเข้าใจว่าพ่อแม่จะสื่อสารกับลูกก่อนเช่นไร

บทความที่เกี่ยวข้อง : ลูกดื้อมาก ชอบปีนป่ายและไม่เชื่อฟัง ลูกเราผิดปกติไหม?

 

น้ำเสียงในการพูด เป็นส่วนสำคัญ

ในบางครั้งลูก ๆ อาจจะจงใจไม่ฟังที่พ่อแม่พูด เมื่อพ่อแม่เริ่มจู้จี้จุกจิกเกินไป หรือรู้สึกว่าพ่อแม่กำลังดุหรือโกรธเขาอยู่ในสิ่งที่ไม่เป็นไปตามต้องการ แทนที่พวกคุณจะมาหัวเสียหงุดหงิดกับการที่ลูกไม่สนใจฟัง ลองพยายามเปลี่ยนสถานการณ์นี้เสียใหม่ แทนที่จะคอยออกคำสั่งหรือดุด่าเสียงดัง ก็สนับสนุนให้ลูกได้มีส่วนร่วมด้วยน้ำเสียงที่หนักแน่นแต่ไม่ดุดัน เช่น ถ้าลูกกำลังกินขนมอยู่และมีเศษขนมตกพื้นแทนที่พ่อแม่จะดุว่า ก็แค่ชี้ไปที่เศษขนมแล้วขอให้ลูกนำไปทิ้งลงในถังขยะ หรือแทนที่จะดุว่ากล่าวเวลาที่ลูกงอแง ก็ควรใช้น้ำเสียงธรรมดาปกติพูดและอธิบายให้ลูก บอกกับเขาว่าพ่อแม่ฟังไม่เข้าใจว่าลูกพูดอะไรตอนที่โยเย นั้นจะทำให้ลูกได้รับรู้ว่าพ่อแม่มีความตั้งใจฟังในสิ่งที่ลูกกำลังพูดขนาดไหน

บทความที่เกี่ยวข้อง : วิธีการอบรมลูกโดยไม่ขึ้นเสียง สอนลูกให้เป็นคนดี เติบโตอย่างเชื่อฟัง

 

วิธีสอนลูกอย่างไร

สอนลูกอย่างไรให้ลูกเชื่อฟัง ( ภาพจาก freepik.com )

ใช้การสบตา และคำพูดที่ชัดเจน

นอกจากความสนใจฟังและใช้ระดับน้ำเสียงที่อ่อนโยนแล้ว ภาษากายก็ยังเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ลูก ๆ เรียนรู้ที่จะรับฟัง ซึ่งการใช้เสียงดัง หรือการจะโกน ลูกจะไม่เข้าใจว่าเราต้องการจะสื่ออะไร เป็นการพูดธรรมดา หรือว่ากำลังดุเขา ซึ่งในส่วนนี้ อาจจะส่งผลให้เขาไม่ฟัง หรือไม่ปฏิบัติตาม ดังนั้นเมื่อจะรับฟังสิ่งที่ลูกพูด ควรย่อตัวไปสูงเท่ากับพวกเขา สบตาเขา และตั้งใจฟัง เวลาที่พ่อแม่จะพูดก็เช่นกัน เมื่อเริ่มต้นให้คำสั่งที่ชัดเจนจะทำให้ลูกเข้าใจง่ายขึ้นและเชื่อฟังคุณ

บทความที่เกี่ยวข้อง : ลูกเชื่อฟังครูมากกว่าพ่อแม่ ควรแก้ปัญหานี้อย่างไร

 

วิธีสอนลูกอย่างไร

สอนลูกอย่างไรให้ลูกเชื่อฟัง ( ภาพจาก freepik.com )

 

หาสาเหตุของปัญหา

ก่อนหน้าที่ลูกเป็นเด็กเชื่อฟัง แต่บางครั้งการที่ลูกไม่ฟังพ่อแม่นั้น เราควรสังเกตและทำความเข้าใจว่าเหตุที่ลูกทำกริยาเช่นนี้เป็นเพราะอะไร อาจเป็นการแสดงออกให้เห็นว่าลูกกำลังโกรธหรือเศร้าเสียใจอยู่ หรือการแสดงกริยาดื้อดึงเป็นเพราะต้องการให้พ่อแม่เอาใจใส่มากขึ้น เช่น เมื่อมีน้องเข้ามาเป็นสมาชิกใหม่ในบ้าน การถูกกลั่นแกล้งหรือล้อเลียนตอนอยู่ที่โรงเรียน การถูกพ่อแม่ดุ นั่นก็เป็นสาเหตุพอที่จะทำให้ลูกปฏิเสธที่จะรับฟัง เด็ก ๆ นั้นจะมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปเรื่อยตามอายุที่โตขึ้น พ่อแม่ต้องพูดคุยกับลูกให้มากและหาคำตอบว่ามันเกิดอะไรขึ้น คอยบอกลูก ๆ ตลอดเวลาว่า พ่อแม่นั้นรักลูกอย่างไม่มีเงื่อนไข

 

ฝึกให้ลูกแก้ปัญหาด้วยตัวเอง

ประโยคคำสั่งอย่างคำว่า “ไม่” “อย่า” “ห้าม” อาจส่งให้ลูกกลายเป็นนที่ขาดความเชื่อมั่น ไม่มั่นใจ และไม่กล้าที่จะเริ่มทำอะไรใหม่ ๆ โดยสิ่งที่พ่อแม่ควรทำคือการฝึกให้ลูกใช้ความคิดและแก้ปัญหาด้วยตัวเอง โดยเริ่มจากอะไรที่ง่าย ๆ เช่น “อย่าวิ่งนะลูก เดี๋ยวหกล้ม” โดยให้เปลี่ยนเป็น “ถ้าวิ่งแล้วหกล้ม จะเป็นอย่างไร” อีกทั้งพ่อและแม่ควรที่จะหากิจกรรมสนุก ๆ ทำร่วมกันกับลูก เพื่อจะได้ช่วยฝึกให้ลูกได้ใช้ความคิดแก้ปัญหา และเมื่อเห็นว่าสิ่งที่ลูกทำไม่ถูกต้อง พ่อแม่จะได้สอนลูกคิดแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้อง

 

วิธีสอนลูกอย่างไร

สอนลูกอย่างไรให้ลูกเชื่อฟัง ( ภาพจาก freepik.com )

 

สอนลูกให้รู้จักอดทนและใจเย็น

การฝึกความอดทน และความใจเย็น เป็นสิ่งที่พ่อแม่ควรสอนลูกตั้งแต่ยังเล็ก ๆ เพราะจะช่วยให้ลูกรู้จักพึ่งพาตัวเอง ก่อนขอความช่วยเหลือจากคนอื่น หากลูกไม่มีความใจเย็นและความอดทนที่มากพอ อาจทำให้ลูกกลายเป็นเด็กที่ต้องคอยพึ่งพาคนอื่นจนเคยชิน

บทความที่เกี่ยวข้อง : ฝึกลูกอย่างไรให้มีความอดทน รู้จักรอคอย ไม่กลายเป็นเด็กที่เอาแต่ใจตัวเอง!

 

ใช้ข้อตกลงร่วมกัน

การใช้ข้อเสนอที่ตกลงร่วมกัน จะช่วยลดการโต้เถียงที่อาจนำไปสู่การทะเลาะกัน เนื่องจากพ่อแม่อาจให้ลูกทำในสิ่งที่ลูกไม่ชอบมากเกินไป ซึ่งอาจส่งผลให้ลูกเกิดการต่อต้าขึ้นได้ โดยการใช้ข้อตกลงร่วมกันนั้น ควรเริ่มจากเรื่องเล็ก ๆ น้อย อย่างเช่น ” ถ้าช่วยแม่ แม่จะซื้อขนมให้กิน ” หรือจะเป็นการเพิ่มตัวเลือกที่ไม่ใช่การลงโทษ เช่น ” ถ้าช่วยแม่ เราก็จะได้กินข้าวเร็วขึ้น ”

 

วิธีสอนลูก

สอนลูกอย่างไรให้ลูกเชื่อฟัง ( ภาพจาก freepik.com )

 

บทความจากพันธมิตร
เคล็ดลับเนรมิตห้องครัวให้เรียบหรู ทันสมัย และถูกใจคนใช้งานจริง
เคล็ดลับเนรมิตห้องครัวให้เรียบหรู ทันสมัย และถูกใจคนใช้งานจริง
ชี้เป้า ประกันสุขภาพลูก ลดภาระทางการเงินเมื่อลูกเจ็บป่วย ช่วยให้ได้รับการรักษาอย่างดีที่สุด
ชี้เป้า ประกันสุขภาพลูก ลดภาระทางการเงินเมื่อลูกเจ็บป่วย ช่วยให้ได้รับการรักษาอย่างดีที่สุด
ประกันสำหรับเด็ก เลือกแบบไหนดี มีไว้อุ่นใจ คุ้มครองครบ มีทุนสำรองเพื่ออนาคตของลูกรัก
ประกันสำหรับเด็ก เลือกแบบไหนดี มีไว้อุ่นใจ คุ้มครองครบ มีทุนสำรองเพื่ออนาคตของลูกรัก
เพราะการศึกษาลูกเป็นสิ่งสำคัญ เพิ่มความมั่นคงทางการเงินในอนาคต ด้วยประกันสะสมทรัพย์ Saving 20/10
เพราะการศึกษาลูกเป็นสิ่งสำคัญ เพิ่มความมั่นคงทางการเงินในอนาคต ด้วยประกันสะสมทรัพย์ Saving 20/10

แนะนำให้น้อยลง แต่ให้ลูกลองทำให้มากขึ้น

การที่พ่อแม่คอยแนะนำลูกนั้นเป็นสิ่งที่ดี แต่การแนะนำแบบเกินพอดีนั้นอาจทำให้ลูกเกิดความสับสน และเกิดความไม่มั่นใจในตัวเอง พ่อแม่ควรให้คำแนะนำลูกน้อย ๆ แต่ควรเปิดโอกาสให้ลูกได้ตัดสินใจลงมือทำด้วยตนเอง เพื่อให้เขาได้เรียนรู้ความสำเร็จ รวมถึงความผิดหวังด้วยตัวเอง เมื่อพวกเขาโตขึ้นจะทำให้เขารู้จักรับมือและจัดการกับเรื่องพวกนี้ได้

บทความที่เกี่ยวข้อง : ทำไงให้ลูกลองอะไรใหม่ๆ ช่วยลูกให้พบกับกิจกรรมที่ไม่เคยทำ มีความมั่นใจ

 

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
หากลูกไม่เชื่อฟัง เรามีวิธีระบายความเครียดแบบไม่เสียตังค์มาฝาก
4 วิธีทำให้ลูกเชื่อฟัง
วิธีการเลี้ยงลูกผิด ๆ ทำให้ลูกไม่เชื่อฟัง

ที่มา : 1, 2, 3, 4

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Napatsakorn .R

  • หน้าแรก
  • /
  • ชีวิตครอบครัว
  • /
  • วิธีสอนลูกอย่างไร ? ให้ลูกเชื่อฟัง เป็นเด็กดี และไม่ต่อต้านพ่อแม่
แชร์ :
  • ลูกเชื่อฟังครูมากกว่าพ่อแม่ ควรแก้ปัญหานี้อย่างไร

    ลูกเชื่อฟังครูมากกว่าพ่อแม่ ควรแก้ปัญหานี้อย่างไร

  • วิธีการเลี้ยงลูกผิด ๆ ทำให้ลูกไม่เชื่อฟัง

    วิธีการเลี้ยงลูกผิด ๆ ทำให้ลูกไม่เชื่อฟัง

  • 8 วิธีง่าย ๆ อยากให้ลูกเก่งภาษาอังกฤษ พ่อแม่ไม่เก่งก็ฝึกลูกได้

    8 วิธีง่าย ๆ อยากให้ลูกเก่งภาษาอังกฤษ พ่อแม่ไม่เก่งก็ฝึกลูกได้

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

  • ลูกเชื่อฟังครูมากกว่าพ่อแม่ ควรแก้ปัญหานี้อย่างไร

    ลูกเชื่อฟังครูมากกว่าพ่อแม่ ควรแก้ปัญหานี้อย่างไร

  • วิธีการเลี้ยงลูกผิด ๆ ทำให้ลูกไม่เชื่อฟัง

    วิธีการเลี้ยงลูกผิด ๆ ทำให้ลูกไม่เชื่อฟัง

  • 8 วิธีง่าย ๆ อยากให้ลูกเก่งภาษาอังกฤษ พ่อแม่ไม่เก่งก็ฝึกลูกได้

    8 วิธีง่าย ๆ อยากให้ลูกเก่งภาษาอังกฤษ พ่อแม่ไม่เก่งก็ฝึกลูกได้

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ