X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ลูกเชื่อฟังครูมากกว่าพ่อแม่ ควรแก้ปัญหานี้อย่างไร

บทความ 5 นาที
ลูกเชื่อฟังครูมากกว่าพ่อแม่ ควรแก้ปัญหานี้อย่างไร

ลูกเชื่อฟังครูมากกว่าพ่อแม่ เชื่อว่าปัญหานี้พ่อแม่ในวัยเด็กเล็กคงจะพบบ่อย ยิ่งในวัยเด็กเพิ่งเข้าเรียน จะพบว่าลูกๆ จะเชื่อคุณครูมากเป็นพิเศษ แตกต่างจากเวลาพวกเขาอยู่บ้าน พ่อแม่สังเกตได้ว่าลูกๆ จะไม่ค่อยเชื่อฟังตนเองมากนัก บางครั้งมีต่อต้าน และมักจะพูดถึงครูบ่อยๆ ปัญหาเรื่องลูกเชื่อครูหรือคนอื่นมากกว่านี้ มีสาเหตุมาจาก เมื่อเด็กต้องไปโรงเรียนที่ไม่ใช่สถานที่ของตนเอง ย้อมต้องการการพึ่งพิงทางจิตใจและมักจะเห็นครูเป็นฮีโร่จึงเชื่อฟังมากกว่า  ลองมาดูสาเหตุหลักและการแก้ปัญหาว่าจะทำอย่างไรให้ลูกกลับมาเชื่อพ่อแม่กันดีกว่าค่ะ ทำยังไงเมื่อต้องเจอเหตุการณ์ ลูกเชื่อฟังครูมากกว่าพ่อแม่

เชื่อฟังครูมากกว่าพ่อแม่

ทำไมลูกเชื่อฟังครูเวลาไปอยู่โรงเรียน แต่อยู่บ้านกลับไม่เชื่อพ่อแม่

ปัญหาการเชื่อฟังครูมากกว่าพ่อแม่นี้มักจะเกิดขึ้นเมื่อลูกเข้าสู่วัยเรียน สังเกตว่า วันที่ลูกเข้าโรงเรียนวันแรกเด็กมักจะเชื่อฟังครู เพราะครูคือคนที่มีอิทธิพลต่อเด็กมากที่สุด พ่อแม่มักจะได้ยินคุณครูแนะนำว่า คุณแม่ไม่ต้องห่วงถ้าหากลูกร้องไห้ ให้เดินกลับไป อย่าสนใจ ดังนั้น เด็กจึงต้อการการพึ่งพาทางจิตใจ

ลูกเชื่อฟังครู เพราะครูคือผู้มีอิทธิพลทางด้านจิตใจ ซึ่ง “ดร.เนตรปรียา มุสิกไชย ชุมไชโย” เคยกล่าวว่า

  1. สาเหตุที่ลูกเชื่อฟังครู เพราะเด็กเชื่อคนที่มีอำนาจเหนือกว่า พ่อแม่อาจเข้าใจว่าการมีอำนาจเหนือลูก คือการดุเขา ซึ่งไม่ใช่ คนที่มีอำนาจเหนือกว่าก็คือคนที่สามารถเข้าไปนั่งกลางใจเด็ก คุณพ่อคุณแม่ฟังแล้วอาจน้อยใจ โดยปกติแล้วคุณพ่อคุณแม่ส่วนใหญ่มักจะใจร้อน อยากได้อะไรต้องได้เดี๋ยวนั้น
  2. เมื่ออยู่ที่โรงเรียนคุณครูจะค่อยๆ พูดค่อยๆ กล่อม เด็กจะมีความรู้สึกว่าคุณครูไม่ดุ จึงเชื่อฟังครูถึงแม้คุณครูจะดุแต่ว่าสภาพแวดล้อมแตกต่างกัน เด็กเห็นว่าเพื่อนๆ ทำตัวอย่างไรก็จะทำเหมือนเพื่อน สามารถเข้าใจและรับทราบกฎระเบียบไปโดยปริยาย
  3. การที่ลูกเชื่อฟังครู เพราะครูมีความสม่ำเสมอในการปฏิบัติต่อเขา ต่างจากที่บ้าน บางวันคุณพ่อคุณแม่เป็นนางฟ้าหรือเทวดาของลูก บางวันแปลงร่างเป็นปีศาจ อาจมีการดุ การตีบ้าง ความไม่สม่ำเสมอของพ่อแม่ทำให้เด็กสับสนในบทบาทของพ่อแม่ ซึ่งแน่นอนว่า พ่อแม่เห็นว่าเป็นลูกของตนเองจึงไม่ทันระวังมากนัก ผิดกับครูที่เด็กเชื่อฟังครู เนื่องจากครูเป็นคนอื่นย่อมมีความเกรงใจ เกรงกลัวซึ่งกันและกัน
  4. บ่อยครั้งที่ลูกทดลองว่า ตนเองมีความสามารถหรืออำนาจเหนือพ่อแม่ได้ไหม ถ้าบังเอิญทดลองแล้วได้ผล เช่น ลงไปดิ้นร้องไห้แล้วได้ผลพ่อแม่มะรุมมะตุ้มเอาใจตัวเอง นั่นเพราะว่าเด็กอธิบายให้พ่อแม่เข้าใจไม่ได้ว่าตอนนี้ยังไม่อยากกินข้าว ยังไม่อยากทำสิ่งที่พ่อแม่สั่งแต่อธิบายออกไปไม่เป็น
  5. พ่อแม่ต้องสอนลูกเรื่องการสื่อสาร ที่โรงเรียนคุณครูจะค่อยๆ พูดจึงช่วยปรับอารมณ์เด็กได้ดีกว่าพ่อแม่ที่ใช้การออกคำสั่งเป็นส่วนใหญ่ ยิ่งเด็กเล็กๆ เด็กยิ่งเชื่อฟังครู เพราะครูมักปฏิบัติต่อพวกเขาคือเทวดานางฟัง สอนการอยู่ร่วมกับเพื่อน ทำกิจกรรมเด็กเล็ก สอนอ่านเขียนเบื้องต้น ซึ่งคนละแนวทางกับเด็กโตที่ถูกปลูกฝังให้เชื่อครูในเรื่องของบทเรียน

บทความที่เกี่ยวข้อง : โรงเรียนอนุบาลในฝัน 

เชื่อฟังครูมากกว่าพ่อแม่

สอนลูกอย่างไรให้เชื่อฟังพ่อแม่โดยไม่ต่อต้าน

ก่อนอื่นพ่อแม่ไม่ควรบอกลูกว่าการเชื่อฟังครูนั้นเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องหรือห้ามพวกเขา ลองกลับมาเปลี่ยนที่ตนเอง เพราะยิ่งลูกโตขึ้น ความคาดหวังให้พวกเขาเป็นเด็กเชื่อฟัง ว่านอนสอนง่าย ยิ่งกลายเป็นเรื่องยาก ฉะนั้นก่อนที่ลูกเริ่มมีความคิดและความต้องการเป็นของตัวเอง เริ่มต่อต้านพ่อแม่ สนใจสิ่งที่อยู่ตรงหน้ามากกว่า หรือบางครั้งลูกก็ไม่อยากคุย ไม่อยากทำในสิ่งที่พ่อแม่ต้องการ เพิกเฉยต่อคำพูดของพ่อแม่ ลองนำเทคนิคการสอนลูกโดยไม่เกิดความกระทบกระทั่งในครอบครัวดูค่ะ

 

  1. สอนให้ลูกเชื่อฟังทางอ้อม โดยทำตัวเป็นแบบอย่าง

ส่วนใหญ่อย่างที่กล่าวไปข้างต้น เด็กเด็กวัย 3-6 ขวบ มักจะเชื่อฟังครู ในขณะเดียวกันพวกเขาก็อยู่ในวัยลอกเลียนแบบพฤติกรรมของคนใกล้ชิดโดยไม่สามารถแยกแยะได้ ควรหรือไม่ควรเลียนแบบพฤติกรรมอะไร ทำให้หลายครั้ง เด็กๆ เผลอลอกเลียนพฤติกรรมไม่ดีของผู้ใหญ่ เมื่อถูกตำหนิและต่อว่า ลูกจึงไม่เข้าใจว่า “ทำไมคุณพ่อคุณแม่ยังทำได้เลย” การทำให้ลูกเกิดความสงสัยโดยไม่ได้รับการอธิบายบ่อยครั้ง เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ลูกเริ่มไม่อยากที่จะเชื่อฟังพ่อแม่อีกต่อไป ดังนั้นสิ่งที่พ่อแม่ควรทำคือ คุณพ่อคุณแม่ต้องเป็นตัวอย่างให้ลูกเห็นมากกว่าการออกคำสั่งว่าลูกควรทำอะไร หรือห้ามว่าไม่ควรทำอะไร เพราะพวกเขาจะจดจำการกระทำมากกว่าการฟัง

 

  1. สังเกตได้ว่าลูกเชื่อฟังครู เพราะครูพูดจาไพเราะ พ่อแม่เองก็ควรทำเช่นนั้น

หากลูกเผลอทำผิด หรือไม่เชื่อฟังทำตามสิ่งที่พ่อแม่บอก คุณอาจจะอดไม่ได้ที่จะตะคอกพวกเขาด้วยคำพูดแรงๆ และไม่สนใจฟังในสิ่งที่ลูกอยากอธิบาย การขึ้นเสียงหรือตะคอกอาจทำให้ลูกสงบลงได้ก็จริง แต่ในอนาคตลูกก็จะทำผิดซ้ำอีกอยู่ดี พ่อแม่ควรทำให้ลูกเชื่อฟังโดย เริ่มจากดึงความสนใจของลูกด้วยการเรียกชื่อลูก โดยใช้คำพูดง่ายๆ เพื่อให้ลูกทบทวนในสิ่งที่ทำผิด และใช้น้ำเสียงที่หนักแน่นแต่ไม่ดุดัน เช่น ถ้าลูกกำลังกินขนมอยู่และมีเศษขนมตกพื้น แทนที่พ่อแม่จะดุที่ลูกทำขนมหกหล่นลงพื้น ลองเปลี่ยนเป็นบอกทางป้องกันและแก้ปัญหา เช่น “ขนมที่หกลงพื้นแล้ว ลูกต้องเก็บไปทิ้งลงในถังขยะให้เรียบร้อยนะคะ” และคุณแม่คิดว่าอาจสอนให้ลูกนำจานมาใส่ขนม เพื่อขนมจะได้ไม่หกลงพื้นต่อไป นอกจากคำพูดกับน้ำเสียงแล้ว ภาษากายก็มีส่วนสำคัญในการช่วยให้ลูกรับฟังมากขึ้น พ่อแม่ควรย่อตัวให้สูงเท่าลูก มองลูกด้วยสายต่าอ่อนโยนและตั้งใจฟังสิ่งที่พวกเขาพูด

 

  1. สอนให้ลูกเชื่อฟังด้วยการมีข้อตกลงร่วมกัน

แม้แต่ตัวผู้ใหญ่เองก็ไม่ต้องการให้ใครมาบังคับ เด็กเองก็เช่นกัน เด็กทุกคนมีสิ่งที่ชอบและไม่ชอบของตัวเอง บ่อยครั้งที่คุณพ่อคุณแม่ให้ลูกทำสิ่งที่ไม่ชอบนานจนลูกต่อต้าน การที่จะทำให้พวกเขาเชื่อฟังได้ต้องเข้าใจก่อนว่า เด็กวัย 2-3 ขวบ เป็นวัยแห่งการต่อต้าน การให้ข้อเสนอเพื่อเป็นข้อตกลงร่วมกัน ควรลดการโต้เถียงหรือการชวนทะเลาะลง เช่น “ถ้าลูกช่วยแม่รดน้ำต้นไม้ แม่จะให้ลูกระบายสีหนังสือนิทานเล่มใหม่” หรือให้ทางเลือกอื่นที่ไม่ใช่การลงโทษ เช่น “ถ้าลูกไม่อาบน้ำ แม่จะไม่ให้เลี้ยงแมว”

 

  1. สอนให้ลูกใช้ความคิดแก้ปัญหาด้วยตัวเอง

ไม่ควรใช้ประโยคคำสั่งแข็งกระกร้าว เช่น อย่า! ไม่! ห้าม! จนทำให้ลูกรู้สึกว่าตัวเอง ทำอะไรก็ไม่ดี โดนห้ามตลอด ส่งผลต่อให้ลูกขาดความเชื่อมั่นในตัวเอง กลายเป็นคนไม่มั่นใจ กลัวการทำผิด และไม่กล้าที่จะคิดริเริ่มอะไรใหม่ๆ การที่พ่อแม่จะให้ลูกเชื่อฟังควรฝึกให้ลูกใช้ความคิดและแก้ปัญหาด้วยตัวเอง ยกตัวอย่างเช่น “ไปเก็บของเล่นสิลูก” เป็น “ลูกคิดว่าเจ้าตุ๊กตาโรบอทตัวนี้ไปเก็บไว้ไหน ลูกมีบ้านไว้เก็บน้องหรือเปล่า” นอกจากนี้ควรหากิจกรรมสนุกๆ ทำร่วมกันกับลูก เมื่อคุณพ่อคุณแม่เห็นลูกทำไม่ถูกต้อง จะได้สอนลูกให้คิดแก้ปัญหา และสอดแทรกเรื่องของคุณธรรม จริยธรรมเข้าไปได้ด้วย

 

  1. พ่อแม่ต้องเชื่อสิ่งที่ลูกต้องการจะบอกบ้าง

ผู้ใหญ่ไม่ได้ทำถูกเสมอไป บางครั้งสิ่งที่พ่อแม่คิดก็ไม่ได้ถูกต้องเสมอไป เพราะเด็กแต่ละคนมีความคิดเป็นของตัวเองพ่อแม่ควรถามให้รู้ว่าลูกคิดอะไร ทำไปเพราะอะไร ถามเหตุผลพวกเขาและตั้งใจฟังสิ่งที่ลูกพูดเพื่อช่วยให้ลูกผ่อนคลายความกังวล และค่อยๆ เปลี่ยนความคิดของลูกให้ถูกต้อง และลูกก็จะเปิดใจเชื่อฟังคุณในทุกๆ เรื่อง

 

  1. อยากให้ลูกเชื่อฟังก็อย่าเพิกเฉยต่อความต้องการของลูก

ต้องทราบก่อนว่า เด็กวัย 2-3 ขวบ ยังไม่สามารถฟังและทำตามคำสั่งหลายอย่างในเวลาเดียวกันได้ จนทำให้พ่อแม่ใช้อารมณ์กับลูกหรือแกล้งไม่สนใจพวกเขา ดังนั้นพ่อแม่ต้องคอยจับสังเกตว่าลูกต้องการสื่อสารอะไร อาจใช้วิธีค่อยๆ ถามเรื่อยๆ เพื่อยืนยันในสิ่งที่ลูกทำ รวมถึงเมื่อต้องการให้ลูกทำอะไร พ่อแม่ควรพูดกับลูกให้ชัดเจน สั้น และกระชับใจความ

 

  1. สอนลูกใช้เทคนิคที่เข้าใจง่าย

วัยเด็กเล็กอาจยังไม่สามารถฟังประโยคยาวๆ หรือหลายคำสั่งให้เข้าใจพร้อมกันได้ พ่อแม่ควรใช้เทคนิคสอนให้ลูกจำง่ายขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ถามลูกว่า “วันนี้ทำอะไรที่โรงเรียนบ้าง” เปลี่ยนเป็น “เล่าให้ฟังหน่อยวันนี้ ทำอะไรสนุกที่สุด” และหลีกเลี่ยงคำว่า “ไม่” หรือ “ห้าม” เพราะทำให้ลูกไม่อยากทำตาม เช่น “ห้ามดื้อนะ” เปลี่ยนเป็น “แม่ชอบลูกตอนที่เชื่อฟังแม่ที่สุดเลยค่ะ” นอกจากนี้พ่อแม่อาจเปลี่ยนมาใช้การให้คะแนนหรือสติ๊กเกอร์ เพื่อให้ลูกมีเป้าหมายในการฟังคุณมากขึ้น

 

  1. ค้นหาสาเหตุ

ถ้าลูกเป็นเด็กฟังพ่อแม่มาตลอด แต่บางครั้งที่ไม่เชื่อฟังอาจเป็นเพราะกำลังโกรธ เศร้าเสียใจ ต้องการให้พ่อแม่เอาใจมากขึ้น เช่น เมื่อเขามีน้องเข้ามาเป็นสมาชิกใหม่ในบ้าน หรือถูกกลั่นแกล้งหรือล้อเลียนตอนอยู่ที่โรงเรียนสิ่งที่พ่อแม่ควรให้ความสำคัญคือ พูดคุยและหาคำตอบสาเหตุที่ลูกไม่เชื่อฟัง และบอกรักลูก ให้ลูกเชื่อมั่นว่ามีพ่อแม่อยู่ข้างๆ เสมอ นอกจากนี้ควรสังเกตทัศนคติ วิธีคิด และการพูดของลูก เพื่อที่จะเข้าใจลูกมากขึ้น

บทความที่เกี่ยวข้อง : 6 วิธีเลี้ยงลูกแบบเก่า ที่เราควรนำมาใช้ วิธีเลี้ยงลูกที่มีประโยชน์ ต่อลูกและพ่อแม่

เชื่อฟัง พ่อแม่

สังคมไทยปลูกฝังให้เด็กนักเรียนเชื่อฟังครู

เราทราบกันดีอยู่ว่าในสังคมไทยจะปลูกฝังให้เด็กนักเรียนคิดว่าการถามครูเป็นเรื่องน่าอาย ดังนั้นเด็กดีต้องเชื่อผู้ใหญ่ เป็นทัศนคติทางการศึกษาที่ฝังแน่นกับเชื่อของเด็กมาเนิ่นนานจนเป็นปัญหาต่อการพัฒนาการศึกษาไทย

ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เด็กต้องเชื่อฟังครู

1. เด็กไม่กล้ายกมือเมื่อเกิดคำถาม มองกลับมาที่ตัวเราซึ่งเคยเป็นเด็กเรียนในประเทศไทยที่ถูกสอนมาให้เชื่อฟังครู การยกมือถามครูนั้นคล้ายกับความผิดมหันต์ เช่น ครูจะตั้งคำถามว่า เวลาที่ครูอธิบาย เธอไม่ตั้งใจฟังหรืออย่างไร ความผิดจึงย้อนกลับมาที่ตัวเด็ก โดยพื้นฐานคนเรามักไม่อยากถูกดุและต่อหน้าต่อเพื่อนร่วมชั้นสักเท่าไหร่ เด็กๆ จึงทัศนคติที่ว่าการยกมือถามคือแตกแยก อาย ไม่กล้าถาม ทัศนคติเหล่านี้ส่งผลให้นักเรียนขาดความมั่นใจในตนเอง และส่งผลต่อการศึกษา ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด เช่น การเรียนภาษาอังกฤษ ที่ไม่ประสบความสำเร็จ เพราะเด็กไทยไม่กล้าถาม อาย ขาดความมั่นใจ

 

บทความจากพันธมิตร
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว
เช็กให้ชัวร์ก่อนพลาดกับ พัฒนาการ 5 ปีทองแรกของลูก
เช็กให้ชัวร์ก่อนพลาดกับ พัฒนาการ 5 ปีทองแรกของลูก
9 ของเล่นเด็กอันตราย เสี่ยงอุบัติเหตุ พ่อแม่ควรระวัง ป้องกันลูกให้ปลอดภัย
9 ของเล่นเด็กอันตราย เสี่ยงอุบัติเหตุ พ่อแม่ควรระวัง ป้องกันลูกให้ปลอดภัย
วิธีเล่นกับลูกน้อย แรกเกิด – 1 ปี เสริมสร้างพัฒนาการแบบปลอดภัย ไร้อุบัติเหตุ
วิธีเล่นกับลูกน้อย แรกเกิด – 1 ปี เสริมสร้างพัฒนาการแบบปลอดภัย ไร้อุบัติเหตุ

2. ครูมักจะย้ำว่า เด็กต้องเชื่อฟังครู เมื่อนักเรียนส่วนใหญ่ไม่อาจพิสูจน์สิ่งที่ครูสอนทางวิทยาศาตสร์ได้ ดังนั้น เมื่อเปรียบสิ่งที่ครูสอนเป็นโจทย์เลขว่า 1+1 = 2 เด็กก็ต้องเชื่อครูในทางเดียวเท่านั้น ไม่กล้าถามว่า ครูครับเราสามารถตั้งโจทย์ 1.5+0.5 = 2 ได้  ซึ่งโจทย์นี้เปรียบได้กับการแก้ปัญหาได้ในทุกๆ วิชา ไม่ใช่แค่วิชาคณิตศาตสร์เท่านั้นโดยครูมีทัศนคติที่ว่าเรามีอำนาจสูงสุดในห้องเรียน เป็นอำนาจนิยม

 

3. เพื่อนร่วมชั้นเรียน อีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เด็กไม่กล้ายกมือถามครู คือเพื่อนร่วมชั้นเรียน เคยสังเกตไหมว่า หากเรายกมือถามครู มักจะถูกมองราวกับเป็นคนประหลาด หรือแม่แต่เพื่อนยกมือถามครู ในห้องเป็นการอวดรู้ โชว์ฉลาด เป็นการรบกวน เราก็มักจะมองเพื่อนด้วยความแปลกใจเช่นกัน ดังนั้น เมื่อไม่มีใครกล้ายก จึงทำให้การเชื่อฟังครูคือสิ่งที่เด็กทุกคนควรทำอยู่เรื่อยมา

 

จะเห็นได้ว่าวัยเด็กเล็กคือวัยที่ต้องการการปกป้องคุ้มครอง เด็กๆ จึงมักจะเชื่อครูเสียส่วนใหญ่ แต่เมื่อพวกเขาอยู่ในวัยรุ่น มีความคิดเป็นของตนเอง การเชื่อฟังครู ทำให้เด็กบางคนกลายเป็นคนขาดความกล้า ขาดความเชื่อมั่น ไม่กล้าเข้าสังคมก็เป็นได้

 

บทความที่น่าสนใจ

หนูไม่อยากไปโรงเรียน

เมื่อลูกไม่อยากไปโรงเรียนอนุบาล

ที่มา: 1 , 2 

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Chatchadaporn Chuichan

  • หน้าแรก
  • /
  • ช่วงวัยของเด็ก
  • /
  • ลูกเชื่อฟังครูมากกว่าพ่อแม่ ควรแก้ปัญหานี้อย่างไร
แชร์ :
  • วิธีพูดกับลูกวัยอนุบาล พูดอย่างไรให้ลูกเชื่อฟังไม่ต่อต้าน

    วิธีพูดกับลูกวัยอนุบาล พูดอย่างไรให้ลูกเชื่อฟังไม่ต่อต้าน

  • วิธีสอนลูกอย่างไร ? ให้ลูกเชื่อฟัง เป็นเด็กดี และไม่ต่อต้านพ่อแม่

    วิธีสอนลูกอย่างไร ? ให้ลูกเชื่อฟัง เป็นเด็กดี และไม่ต่อต้านพ่อแม่

  • กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

    กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

  • กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

    กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

  • วิธีพูดกับลูกวัยอนุบาล พูดอย่างไรให้ลูกเชื่อฟังไม่ต่อต้าน

    วิธีพูดกับลูกวัยอนุบาล พูดอย่างไรให้ลูกเชื่อฟังไม่ต่อต้าน

  • วิธีสอนลูกอย่างไร ? ให้ลูกเชื่อฟัง เป็นเด็กดี และไม่ต่อต้านพ่อแม่

    วิธีสอนลูกอย่างไร ? ให้ลูกเชื่อฟัง เป็นเด็กดี และไม่ต่อต้านพ่อแม่

  • กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

    กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

  • กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

    กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ