หยุดนิสัยแคะขี้มูกของลูกน้อย
ภาพคนแคะขี้มูกโดยมีนิ้วแยงเข้าไปในจมูกนั้น รับประกันได้เลยว่าคนที่พบเห็นส่วนใหญ่นั้นต้องอยากร้อง “อี๋” อย่างแน่นอน
แต่ภาพที่ไม่น่าดูเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นพฤติกรรมที่พบเห็นได้ในเด็ก ๆ และอาจทำให้พ่อแม่รู้สึกเสียหน้าได้ ข่าวดีก็คือ พฤติกรรมเหล่านี้เป็นเรื่องธรรมชาติที่จะค่อย ๆ หายไปเมื่อเติบโตขึ้น
ขั้นตอนการพัฒนาการของการแคะขี้มูก
1. ความอยากรู้อยากเห็น
การแคะจมูกนั้นเกิดขึ้นในขวบปีแรกเนื่องจากการเคลื่อนไหวมือไปที่หน้า และเด็กจะรู้สึกดึงดูดใจที่ค้นพบรูจมูกบนใบหน้า นี่เป็นอีกขั้นของการพัฒนาในเด็กเล็กที่ชอบแหย่สิ่งของเข้าไปในปากและจมูก
2. ภูมิแพ้
ภูมิแพ้จะทำให้มีน้ำมูกออกมามากซึ่งเป็นสาเหตุที่กระตุ้นให้ลูกแคะจมูก ความรู้สึกที่เหมือนมีอะไรมาติดอยู่ในโพรงจมูกทำให้เกิดความรู้สึกทั้งไม่สบายและน่ารำคาญเนื่องจากมันทำให้หายใจลำบาก
3. อาการคันหรือรู้สึกไม่สบาย
อากาศที่แห้งซึ่งเกิดจากการเปิดแอร์หรือความร้อนที่มากเกินไปอาจทำให้เกิดขี้มูกแห้งในรูจมูก ซึ่งในกรณีนี้เครื่องทำความชื้นอาจช่วยบรรเทาอาการได้
4. เบื่อหรือต้องการบรรเทาความเครียด
เด็กอายุระหว่าง 3-7เดือนจะมีแนวโน้มที่จะมีพฤติกรรมบางอย่างโดยไม่รู้ตัว เช่น ชอบกัดเล็บ กัดฟัน ใช้นิ้วม้วนผมหรือแคะจมูก พฤติกรรมเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของกลไกการป้องกันตัวเองจากความเครียดหรือเพื่อลดความน่าเบื่อของกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การดูโทรทัศน์และยืนต่อคิวในแถว
5. ปฎิกิริยาการโต้ตอบพ่อ แม่
สำหรับเด็กที่ทราบว่าไม่ควรแคะขี้มูกในที่สาธารณะ เด็กจะทำพฤติกรรมนี้เพื่อเรียกร้องความสนใจจากพ่อแม่ (เด็กอายุ 5-9 ขวบ) หรือเป็นการตอบโต้เพื่อทำให้พ่อแม่ไม่พอใจ (เด็กอายุ 7-10 ขวบ)
แคะขี้มูกมากเกินไปเลือดกำเดาออก
วิธีสร้างแรงจูงใจไม่ให้ลูกแคะจมูก
การแคะจมูกบ่อย ๆ จะนำไปสู่อาการเลือดกำเดาไหลได้ น้ำมูกซึ่งเป็นของเหลวที่เหนียวที่ปกคลุมอยู่ด้านในจมูกนั้นจะสามารถดักจับฝุ่น หรือสิ่งสกปรกต่าง ๆ ที่อยู่ในอากาศไว้ แต่หากมีการแคะขี้มูกมากจนเกินไปอาจทำลายเยื่อบุผิวในโพรงจมูกซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อระบบภูมิคุ้มกันได้
นอกจากนี้เชื้อแบคทีเรียที่สะสมในขี้มูกจะเคลื่อนย้ายมาอยู่ที่มือเรา ซึ่งจะส่งผลอย่างมากในการที่ทำให้เราป่วยได้
ในขณะที่ยังไม่มีวิธีกำจัดหรือควบคุมขี้มูก เรามีวิธีที่ช่วยให้พ่อแม่ระงับลูกจากพฤติกรรมแคะขี้มูกได้
1. รับมือกับโรคภูมิแพ้ของลูก
2. ให้ลูกอยู่ในสถานที่ ๆ มีความชื้นที่เหมาะสม ไม่แห้งจนเกินไป
3. พยายามอย่าให้ลูกมือว่าง
4. ส่งเสริมให้ลูกมีสุขอนามัยที่ดี โดยสอนให้ล้างมือทุกครั้งหลังจากจับสิ่งสกปรก
5. สอนให้ลูกมีพฤติกรรมที่เหมาะสม เช่น สอนให้สั่งขี้มูกในกระดาษทิชชู่
วิธีที่จะหยุดนิสัยชอบแคะขี้มูก
วิธีที่จะหยุดนิสัยชอบแคะขี้มูก
1. หากลูกมีนิสัยชอบแคะขี้มูก คุณควรใจเย็น ๆ และไม่ทำให้เรื่องการแคะขี้มูกดูเป็นเรื่องใหญ่โต อย่างแรก ลองหาสาเหตุที่ทำให้ลูกมีพฤติกรรมนี้ เช่น อาจเกิดจากการมีน้ำมูก ซึ่งมีผลมาจากการแพ้อากาศ
2. เมื่อไหร่ก็ตามที่คุณเห็นลูกคุณแคะขี้มูก พูดให้ลูกเข้าใจว่าคนทั่วไปไม่ชอบที่จะมองคนแคะขี้มูก และลูกควรทำสิ่งนี้ในที่ที่เป็นส่วนตัว เช่น บ้าน หรือ ห้องน้ำ
3. อธิบายให้ลูกฟังว่าทำไมพฤติกรรมนี้จึงไม่เป็นที่ยอมรับ และให้อิสระกับลูกที่จะจัดการกับนิสัยนี้อย่างคนที่โตแล้ว จำไว้ว่าคุณควรให้ความสนใจไปที่พฤติกรรม สิ่งที่ลูกทำนั้นไม่ดี ไม่ใช่ตัวเด็กเองที่ไม่ดี
4. พูดย้ำให้ลูกรู้ถึงการแพร่กระจายของเชื้อโรคซึ่งอาจทำให้ลูกป่วยจนเป็นผลทำให้เขาพลาดกิจกรรมสนุก ๆ ร่วมกับเพื่อน ๆ ได้
5. หากคุณสามารถสังเกตถึงเวลาและสถานที่ที่ลูกชอบแคะขี้มูกได้ อย่างเช่น ตอนดูโทรทัศน์ หรืออยู่ในรถ พยายามให้ลูกมีของทดแทนในมือ เช่น ลูกบอลเล็ก ๆ ไว้บีบเล่น หรือตุ๊กตาสวมนิ้วไว้เล่นด้วย การสอนให้ลูกสั่งน้ำมูกก็สามารถช่วยให้ลูกเลิกพฤติกรรมแคะขี้มูกได้
ป้องกันและรักษาลูกจากโรคมือเท้าปาก
เข้าใจเด็กยุคใหม่เพื่อการเลี้ยงลูกดีขึ้น
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!