X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

5 วิธีช่วยแก้ปัญหาหลัง "ทะเลาะกับเพื่อน" คืนความสัมพันธ์ให้เร็วที่สุด

บทความ 5 นาที
5 วิธีช่วยแก้ปัญหาหลัง "ทะเลาะกับเพื่อน" คืนความสัมพันธ์ให้เร็วที่สุด

หากคุณเปิดอ่านบทความนี้ แน่นอนว่าไม่นานมานี้คงจะเจอเหตุการณ์ “ทะเลาะกับเพื่อน” มาใช่หรือไม่ ? ไม่ต้องเป็นกังวลไปเรามี 5 วิธีที่จะสามารถช่วยแก้ปัญหาได้ ไม่ว่าใครจะเป็นคนผิดก็ตาม แต่ถ้าหากอารมณ์ของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งยังไม่พร้อมที่จะพูดคุย ก็ควรปล่อยเวลาให้แต่ละคนได้อยู่กับตัวเองจนเริ่มอารมณ์เย็นลงก่อน จึงค่อยลงมือแก้ปัญหาถึงจะได้ผลดีที่สุดนะ

 

ทะเลาะกับเพื่อนทำอย่างไรดี ?

ปัญหาที่ใคร ๆ ไม่อยากให้เกิด ไม่ว่าจะเป็นการทะเลาะกับเพื่อนทั่วไป หรือการทะเลาะกับเพื่อนสนิท แต่เมื่อเกิดปัญหาแล้ว ก็ต้องหาทางแก้ไขทั้งในฐานะที่เราเป็นคนผิด หรือเราไม่ได้ผิดอะไร หากต้องการรักษาความสัมพันธ์เอาไว้ และกลับมาเป็นปกติโดยเร็วที่สุด ควรเลือกวิธีที่เหมาะสมตามสถานการณ์ และความรุนแรงของการทะเลาะ และต้องจำไว้เสมอว่าหากไม่มีใครรู้ตัวว่าผิด หรือหาคนผิดไม่ได้ ก็ไม่ต้องพยายามหาหากปัญหานั้นเป็นเรื่องที่ไม่หนักหนา เพราะการหาแม่มารับความผิด จะยิ่งเกิดความโกรธ และมีโอกาสเกลียดกันไปเลยก็ได้

 

สถานการณ์ไม่ดีจำเป็นต้อง “ขอโทษ” ก่อน

หากสถานการณ์หลังจากการทะเลาะกันนั้นไม่มีท่าทีว่าจะดีขึ้น ต่างคนต่างไม่ยอมพูดคุยหรือจะมีฝ่ายไหนเข้ามาปรับความเข้าใจได้ก่อน หากเป็นแบบนี้ถึงแม้ว่าเราเองมั่นใจว่าเราไม่ใช่คนผิด ปัญหาไม่ได้เกิดจากเรา แต่เราอาจต้องยอมลงทุนหากไม่อยากเสียเพื่อนคนนี้ไป ด้วยการเข้าไปขอโทษก่อน เพื่อให้สถานการณ์ดีขึ้น แต่ไม่ได้หมายความว่าเราจะปล่อยผ่านนะ การขอโทษก่อนคือการแสดงว่าเราไม่ต้องการให้ความสัมพันธ์ของเพื่อนอยู่ในจุดที่ไม่ดี หลังจากเริ่มพูดคุยกันได้ ก็ค่อยหาโอกาสพูดถึงเรื่องนี้อีกครั้งแบบใจเย็นดีกว่า

บทความที่เกี่ยวข้อง : ใครมีลูกวัยเรียนต้องอ่าน “สอนลูกให้รับมือกับการถูกแกล้ง” งานนี้ต้องรอด!

 

วิดีโอจาก : DR JING

 

พูดคุยเปิดอกแสดงความจริงใจ

การปล่อยให้เวลาเดินไปเฉย ๆ แทนที่จะอยู่กับความรู้สึกไม่สบายใจ หลายคนอาจเลือกวิธีเข้าหาเพื่อพูดกันตรง ๆ ด้วยการใช้เหตุและผล ก็เป็นวิธีหนึ่งที่ทำได้ แต่หลายคนอาจมองว่าจะเป็นการเติมเชื้อไฟให้เกิดปัญหาตามมา เพราะอาจยังไม่อยากพูดคุยกันในเวลานั้น หากจะเลือกใช้วิธีนี้จึงไม่ควรเข้าไปพูดในทันทีหลังเพิ่งมีปัญหากันมา เพราะหากมีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งยังโกรธอยู่ การพูดคุยก็แทบจะไร้ค่าเลย เมื่อหาโอกาสที่เหมาะได้แล้ว อาจเริ่มจากการพูดความรู้สึกของเราก่อนว่าเสียใจแค่ไหน และแสดงเจตนาว่าไม่ต้องการทะเลาะกันแบบนี้ เพราะอะไร ก่อนที่จะคุยกันอย่างเปิดอกสักครั้งหนึ่ง

 

ยอมรับผิด และขอแก้ตัว

หากการทะเลาะกับเพื่อนที่เกิดขึ้น แท้จริงแล้วเราเองนั่นแหละที่เป็นคนผิด หากมาคิดได้ทีหลัง ก็ไม่ควรทำเฉย หรือปล่อยให้เวลาผ่านไปโดยที่ไม่ได้แสดงอะไรออกมาเลย เพราะเพื่อนอาจรอคำขอโทษจากเรา ยิ่งเรานิ่งเฉยไป เพื่อนอาจคิดว่าเราไม่รู้ตัวว่าผิด หรือเป็นคนที่มีอีโก้สูงไป ทำให้มีโอกาสที่จะเสียเพื่อนได้มากขึ้นไปอีก หากมานั่งคิดถี่ถ้วนแล้ว และสรุปได้ว่าตนเองผิดจริง ก็ควรเข้าไปขอโทษ พร้อมกับขอโอกาสในการแก้ตัว ว่าจะไม่ทำผิดอีกครั้ง หากเพื่อนให้อภัยแล้ว ก็อย่าลืมสัญญาที่ให้ไว้ด้วยนะ เพราะไม่อย่างนั้น ในอนาคตเกิดปัญหาแบบเดิม ๆ อีก คราวนี้อาจไม่มีใครให้อภัยแล้วก็ได้

 

เป็นฝ่ายที่ให้อภัย และทำเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น

ในทางกันข้ามกับหัวข้อที่แล้วหากเราไม่ใช่ฝ่ายผิด และเพื่อนเข้ามาขอโทษ แสดงความจริงใจให้เราได้เห็นจริง ๆ เราก็ควรให้อภัยเพื่อน รับฟังและพูดคุยกันให้เข้าใจกันมากขึ้น หลังจากความสัมพันธ์ดีขึ้นแล้ว เราก็คงทำอะไรไม่ได้มากนอกจากคอยดูว่าปัญหาแบบเดิม ๆ จะเกิดขึ้นอีกหรือไม่ ในช่วงที่คืนดีกันควรแสดงความจริงใจ เพื่อให้ความสัมพันธ์กลับมาเป็นปกติได้ไวที่สุด เช่น ไม่เลือกที่จะถอยห่างอย่างผิดปกติ, เป็นฝ่ายชวนทำกิจกรรมต่าง ๆ ก่อนเพื่อให้อีกฝ่ายรับรู้ว่าเราไม่ได้โกรธเคือง หรือการที่เราไม่หยิบยกเรื่องที่ทะเลาะขึ้นมาพูดซ้ำอีกนั่นเอง

 

แกล้งลืมไปเลยก็อาจจะช่วยได้

หากจุดเริ่มต้นของปัญหาไม่ใช่เรื่องใหญ่มากมาย อาจเป็นเรื่องที่สามารถยอมรับกันได้ ในฐานะที่เราเป็นคนไม่ผิด เพื่อนอาจเป็นคนผิด หรือแท้จริงแล้วต่างฝ่ายต่างผิด รวมไปถึงหาคนผิดไม่ได้ ก็ไม่จำเป็นต้องไปนั่งหาคนรับผิดชอบเสมอไป เมื่อปัญหาเป็นเรื่องเล็กน้อย ที่เราเองยอมรับและสามารถมองข้ามไปได้ก่อน อาจทำให้สถานการณ์ดีขึ้นได้ ด้วยการทำตัวปกติเข้าไปพูดคุยเหมือนกับว่าเพื่อนไม่ได้ทำผิด หรือไม่ได้มีปากเสียงกันมาก่อน ก็สามารถช่วยให้เพื่อนอยากเปิดใจที่จะพูดคุย สร้างความผ่อนคลายขึ้นได้กับทั้ง 2 ฝ่าย แต่วิธีนี้คงไม่เหมาะหากเป็นการทะเลาะกันที่รุนแรง

 

ทะเลาะกับเพื่อน 2

 

ไม่อยากทะเลาะกับเพื่อนอีกควรทำอย่างไร ?

การทะเลาะกับเพื่อนไม่ใช่สิ่งที่หลายคนต้องการอยู่แล้ว ดังนั้นก็ควรต้องเรียนรู้วิธีการป้องกัน เพื่อลดโอกาสที่จะเกิดการทะเลาะต่อกันให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ โดยเราเองนั้นต้องมีความเข้าใจ และไม่ใช้อารมณ์ตอบโต้กับเพื่อน โดยมีวิธีคิด ดังนี้

 

  • อย่าใช้อารมณ์ : เพื่อลดโอกาสที่จะเกิดปัญหาต้องทะเลาะกับเพื่อน อย่างแรกเลยคือต้องไม่ใช้อารมณ์ ถึงแม้ว่าเพื่อนอาจจะใช้อารมณ์ก็ตาม เพราะถ้าเรายิ่งตอบโต้อย่างขาดสติ จะยิ่งทำให้เกิดการกระทบกระทั่งกันมากขึ้นกว่าเดิม หากรู้สึกว่าตนเองกำลังจะมีอารมณ์โกรธควรตัดบทสนทนา หรือนำตนเองออกจากสถานการณ์นั้นไปก่อน หากไม่ใช่เรื่องใหญ่อะไรควรยอมเพื่อนไปก่อน แล้วค่อยหาโอกาสคุยกับเพื่อนในปัญหาดังกล่าวทีหลัง แต่ถ้าหากเผลอใช้อารมณ์โต้ตอบกันไปแล้ว ควรค่อย ๆ แก้ปัญหาตามที่เราได้กล่าวไว้ข้างต้น

 

  • จดจำและเรียนรู้ : หากเคยมีประสบการณ์ทะเลาะกับเพื่อนมาก่อนแล้ว ควรเรียนรู้ประเด็นต่าง ๆ ว่าควรทำอย่างไรต่อ หรือทำอย่างไรเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นซ้ำ โดยเพื่อนแต่ละคนอาจต้องใช้วิธีการป้องกันที่แตกต่างกัน หากเคยทะเลาะกันแล้วไม่ได้เรียนรู้ และนำมาปรับใช้ในโอกาสหน้า อาจทำให้ทะเลาะกันเรื่อย ๆ และอาจรุนแรงถึงขั้นเลิกคบกันเลยก็ได้ อย่างไรก็ตามหากการกระทำต่าง ๆ ที่ผ่านมาเป็นสิ่งที่เรามองว่าไม่จำเป็นต้องปรับตัวตาม เพราะอาจไม่มีเหตุผล หรือเพื่อนเป็นฝ่ายผิดเองแล้วไม่ยอมปรับปรุงตัวหลายครั้ง ก็อาจจำเป็นที่จะต้องพูดคุยกันตรง ๆ มากกว่า

 

  • เข้าใจและยอมรับ : หากมีในบางเรื่อง หรือบางสิ่งที่อาจเป็นนิสัยของเพื่อนที่เรารู้สึกว่าสามารถรับได้ หากไม่ได้ร้ายแรงมากเกินไป อาจเตือนเพื่อนบ้างในตอนที่มีโอกาส เราต้องเข้าใจว่าไม่ใช่ทุกคนจะมีแต่ข้อดี เราเพียงแค่เจอข้อเสียของเพื่อนเท่านั้น ในทางตรงกันข้ามเพื่อนก็อาจกำลังเผชิญกับข้อเสียของตัวเราเช่นกัน นอกจากนี้การจะทำอะไรลงไปยังต้องมีความเข้าใจในความคิดของเพื่อนด้วย เราควรคิดด้วยว่าหากทำแบบนี้จะทำให้เพื่อนคิดอย่างไร และมีโอกาสจะทะเลาะกันหรือไม่

 

การ ทะเลาะกับเพื่อน เป็นปัญหาทั่วไปที่ในช่วงชีวิตหนึ่งอาจต้องเคยเจอกันมาบ้าง แต่ถ้าหากรู้วิธีรับมืออย่างถูกต้อง มีสติ และไม่ใช้อารมณ์ ก็จะสามารถผ่านพ้นปัญหาเหล่านั้น และยังคงเป็นเพื่อนที่ดีต่อกันได้อย่างแน่นอน

 

บทความจากพันธมิตร
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว
เช็กให้ชัวร์ก่อนพลาดกับ พัฒนาการ 5 ปีทองแรกของลูก
เช็กให้ชัวร์ก่อนพลาดกับ พัฒนาการ 5 ปีทองแรกของลูก
9 ของเล่นเด็กอันตราย เสี่ยงอุบัติเหตุ พ่อแม่ควรระวัง ป้องกันลูกให้ปลอดภัย
9 ของเล่นเด็กอันตราย เสี่ยงอุบัติเหตุ พ่อแม่ควรระวัง ป้องกันลูกให้ปลอดภัย
วิธีเล่นกับลูกน้อย แรกเกิด – 1 ปี เสริมสร้างพัฒนาการแบบปลอดภัย ไร้อุบัติเหตุ
วิธีเล่นกับลูกน้อย แรกเกิด – 1 ปี เสริมสร้างพัฒนาการแบบปลอดภัย ไร้อุบัติเหตุ

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

สอนลูกคบเพื่อน อย่างไรสบายใจทั้งครอบครัว

การบ้านเยอะ ทำไงดี? รวมเทคนิคขจัดปัญหา รับมืออย่างไรเมื่อการบ้านล้นมือ

เคล็ดลับการอ่านหนังสือก่อนสอบให้จำได้ภายใน 1 วัน

 

ที่มาข้อมูล : 1 2

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Sutthilak Keawon

  • หน้าแรก
  • /
  • วัยรุ่น
  • /
  • 5 วิธีช่วยแก้ปัญหาหลัง "ทะเลาะกับเพื่อน" คืนความสัมพันธ์ให้เร็วที่สุด
แชร์ :
  • คู่มือคุณพ่อ – คุณแม่ ! วิธีเลือกโลชั่นเด็ก เลือกอย่างไรให้เหมาะสมและปลอดภัย

    คู่มือคุณพ่อ – คุณแม่ ! วิธีเลือกโลชั่นเด็ก เลือกอย่างไรให้เหมาะสมและปลอดภัย

  • เด็กเล็กกินซอสมะเขือเทศได้ไหม ดีจริงหรือเปล่า แม่ต้องดูให้ดี ระวังโซเดียมสูง

    เด็กเล็กกินซอสมะเขือเทศได้ไหม ดีจริงหรือเปล่า แม่ต้องดูให้ดี ระวังโซเดียมสูง

  • เด็กเล็กกินเห็ดได้ไหม ระวังอาการแพ้ ปรึกษาแพทย์ก่อนลอง

    เด็กเล็กกินเห็ดได้ไหม ระวังอาการแพ้ ปรึกษาแพทย์ก่อนลอง

  • คู่มือคุณพ่อ – คุณแม่ ! วิธีเลือกโลชั่นเด็ก เลือกอย่างไรให้เหมาะสมและปลอดภัย

    คู่มือคุณพ่อ – คุณแม่ ! วิธีเลือกโลชั่นเด็ก เลือกอย่างไรให้เหมาะสมและปลอดภัย

  • เด็กเล็กกินซอสมะเขือเทศได้ไหม ดีจริงหรือเปล่า แม่ต้องดูให้ดี ระวังโซเดียมสูง

    เด็กเล็กกินซอสมะเขือเทศได้ไหม ดีจริงหรือเปล่า แม่ต้องดูให้ดี ระวังโซเดียมสูง

  • เด็กเล็กกินเห็ดได้ไหม ระวังอาการแพ้ ปรึกษาแพทย์ก่อนลอง

    เด็กเล็กกินเห็ดได้ไหม ระวังอาการแพ้ ปรึกษาแพทย์ก่อนลอง

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ