ความหมายอักษรย่อในใบตรวจอัลตร้าซาวด์

วันที่ไปอัลตร้าซาวด์ คุณพ่อคุณแม่คงตื่นเต้นไม่น้อย ได้เห็นรูปร่างของลูและพัฒนาการของทารกในครรภ์ ช่วงที่อยู่กับคุณหมอก็มัวแต่ตื่นเต้น เลยลืมถามคุณหมอว่าอักษรย่อในอัลตร้าซาวด์มันคืออะไรกันบ้าง อ่ะมาดูกัน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ความหมายของอักษรย่ออัลตร้าซาวด์

CRL – Crown-rump length ความยาวทารกจากศีรษะถึงก้น

การวัดความยาวของทารกมีประโยชน์ในการทำนายอายุครรภ์ได้ดีโดยเฉพาะอายุครรภ์ 6 – 14 สัปดาห์ หลังอายุครรภ์ 14 สัปดาห์ไปแล้วทารกจะมีขนาดยาวเกินไปจนไม่สามารถวัดได้ตลอดแนวจากภาพเดียว

BPD – Biparietal diameter เส้นผ่าศูนย์กลางของกระโหลก

HC – Head circumference เส้นรอบวงของกระโหลก

AC – Abdominal circumference เส้นรอบวงของหน้าท้อง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

FL – Femur length ความยาวของกระดูกต้นขา

EFW – Estimated fetal weight น้ำหนักทารกโดยประมาณ

EDD – Estimated due date วันกำหนดคลอด

(ที่มา: www.med.cmu.ac.th)

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ทั้งนี้คุณพ่อคุณแม่ควรสอบถามกับแพทย์ที่ดูแลครรภ์เรื่องขนาดและความปกติของทารกด้วยตัวเอง

กำหนดวันคลอดจากหมอแม่นแค่ไหน

ครั้งแรกที่ไปฝากครรภ์ แน่นอนว่าคุณแม่ต้องเจอคำถามจากคุณหมอ “วันแรกของการมีประจำเดือนครั้งล่าสุด เมื่อไหร่” อาจทำให้รู้สึก “งง” กับคำถาม และโดยเฉพาะคุณแม่มือใหม่อาจไม่เข้าใจว่าเกี่ยวข้องอะไร อาจจะนับผิดนับถูกได้ เพราะบางคนประจำเดือนไม่ได้มาตรงกัน หรือมาสม่ำเสมอทุกเดือน แต่ที่คุณหมอถาม นั่นเป็นเพราะคุณหมอจะคำนวณกำหนดวันคลอดคร่าว ๆให้ยังไงล่ะคะ มาดูกันว่า กำหนดวันคลอดจากหมอแม่นแค่ไหน คุณหมอนับวันกำหนดคลอดอย่างไร ติดตามอ่านได้เลย

ทำความเข้าใจ คำเหล่านี้มีผลต่อการคลอด

กำหนดวันคลอดจากหมอแม่นแค่ไหน

1. กำหนดวันคลอด

กำหนดวันคลอด คือ การคำนวณจากวันแรกของการมีประจำเดือนครั้งล่าสุด รวมไปถึงการอัลตราซาวด์ ซึ่งจะเท่ากับอายุครรภ์ 40 สัปดาห์พอดี คุณแม่มักจะเจ็บท้องคลอด และคลอดใกล้ ๆ กับวันที่กำหนดคลอด ซึ่งอาจจะไม่ตรงกับที่กำหนดไว้ อาจจะเป็นช่วงก่อนหรือหลังที่คุณหมอกำหนดไว้ก็ได้ (จะกล่าวในหัวข้อ กำหนดวันคลอดจากหมอแม่นแค่ไหน)

2. อายุครรภ์ครบกำหนดคลอด

คำว่า อายุครรภ์ครบกำหนด ไม่จำเป็นว่าต้องเป็น 40 สัปดาห์ เพราะมีปัจจัยอื่น ๆ เข้ามากระตุ้นให้เกิดการคลอดได้ นอกจากนี้ยังมีข้อมูลทางการแพทย์ พบว่า หลัง 37 สัปดาห์ไปแล้วหากทารกในครรภ์แข็งแรงที่จะออกมาและอยู่รอดได้ก็อาจจะคลอดได้ ซึ่งไม่ถือว่าเป็นการคลอดก่อนกำหนด และมักจะพบปัญหาเกี่ยวกับตัวทารกน้อยกว่าทารกที่คลอดก่อนกำหนด แต่ไม่ได้หมายความว่า 37 สัปดาห์แล้วต้องคลอดเหมือนกันทุกคน เพราะจริง ๆ แล้ว เด็กส่วนใหญ่จะคลอดที่ 39 – 40 สัปดาห์ กรณีที่คุณแม่ไม่มีภาวะแทรกซ้อนใด ๆ

3. อายุครรภ์เกินกำหนดคลอด

คำว่า เกินกำหนดในทางการแพทย์ไม่ได้นับสัปดาห์ที่ 40 แต่นับหลังจากสัปดาห์ที่ 42 ซึ่งในระยะท้าย ๆ ของการตั้งครรภ์การทำงานของรก ซึ่งเป็นตัวนำอาหารและออกซิเจนมาให้เด็กจะลดลง หรือที่เรียกกันว่า รกเสื่อม ทำให้เสี่ยงที่เด็กจะเสียชีวิตในท้อง หรือขาดออกซิเจนขณะคลอด แต่มักไม่เกิดขึ้นบ่อย หากคุณแม่มีอายุครรภ์ 41 – 42 สัปดาห์แล้ว คุณหมอมักจะพิจารณาการกระตุ้นให้เจ็บครรภ์คลอดเพื่อความปลอดภัยของแม่และทารก และจะเป็นไปตามกระบวนการที่อยู่ในความดูแลของคุณหมอ

บทความแนะนำ เรื่องน่ารู้ วิธีการเร่งคลอดมีอะไรบ้าง

4. คลอดก่อนกำหนด

คลอดก่อนกำหนด คือ คลอดก่อน 37 สัปดาห์ค่ะ แบ่งย่อยต่อเป็นก่อนกำหนดมาก ๆ (early preterm) คือ น้อยกว่า 34 สัปดาห์ และก่อนกำหนดไม่มาก (late preterm) คือ 34-36 สัปดาห์ ยิ่งทารกคลอดก่อนกำหนดมาก ๆ โอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนก็จะมากขึ้นตามไปด้วย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อ่าน กำหนดคลอดจากหมอแม่นแค่ไหน คลิกหน้าถัดไป –>

กำหนดคลอดจากหมอแม่นแค่ไหน

กำหนดคลอดจากหมอแม่นแค่ไหน

การนับกำหนดคลอด

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์ สูติ-นรีแพทย์ กล่าวถึง การนับกำหนดคลอด ไว้ว่า

  • การนับกำหนดคลอดแบบที่ชาวบ้านนับกัน คือ เมื่อตั้งครรภ์ครบ 9 เดือน นับตั้งแต่ประจำเดือนขาด ซึ่งจริง ๆ ก็มีความถูกต้องแต่ไม่แม่นยำ ที่สำคัญคุณแม่มักจะจำไม่ได้ว่าประจำเดือนขาดไปตั้งแต่เมื่อไร
  • นอกจากนี้ การนับจำนวนเดือน 9 เดือนในแต่ละช่วงของปีก็ไม่เท่ากัน เนื่องจากบางเดือนมี 31 วัน บางเดือนมี 30 วันและเดือนกุมภาพันธ์มี 28 หรือ 29 วัน
  • เพื่อความสะดวกและแม่นยำยิ่งขึ้น การนับจึงเริ่มนับตั้งแต่วันแรกประจำเดือนครั้งสุดท้าย เพราะจะจำง่ายกว่า และนับไปทั้งสิ้น 40 สัปดาห์ การนับเป็นสัปดาห์จะแม่นยำกว่า โดยที่เมื่อคลอดอายุครรภ์ตั้งแต่ 37 สัปดาห์ขึ้นไปก็ถือว่าครบกำหนดแล้ว
  • ในครรภ์แรกมักคลอดใกล้กับกำหนดคลอด แต่ในครรภ์หลังมักคลอดก่อนกำหนดคลอด 1 – 2 สัปดาห์ สำหรับสูตรในการคำนวณที่ทางการแพทย์มักใช้ คุณหมอก็จะนับอายุครรภ์ด้วยการคำนวณวันกำหนดคลอด (Expected date of delivery หรือ EDD) นั่นคือ การเอาวันแรกของประจำเดือนครั้งสุดท้าย บวก 7 วัน ลบด้วย 3 เดือน ก็จะทราบได้ว่าวันกำหนดคลอดเมื่อไหร่ แบ่งออกเป็น 2 วิธี คือ

1. นับจากวันแรกของประจำเดือนครั้งสุดท้ายบวกไปอีก 9 เดือน และนับบวกต่อไปอีก 7 วันก็จะได้วันกำหนดคลอด

ตัวอย่าง วันแรกที่ประจำเดือนมาครั้งสุดท้ายของคุณแม่ คือวันที่ 1 มกราคม 2559 ก็ให้บวกไปอีก 9 เดือน ซึ่งจะตรงกับวันที่ 1 ตุลาคม 2559 แล้วให้นับบวกต่อไปอีก 7 วัน ดังนั้น กำหนดคลอดของคุณแม่ก็จะตรงกับวันที่ 8 ตุลาคม 2559

2. นับจากวันแรกของประจำเดือนครั้งสุดท้ายย้อนหลังไป 3 เดือนและนับบวกต่อไปอีก 7 วันก็จะได้วันกำหนดคลอด

ตัวอย่าง วันแรกที่ประจำเดือนมาครั้งสุดท้ายของคุณแม่ คือ วันที่ 1 มกราคม 2559 ก็ให้นับย้อนหลังไปอีก 3 เดือน คือ ธันวาคม พฤศจิกายน และตุลาคม และนับบวกไปอีก 7 วัน ดังนั้น กำหนดวันคลอดของคุณแม่จะตรงกับวันที่ 8 ตุลาคม 2559

เคลียร์ชัด!!! กำหนดคลอดจากหมอแม่นแค่ไหน

กำหนดวันคลอดจากหมอแม่นแค่ไหน

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์ สูติ-นรีแพทย์ สรุปการนับวันกำหนดคลอด ไว้ดังนี้

  1. สำหรับสูตรการนับกำหนดคลอดทั้ง 2 วิธีนี้จะให้ผลเหมือนกัน แล้วแต่ว่าจะสะดวกนับแบบไหน เป็นสูตรที่สูติแพทย์และผดุงครรภ์ใช้กันทั่วโลก ซึ่งอาศัยการสังเกตจากประสบการณ์และการทำสถิติการคลอดของคนทั่วโลก
  2. สูตรดังกล่าว จะให้ผลอย่างแม่นยำในกรณีที่คุณแม่จำวันที่ประจำเดือนมาครั้งสุดท้ายได้เท่านั้น และถ้าหากคุณแม่มีรอบเดือนมาสม่ำเสมอทุก ๆ 28-30 วัน คุณแม่ส่วนใหญ่ก็มักจะคลอดก่อนวันที่กำหนดไว้ประมาณ 1 สัปดาห์
  3. ในความเป็นจริงแล้วจะมีคุณแม่เพียง 5-6% เท่านั้น ที่จะคลอดลูกได้ตรงกับกำหนดวันคลอดพอดี และอีก 40% มักจะคลอดลูกเกินกำหนด ซึ่งร้อยละ 25 ของคุณแม่ในกลุ่มนี้จะคลอดลูกเมื่ออายุครรภ์ 42 สัปดาห์, ร้อยละ 12 จะคลอดลูกเมื่ออายุครรภ์ 43 สัปดาห์ และที่เหลือเพียงร้อยละ 3 จะคลอดลูกเมื่ออายุ 44 สัปดาห์

จากการคำนวณกำหนดคลอดตามที่คุณหมอได้กล่าวมานั้น หลักสำคัญขึ้นอยู่กับการจดจำวันแรกที่มีประจำเดือนครั้งสุดท้ายเพราะหมายถึง การนับช่วงเวลากำหนดคลอดได้ค่อนข้างแม่นยำ แต่ในความเป็นจริงแล้วคุณแม่ส่วนใหญ่มักจะจดจำวันแรกของการมีประจำเดือนคลาดเคลื่อน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

แต่นั่นไม่ใช่อุปสรรคที่สำคัญของการกำหนดวันคลอด เพราะยังมีการนับกำหนดวันคลอดจากการอัลตราซาวด์ได้อีก (จะกล่าวในหัวข้อถัดไป) ดังนั้น กำหนดวันคลอดที่คุณหมอนับนั้นส่วนใหญ่จะคลาดเคลื่อนไม่เกิน 1 สัปดาห์ค่ะ

อ่าน การประเมินกำหนดคลอดโดยการอัลตราซาวด์ คลิกหน้าถัดไป —>

การกำหนดคลอดโดยการอัลตราซาวด์

กำหนดวันคลอดจากหมอแม่นแค่ไหน

รศ.พญ. สายฝน ชวาลไพบูลย์ สูติ-นรีแพทย์ กล่าวถึง การกำหนดวันคลอดโดยการตรวจอัลตราซาวด์ ไว้ว่า

  • การตรวจอัลตราซาวด์ เพื่อประเมินอายุครรภ์มีความสำคัญมากในกรณีที่แม่ตั้งครรภ์ที่จำวันแรกของการประจำเดือนครั้งล่าสุดไม่ได้
  • การตรวจในไตรมาสแรกอายุครรภ์ที่ตรวจพบจะมีกำหนดวันคลอดคลาดเคลื่อนน้อยมากเพียง 7 วัน
  • ในไตรมาสที่ 2 และ 3 จะมีความคลาดเคลื่อนได้ 2 และ 3 สัปดาห์ตามลำดับ หมายความว่า ถ้าคุณหมอตรวจอัลตราซาวด์แล้ว พบว่า ทารกมีอายุครรภ์ 8 สัปดาห์ คุณหมอจะทำนายกำหนดวันคลอดอีก 32 สัปดาห์ถัดไป (คือครบ 40 สัปดาห์) ความคลาดเคลื่อนจะบวกลบเพียง 1 สัปดาห์หรือ 7 วันเท่านั้น เพราะเป็นการตรวจในไตรมาสแรก
  • โดยทั่วไป เมื่อถึงกำหนดวันคลอด 40 สัปดาห์ แม่ตั้งครรภ์อาจจะคลอดได้ในช่วง 38-42 สัปดาห์ ซึ่งถือว่าปกติ ถ้าก่อนหน้านี้ถือว่าคลอดก่อนกำหนด ถ้าหลังจากนี้ถือว่าคลอดเกินกำหนดค่ะ

คุณแม่ตั้งครรภ์ไม่ต้องกังวลไปนะคะ เพราะในช่วงที่อายุครรภ์มากขึ้นในไตรมาสสุดท้ายคุณหมอจะนัดตรวจถี่ขึ้น เพื่อติดตามอาการต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นอย่างใกล้ชิด สบายใจได้นะคะ

ร่วมบอกเล่าและแชร์ประสบการณ์ในช่วงตั้งครรภ์ คลอดบุตร รวมถึงการเลี้ยงดูทารกน้อย เพื่อเป็นประโยชน์ต่อครอบครัวอื่น ๆ กันนะคะ หากมีคำถามหรือข้อสงสัย ทางทีมงานจะหาคำตอบมาให้คุณ


อ้างอิงข้อมูลจาก

หนังสือคู่มือตั้งครรภ์และเตรียมคลอด. “การกำหนดวันคลอด”. (ศ. (คลินิก) นพ.สุวชัย อินทรประเสริฐ). หน้า 63-67.

หนังสือ 40 สัปดาห์ พัฒนาครรภ์คุณภาพ. “ประจำเดือนครั้งสุดท้ายกับการตั้งครรภ์”. (รศ.พญ.สายฝน – นพ.วิชัย ชวาลไพบูลย์). หน้า 115.

 

บทความใกล้เคียง

สิ่งที่ควรรู้ก่อนตรวจอัลตร้าซาวด์

เจาะน้ำคร่ำตรวจอะไรได้บ้าง