X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ความแตกต่างของการเลี้ยงลูกชายและลูกสาว

บทความ 5 นาที
ความแตกต่างของการเลี้ยงลูกชายและลูกสาว

การดูแลลูกชายลูกสาว แตกต่างกันไหม ถ้ามีพี่น้อง 2 คนขึ้นไป

สำหรับรายการ TAP Ambassador ของเราในสัปดาห์นี้ ยังคงจะมาพูดคุยกันเกี่ยวกับเพศศึกษาในครอบครัวกันเหมือนเดิม ต่อเนื่องจากสัปดาห์ก่อนที่เราได้คุยกันเรื่องวิธีตอบคำถามเรื่องเพศของเด็ก ๆ โดยหัวข้อในวันนี้คือ “ ความแตกต่างของการเลี้ยงลูกชายและลูกสาว ” ซึ่งในวันนี้  theAsianparent จะพาคุณพ่อคุณแม่ทุกคนมาไขข้อข้องใจเกี่ยวกับการวิธีการเลี้ยงดูลูกสาวและลูกชายไปพร้อม ๆ กันกับคุณหมอแอม แพทย์หญิงพรนิภา ศรีประเสริฐ กุมารแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องของจิตวิทยาพัฒนาการ และจิตวิทยาสมองและการเรียนรู้ของเด็ก

 

การดูแลลูกชายลูกสาว แตกต่างกันไหม

คุณหมอ : จริง ๆ แล้ว ระหว่างลูกสาวและลูกชายควรจะแบ่งเป็นตามวัยมากกว่า ถ้าอยู่ในช่วงวัยเด็กหลักการนั้นเหมือนกัน เพียงแต่วิธีการจะต่างกัน โดยหลักการคือ การส่งเสริมให้ลูกได้เรียนรู้ในสิ่งที่ลูกสนใจ และส่งเสริมให้ลุกได้เรียนรู้ว่าสิ่งไหนทำได้ สิ่งไม่ควรทำ รวมไปถึงเรียนรู้เกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของตัวเอง และสิทธิบนร่างกายของตนเอง รวมถึงการให้เกียรติผู้อื่นด้วย ในส่วนของวิธีการนั้น โดยตามธรรมชาติผู้ชายและผู้หญิง ก็จะต่างกัน ซึ่งเด็กผู้ชายส่วนใหญ่ ชอบที่จะเคลื่อนไหว ชอบที่จะเรียนรู้ที่จะต้องใช้พลัง และเด็กผู้ชาย จะมีความอยากรู้อยากเห็น หากเป็นเพศหญิงก็ต้องทำให้ลูกรู้ว่าอย่าให้ใครมาล่วงละเมิดร่างกายเขา เมื่อเริ่มเข้าสู่วัยประถมเด็ก ๆ ก็จะเริ่มมีเพื่อนทั้งเพื่อนเพศเดียวกัน และเพื่อนต่างเพศเยอะขึ้น รวมถึงเด็กบางที่เริ่มแสดงออกว่าความชอบไม่ตรงกับเพศสภาพ

บทความที่น่าสนใจ : พี่น้องรักกัน เลี้ยงลูกยังไงให้พี่น้องรักกัน ช่วยเหลือ ดูแลกัน

 

ความแตกต่างของการเลี้ยงลูกชายและลูกสาว

คุณหมอแอม แพทย์หญิงพรนิภา ศรีประเสริฐ กุมารแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องของจิตวิทยาพัฒนาการ และจิตวิทยาสมองและการเรียนรู้ของเด็ก

 

หากลูกเข้าสู่วัยเรียนแล้ว คุณพ่อคุณแม่ควรสอนลูกเรื่องเพศศึกษาเลยดีไหม

คุณหมอ : สำหรับเรื่องนี้ จริง ๆ สามารถสอนได้เลย เช่น ผู้หญิง ผู้ชายต่างกันอย่างไร อวัยวะ หน้าที่ของร่างกาย และเรื่องที่ว่าเด็กเกิดมาได้อย่างไร ตรงนี้สามารถสอนได้เลย ซึ่งก็จะมีนิทานต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับเรื่องพวกนี้ ที่สามาถเอาไปสอนเด็กได้อีกด้วย ซึ่งตรงนี้ก็ถือว่าเป็นการสอนเรื่องเพศศึกษาไปในตัว โดยหลายคนอาจคิดว่าไม่จำเป็น เพราะคิดว่าเมื่อเด็กโตขึ้นคงจะรู้ได้เอง ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้น หากเมื่อเขาโตขึ้นจนเข้าสู่ช่วงวัยรุ่น จะทำให้พวกลูกไม่กล้าที่จะถามแม่ ส่วนแม่ก็ไม่กล้าที่จะสอนลูก ทำให้เด็กขาดความรู้จากคนที่ควรจะถาม ซึ่งตรงนี้ยังช่วยป้องกันการถูกล่วงละเมิดทางเพศได้อีกด้วย เพราะจากการที่ลูกเข้าใจเกี่ยวกับบทบาททางเพศของตนเอง และสิทธิบนร่างกายของตัวเอง จะทำให้ลูกสามารถดูแลตัวเองได้

 

ความแตกต่างของการเลี้ยงลูกชายและลูกสาว

ลูกเข้าสู่วัยเรียนแล้ว คุณพ่อคุณแม่ควรสอนลูกเรื่องเพศศึกษาเลยดีไหม

 

ควรสอนลูกยังไงว่า นอกจากเพศชายเพศหญิงแล้ว ยังมีเพศทางเลือกอื่น ๆ อีก

คุณหมอ : สิ่งเหล่านี้เริ่มต้นได้โดยการทำให้ดูเป็นตัวอย่างก่อน ซึ่งคนสมัยก่อนมักจะชินกับการใช้คำอย่าง ไอ้อ้วน ไอ้ผอม ในการเรียกเด็ก ซึ่งคำเหล่านี้ถือเป็นการบูลลี่ ซึ่งควรเราจะบอกลูกว่าคำแบบนี้ไม่ควรพูด เพราะบางครั้งคนฟังเอง ก็ไม่ได้รู้สึกยินดี แต่ถ้าหากลูกเกิดสงสัย และมีคำถามเกี่ยวกับ LGBT คุณพ่อคุณแม่สามารถใช้โอกาสตรงนี้ในการสอนลูกได้เลยว่าคนเราไม่จำเป็นต้องชอบเหมือนกัน ให้เด็ดเข้าใจว่าสิ่งนี้เป็นเรื่องธรรมดา เป็นแค่เรื่องความชอบที่ต่างกัน

บทความที่น่าสนใจ : พื่อนต่างเพศของลูกคืออะไร และอธิบายคำว่า แฟน กับลูกวัยอนุบาลอย่างไรดี

 

ความแตกต่างของการเลี้ยงลูกชายและลูกสาว

เราจะสอนลูกยังไงว่า นอกจากเพศชายเพศหญิงแล้ว ยังมีเพศทางเลือกอื่น ๆ อีก

 

ลูกสาวมักติดคุณพ่อ ลูกชายมักติดคุณแม่ เป็นเรื่องจริงใช่หรือไม่

คุณหมอ : เป็นเรื่องจริง ซึ่งจะจริงประมาณ 70% – 90% ซึ่งจะเกิดในช่วงประมาณอนุบาล ประมาณ 2 – 4 ขวบ ซึ่งเป็นช่วงที่ลูกเริ่มเรียนรู้บทบาททางเพศมากขึ้น ซึ่งในทางจิตวิทยาเกิดจากการที่เด็กผู้หญิงรักพ่อ และอยากให้พ่อรักเขา ซึ่งเมื่อเห็นว่าพ่อรักแม่ ลูกสาวเลยจะเลียนแบบแม่ ซึ่งเกิดจากการเรียนรู้เพศสภาพของตัวลูก ซึ่งถ้าเป็นลูกชายก็จะสลับกัน คือ อยากให้แม่รักเขา เลยเกิดการเลียนแบบพ่อ

 

ลูกชายวัย 10 เดือน หวงแม่มาก คุณพ่อก็ชอบแกล้งหยอก เราควรอธิบายยังไงดี

คุณหมอ : ตรงนี้ควรอธิบายให้คุณพ่อเข้าใจ เพราะที่ลูกหวงเพราะลูกเข้าใจว่าแม่คือโซนอบอุ่นของเขา แม่คือของเขา แม่กับตัวเขาคือคนคนเดียวกัน เพราะฉะนั้นเวลาที่พ่อมาจับโซนที่เขารู้สึกว่าเป็นของเขา เขาก็จะไม่ชอบ ซึ่งเด็กบางคนอาจจะถึงขั้นโกรธ โมโห และร้องไห้ได้ ซึ่งก็ไม่ควรทำให้เด็กโมโหจนบ่อยเกินไป

 

ลูก 1 ขวบ น้องซนมาก อยู่ไม่เฉยเลย สงสัยว่าน้องเป็นโรคสมาธิสั้นหรือเปล่า

คุณหมอ : จริง ๆ สำหรับเรื่องของสมาธิสั้น เราจะไม่วินิจฉัยกันในช่วง 1 – 3 ปีแรก เพราะส่วนใหญ่ในช่วงปีนี้จะเป็นช่วงที่ซนตามวัย แต่ถ้าหากเด็กบางคนที่สมาธิสั้นแบบอาการหนักจริง ๆ ก็สามารถวินิจฉัยในช่วงนี้ได้ ซึ่งสามารถแยกได้ระหว่างการซนตามวัยกับการเป็นโรคสมาธิสั้นขั้นรุนแรง โดยเด็กที่ซนตามวัยนั้น จะสามารถโฟกัสในสิ่งที่ตัวเองสนใจได้นาน โดยประมาณ 2 – 5 นาที ต่ออายุประมาณ 1 ขวบ ถ้า 2 ขวบ จะสามารถโฟกัสในสิ่งที่สนใจได้ประมาณ 4 -10 นาที เป็นต้น เพราะฉะนั้นควรสังเกตว่าลูกรอได้ไหม แต่อย่างไรก็ตามหากเด็กที่ซนมาก ๆ ไฮเปอร์มาก ๆ การเลี้ยงดู คือสิ่งที่สำคัญที่สุด ซึ่งจะส่งผลว่าเด็กจะโตไปเป็นเด็กที่มีพลังงานสูง แต่สมาธิดี หรือเด็กสมาธิสั้น ซึ่งการที่ให้ลูกเล่นโทรศัพท์จะส่งผลให้เด็กมีสมาธิที่สั้น

บทความที่น่าสนใจ : ลูกเป็นสมาธิสั้นทำยังไง? กิจกรรมแก้โรคสมาธิสั้น ไม่อยู่นิ่ง ซุกซน

 

ลูกสาว 3 ขวบ รู้จักผลไม้และตัวอักษร แต่ว่าไม่สามารถแยกสีได้ ต้องทำอย่างไร

คุณหมอ : เป็นสิ่งที่ค่อย ๆ สอนกันไปได้ แต่ต้องไม่ใช่การสอนแบบกดดัน แต่ต้องเป็นการสอนผ่านการเล่นแทน เช่น รถที่ขับผ่านมาเป็นสีอะไร เพราะวัยนี้เป็นวัยที่ซึมซับ

อยากทราบเกี่ยวกับการดูแลแผลที่เกิดจากการตัดเล็บโดนเนื้อทารก ที่ถูกต้อง

คุณหมอ : คุณแม่ไม่ต้องกังวล ทายาฆ่าเชื้อที่สามารถหาซื้อได้ และระวังไม่ให้โดนน้ำ หรือเปื้อนโคลนก็พอ

 

เด็กผู้ชายจะพูดช้ากว่าเด็กผู้หญิงจริงไหม ?

คุณหมอ : โดยส่วนมากจะเป็นอย่างนั้นค่ะ เพราะความถนัดในการเรียนรู้ของเด็กผู้หญิงและเด็กผู้ชายจะต่างกัน เด็กผู้หญิงจะสนใจรายละเอียด ความแตกต่างของน้ำเสียง ความแตกต่างของการแสดงสีหน้า โดยธรรมชาติของการเลี้ยงดูเด็กผู้ชายส่วนใหญ่ จะไม่ได้มีปฏิสัมพันธ์กับคนมากเท่าเด็กผู้หญิง เด็กผู้ชายเลยจะมีธรรมชาติของการเริ่มพูดช้ากว่าเด็กผู้หญิงนิดหน่อย

 

การดูแลและทำความสะอาดใบหู ตามข้อพับต่าง ๆ ของเด็กแรกเกิด มีวิธีการอย่างไรบ้าง

คุณหมอ : ในส่วนของรูหู แค่ใช้สำลีเช็ดบริเวณรอบนอก ไม่ต้องแคะ เพราะธรรมชาติของคนเราขี้หูจะหลุดออกมาได้เอง หากเป็นตามซอกพับให้ใช้สำลีชุบน้ำ ค่อยเช็ด ๆ หากเป็นร่องคอแดง ๆ ที่เกิดจากการเสียดสี ก็สามารถใช้ครีมป้องกันการเสียดสีทาได้ แต่ไม่แนะนำให้ทาแป้ง

 

บทความจากพันธมิตร
เผยเคล็ดลับการเรียนออนไลน์ที่จะทำให้ลูกตั้งใจเรียนมากขึ้น!
เผยเคล็ดลับการเรียนออนไลน์ที่จะทำให้ลูกตั้งใจเรียนมากขึ้น!
แจกเคล็ดลับการเรียนออนไลน์ที่จะช่วยให้คุณลูกไม่ปวดตา
แจกเคล็ดลับการเรียนออนไลน์ที่จะช่วยให้คุณลูกไม่ปวดตา
เปิดใจบ้านหงษ์มานพครั้งแรก เมื่อกังวลว่าลูกตัวเล็ก
เปิดใจบ้านหงษ์มานพครั้งแรก เมื่อกังวลว่าลูกตัวเล็ก
เคล็ดลับเลือก เครื่องสำอางออร์แกนิคสำหรับเด็ก ให้เจ้าตัวเล็กของคุณแม่ สวยสดใส ปลอดภัยไม่ระคายเคือง
เคล็ดลับเลือก เครื่องสำอางออร์แกนิคสำหรับเด็ก ให้เจ้าตัวเล็กของคุณแม่ สวยสดใส ปลอดภัยไม่ระคายเคือง

และก่อนที่จะจากกันในวันนี้ หมอขอสรุปหัวข้อ “ ความแตกต่างของการเลี้ยงลูกชายและลูกสาว ” นั้น สำหรับหลักการนั้นมีเหมือนกัน คือ ส่งเสริมการเรียนรู้จากสิ่งที่ลูกสนใจ แต่ต้องไม่ปิดกั้นการเรียนรู้ แต่ถ้าหากลูกถามให้ใช้โอกาสนั้นสอนลูกในเรื่องความแตกต่างทางเพศ และหลักการข้อที่สองคือ อย่าเรียกใครด้วยการบูลลี่ เพราะคนฟังอาจจะรู้สึกว่าไม่ได้ยินดีที่จะถูกเรียกแบบนั้น เพราะฉะนั้นจึงอยากให้คุณพ่อคุณแม่เข้าใจในเรื่องของหลักการการเรียนรู้ โดยสามารถศึกษาเกี่ยวกับจิตวิทยาการเลี้ยงลูก หรือการเลี้ยงลูกเชิงบวกได้ ซึ่งปัจจุบันก็มีข้อมูลมากมาย ทั้งในเพจ theAsianparent หรือจะเป็นเพจ เรื่องเด็ก ๆ by หมอแอม หรือจะเป็นเพจของคุณหมอหรือนักจิตวิทยาท่านอื่น ๆ อีกมากมาย ซึ่งหากนำมาปรับใช้อย่างถูกวิธีจริง ๆ ก็จะทำให้ลูกของเราโตไป เป็นบุคคลที่มีคุณภาพถึงแม้ว่าลูกจะโตขึ้นไปเป็นเพศใดก็ตาม

 

บทความที่เกี่ยวข้อง : 

เพศเรื่องธรรมดา ที่ไม่ธรรมดา คุณพ่อคุณแม่มีวิธีรับมือยังไง!

สอนลูกอย่างไรให้เป็นเด็กที่เคารพตนเอง และยอมรับความแตกต่างของผู้อื่น

 

ที่มา : คุณหมอแอม แพทย์หญิงพรนิภา ศรีประเสริฐ

เจ้าของเพจ เรื่องเด็ก ๆ by หมอแอม

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Watcharin Naruephai

  • หน้าแรก
  • /
  • การเลี้ยงลูก
  • /
  • ความแตกต่างของการเลี้ยงลูกชายและลูกสาว
แชร์ :
  • ห้องนอนเด็กอ่อน ต้องจัดอย่างไร ต้องเตรียมอะไรบ้าง พ่อแม่มือใหม่ต้องอ่าน !

    ห้องนอนเด็กอ่อน ต้องจัดอย่างไร ต้องเตรียมอะไรบ้าง พ่อแม่มือใหม่ต้องอ่าน !

  • เด็กเล็กกินซอสมะเขือเทศได้ไหม ดีจริงหรือเปล่า แม่ต้องดูให้ดี ระวังโซเดียมสูง

    เด็กเล็กกินซอสมะเขือเทศได้ไหม ดีจริงหรือเปล่า แม่ต้องดูให้ดี ระวังโซเดียมสูง

  • เด็กเล็กกินเห็ดได้ไหม ระวังอาการแพ้ ปรึกษาแพทย์ก่อนลอง

    เด็กเล็กกินเห็ดได้ไหม ระวังอาการแพ้ ปรึกษาแพทย์ก่อนลอง

  • ห้องนอนเด็กอ่อน ต้องจัดอย่างไร ต้องเตรียมอะไรบ้าง พ่อแม่มือใหม่ต้องอ่าน !

    ห้องนอนเด็กอ่อน ต้องจัดอย่างไร ต้องเตรียมอะไรบ้าง พ่อแม่มือใหม่ต้องอ่าน !

  • เด็กเล็กกินซอสมะเขือเทศได้ไหม ดีจริงหรือเปล่า แม่ต้องดูให้ดี ระวังโซเดียมสูง

    เด็กเล็กกินซอสมะเขือเทศได้ไหม ดีจริงหรือเปล่า แม่ต้องดูให้ดี ระวังโซเดียมสูง

  • เด็กเล็กกินเห็ดได้ไหม ระวังอาการแพ้ ปรึกษาแพทย์ก่อนลอง

    เด็กเล็กกินเห็ดได้ไหม ระวังอาการแพ้ ปรึกษาแพทย์ก่อนลอง

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ