หนึ่งในการเรียนรู้ที่สำคัญ คือ การเรียนรู้รูปทรงทางเรขาคณิตของเด็ก ๆ เพื่อให้นำไปใช้ในห้องเรียน และเป็นพื้นฐานการสื่อสารในชีวิตประจำวัน เมื่อมีโอกาสที่จะเรียนรู้แล้ว ลองศึกษาจากบทความนี้ดูว่าจะมี เทคนิคสอนลูกจดจำรูปทรงเรขาคณิต อะไรที่ช่วยให้ลูกรักวัยเรียน วัยซน ได้บ้าง
รูปทรงเรขาคณิต คืออะไร
เรื่องของรูปทรงต่าง ๆ ในเรขาคณิต เป็นส่วนหนึ่งของวิชาคณิตศาสตร์เบื้องต้น และยังเป็นการบอกลักษณะของสิ่งของรอบตัว ซึ่งจะกลายมาเป็นพื้นฐานในการสื่อสาร หรือการให้ข้อมูลเบื้องต้นเมื่อกล่าวถึงวัตถุใด ๆ เช่น ตู้เย็นที่ถูกมองว่าเป็นทรงเหลี่ยม หรือผลส้มที่ถูกมองว่าเป็นทรงกลม เป็นต้น เราขาคณิตจะถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่
- รูปเรขาคณิต : เป็นรูปของรูปร่างที่มองเห็นอย่างง่ายเพียงด้านหน้า ด้านยาวเท่านั้น ไม่เห็นความลึก ไม่มีมิติ หรือกล่าวง่าย ๆ คือ เป็นรูป 2 มิติทั่วไป
- รูปทรงเรขาคณิต : เป็นสิ่งที่เรากำลังกล่าวถึง รูปทรงเรขาคณิตจะมี 3 มิติ ทั้งพื้นผิว ส่วนสูง และส่วนลึก มีความสมจริงมากกว่า และมักใช้ในคณิตศาสตร์มากกว่าด้วย
การสอนให้ลูกวัยเรียนรู้จดจำรูปทรงทางเรขาคณิตเป็นสิ่งที่ดี เพราะเป็นจุดเริ่มต้นอย่างหนึ่งของการจดจำ และการแยกแยะวัตถุ นอกจากสี่เหลี่ยม, วง และสามเหลี่ยม ยังมีรูปทรงต่าง ๆ ที่ควรให้ลูกลองดู ลองฝึกความคุ้นชิน เพื่อเรียนรู้ต่อไป
บทความที่เกี่ยวข้อง : 10 เครื่องหมายทางคณิตศาสตร์ ฉบับพื้นฐานของหนูน้อยวัยเรียน รู้จักหรือยัง ?
วิดีโอจาก : MV KIDS
|
20 รูปทรงเรขาคณิต และรูปทรงอื่น ๆ
|
ชื่อรูปทรง |
ภาษาอังกฤษ |
วงกลม |
Circle |
สามเหลี่ยม |
Triangle |
สี่เหลี่ยมผืนผ้า |
Rectangle |
รูปทรงสิบเหลี่ยม |
Decagon |
สี่เหลี่ยมจัตุรัส |
Square |
รูปทรงแปดเหลี่ยม |
Octagon |
สี่เหลี่ยมด้านขนาน |
Parallelogram |
รูปทรงหัวใจ |
Heart |
ปริซึมสี่เหลี่ยม |
Rectangular Prism |
รูปทรงกรวย |
Cone |
สี่เหลี่ยมคางหมู |
Trapezoid |
รูปทรงกระบอก |
Cylinder |
สี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน |
Rhombus |
รูปทรงดาว |
Star |
สามเหลี่ยมมุมฉาก |
Right Triangle |
รูปทรงลูกบาศก์ |
Cube |
รูปทรงหกเหลี่ยม |
Hexagon |
วงรี |
Ellipse |
รูปทรงเจ็ดเหลี่ยม |
Heptagon |
รูปทรงห้าเหลี่ยม |
Pentagon |
4 เทคนิคสอนลูกจดจำรูปทรงเรขาคณิต
จากที่เราได้บอกไปแล้วว่าการจดจำรูปทรงเรขาคณิต รวมถึงรูปทรงต่าง ๆ เป็นการเรียนรู้ และการจดจำ จำแนกวัตถุในระดับพื้นฐานที่เด็ก ๆ ควรจะต้องเรียนรู้เอาไว้ วันนี้เราจึงมี 4 เทคนิคง่าย ๆ จะมาแชร์ให้ผู้ปกครองลองเอาไปใช้ดู เพื่อพัฒนาการที่ดีของลูกน้อย
1. สอนจากชีวิตประจำวัน
เด็กในวัยเรียนยิ่งออกไปเจอโลกมากยิ่งได้เรียนรู้ หรือบางครั้งการอยู่ในบ้านก็สามารถเรียนรู้ได้เช่นกัน ผู้ปกครองสามารถหาโอกาสสอนให้ลูกจดจำรูปทรงต่าง ๆ ได้ง่าย ๆ ด้วยการลองถามตรง ๆ เกี่ยวกับวัตถุรอบ ๆ ตัวของลูก รอให้ลูกคิดแล้วตอบ เป็นวิธีที่ง่ายที่สุด เนื่องจากสิ่งของรอบตัวมีหลายรูปทรง ทำให้ลูกสามารถเข้าใจ และเปรียบเทียบรูปทรงต่าง ๆ ได้ง่าย แต่ระวังอย่าทำเหมือนการสอนหนังสือ ที่ต้องจี้ให้ลูกตอบ หรือตอบไม่ถูกก็ไม่ควรดุลูก ควรถามเมื่อมีโอกาส เป็นการเรียนรู้เมื่อมีเวลาว่างโดยไม่กดดันเท่านั้น
2. ฝึกจำแนกรูปทรงเรขาคณิต
เป็นกิจกรรมที่ได้รับความนิยมมากสำหรับการฝึกเด็กเล็ก ด้วยการหาวัตถุรูปทรงต่าง ๆ มาวางรวมกัน จากนั้นให้เขียนกระดาษตามรูปทรงหลักต่าง ๆ เช่น ทรงกลม, ทรง 4 เหลี่ยม หรือ ทรง 3 เหลี่ยม เป็นต้น แล้วจับเวลาให้ลูกนำรูปทรงไปวางตามช่องต่าง ๆ เมื่อหมดเวลาก็ให้นับรูปทรงที่ลูกวางถูกช่อง หากวางผิดก็อธิบายให้ลูกว่าทำไมจึงผิด แล้วควรนำไปวางช่องไหน อาจมีรางวัลเพื่อเป็นแรงจูงใจให้ลูกอยากเล่น อยากเรียนรู้ด้วยก็ได้
นอกจากนี้ยังมีของเล่นที่เสริมทักษะการจำแนกรูปทรงวัตถุสำหรับเด็ก ซึ่งสามารถหาซื้อได้ทั่วไป เพื่อนำมาให้ลูกลองเล่นในเวลาว่างก็ได้ แต่เราแนะนำให้ทำกิจกรรมร่วมกัน มากกว่าการให้ลูกนั่งเรียนรู้ด้วยตัวคนเดียว
3. จดจำผ่านสื่อออนไลน์ที่เหมาะกับเด็ก
ปัจจุบันการเรียนรู้ผ่านสื่อออนไลน์ก็เป็นอีกช่องทางที่สามารถส่งเสริมพัฒนาการของเด็ก ๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นจากการดูการ์ตูนเสริมความรู้ทางคณิตศาสตร์ หรือการฟังเพลงที่เกี่ยวกับรูปทรงต่าง ๆ ก็ได้เช่นกัน นอกจากนี้หากให้ลูกฟังเพลงสนุก ๆ นอกจากจะทำให้ลูกได้มีโอกาสจดจำรูปทรงเรขาคณิตแล้ว ลูก ๆ ยังสามารถลุกขึ้นมาเต้น เป็นการออกกำลังกายไปในตัวได้ด้วย แต่ผู้ปกครองไม่ควรให้ลูกเลือกสื่อเอง อย่าลืมที่จะจำกัดการเข้าถึงสื่อ หรือนั่งดู นั่งร้องเพลงกับลูกไปด้วยเลย ก็ทำให้ลูกรู้สึกสนุกมากขึ้นได้
วิดีโอจาก : Little Rabbit
4. เล่นเกม ทำกิจกรรมสนุก ๆ
การได้เล่นเกมทำกิจกรรมสนุก ๆ สำหรับเด็ก ๆ นั้นเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เนื่องด้วยการเรียนรู้แบบทั่วไป หรือในห้องเรียนอาจน่าเบื่อ หากต้องมานั่งเรียนรู้ที่บ้านอีก ต่อให้ไม่ถูกกดดันจากผู้ปกครอง แต่เด็ก ๆ ก็อาจส่ายหัวได้ การเรียนรู้ที่ดีบางครั้งก็ต้องมาพร้อมกับความแปลกใหม่บ้าง ผู้ปกครองอาจคิดเกมมาเล่นง่าย ๆ โดยมีเป้าหมายเพื่อสอนให้รู้จักรูปทรงเรขาคณิต เช่น เกมทายรูปร่าง โดยให้ผู้ปกครองหาภาพของรูปทรงต่าง ๆ รวมเอาไว้ และค่อย ๆ เปิดให้ลูกทายทีละภาพ ถ้าลูกทายถูกจะได้ 1 คะแนน ถ้าทายผิดจะถูกลบ 1 คะแนน เมื่อทายจนหมดแล้ว ก็มานับสรุปคะแนน แล้วให้ของรางวัลตามคะแนนที่ได้ เป็นต้น กิจกรรมง่าย ๆ แบบนี้คิดได้ไม่ยาก แถมยังทำให้ลูกสนุก พร้อมที่จะเรียนรู้ได้มากกว่าเดิมแน่นอน
การเรียนรู้เสริมด้วยความสนุก คลายจากความกดดันในห้องเรียน เป็นการเรียนรู้ที่ดี ทำให้ลูกสามารถได้ความรู้ไปพร้อม ๆ กับการใช้เวลาร่วมกันในครอบครัวได้ ไม่ใช่แค่การเรียนรู้เรื่องเรขาคณิตเพียงอย่างเดียว แต่ยังรวมถึงเรื่องอื่น ๆ ด้วยเช่นกัน
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
4 เทคนิค แบ่งเวลาอ่านหนังสือ สำหรับวัยรุ่นวัยสอบ จำง่าย ถึงเวลาพิชิตคะแนน
ทุกวันนี้ทำไมเด็ก ๆ ต้อง “ท่องสูตรคูณ” ในยุคที่มีเครื่องคิดเลขล้ำสมัย ?
3 สูตรคำนวณ ร้อยละ ให้ลูกฝึก ใช้บ่อยแน่นอนขอบอก !
ที่มา : 1, rakluke
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!