จะรู้ได้ไงว่าลูกอิ่ม กินนมแม่พอหรือไม่พอ คุณแม่เช็คได้นะ
จะรู้ได้ไงว่าลูกอิ่ม กินนมแม่พอหรือไม่พอ คุณแม่เช็คได้นะ
ปัญหาน่ากังวลของแม่ให้นม คือมักจะกลัวว่า นมของแม่ อาจจะไม่พอต่อลูกน้อย ให้ลูกดูดเต้าไปเรื่อย ๆ จะรู้ได้ไงว่าลูกอิ่ม และเพื่อให้ใจว่า น้ำนมยังมีหรือเปล่า ก็มักจะลองบีบเต้านมดู ปรากฎว่าก็มีน้ำนมไหลออกมานะ แต่จะบอกได้อย่างไรว่า ลูกน้อยได้รับนมแม่อย่างเพียงพอหรือเปล่า ? นี่คือสัญญาน ที่คุณแม่จะสังเกตได้ว่า “ลูกอิ่ม”
ให้ลูกดูดเต้าไปเรื่อย ๆ จะรู้ได้ไงว่า ลูกกินนมอิ่ม
#1 หลังจากทารกกินนมแม่แล้วจะรู้สึกสงบและผ่อนคลาย
หากคลายปากลูกออกจากเต้า แต่เจ้าตัวน้อยยังคงหงุดหงิดหรือร้องไห้ แสดงว่าอาจจะยังหิวอยู่ แต่นั้นก็อาจมีสาเหตุอื่นอีกด้วย เช่น ลูกน้อยไม่ยอมเรอ ทำให้มีอาการปวดท้อง หรือจะเป็นเพราะว่า ท่าให้นม ของคุณแม่นั้นยังไม่ถูกท่า ในขณะที่ให้นม คุณแม่ลองจัดท่าให้นั่งหลังตรง ตามสบาย ไม่ต้องเกร็ง หาหมอนเล็ก ๆ ไว้หลายใบเพื่อรองหลัง รองแขนหรือวางบนตักรองรับตัวลูก ช่วยหนุนลูกให้สูงขึ้นมาถึงบริเวณเต้านม เมื่อหัวของตัวลูกเข้าหาแม่ ปากลูกจะอยู่ตรงกับหัวนมแม่พอดี ถ้าคุณแม่ถนัดให้นมอย่างถูกท่า ก็จะช่วยให้ลูกน้อยได้ดูดนมอย่างเต็มที่ ภายหลังกินนมอิ่ม ลูกก็จะอารมณ์ดี ดูมีความสุข และนอนหลับได้นานประมาณ 2 – 3 ชั่วโมง
หลังกินนมอิ่ม ลูกก็จะอารมณ์ดี ดูมีความสุข และนอนหลับได้นาน ประมาณ 2 – 3 ชั่วโมง
#2 เต้านมจะนิ่มลงหลังให้นม
ให้คุณแม่สังเกตเต้านมก่อน และหลังจากการให้นม เต้านมจะตึงคัดและนิ่มลง หลังลูกดูดนมไปแล้ว คุณแม่จะรู้สึกว่าเต้านมโล่งและเบาขึ้น
#3 ลูกจะฉี่อย่างน้อยวันละ 5 – 6 ครั้ง
สำหรับลูกที่กินนมมาโดยตลอด อาจ ไม่มีการถ่าย ได้หลายวันหรือบางรายนาน 2 – 3 สัปดาห์ ก็ยังถือว่าปกติ ดังนั้นผ้าอ้อมที่เลอะอึ อาจไม่ได้เป็นหลักฐานว่า ลูกอิ่มเสมอไป แต่ถ้าคุณแม่ต้องเปลี่ยนผ้าอ้อม จากการปัสสาวะของลูกวันละ 5 – 6 ครั้งขึ้นไป แปลว่าลูกน้อยได้กินนมอย่างเพียงพอค่ะ
ดังนั้นผ้าอ้อมที่เลอะอึ อาจไม่ได้เป็นหลักฐานว่า ลูกอิ่มเสมอไป
#4 ได้ยินเสียงกลืนนม
ถ้าได้ยินเสียงลูกกลืนนมในขณะที่ดูดนม แสดงว่าลูกกินนมได้ดี และถ้าลูกคายหัวนมออกมาแล้ว แสดงว่า ลูกกินอิ่ม
นอกจากนี้ คุณแม่อาจดูว่าลูกกินนมอิ่ม ได้รับนมแม่อย่างเพียงพอหรือไม่นั้น จากน้ำหนักตามเกณฑ์ ที่ควรเพิ่มขึ้นวันละ 30 กรัม / วัน และการที่ลูกร้องไห้งอแงบ่อย ๆ ก็อาจไม่ได้หมายความว่า ลูกจะหิวหรือกินนมไม่พอ แต่อาจเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ ที่ ทารกร้องไห้ ได้ เช่น ไม่สบายตัว อาจจะรู้สึกร้อนหรือหนาวเกินไป ง่วงนอน หรือต้องการความอบอุ่นจากคุณแม่ เป็นต้น ดังนั้นแม้เรื่องการ เอาลูกเข้าเต้า นั้นเป็นสิ่งที่ใหม่และยากสำหรับแม่มือใหม่ แต่มันก็เป็นสิ่งใหม่ และซับซ้อนสำหรับเจ้าตัวน้อยด้วยเช่นกัน ขอให้คุณแม่อย่าเพิ่งกังวล มุ่งมั่นตั้งใจในการให้นมลูกได้ดูด นมแม่ เพื่อเป็นการกระตุ้นนมแม่ให้มีไหลเพิ่มมากขึ้น เพราะธรรมชาตินั้น สร้างให้คุณแม่ทุกคนมีน้ำนม เพื่อป้อนให้ทารกตั้งแต่แรกเกิดอยู่แล้ว
แต่ถ้าคุณแม่ยังกังวลใจ ว่าลูกกินนมได้ไม่เพียงพอ หรือไม่เป็นไปตามสัญญาณข้างต้น สามารถไปปรึกษาและรับคำแนะนำเกี่ยวกับเคล็ดลับในการให้นม จากกุมารแพทย์ดูนะคะ
ลูกร้องไห้งอแง อาจไม่ได้แปลว่า ลูกหิว หรือกินนมไม่พอ แต่อาจเกิดจาก สาเหตุอื่น ๆ
The Asianparent Thailand เว็บไซต์และคอมมูนิตี้อันดับหนึ่งที่คุณแม่เลือก นอกจากสาระความรู้ที่เรามอบให้คุณแม่ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ การวางแผนมีลูกแล้ว เรายังมีแอพพลิเคชั่นรวมถึงสื่อมัลติมีเดียหลากหลายที่ช่วยตอบโจทย์ทุกความต้องการของคุณแม่ยุคใหม่ ที่ต้องทำงานและดูแลลูกไปพร้อมกัน ให้มีความมั่นใจและพร้อมในการดูแลลูกทุกช่วงเวลา ตั้งแต่การให้นมบุตร การดูแลตนเองหลังคลอด ท่าออกกำลังกายหลังคลอดเพื่อให้หุ่นของแม่หลังคลอดกลับมาฟิตแอนเฟิร์มอีกครั้ง The Asianparent Thailand ขอเป็นส่วนหนึ่งที่จะสนับสนุนคุณพ่อคุณแม่ในเรื่องการดูแลลูก ความรู้แม่และเด็กที่เต็มเปี่ยม และตอบทุกข้อสงสัยในแอพพลิเคชั่นที่เป็นสื่อกลาง และกิจกรรมส่งเสริมความสัมพันธ์ในครอบครัวไทย
credit content : www.swaddlesnbottles.com
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
“หน้าอกขยาย” เลือกชุดชั้นใน ให้เหมาะสำหรับคนท้อง ในแต่ละไตรมาส อย่างไรให้พอดี
ท้องมาตั้งนาน ลูกในท้องโตช้า ทำไงดี แล้วจะรู้ได้ไงว่า ลูกในท้องโตช้า
คลายกังวล WHO เผยที่ตรวจเจอ ไวรัสในนมแม่ เป็นแค่ชิ้นส่วนไวรัส ความเสี่ยงติดโควิดต่ำ
ฟ้าทะลายโจร ต้านโควิด 19 เสริมภูมิคุ้มกัน แต่คนท้อง และแม่ให้นมบุตร ห้ามกิน!
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!