ลองทำดู! วิธีการให้นมแม่ Step 1-2-3 ลูกปลอดภัย แม่ไม่เครียด

คุณแม่ให้นมลูกมือใหม่มักจะมีความกังวล วันนี้เราจะมาบอก วิธีการให้นมแม่ แบบง่ายๆ ให้คุณแม่ได้มีความสุขกับการให้นมลูกได้อย่างเต็มที่

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

“นมแม่” นอกจากจะเป็นอาหารที่มีคุณค่าสูงสุดสำหรับลูกน้อยแล้ว การให้ลูกได้ดูดนมจากเต้า ยังช่วยเสริมสร้างความผูกพันระหว่างแม่และลูกได้เป็นอย่างดี แต่การให้นมแม่ก็อาจเป็นเรื่องที่น่ากังวลสำหรับคุณแม่หลายคน เพราะมีคำถามและข้อสงสัยมากมายเข้ามาในหัว เช่น ให้นมลูกยังไงถึงจะถูกวิธี? มีปัญหาเรื่องน้ำนมน้อยจะทำอย่างไร? หรือลูกดูดนมไม่เก่งจะแก้ไขยังไง? บทความนี้จะพาคุณแม่ไปไขข้อข้องใจและเรียนรู้ วิธีการให้นมแม่ แบบง่ายๆ เพื่อให้ลูกน้อยได้รับสารอาหารครบถ้วน และคุณแม่ก็มีความสุขกับการเลี้ยงลูกได้อย่างเต็มที่

ความสำคัญของการให้นมแม่

ก่อนที่จะไปถึง วิธีการให้นมแม่ เรามาทำความเข้าใจกันก่อนว่าทำไมการให้นมแม่ถึงสำคัญขนาดนั้น

  • น้ำนมแม่คืออาหารที่ดีที่สุดสำหรับลูกน้อย น้ำนมแม่มีสารอาหารมากกว่า 200 ชนิด ตามความต้องการของลูกในแต่ละช่วงวัย อุดมไปด้วยภูมิคุ้มกันที่ช่วยป้องกันโรคต่างๆ และช่วยพัฒนาการเจริญเติบโตได้อย่างเต็มที่
  • เพิ่มไอคิว นมแม่มีกรดไขมันและสารอาหารอื่นๆ ที่ช่วยพัฒนาสมองและระบบประสาทของลูกน้อย ทำให้สมองลูกได้เรียนรู้เร็ว
  • เสริมสร้างอบอุ่น ความผูกพันระหว่างแม่และลูก การให้นมแม่เป็นช่วงเวลาที่คุณแม่และลูกน้อยได้ใกล้ชิดกัน ทำให้เกิดความผูกพันและความรักที่แน่นแฟ้นและช่วยส่งเสริมพัฒนาการต่างๆ ของลูกได้อีกเช่นกัน การจ้องหน้า การพูดคุยกับลูกระหว่างที่ลูกดูดนม เป็นการกระตุ้นการรับรู้ของลูกได้
  • ลดความเสี่ยงของโรคต่างๆ ในลูกน้อย เด็กที่ได้รับนมแม่มีโอกาสป่วยเป็นโรคต่างๆ เช่น โรคภูมิแพ้ โรคหอบหืด ท้องเสีย การติดเชื้อในหู และระบบทางเดินหายใจหรือปอดบวม
  • ช่วยให้คุณแม่ฟื้นตัวหลังคลอดได้เร็วขึ้น การให้นมแม่ช่วยกระตุ้นให้มดลูกหดตัวกลับเข้าอู่เร็วขึ้น ลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะโลหิตจาง และยังช่วยให้คุณแม่เผาผลาญพลังงานได้มากขึ้น ช่วยให้รูปร่างกลับคืนสู่สภาวะเดิมได้เร็วขึ้น อีกทั้งยังช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งเต้านม มะเร็งรังไข่ และโรคกระดูกพรุน
  • ช่วยประหยัด การที่คุณแม่ให้ลูกกินนมแม่ จะสามารถช่วยประหยัดเงินได้ถึง 3,000-5,000 บาทต่อเดือนเชียวนะคะ
  • ช่วยลดน้ำหนักหลังคลอด การให้นมแม่ช่วยให้คุณแม่ลดน้ำหนักได้อย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยเฉลี่ยประมาณ 0.6-0.8 กิโลกรัมต่อเดือน เนื่องจากร่างกายจะเผาผลาญไขมันที่สะสมไว้ในช่วงตั้งครรภ์ เพื่อนำไปใช้ในการสร้างน้ำนม ทำให้คุณแม่กลับมามีรูปร่างที่เฟิร์มกระชับได้เร็วขึ้น มีงานวิจัยหลายชิ้นสนับสนุนว่า คุณแม่ที่ให้นมลูกด้วยนมแม่จนถึงอายุ 1 ปี จะมีน้ำหนักตัวใกล้เคียงกับช่วงก่อนตั้งครรภ์มากที่สุด
  • ช่วยคุมกำเนิด การให้นมลูกยังช่วยในการคุมกำเนิดได้อีกด้วย เนื่องจากการให้นมจะช่วยยับยั้งการตกไข่ ทำให้คุณแม่ที่ให้นมลูกอย่างสม่ำเสมอมีโอกาสตั้งครรภ์น้อยลง ในช่วง 6 เดือนแรกหลังคลอด แต่เพื่อความมั่นใจในการวางแผนครอบครัว ควรปรึกษาแพทย์เพื่อเลือกวิธีคุมกำเนิดที่เหมาะสมเพิ่มเติม หลังจาก 6 เดือนเป็นต้นไป

การให้นมแม่ได้สำเร็จ ต้องรู้ 3 Step นี้

การเริ่มต้นให้นมลูกอาจดูยุ่งยาก แต่ถ้าคุณแม่เข้าใจขั้นตอนสำคัญๆ เหล่านี้ ก็จะสามารถให้นมลูกได้อย่างราบรื่นและมีความสุขค่ะ

  1. เทคนิคดูด
  2. ท่าให้นมที่ถูกต้อง
  3. วิธีแก้ปัญหาที่ถูกจุด

เทคนิค 4 ดูด วิธีการให้นมแม่ ลูกปลอดภัย แม่ไม่เครียด

เทคนิค “4 ดูด” เป็นหลักการสำคัญที่ช่วยให้การให้นมแม่เป็นไปอย่างราบรื่นและประสบความสำเร็จค่ะ มาดูกันว่าแต่ละ “ดูด” มีความหมายและสำคัญอย่างไรบ้าง

1. ดูดเร็ว

คือ การให้นมแม่ทันทีในช่วง 1 ชั่วโมงแรกหลังคลอด การให้นมลูกน้อยทันทีหลังคลอดเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะช่วงเวลานี้ลูกจะมีสัญชาตญาณในการดูดนมที่แข็งแรง และช่วยกระตุ้นการผลิตน้ำนมของแม่ได้ดี อีกทั้ง น้ำนมเหลือง (Colostrum) เป็นน้ำนมชนิดแรกที่ผลิตหลังคลอด มีสารอาหารเข้มข้นและภูมิคุ้มกันสูง ช่วยปกป้องลูกน้อยจากการติดเชื้อได้ และการสัมผัสใกล้ชิดระหว่างแม่และลูกในช่วงเวลานี้จะช่วยสร้างความผูกพันที่แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น

2. ดูดบ่อย

ควรให้ลูกดูดเสมอเมื่อลูกหิว ไม่จำเป็นต้องรอให้ถึงเวลาที่กำหนด หากลูกส่งสัญญาณหิว เช่น ร้องไห้ ดูดนิ้วมือ หรือขยับปาก ให้เอาลูกเข้าเต้าดูดนมทันที และควรสลับให้ลูกดูดนมทั้งสองข้างในแต่ละครั้ง การที่ให้ลูกดูดนมบ่อยๆ จะเป็นตัวกระตุ้นสำคัญที่ทำให้ร่างกายแม่ผลิตน้ำนมออกมาได้มากขึ้น และการดูดนมบ่อยจะช่วยให้เต้านมไม่คัด และลดความเสี่ยงในการเกิดการอักเสบของเต้านม

3. ดูดถูกวิธี

การดูดนมถูกวิธีจะลดความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาหัวนมแตกและปวด และจะช่วยให้ลูกดูดนมได้อย่างมีประสิทธิภาพและได้รับสารอาหารครบถ้วน

  • ครอบลานนม เมื่อลูกเริ่มดูดนม ปากลูกต้องเปิดกว้าง เพื่ออมหัวนมของแม่ และหัวนมต้องอยู่ลึกเข้าไปในปากของลูกจนมิดลานนม และถ้าลานนมกว้างก็ให้อมให้มากที่สุด
  • คางชนเต้า คางของลูกควรแนบชิดกับเต้านม ปลายจมูกชิดหรือแตะเต้านม
  • ขากรรไกร ใบหู ขยับตอนดูด เมื่อลูกดูดนม ใบหูและขากรรไกรของลูกจะขยับไปมาอย่างต่อเนื่อง
  • ลูกดูดแรง ลูกจะดูดโดยใช้ลิ้นรีดน้ำนมเป็นจังหวะสม่ำเสมอ ได้ยินเสียงกลืนนมเป็นจังหวะ ถ้าลูกไม่ค่อยดูดหรือดูดช้าลง ให้บีบเต้านมช่วยเพื่อเพิ่มปริมาณน้ำนมเข้าปากลูก

4. ดูดเกลี้ยงเต้า

น้ำนมมีส่วนหน้าและหลัง น้ำนมส่วนหน้ามีลักษณะเจือจาง ส่วนน้ำนมส่วนหลังมีไขมันสูง ช่วยให้ลูกอิ่มท้องและได้รับพลังงาน การดูดนมเกลี้ยงเต้าจะทำให้ลูกได้รับทั้งน้ำนมส่วนหน้าและส่วนหลัง ซึ่งมีสารอาหารที่แตกต่างกัน อีกทั้งการดูดนมเกลี้ยงเต้าจะส่งสัญญาณให้ร่างกายแม่ผลิตน้ำนมออกมาเพิ่มขึ้น

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

วิธีเช็กว่านมเกลี้ยงเต้าแล้ว

  • เต้านมนิ่มทั้ง 2 ข้าง
  • คุณแม่ไม่มีอาการเจ็บเต้านม
  • หากบีบน้ำนม จะออกเป็นหยด ไม่พุ่ง

6 ท่าให้นมลูก วิธีการให้นมแม่ ที่ถูกต้อง

วิธีอุ้มระหว่างให้นมลูกนั้นมีได้หลายแบบ คุณแม่สามารถเลือกและปรับท่าให้รู้สึกว่าตัวเองสบายที่สุดได้เลย จะได้ไม่เกร็งและทำให้ลูกได้รับน้ำนมอย่างเพียงพอ โดยท่าให้นมที่คุณแม่ควรศึกษาเอาไว้มี 6 ท่าดังนี้

1. ท่าอุ้มนอนขวางบนตักแม่ (Cradle Hold)

ให้คุณแม่นั่งขัดสมาธิอุ้มลูกวางขวางไว้บนตัก ให้ท้ายทอยอยู่ที่แขนของคุณแม่ ปลายแขนของคุณแม่ช้อนไปที่ส่วนหลังและก้นของลูก ตะแคงตัวลูกเข้าหาเต้านมให้หน้าอกลูกและคุณแม่ชิดกัน มืออีกข้างพยุงเต้านม เพื่อป้องกันไม่ให้ปิดจมูกลูก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

2. ท่านอนขวางบนตักแบบประยุกต์ (Modified/Cross Cradle Hold)

อุ้มลูกน้อยวางไว้บนตักคล้ายท่าแรกแต่เปลี่ยนการวางมือของคุณแม่ โดยใช้มือด้านตรงข้ามกับเต้านมช้อนระหว่างท้ายทอยและคอของลูกแทนมืออีกข้างพยุงเต้านม

3. ท่าอุ้มลูกฟุตบอล (Clutch Hold/Football Hold)

ท่านี้เป็นอีกท่าที่ค่อนข้างสะดวกสบาย วางหมอนหนา ๆ ไว้ข้างลำตัวจัดตำแหน่งลูกน้อยให้อยู่บนหมอนให้ลำตัวของลูกน้อยอยู่ใต้แขนของคุณแม่ ใช้มือประคองที่ท้ายทอยคอ และส่วนหลังของลูกน้อยเหมือนอุ้มลูกฟุตบอลที่เหน็บไว้ข้างลำตัว

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

4. ท่านอนตะแคง (Side Lying Position)

เป็นที่ค่อนข้างสบายทั้งคุณแม่และลูก โดยคุณแม่และลูกนอนตะแคงเข้าหากันศีรษะแม่สูงเล็กน้อย วางลูกให้ตำแหน่งปากอยู่ตรงกับหัวนมของแม่ มือที่อยู่ด้านบนประคองเต้านมเพื่อนำหัวนมเข้าปากลูก เมื่อลูกดูดได้ดี สามารถขยับออก ประคองต้นคอและหลังได้

5. ท่าเอนตัว (Laid-back Hold)

ท่านี้คุณแม่นอนเอนตัวแล้ววางลูกไว้บนหน้าอก ใช้มือโอบลูกน้อยไว้ และให้ศีรษะลูกเอียงเล็กน้อยเพื่อป้องกันการปิดกั้นทางเดินหายใจ

6. ท่าตั้งตรง (Upright or Standing Baby)

อุ้มลูกน้อยตั้งตรงนั่งตัก ขาลูกคร่อมช่วงต้นขาคุณแม่ ศีรษะและลำตัวของลูกเอนเล็กน้อย ใช้มือประคองศีรษะของลูกและเต้านม ส่วนมืออีกข้างหนึ่งประคองที่เต้านม

 

ปัญหาที่พบบ่อยในการให้นมแม่ พร้อมวิธีแก้ไข

แน่นอนว่าปัญหาของแม่ให้นมต้องมีมากมายหลายข้อ แต่หลักๆ ที่คุณแม่ส่วนมากมักเจอ และจะแก้ไขกันอย่างไรได้บ้าง มาดูกัน

1. ปัญหาน้ำนมน้อย น้ำนมไม่พอ

สาเหตุ อาจเกิดจากหลายปัจจัย เช่น การผลิตฮอร์โมนไม่เพียงพอ ลูกดูดนมไม่บ่อย ความเครียด โรคบางชนิด หรือการใช้ยาบางชนิด

การแก้ไข 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • กระตุ้นการผลิตน้ำนม คือให้นมบ่อยครั้ง ทุกครั้งที่ลูกหิว ควรให้นมทันที เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายผลิตน้ำนมออกมาเพิ่มขึ้น ให้ลูกดูดนมให้หมดทั้งสองข้าง เพื่อให้เต้านมทั้งสองข้างได้รับการกระตุ้นอย่างเท่าเทียม หากลูกดูดนมไม่บ่อย หรือต้องการเก็บน้ำนมไว้ สามารถใช้เครื่องปั๊มนมช่วยได้
  • อาหาร กินอาหารที่มีประโยชน์ อาหารที่มีโปรตีน วิตามิน และแร่ธาตุเพียงพอจะช่วยในการผลิตน้ำนม และการดื่มน้ำมากๆ ช่วยเพิ่มปริมาณน้ำนม
  • พักผ่อนให้เพียงพอ การพักผ่อนจะช่วยให้ร่างกายได้ผ่อนคลายและผลิตน้ำนมได้ดีขึ้น
  • ลดความเครียด ความเครียดเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการผลิตน้ำนม ควรหาเวลาผ่อนคลายทำกิจกรรมที่ชอบ
  • หากพยายามแก้ไขด้วยตัวเองแล้วแต่ยังไม่ดีขึ้น ควรปรึกษาแพทย์หรือที่ปรึกษาการให้นม เพื่อหาสาเหตุและวิธีแก้ไขที่เหมาะสม

2. ปัญหาหัวนมแตก เจ็บหัวนม

สาเหตุ สามารถเกิดได้จากหลายปัญหา เช่น ท่าการให้นมไม่ถูกต้อง หัวนมบอบบาง ลูกดูดนมแรงเกินไป หรือเต้านมอักเสบ

การแก้ไข

  • ตรวจสอบท่าการให้นมให้ถูกต้อง คางชิดเต้า ปากอ้ากว้าง จมูกแตะเต้า ร่างกายของแม่และลูกต้องอยู่ในท่าที่สบาย
  • เปลี่ยนท่าให้นม การเปลี่ยนท่าให้นมบ่อยๆ จะช่วยลดแรงกดทับที่หัวนม และกระจายน้ำหนักได้ดีขึ้น
  • ใช้เจลป้องกันหัวนม เจลป้องกันหัวนมจะช่วยสร้างชั้นป้องกันให้กับหัวนม ลดอาการระคายเคือง
  • บีบน้ำนมออกเล็กน้อยก่อนให้นม การบีบน้ำนมออกเล็กน้อยก่อนให้นม จะช่วยลดแรงดูดของลูก ทำให้หัวนมเจ็บน้อยลง

3. ปัญหาเต้านมคัดตึง

สาเหตุ น้ำนมผลิตมากเกินไป ร่างกายผลิตน้ำนมมากกว่าที่ลูกดูดออกไป ทำให้น้ำนมคั่งอยู่ในท่อน้ำนม หากลูกดูดนมไม่บ่อย หรือดูดนมไม่เก่ง จะทำให้น้ำนมคั่ง หรืออาจเกิดจากท่อน้ำนมอุดตัน

การแก้ไข

  • ให้นมลูกบ่อยๆ การให้นมลูกบ่อยๆ และดูดนมให้หมดทั้งสองข้าง จะช่วยลดปริมาณน้ำนมที่คั่งอยู่ในเต้านม
  • บีบน้ำนมออก ก่อนให้นมลูก ลองบีบน้ำนมออกเล็กน้อย เพื่อให้นมไหลเวียนได้ดีขึ้น
  • ประคบเย็น ใช้ผ้าชุบน้ำเย็นประคบบริเวณเต้านมก่อนให้นมลูก เพื่อลดอาการบวมและปวด
  • ประคบอุ่น หลังจากให้นมลูกเสร็จแล้ว สามารถประคบอุ่นเพื่อช่วยให้ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ
  • นวดเต้านม การนวดเต้านมเบาๆ เพื่อช่วยให้น้ำนมไหลเวียนได้ดีขึ้น
  • การพักผ่อนที่เพียงพอจะช่วยให้ร่างกายฟื้นตัวได้เร็วขึ้น

4. ปัญหาเต้านมอักเสบ

สาเหตุ เกิดจากการที่เชื้อแบคทีเรียเข้าไปในเต้านมผ่านรอยแตกของหัวนม หรือจากท่อน้ำนมที่อุดตัน ซึ่งอาจเกิดจากการให้นมลูกไม่บ่อยพอ ท่าการให้นมไม่ถูกต้อง หรือเต้านมคัดตึง อาการที่พบบ่อยคือ ปวดเต้านมอย่างรุนแรง บวมแดง ร้อน มีไข้ และอาจรู้สึกปวดเมื่อยทั่วตัว

การแก้ไข

  • กินยาปฏิชีวนะ คุณหมอจะสั่งยาปฏิชีวนะเพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของการอักเสบ
  • ให้นมลูกบ่อยๆ และดูดนมให้หมดทั้งสองข้าง จะช่วยให้ท่อน้ำนมโล่งขึ้น และต้องให้ลูกกินนมในท่าที่ถูกต้อง เพื่อลูกสามารถดูดน้ำนมให้เกลี้ยงเต้าได้
  • การประคบอุ่น ก่อนให้นมลูกจะช่วยให้น้ำนมไหลเวียนได้ดีขึ้น
  • กินอาหารที่มีประโยชน์ ดื่มน้ำมากๆ

 

การให้นมแม่ เป็นหนึ่งในเรื่องที่ท้าทายมากๆ สำหรับคุณแม่ทุกคน โดยเฉพาะในช่วงแรก ก็ไม่ได้ง่าย เนื่องจากมักจะมีปัญหาที่เป็นอุปสรรคในการให้นม เช่น เต้านมอักเสบ ซึ่งอาจทำให้คุณแม่รู้สึกท้อแท้ได้ อย่างไรก็ตาม วิธีการให้นมแม่ หากคุณแม่เข้าใจสาเหตุและวิธีการแก้ไขปัญหา ก็จะสามารถผ่านพ้นช่วงเวลานี้ไปได้อย่างราบรื่น การดูแลสุขภาพของตัวเองจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก คุณแม่ควรพักผ่อนให้เพียงพอ กินอาหารที่มีประโยชน์ และดื่มน้ำมากๆ เพื่อให้มีพลังงานในการดูแลลูกน้อย

ที่มา : โรงพยาบาลกรุงเทพภูเก็ต , drnoithefamily , OB&GYN MEDCMU

 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

ปั๊มนมกี่นาที ? นมแม่ ยิ่งปั๊มยิ่งเยอะ จริงไหม ?

ควรให้ลูก เลิกดูดเต้า ตอนกี่เดือน หย่านมแม่ตอนไหนดีที่สุด

วิธีเก็บนมแม่ ทำตามง่าย เก็บน้ำนมได้นาน ไม่เหม็นหืน

บทความโดย

yaowamal