X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

จะรู้ได้ไงว่าปั๊มนมเกลี้ยงเต้า แล้วทำไมต้องให้นมเกลี้ยงเต้าด้วยล่ะ

บทความ 3 นาที
จะรู้ได้ไงว่าปั๊มนมเกลี้ยงเต้า แล้วทำไมต้องให้นมเกลี้ยงเต้าด้วยล่ะ

คุณแม่ให้นมมักจะได้ยินว่า ต้องปั๊มนมให้เกลี้ยงเต้า หรือต้องให้ลูกดูดให้เกลี้ยงเต้า คำว่า นมเกลี้ยงเต้า เป็นอย่างไร จะรู้ได้ไงว่าปั๊มนมเกลี้ยงเต้า ไปทำความเข้าใจกัน

นมเกลี้ยงเต้าเป็นอย่างไร จะรู้ได้ไงว่าปั๊มนมเกลี้ยงเต้า

นมเกลี้ยงเต้าเป็นอย่างไร จะรู้ได้ไงว่าปั๊มนมเกลี้ยงเต้า

ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจกับคำว่า นมเกลี้ยงเต้า กันก่อนครับ ซึ่งคำว่า นมเกลี้ยงเต้า นั้น เป็นคำที่คุณแม่ให้นมได้ยินกันอยู่บ่อยๆ เช่น ต้องปั๊มให้เกลี้ยงเต้า หรือ ต้องให้ลูกดูดนมให้เกลี้ยงเต้า จนอาจทำให้คุณแม่ให้นมหลายท่านเข้าใจว่า นมเกลี้ยงเต้าคือการที่ลูกดูดนมจนหมดเกลี้ยง หรือ ปั๊มจนเกลี้ยงหมดเต้า

แต่จริงๆแล้ว ตราบใดที่คุณแม่ยังให้ลูกดูดนม หรือปั๊มนมอยู่นั้น น้ำนมจะไม่มีทางเกลี้ยงเต้าได้จริงๆ เนื่องจากร่างกายของคุณแม่จะยังคงผลิตน้ำนมอยู่ตลอด คำว่า นมเกลี้ยงเต้า นั้น จึงหมายถึง การระบายน้ำนมจนเกือบหมดเต้าเท่านั้นเองครับ ไม่ใช่เกลี้ยงจนไม่เหลืออะไรเลย

จะรู้ได้ไงว่าปั๊มนมเกลี้ยงเต้า

ทำไมต้องให้นมเกลี้ยงเต้า

น้ำนมแม่นั้น จะถูกผลิตมาเก็บไว้ในเต้านม และเมื่อพื้นที่เก็บเต็ม จะทำให้เกิดอาการคัดเต้า ซึ่งคุณแม่ต้องระบายน้ำนมออกโดยการให้ลูกดูดหรือปั๊มน้ำนมออกมา เพื่อให้มีพื้นที่ว่างสำหรับเก็บน้ำนมที่ผลิตออกมาใหม่ เพราะร่างกายจะผลิตน้ำนม ตามน้ำนมที่ระบายออกมา ทั้งจากการปั๊มหรือการให้ลูกดูด ยิ่งระบายออกมากก็จะยิ่งผลิตมาก ถ้าระบายออกน้อย ร่างกายก็จะผลิตน้ำนมน้อยตามไปด้วยครับ

วิธีปั๊มนมให้เกลี้ยงเต้า

  1. การปั๊มนมของคุณแม่ในแต่ละครั้ง ควรใช้เวลาอย่างน้อย 10-15 นาทีต่อข้าง ต่อการปั๊มแต่ละครั้ง
  2. เมื่อปริมาณน้ำนมเพิ่มขึ้น ควรปั๊มให้นานขึ้น และให้บ่อยที่สุดเท่าที่ทำได้ อย่างน้อย 20 – 30 นาที หรือปั๊มต่ออีก 2 นาทีหลังจากน้ำนมถูกปั๊มออกหมดแล้ว เพราะการปั๊มนมให้เกลี้ยงเต้า จะช่วยให้น้ำนมผลิตได้เร็วขึ้น
  3. การปั๊มนมให้เกลี้ยงเต้าอีกวิธีหนึ่ง ก็คือ การปั๊มนมไปพร้อม ๆ กับการดูดนมของลูกอีกข้าง หรือปั๊มพร้อมกัน 2 ข้าง จะทำให้น้ำนมออกได้ดี และกระตุ้นให้ร่างกายผลิตน้ำนมมากขึ้น

จะรู้ได้อย่างไรว่าปั๊มนมเกลี้ยงเต้า ถ้านมไม่เกลี้ยงเต้า จะเป็นอย่างไร ติดตามต่อหน้าถัดไป >>

จะรู้ได้อย่างไรว่าปั๊มนมเกลี้ยงเต้า

จะรู้ได้อย่างไรว่าปั๊มนมเกลี้ยงเต้า ไม่ยากเลยครับ ซึ่งคุณแม่สามารถสังเกตได้ดังนี้

  • ก่อนให้ลูกดูดหรือปั๊มนม จะสังเกตได้ว่า เต้านมจะตึงมาก แต่สำหรับคุณแม่บางท่านมีอาการตึงจนเจ็บ อาการแบบนี้เรียกว่าเต้านมคัด
  • หลังจากให้ลูกดูดนมหรือปั๊มนมเสร็จ เต้านมจะนิ่มลง และอาการเจ็บก็จะหายไปด้วย
  • หากคุณแม่ให้นมลองเอามือบีบเต้านม น้ำนมจะไม่พุ่งออกมามาก และจะมีน้ำนมออกมาเพียงแค่หยดสองหยดเท่านั้น

จะรู้ได้ไงว่าปั๊มนมเกลี้ยงเต้า

ถ้านมไม่เกลี้ยงเต้า จะเป็นอย่างไร

ถ้านมไม่เกลี้ยงเต้า จะทำให้ลูกได้รับน้ำนมส่วนหน้าที่มีไขมันน้อยและมีน้ำตาลมาก ซึ่งอาจจะทำให้ลูกท้องอืด หรือถ่ายอุจจาระบ่อยครั้งกว่าปกติได้ นอกจากนั้นยังอาจทำให้ เต้านมคัด หรืออาจทำให้มีก้อนแข็งๆอยู่ในเต้านม ซึ่งถ้าปล่อยทิ้งไว้นานอาจเกิดการอักเสบได้นะครับ

จะรู้ได้ไงว่าปั๊มนมเกลี้ยงเต้า แล้วทำไมต้องให้นมเกลี้ยงเต้าด้วยล่ะ

เมื่อรู้วิธีปั๊มนมให้เกลี้ยงเต้าแล้ว ความรู้อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการให้นมแม่และการเพิ่มปริมาณน้ำนมก็สำคัญไม่แพ้กัน เราขอแนะนำให้คุณแม่ เข้ามาหาข้อมูลเพิ่มเติมที่ คลับคุณแม่น้ำนมน้อย Community ออนไลน์ที่คุณแม่ผู้มีประสบการณ์ และผู้เชี่ยวชาญในการเพิ่มปริมาณน้ำนม จะมาช่วยกันตอบข้อสงสัยแก่คุณแม่ที่ประสบปัญหาน้ำนมน้อย น้ำนมไม่เพียงพอค่ะ


ที่มา breastfeedingthai

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ

บทความจากพันธมิตร
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดบ้านต้อนรับคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยาก ชวนทำความรู้จัก คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก ที่พร้อมให้บริการแบบ One Stop Service
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดบ้านต้อนรับคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยาก ชวนทำความรู้จัก คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก ที่พร้อมให้บริการแบบ One Stop Service
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย

ปั๊มนมอย่างไรให้ได้น้ำนม ไม่ต้องกลัวลูกไม่พอกิน

น้ำนมแม่แยกชั้น กินได้อยู่ไหม แล้วแต่ละชั้นต่างกันอย่างไร

parenttown

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

P.Veerasedtakul

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • จะรู้ได้ไงว่าปั๊มนมเกลี้ยงเต้า แล้วทำไมต้องให้นมเกลี้ยงเต้าด้วยล่ะ
แชร์ :
  • ไขข้อข้องใจ นมเกลี้ยงเต้าเป็นอย่างไร รู้ได้ไงว่านมเกลี้ยงเต้า

    ไขข้อข้องใจ นมเกลี้ยงเต้าเป็นอย่างไร รู้ได้ไงว่านมเกลี้ยงเต้า

  • นมเกลี้ยงเต้า เป็นอย่างไร รู้สึกอย่างไร ทำอย่างไรให้ลูกดูดนมเกลี้ยงเต้า

    นมเกลี้ยงเต้า เป็นอย่างไร รู้สึกอย่างไร ทำอย่างไรให้ลูกดูดนมเกลี้ยงเต้า

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

  • ไขข้อข้องใจ นมเกลี้ยงเต้าเป็นอย่างไร รู้ได้ไงว่านมเกลี้ยงเต้า

    ไขข้อข้องใจ นมเกลี้ยงเต้าเป็นอย่างไร รู้ได้ไงว่านมเกลี้ยงเต้า

  • นมเกลี้ยงเต้า เป็นอย่างไร รู้สึกอย่างไร ทำอย่างไรให้ลูกดูดนมเกลี้ยงเต้า

    นมเกลี้ยงเต้า เป็นอย่างไร รู้สึกอย่างไร ทำอย่างไรให้ลูกดูดนมเกลี้ยงเต้า

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ