พ่อแม่ต้องระวัง! ให้ลูกเล่นมือถือก่อนวัย เสียสุขภาพจิตตอนโต

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

สุขภาพจิตเด็ก ถือเป็นเรื่องสำคัญที่คุณพ่อคุณแม่ควรให้ความสำคัญ เพราะปัจจุบันเด็กจำนวนมากถูกเลี้ยงดูมากับโทรศัพท์มือถือจนส่งผลเสียต่อพัฒนาการลูก งานวิจัยของประเทศอินเดียได้เผยว่าการให้ลูกเล่นโทรศัพท์ตั้งแต่เด็กนั้น นอกจากจะส่งต่อสุขภาพร่างกายแล้ว ยังส่งผลต่อสุขภาพจิตอีกด้วย บทความนี้จะพามาดูว่าการ ให้ลูกเล่นมือถือก่อนวัย ส่งผลเสียต่อสุขภาพเด็กอย่างไร ไปดูกันค่ะ

 

ให้ลูกเล่นมือถือก่อนวัย ส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตจริงไหม

งานวิจัยจากประเทศอินเดียได้เผยว่า การให้ลูกเล่นมือถือก่อนวัยส่งผลต่อสุขภาพจิตตอนโตของลูกโดยตรง ผลสำรวจจากผู้ใหญ่ 27,969 คน ในประเทศอินเดียเผยว่า 74% ของผู้หญิงที่เล่นโทรศัพท์ตอน 6 ขวบ มีปัญหาด้านสุขภาพจิตตอนโตอย่างรุนแรง

ขณะที่ 52% ของผู้หญิงที่เล่นโทรศัพท์ตอน 15 ปีก็มีปัญหาสุขภาพจิตเช่นเดียวกัน ซึ่งดูเหมือนว่าเด็กผู้หญิงที่ติดโทรศัพท์นั้น จะได้รับผลกระทบมากกว่าเด็กผู้ชาย เนื่องจากผู้หญิงจะมีความกระตือรือร้นในการเข้าสังคมมากกว่า ในด้านของเด็กผู้ชายที่เล่นโทรศัพท์ตอน 10-14 ปีนั้น ก็มีปัญหาสุขภาพจิตตอนโตสูงถึง 83% นักวิจัยจึงสรุปได้ว่า อินเดียมีแนวโน้มที่จะเป็นประเทศที่มีปัญหาเรื่องสุขภาพจิตขั้นรุนแรงในอีก 5-10 ปีข้างหน้า

อย่างไรก็ตาม ไม่เพียงแค่ในประเทศอินเดียเท่านั้น ปัญหาเหล่านี้ยังอาจส่งผลกระทบต่อเด็กทั่วโลก เพราะการที่พ่อแม่ปล่อยให้ลูกใช้โทรศัพท์ตั้งแต่เด็ก ก็จะทำให้การเข้าสังคมของเด็กน้อยลง ไม่มีปฏิสัมพันธ์กับคนในครอบครัว และไม่สามารถเรียนรู้พฤติกรรมทางสังคมได้ ผลกระทบเหล่านี้ส่งผลให้เกิดปัญหาภาวะซึมเศร้า ความรู้สึกโดดเดี่ยว การใช้สารเสพติด ปัญหาการฆ่าตัวตาย และปัญหาสุขภาพจิตอื่น ๆ ตามมาภายหลังเมื่อเด็กโตขึ้น

 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ควรให้ลูกดูโทรศัพท์ตอนไหน

ปัจจุบันการใช้โทรศัพท์มือถือมีการใช้งานแพร่หลายแทบทุกบ้าน เมื่อพ่อแม่ใช้มือถือก็ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าลูกจะมองเห็นแล้วอยากใช้โทรศัพท์มือถือตาม และยิ่งยุคนี้เป็นยุคที่เด็ก ๆ สามารถเข้าถึงสิ่งบันเทิงและให้ความรู้ได้ง่าย ๆ หากให้ลูกดูโทรศัพท์มากเกินไป ก็อาจทำให้เขาติดมือถือจนส่งผลกระทบต่อการเข้าสังคมและพัฒนาการได้ ซึ่งอายุที่เหมาะสมสำหรับการให้ลูกใช้โทรศัพท์จะแตกต่างกันตามช่วงวัย

เด็กอายุต่ำกว่า 3 ปี ไม่ควรใช้โทรศัพท์มือถือ เพราะอาจส่งผลต่อพัฒนาการและจินตนาการของเด็ก สำหรับเด็กที่อายุ 3-6 ปี คุณพ่อคุณแม่สามารถให้ลูกเล่นโทรศัพท์มือถือได้ไม่เกิน 30 นาที ส่วนเด็กที่อายุ 6 ขวบขึ้นไป ถือเป็นวัยที่เริ่มมีพัฒนาการและสามารถมีวิจารณญาณในการรับรู้ได้ แต่ถ้าปล่อยให้ลูกเล่นมือถือมากเกินไป ก็อาจทำให้ร่างกายอ่อนแอ สายตาเสีย เกิดโรคอ้วน และส่งผลต่อสุขภาพจิตตามมา เพราะฉะนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรจำกัดการใช้โทรศัพท์มือถือครั้งละไม่เกิน 1 ชั่วโมง

ทั้งนี้ การให้ลูกห่างจากหน้าจอมากย่อมเป็นสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับตัวเขา คุณพ่อคุณแม่ควรจำกัดเวลาในการเล่นโทรศัพท์ และไม่ควรใช้มือถือเพื่อให้ลูกหยุดนิ่งหรือหยุดร้องไห้ เพราะแม้ว่าจะช่วยให้ลูกหยุดงอแงก็จริง แต่ก็เป็นเพียงแค่ช่วงเวลาสั้น ๆ จนไม่สามารถจำกัดเวลาในการเล่นของเขาได้

บทความที่เกี่ยวข้อง : ลูกอายุเท่าไหร่ให้เล่นมือถือได้ ทำอย่างไรไม่ให้ลูกติดจอ?

 

ลูกติดโทรศัพท์ ทำไงดี

การแก้ปัญหาลูกติดโทรศัพท์อาจเป็นเรื่องที่ยาก เมื่อคุณพ่อคุณแม่เองต้องใช้โทรศัพท์มือถืออยู่แล้ว และเพื่อน ๆ ของลูกเองก็มีโทรศัพท์เหมือนกัน สิ่งสำคัญที่ทำได้คือการพูดคุยกับลูกและจำกัดเวลาในการโทรศัพท์มือถือ เพื่อป้องกันผลเสียที่อาจกระทบต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิตเมื่อเขาโตขึ้น ซึ่งวิธีในการแก้ปัญหาลูกติดหน้าจอนั้น มีดังนี้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • กำหนดเวลาในการเล่นโทรศัพท์มือถือตามแต่ละช่วงวัยที่เราได้กล่าวไปข้างต้น โดยอาจให้ลูกเล่นหลังจากทำกิจกรรมที่จำเป็นแล้ว เช่น การทำการบ้าน การทำงานบ้าน หรือการรับประทานอาหาร เป็นต้น
  • มองหากิจกรรมอื่น ๆ ให้ลูกได้ทำ เช่น การเล่นกีฬา การออกกำลังกาย การพาลูกออกไปเล่นที่สนามเด็กเล่น หรือพาไปพิพิธภัณฑ์ เป็นต้น เพื่อให้ลูกได้ออกไปเรียนรู้นอกบ้าน และเพิ่มประสบการณ์ที่ดีให้กับชีวิต
  • เปิดโอกาสให้ลูกได้เข้าสังคม โดยอาจพาไปหาญาติ เช่น ลุงป้า ปู่ย่า ตายาย หรือพาไปเที่ยวกับเพื่อนที่โรงเรียน เช่น นัดเพื่อนลูกออกไปเที่ยวศูนย์วิทยาศาสตร์ต่าง ๆ เพื่อให้เด็กได้รู้จักพูดคุยและเข้าสังคม
  • จำกัดเนื้อหาของการเล่นโทรศัพท์ลูก โดยอาจให้ลูกดูเนื้อหาที่มีประโยชน์ การ์ตูนที่มีความรู้หรือเหมาะสม เพื่อช่วยให้ลูกไม่ดูสิ่งที่ไร้สาระมากเกินไป พร้อมช่วยเสริมความรู้ให้แก่เด็ก ๆ ด้วย

บทความที่เกี่ยวข้อง : ที่สุดของอันตราย! โทรศัพท์ระงับพัฒนาการเด็ก ผลเสียของการให้ลูกเล่นโทรศัพท์

 

 

เทคนิคการเลี้ยงลูกให้สุขภาพจิตแข็งแรง

แม้งานวิจัยจะเผยว่า การปล่อยให้ลูกเล่นมือถือก่อนวัยจะส่งผลเสียต่อสุขภาพจิตตอนโต แต่ก็ยังส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายของลูกตอนเด็กอีกด้วย โดยอาจทำให้ลูกมีความอดทนต่ำ สมาธิสั้น เก็บตัว ไม่เข้าสังคม และไม่ชอบออกกำลังกาย วันนี้เรามีเทคนิคการเลี้ยงลูกที่จะช่วยดูแลร่างกายและสุขภาพจิตของลูกให้เติบโตแข็งแรงมาฝากค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

1. ควบคุมการใช้โทรศัพท์มือถือ

แน่นอนว่าสิ่งแรกที่คุณพ่อคุณแม่ควรทำคือการจำกัดการใช้โทรศัพท์มือถือของลูก โดยไม่ควรห้ามให้ลูกเล่นมือถือเลย แต่ใช้เวลาจำกัดในการเล่นแต่ละครั้งแทน และส่งเสริมการทำกิจกรรมอย่างอื่นแทน เพื่อช่วยให้ลูกได้ขยับร่างกายและมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น นอกจากนี้ การเล่นคอมพิวเตอร์หรือการดูโทรทัศน์ก็ควรจำกัดเช่นกัน เพราะไม่เช่นนั้นเด็กจะไปติดหน้าจออื่นแทนการเล่นมือถือ

 

2. ให้ลูกฟังเพลงหรือเล่นดนตรี

รู้หรือไม่ว่าดนตรีมีผลต่อสุขภาพจิตเป็นอย่างมาก เพราะการฟังดนตรีจะทำให้สมองหลั่งสารโดพามีนออกมา ทำให้เด็กมีความสุขภาพ มีสมาธิและความจำดี รวมถึงยังช่วยลดความเครียดได้ ยิ่งถ้าให้ลูกได้เล่นเครื่องดนตรี ก็จะทำให้เขามีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ไม่อยู่แต่กับหน้าจอมือถือเพียงอย่างเดียว และส่งเสริมพัฒนาการด้านอื่น ๆ ได้อีกด้วย

 

3. ปล่อยให้ลูกได้เล่นอิสระ

การเล่นอิสระ (Free Play) คือ การปล่อยให้ลูกได้เล่นด้วยตัวเองโดยไร้ขอบเขต มีเพียงคุณพ่อคุณแม่ที่ช่วยดูแลความปลอดภัยของลูกเท่านั้น เด็กสามารถกำหนดวิธีการเล่นด้วยตัวเอง เพื่อช่วยเสริมสร้างพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของตัวเองได้ นอกจากนี้ การให้อิสระการเล่นกับลูกจะช่วยให้เด็กมีความสุข เพลิดเพลิน และมีสุขภาพจิตที่ดีได้

บทความที่เกี่ยวข้อง : 6 วิธีแก้เด็กติดจอ ดูแลลูกอย่างไรไม่ให้ติดโทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์

 

 

4. พาลูกไปออกกำลังกาย

การออกกำลังกายนอกจากจะดีต่อสุขภาพกายแล้ว ยังดีต่อสุขภาพจิตอีกด้วย เพราะเมื่อลูกได้ออกกำลังกายหรือเล่นกีฬา ร่างกายจะหลั่งสารเอ็นดอร์ฟิน (Endorphin) หรือสารแห่งความสุขออกมา ช่วยให้ลูกรู้สึกผ่อนคลาย มีความสุข และลดความเครียด คุณพ่อคุณแม่สามารถพาลูกไปเล่นกีฬาต่าง ๆ ตามความชอบของเด็กได้ เช่น ฟุตบอล กอล์ฟ ว่ายน้ำ เทนนิส และบาสเกตบอล เป็นต้น

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

5. ส่งเสริมโภชนาการที่ดี

รู้หรือไม่ว่าอาหารที่ดีก็ส่งผลต่อสุขภาพจิตลูกได้ โดยเฉพาะอาหารที่ช่วยเพิ่มโดพามีน (Dopamine) และเซโรโทนิน (Serotonin) อาหารเหล่านี้ช่วยให้ลูกมีความสุข ไม่เครียด และป้องกันสมาธิสั้น โดยอาหารเหล่านี้มักพบได้บ่อยในช็อกโกแลต อัลมอนด์ ไข่ แซลมอน กล้วยหอม ผักใบเขียว และเมล็ดฟักทอง เป็นต้น คุณพ่อคุณแม่ควรให้ลูกรับประทานเหล่านี้บ่อย ๆ เพื่อสุขภาพที่ดี

 

ทั้งนี้ ให้ลูกเล่นมือถือก่อนวัย ย่อมส่งผลเสียต่อทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิตของลูก คุณพ่อคุณแม่จึงควรจำกัดเวลาเล่นโทรศัพท์ของเด็ก และส่งเสริมให้ลูกหันมาทำกิจกรรมอื่นแทน เพื่อช่วยให้ลูกได้มีพัฒนาการที่ดีและรู้จักการเข้าสังคม สิ่งเหล่านี้จะช่วยป้องกันผลเสียที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

พ่อแม่ต้องระวัง เช็กพฤติกรรม "ลูกติดโทรศัพท์" ส่งผลสมาธิสั้น

เกมมือถือ มีข้อดีข้อเสียอย่างไรบ้าง? ทำอย่างไรไม่ให้ลูกติดเกม

ลูกเล่นโทรศัพท์จนตาอักเสบหวิดตาบอด เคยได้ยินมาไม่อยากเชื่อ จนลูกเป็น!

ที่มา : 1, 2, 3, 4

บทความโดย

Sittikorn Klanarong