X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ปวดฟัน กลางดึกทำยังไงดี ? วิธีแก้อาการปวดฟันตอนกลางคืน

บทความ 5 นาที
ปวดฟัน กลางดึกทำยังไงดี ? วิธีแก้อาการปวดฟันตอนกลางคืน

หากมีอาการ ปวดฟัน กลางดึกทำอย่างไรดี ? เป็นสิ่งที่สร้างความรำคาญใจอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในตอนกลางคืน อาการปวดฟันตอนกลางคืนอาจทำให้นอนหลับได้ยากมากขึ้น และไม่สามารถไปคลินิกเพื่อตรวจสุขภาพฟันได้ ณ เวลานั้น คงลำบากไม่ใช่น้อยเลยจริงไหมคะ อย่างไรก็ตาม เรามีวิธีบรรเทาอาการปวดหลายอย่างที่อาจช่วยให้คุณรู้สึกผ่อนคลายและนอนหลับได้ รวมถึงการใช้ยาแก้ปวดหรือประคบเย็น หรือแม้แต่การใช้กานพลูที่ฟันก็ตาม ในบทความนี้เราจะได้เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการเยียวยาที่บ้านกับ 9 วิธีเพื่อบรรเทาอาการปวดฟันตอนกลางคืนโดยไม่ต้องไปคลินิกทันตกรรม เรามาดูไปพร้อมกันเลยค่ะ

 

9 วิธีรักษาอาการปวดฟันตอนกลางคืน

การรักษาอาการปวดฟันในตอนกลางคืนอาจทำได้ยากกว่าปกติ เนื่องจากไม่มีอะไรที่จะมาดึงความสนใจของคนเราจากความเจ็บปวดได้ เพราะช่วงเวลาส่วนมากในช่วงกลางคืนนั้น อาจเป็นช่วงพักผ่อนและไม่ได้ทำกิจกรรมใดที่จะสามารถดึงดูดหรือเบี่ยงเบนอาการเจ็บนี้ได้ เพราะฉะนั้นเรามาลองดูวิธีการต่อไปนี้เพื่อบรรเทาอาการปวดฟันกันค่ะ

 

ปวดฟัน

 

  • ยาแก้ปวด

การใช้ยาแก้ปวดที่จำหน่ายตามร้านขายยาทั่วไป เช่น อะเซตามิโนเฟน (ไทลินอล) หรือไอบูโพรเฟน   (แอดวิล) เป็นวิธีที่รวดเร็วและง่ายดายสำหรับทุกคนในการลดอาการปวดฟันในระดับเล็กน้อยถึงปานกลางอย่างมีประสิทธิภาพ และต้องใช้ในปริมาณที่แนะนำบนบรรจุภัณฑ์เสมอ หากมีอาการปวดฟันรุนแรง ทางที่ดีควรพบทันตแพทย์และปรึกษาเกี่ยวกับการใช้ยาแก้ปวดที่แรงกว่าแต่ปลอดภัยต่อผู้ป่วย

  • ประคบเย็น

การประคบเย็นอาจช่วยบรรเทาอาการปวดฟันได้ การใช้ถุงน้ำแข็งห่อด้วยผ้าขนหนู นำไปประคบใบหน้าหรือกรามบริเวณที่ปวดฟัน จะช่วยกระชับหลอดเลือดในบริเวณนั้น ซึ่งสามารถลดความเจ็บปวด ช่วยให้นอนหลับได้ง่ายขึ้น การประคบเย็นบริเวณนั้นเป็นเวลา 15-20 นาทีทุก ๆ สองสามชั่วโมงในตอนเย็นอาจช่วยป้องกันอาการปวดเมื่อยก่อนเข้านอนได้เช่นกัน

  • ระดับความสูงของศีรษะ

การยกศีรษะให้สูงขึ้นโดยใช้หมอนเสริมหรือใช้หมอนสองใบอาจบรรเทาความเจ็บปวดได้มากพอสำหรับคนที่กำลังปวดฟัน ซึ่งจะช่วยให้ผล็อยหลับไปได้ การมีที่เลือดในศีรษะมากเกินอาจทำให้เกิดอาการปวดและการอักเสบเพิ่มได้ค่ะ (สำหรับบางคน)

  • ยาขี้ผึ้ง

ยาขี้ผึ้งที่มีส่วนผสมบางชนิด เช่น เบนโซเคนจะทำให้ชาในบริเวณที่ทา จึงอาจช่วยลดอาการปวดฟันได้ ข้อควรระวัง เบนโซเคนไม่เหมาะสำหรับเด็กเล็กค่ะ

  • ล้างน้ำเกลือ

น้ำเกลือเป็นยาสามัญประจำบ้านสำหรับอาการปวดฟัน โดยน้ำเกลือเป็นสารต้านแบคทีเรียตามธรรมชาติ ดังนั้นจึงอาจช่วยลดการอักเสบได้ อีกทั้งการล้างด้วยน้ำเกลือจะช่วยขจัดเศษอาหารที่ติดอยู่ในฟันหรือเหงือกซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของอาการปวดฟัน

  • น้ำยาล้างไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์

โรคปริทันต์อักเสบคือการติดเชื้อและการอักเสบที่รุนแรงของเหงือกและอวัยวะรอบรากฟัน ซึ่งมักเกิดขึ้นจากสุขอนามัยในช่องปากที่ไม่ดี อาจทำให้เกิดอาการต่าง ๆ  เช่น เจ็บ เลือดออกตามไรฟัน และฟันโยก การบ้วนปากด้วยน้ำยาบ้วนปากไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ช่วยลดคราบพลัคและอาการของโรคปริทันต์อักเสบ ก่อนอื่นต้องเจือจางไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์เกรดอาหารด้วยน้ำในปริมาณที่เท่ากันเสมอ กลั้วน้ำยาเข้าปาก แต่ห้ามกลืน วิธีการรักษานี้ไม่เหมาะสำหรับเด็ก เนื่องจากมีความเสี่ยงที่เด็ก ๆ จะกลืนส่วนผสมลงไปโดยไม่ได้ตั้งใจ ควรพาเด็ก ๆ ไปคลินิกสุขภาพฟันจะดีกว่าค่ะ

  • ชาเปปเปอร์มินต์

การเคี้ยวชาเปปเปอร์มินต์หรือการดูดถุงชาเปปเปอร์มินต์อาจช่วยบรรเทาอาการปวดจากอาการปวดฟันได้ชั่วคราว มีวิจัยที่ตั้งข้อสังเกตว่าสะระแหน่ประกอบด้วยสารต้านเชื้อแบคทีเรียและสารต้านอนุมูลอิสระ เมนทอลซึ่งเป็นสารออกฤทธิ์ในสะระแหน่อาจมีผลทำให้ชาเล็กน้อยในบริเวณที่เนื้อเยื่อบอบบาง

  • กานพลู

ยูจีนอลซึ่งเป็นสารประกอบหลักชนิดหนึ่งในกานพลูสามารถลดอาการปวดฟันได้ ผลการทดลองทางคลินิกในปี พ.ศ. 2558 แหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ระบุว่าผู้ที่ใช้ยูจีนอลกับเหงือกและเบ้าฟันหลังจากถอนฟันแล้วจะมีอาการปวดและอักเสบน้อยลงในระหว่างการรักษา Eugenol จะทำหน้าที่เป็นยาแก้ปวด และทำให้รู้สึกชาบริเวณนั้น  หากต้องการใช้กานพลูแก้ปวดฟัน ให้นำกานพลูที่บดแล้วแช่ในน้ำเพื่อทำเป็นยาพอก จากนั้นใช้แปรงสีฟันหรือใส่ถุงชาเปล่าแล้วใส่เข้าไปในปาก อีกวิธีหนึ่งก็คือ การเคี้ยวหรือดูดกานพลูเบา ๆ จะช่วยบรรเทาอาการปวดได้ แต่วิธีนี้ไม่เหมาะสำหรับเด็ก เนื่องจากเด็ก ๆ อาจกลืนกานพลูเข้าไป ซึ่งกานพลูมีความแหลมคมและทำให้เจ็บปวดได้หากกลืนเข้าไป

  • กระเทียม

กระเทียมหาได้ง่ายในครัวเรือนทั่วไป แต่ก็มีบางคนนำมาใช้เพื่อบรรเทาอาการปวดฟัน อัลลิซินซึ่งเป็นสารประกอบหลักในกระเทียมมีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย และอาจช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียในปากบางชนิดที่นำไปสู่การปวดฟันได้ การเคี้ยวกระเทียมหนึ่งกลีบแล้วปล่อยไว้สักพัก อาจช่วยบรรเทาอาการปวดได้ รสชาติของกระเทียมดิบอาจแรงเกินไปสำหรับบางคน ดังนั้นอาจไม่เหมาะกับคนที่ไม่ชอบกลิ่นของกระเทียม

 

สาเหตุอาการปวดฟันตอนกลางคืน

 

ปวดฟัน

 

ฟันผุเป็นสาเหตุของอาการปวดฟันที่พบบ่อยมาก ฟันผุเกิดขึ้นเมื่อกรดและแบคทีเรียทำลายเคลือบฟันและกัดกินเนื้อเยื่อที่บอบบางภายในฟันไปจนถึงเส้นประสาท ทำให้เกิดอาการปวดเล็กน้อยถึงรุนแรง นอกจากนี้การติดเชื้อในไซนัสอาจทำให้เกิดอาการปวดฟันในบางคน อาการปวดฟันอาจจะมีมากขึ้นในตอนกลางคืน ต้องรีบนำส่งคลินิกสุขภาพฟัน สาเหตุอื่น ๆ ที่เป็นไปได้สำหรับอาการปวดฟัน ได้แก่

  • วัสดุอุดฟันหลุด (losing a filling)
  • ฝีฟัน (dental abscesses)
  • การบาดเจ็บที่กราม 
  • ฟันคุดหรือฟันแท้ขึ้น
  • อาหารติดฟันหรือเหงือก
  • นอนกัดฟันตอนกลางคืน
  • โรคเหงือก

 

ทำไมอาการ ปวดฟัน จึงเจ็บมากขึ้นในเวลากลางคืน?

อาการปวดฟันอาจเจ็บปวดในตอนกลางวัน แต่อาจดูแย่ลงในตอนกลางคืน สาเหตุหนึ่งที่อาจเกิดขึ้นได้ก็เพราะว่าเวลาคนนอน เลือดลงไปที่ศีรษะมากขึ้น เลือดส่วนเกินในบริเวณนี้อาจเพิ่มความเจ็บปวดได้มากขึ้น อีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้อาการปวดมากขึ้นในตอนกลางคืนก็เพราะมีสิ่งรบกวนน้อยลง ทำให้จดจ่อแต่เรื่องอาการปวดฟัน เลยรู้สึกว่านอนหลับยากค่ะ

 

เมื่อไหร่ควรไปพบทันตแพทย์

ผู้ที่มีอาการปวดฟันตอนกลางคืนควรไปพบทันตแพทย์โดยเร็วที่สุด การเยียวยาที่บ้านใด ๆ ก็ตาม เป็นการบรรเทาอาการเพียงชั่วคราวเท่านั้น เมื่อมีฟันแตกหรือฟันผุจะทำให้เกิดอาการปวด จึงควรพบทันตแพทย์เพื่อทำการรักษาและแก้ไขตั้งแต่มีอาการช่วงแรก หากอาการปวดฟันนั้นมาพร้อมกับสัญญาณอื่น ๆ ของการติดเชื้อ อาจต้องใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อกำจัดการติดเชื้อร่วมด้วย การเพิกเฉยต่อสัญญาณของฟันผุ เช่น ปวดฟัน อาจนำไปสู่ปัญหาร้ายแรงตามมา เช่น ฝีฟัน โรคเหงือก และการสูญเสียฟัน เป็นต้น

 

การจัดการกับอาการปวดฟันเป็นประสบการณ์ที่เจ็บปวด แม้ว่าการเยียวยาที่บ้านหลายอย่างสามารถให้การบรรเทาทุกข์ชั่วคราวและช่วยให้พอนอนหลับได้บ้าง แต่ก็ไม่ใช่วิธีแก้ปัญหาแบบถาวร ใครก็ตามที่มีอาการปวดฟันเป็นเวลานานกว่า 1 หรือ 2 วันโดยไม่มีอาการของการติดเชื้อในไซนัส ควรพบทันตแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและการรักษาอย่างครบถ้วน เพราะอาจจำเป็นต้องทำความสะอาดโพรงฟันหรือพิจารณาทางเลือกที่ซับซ้อนกว่านั้น เช่น รักษารากฟันหรือการถอนฟัน การเยียวยาที่บ้านบางส่วนในบทความนี้มีอยู่ในร้านขายยาทั่วไป และทางออนไลน์ ดังนี้

  • เลือกซื้อยาไอบูโพรเฟน
  • ซื้อเจลประคบเย็น
  • หาซื้อยาขี้ผึ้งสำหรับป้ายในปาก
  • เลือกซื้อไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์
  • เลือกซื้อชาเปปเปอร์มินต์
ปวดฟัน

ทพญ.อารยา เทียนก้อน ทันตแพทย์เฉพาะทางเด็ก

 

บทความจากพันธมิตร
LPR โพรไบโอติก เกรด A กระตุ้นภูมิคุ้มกันให้ลูกรักแข็งแรงพร้อมเรียนรู้
LPR โพรไบโอติก เกรด A กระตุ้นภูมิคุ้มกันให้ลูกรักแข็งแรงพร้อมเรียนรู้
วัคซีน IPD จำเป็นที่ต้องให้ลูกรับหรือเปล่า? มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ 'โรคไอพีดี' และ 'วัคซีนป้องกันโรคไอพีดี'
วัคซีน IPD จำเป็นที่ต้องให้ลูกรับหรือเปล่า? มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ 'โรคไอพีดี' และ 'วัคซีนป้องกันโรคไอพีดี'
สารพัด ปัญหาของลูกน้อย ที่คุณแม่กังวลใจ ลูกงอแง ไม่สบายท้อง ท้องอืด มีผื่นคัน แก้ด้วย Little Shield
สารพัด ปัญหาของลูกน้อย ที่คุณแม่กังวลใจ ลูกงอแง ไม่สบายท้อง ท้องอืด มีผื่นคัน แก้ด้วย Little Shield
แม่รู้ไหม? พัฒนาการสมอง ของลูกเกิดขึ้นได้ทั้งกลางวันและกลางคืน เสริมด้วย สารอาหารสมอง และการนอนอย่างมีคุณภาพ
แม่รู้ไหม? พัฒนาการสมอง ของลูกเกิดขึ้นได้ทั้งกลางวันและกลางคืน เสริมด้วย สารอาหารสมอง และการนอนอย่างมีคุณภาพ

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

ฝันว่าฟันหัก ฝันว่าฟันกรามหัก ลางร้ายหรือเปล่า หมายความว่าอะไร?

จัดฟัน ทำไมบางคนต้องจัดฟัน ประโยชน์ของการจัดฟันมีอะไรบ้าง

กลิ่นลาเวนเดอร์ ผ่อนคลายหายเครียด ประโยชน์ต่อสุขภาพและความเสี่ยงในการใช้

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

ทพญ.อารยา เทียนก้อน (หมอพลอย)

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพ
  • /
  • ปวดฟัน กลางดึกทำยังไงดี ? วิธีแก้อาการปวดฟันตอนกลางคืน
แชร์ :
  • ทำ IF ระหว่างตั้งครรภ์ ได้ไหม? ส่งผลอย่างไรต่อลูกน้อย?

    ทำ IF ระหว่างตั้งครรภ์ ได้ไหม? ส่งผลอย่างไรต่อลูกน้อย?

  • ไขข้อสงสัย! วิตามินบี 7 คนท้อง กินมากไปจะส่งผลอันตรายอย่างไรบ้าง?

    ไขข้อสงสัย! วิตามินบี 7 คนท้อง กินมากไปจะส่งผลอันตรายอย่างไรบ้าง?

  • คนท้องกินก๋วยเตี๋ยวได้ไหม รู้ไหมเส้นก๋วยเตี๋ยวอาจมีสารกันบูดถ้าไม่ระวัง !

    คนท้องกินก๋วยเตี๋ยวได้ไหม รู้ไหมเส้นก๋วยเตี๋ยวอาจมีสารกันบูดถ้าไม่ระวัง !

  • ทำ IF ระหว่างตั้งครรภ์ ได้ไหม? ส่งผลอย่างไรต่อลูกน้อย?

    ทำ IF ระหว่างตั้งครรภ์ ได้ไหม? ส่งผลอย่างไรต่อลูกน้อย?

  • ไขข้อสงสัย! วิตามินบี 7 คนท้อง กินมากไปจะส่งผลอันตรายอย่างไรบ้าง?

    ไขข้อสงสัย! วิตามินบี 7 คนท้อง กินมากไปจะส่งผลอันตรายอย่างไรบ้าง?

  • คนท้องกินก๋วยเตี๋ยวได้ไหม รู้ไหมเส้นก๋วยเตี๋ยวอาจมีสารกันบูดถ้าไม่ระวัง !

    คนท้องกินก๋วยเตี๋ยวได้ไหม รู้ไหมเส้นก๋วยเตี๋ยวอาจมีสารกันบูดถ้าไม่ระวัง !

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ