TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ลูกกลัวคนแปลกหน้า วิธีแก้ปัญหาควรทำอย่างไร ?

บทความ 5 นาที
ลูกกลัวคนแปลกหน้า วิธีแก้ปัญหาควรทำอย่างไร ?

เวลาที่พาลูกออกนอกบ้าน หรือแค่พาออกไปเดินเล่น แล้วต้องไปเจอคนอื่น ลูกจะกลัวมาก ร้องไห้เสียงดัง ไม่เล่นกับใครเลย ปัญหาที่ ลูกกลัวคนแปลกหน้า คิดว่าแม่ลูกอ่อนหลายท่านคงเจอกับตัวแน่ ๆ ใช่ไหมคะ โดยความรุนแรงในการแสดงออกของเด็กแต่ละคนก็จะแตกต่างกันไป ดังนั้นจำเป็นช่วยกันพูดคุยและหาวิธีแก้ไขที่เหมาะสม

 

ลูกกลัวคนแปลกหน้า

วิธีที่ช่วยลูกลดอาการที่ ลูกกลัวคนแปลกหน้า

ลูกกลัวคนแปลกหน้า อาการแบบนี้มีชื่อเรียกภาษาอังกฤษว่า Stranger Anxiety ซึ่งถือว่าเป็นพัฒนาการและอาการปกติที่สามารถพบได้ในเด็กอายุ 7-8 เดือน ที่เป็นช่วงวัยกำลังเริ่มมีความสนใจสิ่งรอบข้างมากยิ่งขึ้น ลูกกลัวคนแปลกหน้า จะเริ่มมีพฤติกรรมที่แตกต่าง เมื่อเจอพ่อแม่ และคนแปลกหน้า เช่น การร้องไห้เสียงดัง หรือหันหน้าหนีเข้าหาตัวแม่ เกาะแม่อย่างเหนียวแน่นมากขึ้น

โดยความรุนแรงในการแสดงออกของเด็กแต่ละคนก็จะแตกต่างกันไป เมื่อโตขึ้นเดินวิ่งได้ ก็อาจจะวิ่งหนีหรือเข้าไปหลบหลังแม่แทน ไม่ยอมสบตา ถ้าลูกกลัวคนแปลกหน้ามากก็อาจแสดงออกเป็นพฤติกรรมก้าวร้าวอาละวาดแทน ซึ่งทั่วไปแล้วอาการที่ ลูกกลัวคนแปลกหน้า จะดีขึ้นเมื่อเด็กโตขึ้น แต่ในเด็กบางคนอาจมีพื้นอารมณ์ที่มีการปรับตัวได้ค่อนข้างช้า เป็นเด็กขี้อาย ไม่ค่อยกล้าแสดงออก หรืออาจจะมีส่วนที่เกิดได้จากกรรมพันธุ์ที่พ่อแม่อาจเป็นคนขี้อาย พูดน้อย เช่นเดียวกัน ซึ่งจำเป็นช่วยกันพูดคุยและหาวิธีแก้ไขที่เหมาะสม ดังนี้

  • ยอมรับและเข้าใจในความกลัวคนแปลกหน้าของลูกว่าเป็นพัฒนาการปกติที่อาจเกิดขึ้นได้กับเด็กในวัยนี้
  • หากพ่อแม่เข้าใจพื้นฐานของลูกว่าเป็นเด็กขี้อาย ขี้กลัว ควรอธิบายให้ผู้ใหญ่ ญาติ ๆ คนในครอบครัวเข้าใจ เพื่อจะหาวิธีเข้าหาลูกอย่างเหมาะ เช่น อาจมีระยะห่างกับเด็กก่อนแนะนำตัวเอง พูดด้วยน้ำเสียงช้า ๆ เบา ๆ แล้วค่อย ๆ ใช้สัมผัสอย่างเบา ๆ จนเด็กคุ้นเคยแล้วค่อยอุ้มได้
  • ถ้าเป็นลูก หลาน ในวัยที่เดินได้ ให้ลดระดับลงมาพูดคุยในระดับเดียวกับเด็ก พูดด้วยน้ำเสียงอ่อนโยน และสบตาขณะที่พูดดูนะคะ การได้บอกทุกคนล่วงหน้าเป็นข้อดีอีกอย่างที่จะไม่ทำให้คนอุ้มรู้สึกแย่เวลาที่เจอเจ้าตัวเล็กร้องไห้ไปด้วย
  • เวลาที่แนะนำให้ลูกรู้จักคนที่ไม่คุ้นเคย คุณแม่จำเป็นต้องอยู่ใกล้ ๆ คอยอุ้มหรืออยู่ข้าง ๆ ปลอบและพูดให้ลูกมั่นใจว่า ลูกไม่ต้องกลัวนะจ๊ะ คนนี้ไม่เป็นอันตราย เป็นคนที่แม่รู้จัก และแสดงออกให้ลูกเห็นว่าผู้ปกครองคุ้นเคยกับคนที่ลูกเห็นอย่างไร แต่ถ้าลูกยังมีความกลัว ร้องไห้ไม่หยุด ก็ควรจะพาลูกออกไปจากจุดนั้นก่อน เพื่อไม่เป็นการฝืนลูกหรือปล่อยให้ลูกกลัวจนร้องไห้ไม่หยุด
  • ไม่ควรว่าลูกในทางลบ เช่น ทำไมถึงเป็นเด็กขี้กลัว ทำไมไม่กล้า ทำไมไม่เหมือนเด็กคนอื่น เพราะจะยิ่งทำให้ลูกต่อต้าน เสียความมั่นใจ และเกิดความกลัวเพิ่มเข้าไปอีก
  • หลักการลดความกลัวคนแปลกหน้าของลูก คือ การให้ลูกได้ค่อย ๆ เผชิญกับความกลัวนั้นทีละเล็กละน้อย โดยมีพ่อแม่อยู่ข้าง ๆ ให้คำชมเมื่อลูกทำได้ เช่น การพาไปในสถานที่สาธารณะให้ได้เห็นคนมากหน้าหลายตาพร้อมกับทำกิจกรรมที่ลูกชอบไปด้วย อย่างพาไปสนามเด็กเล่น สวนสัตว์ พิพิธภัณฑ์สำหรับเด็ก เป็นต้น
  • สิ่งสำคัญที่สุดในการช่วยลูกลดความกลัวลงไปได้ ก็คือ การอดทนและรอคอยของพ่อแม่นั่นเอง เพราะเด็กแต่ละคนมีพื้นฐานอารมณ์และการปรับตัวที่ไม่เหมือนกัน พ่อแม่ควรให้เวลากับลูกค่อย ๆ ปรับตัว ค่อย ๆ ฝึกลดความกลัวบ่อย ๆ สุดท้ายแล้วเมื่อลูกโตขึ้นอาการนี้ก็จะค่อย ๆ หายไปและดีขึ้นได้ค่ะ

บทความเพิ่มเติม : 6 โรงเรียนสอนเด็กทำอาหาร บรรยากาศน่าเรียน พาลูกไปทำกิจกรรมสนุกกัน!

 

สอนลูกให้มีไหวพริบและปลอดภัยจากคนแปลกหน้า

มีวิธีไหนบ้างที่จะ สอนลูก ให้มีไหวพริบ และ ปลอดภัยจากคนแปลกหน้าการสอนลูกให้รู้จักระวังภัยจากคนแปลกหน้าไว้เป็นเรื่องไม่เสียหาย แต่อย่างไรก็ดี เรากำชับลูกได้ถูกจุดหรือเปล่า ? การบอกห้ามลูกพูดกับคนแปลกหน้าทุกคนไม่ใช่จะเป็นสิ่งที่ดีที่สุด วันนี้เราจะมาแนะนำวิธีที่จะ สอนลูก ให้เค้ามีไหวพริบ และปลอดภัยจากคนแปลกหน้า ที่อาจเข้ามาปฏิสัมพันธ์กับลูก ๆ ได้

เรามักได้ยินข่าวเกี่ยวกับการลักพาตัวเด็ก การกระทำอนาจารกับเด็ก หรือผู้ที่มีปัญหาทางจิตที่เชื่อว่าลูกคนอื่นเป็นลูกตัวเองอยู่บ่อย ๆ ในฐานะผู้ปกครอง เรามักรู้สึกกังวลทุกครั้งที่ได้ยินข่าวทำนองนี้ และสอนลูกไปต่าง ๆ นานา แต่เรากำลังสะกดจิตให้ตัวเราเองและตัวเด็กกลัวมากเกินไปหรือเปล่า ? แน่นอนว่าคนแปลกหน้าส่วนใหญ่ไม่ใช่คนร้ายที่จู่ ๆ จะเที่ยวไปลักพาตัวเด็ก อันที่จริง การสอนให้ลูกระมัดระวังคนแปลกหน้าเป็นเรื่องที่ดี แต่ถ้าคุณกรอกหูลูกแต่เรื่องร้าย ๆ มากเกินไปก็อาจทำให้เด็กมีปัญหาด้านการเข้าสังคม และอาจยิ่งเป็นภัยต่อตัวเด็กมากขึ้น

บทความเพิ่มเติม : 8 สถานที่เรียนศิลปะ พาลูกไปวาดรูป กิจกรรมที่เด็กหลายคนใฝ่ฝัน!

 

ลูกกลัวคนแปลกหน้า

3 ความเชื่อผิด ๆ ที่ผู้ปกครองชอบสอนเด็ก

ความเชื่อข้อที่ 1 : อย่าคุยกับคนแปลกหน้า

คนแปลกหน้ามีอยู่ทุกที่ ไม่ว่าจะเป็นเพื่อนบ้านที่เราไม่เคยทักทาย หรือคนที่กำลังซื้อของในห้าง คนขายกับข้าวหน้าปากซอย หรือแม้กระทั่งเด็ก ๆ ที่อยู่ห้องเดียวกับลูกคุณวันที่ไปโรงเรียนวันแรก การสอนลูกไม่ให้คุยกับคนแปลกหน้าจะทำให้เด็กไม่กล้าเข้าสังคม แต่ในความเป็นจริง ลูกคุณต้องพยายามเรียนรู้วิธีรับมือกับคนแปลกหน้าไปตลอดชีวิต

ความเชื่อข้อที่ 2 : ห้ามไปไหนคนเดียว

ส่วนหนึ่งของพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กคือการที่เขาได้ออกไปสำรวจโลกด้วยตัวเอง เมื่อถึงจุดหนึ่งลูกของคุณจะโตพอที่จะดูแลตัวเองได้ การห้ามไม่ให้ลูกออกไปไหนคนเดียวจะทำให้ลูกกล้าออกไปเผชิญโลกช้าลงและทำให้เกิดปัญหาเรื่องเด็กติดพ่อแม่

ความเชื่อข้อที่ 3 : โจรและผู้ร้ายมีอยู่ทุกที่

ข่าวที่สื่อต่าง ๆ นำเสนอเกี่ยวกับเด็กหายไม่ได้มีจุดประสงค์เพียงเพื่อที่จะตามหาเด็กเท่านั้น แต่ยังเป็นการขายความดราม่าเพื่อดึงดูดผู้ชมอีกด้วย ทางการก็มักพยายามตีข่าวให้ใหญ่และเยอะเพื่อให้คนกลัว ซึ่งเป็นวิธีลดเหตุที่ง่ายที่สุด แต่คุณรู้หรือไม่ว่า เด็กมีโอกาสที่จะถูกคนใกล้ชิด ญาติ หรือเพื่อนของครอบครัวลักพาตัวมากกว่าคนแปลกหน้าเสียอีก

 

เข้าใจธรรมชาติของสิ่งที่เด็กรู้และสิ่งที่ควรจะรู้

สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ จะพูดคุย สอนลูก ให้ ปลอดภัยจากคนแปลกหน้า ปัจจัยหนึ่งที่ควรคำนึงคือ ‘อายุของลูก’ อย่างเช่น ในเด็กอนุบาล เขาอาจยังไม่รู้ว่า คนแปลกหน้า คืออะไร ไม่สามารถที่จะแยกได้ว่า คนไหนที่อยู่ด้วยแล้วปลอดภัย หรือ คนไหนที่อาจมาทำอันตราย ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ สามารถเริ่มปลูกฝังเรื่องความปลอดภัยเบื้องต้นกับลูกได้ แต่เขาอาจยังไม่พร้อมที่จะลงรายละเอียดในการรับมือกับคนแปลกหน้า

ส่วนเด็กในวัยประถม ช่วงอายุ 5 – 8 ขวบ เขาอาจเริ่มได้ยินเรื่อง คนแปลกหน้า ที่อาจเป็นอันตรายบ้างแล้ว แต่อย่างไรก็ตามเขาอาจประเมินผู้ใหญ่ทุกคนที่ใจดีว่าจะไม่ทำอันตราย ซึ่งในเด็กช่วงวัยนี้เริ่มที่จะไปโรงเรียน ไปสวนสาธารณะ ออกไปทำกิจกรรมต่าง ๆ ในละแวกบ้าน หรือ เข้าห้างสรรพสินค้า จึงมีโอกาสที่เขาจะอยู่ในสถานการณ์ที่เต็มไปด้วยคนแปลกหน้า นั้นจึงเป็นสาเหตุที่เด็ก ๆ ต้องเริ่มเรียนรู้ที่จะแยกแยะคนแปลกหน้าได้อย่างชัดเจนขึ้น

 

ลูกกลัวคนแปลกหน้า

วิธีการเริ่มคุยกับลูกในเรื่องของคนแปลกหน้าได้อย่างไรบ้าง ?

  • ความปลอดภัยขั้นพื้นฐานของร่างกาย

ให้คุณพ่อคุณแม่ เริ่มพูดคุยกับลูกเกี่ยวกับความปลอดภัยขั้นพื้นฐานของร่างกายเรา ในกรณีที่ลูกเริ่มรู้เรื่องบ้างแล้ว อาจเริ่มสอนและสร้างความเข้าใจ เกี่ยวกับอวัยวะเพศว่ามันไม่โอเคที่จะให้คนอื่น ๆ มาสัมผัสบริเวณนั้นได้โดยเด็ดขาด

  • พูดคุยเรื่อง ความหมายของ ‘คนแปลกหน้า’

เด็ก ๆ ในช่วงวัย 4 ขวบ จะเริ่มตั้งคำถามและเริ่มมีความสงสัยในสิ่งต่าง ๆ มากยิ่งขึ้น ดังนั้นจึงเป็นเรื่องที่ดี ที่จะชวนลูกคุยเกี่ยวกับเรื่องนี้ เช่น อาจลองถามลูกว่า ‘หนูรู้ไหมว่า คนแปลกหน้า คืออะไร?’
ถ้าลูก ๆ ไม่แน่ใจว่าคืออะไร ก็ขอให้อธิบายลูกอย่างชัดเจน แต่ควรระวังไม่พูดเกินจริง ใส่อารมณ์ ที่จะสร้างความหวาดกลัวเกินไปให้ลูก แค่บอกว่า ‘คนแปลกหน้าคือ คนที่ลูกไม่รู้จัก พ่อแม่ไม่รู้จักเขา’ ก็เพียงพอแล้ว

  • ยกตัวอย่างของผู้ใหญ่ที่ไว้ใจได้

ให้คุณพ่อ คุณแม่ ลองยกตัวอย่างของผู้ใหญ่ที่ไว้ใจได้ นอกจาก ผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้าน ลุง ป้า น้า อา แล้ว เพื่อช่วยให้เด็ก ๆ เริ่มฝึกจำแนกผู้ใหญ่ได้ดีขึ้น เช่น คุณพ่อคุณแม่ของเพื่อนสนิทลูก คุณครูที่โรงเรียน หรือ ใช้เรื่องของลักษณะอาชีพมาช่วย เช่น เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย คุณหมอ พนักงานในห้างสรรพสินค้า ร้านอาหาร

  • พูดคุยถึงสิ่งที่ควร และ ไม่ควรทำ

ลองอธิบายข้อตกลงบ้างอย่างสำหรับในการรับมือกับคนแปลกหน้าให้ลูกฟัง ด้วยวิธีที่ไม่ทำให้เขาหวาดกลัว เช่น ลองพูดเรื่อง ‘สมมติ’ ให้เขาได้ฟังสถานการณ์ต่าง ๆ และ วิธีการรับมือ เช่น “สมมติว่าลูกไปห้างกับพ่อแม่ แล้วเกิดหลงทางกันหาแม่ไม่เจอ ให้ลูกพยายามหาที่จ่ายตังค์แล้วบอกพี่พนักงานว่า หนูหลงทางกับพ่อแม่ บอกชื่อหนูกับพี่เค้าไว้ แล้วรออยู่ตรงนั้นอย่าไปไหนจนกว่าแม่กับพ่อจะตามมาเจอหนู”

 

คำแนะนำเหล่านี้ หากคุณพ่อคุณแม่นำไปปรับใช้ ก็ขอให้ใจเย็น ๆ ในการพูดคุยกับลูกด้วยเหตุผล ห้ามใช้อารมณ์โดยเด็ดขาด และหากเกิดเหตุไม่คาดฝัน ในเวลาที่เวลาลูกหลงทาง เมื่อเจอกันแล้วอย่าดุ ตี หรือ โมโหใส่เขา ขอให้ปลอบเขาดี ๆ ด้วยการกอดเขา และลองมาคุยถึงแนวทางเวลาเกิดเหตุการณ์นั้น แล้วอย่าลืมพูดชื่นชมเขาหากลูกสามารถหาวิธีขอความช่วยเหลือจากคนอื่น ๆ ได้

 

บทความที่น่าสนใจ :

สอนลูกให้ปลอดภัยจากคนแปลกหน้า

บอกลูกไว้ 8 บุคคลที่ไม่จำเป็นต้อง “กอด” เสมอไป

สอนลูกอย่างไรให้ปลอดภัยจากคนแปลกหน้า บทเรียนจากน้องการ์ตูน

ที่มา : organehbaby, mamastory

บทความจากพันธมิตร
การมีสติ ฉบับเด็ก ๆ เป็นอย่างไร ฝึกลูกให้มีสติ ท่ามกลางโลกที่วุ่นวาย
การมีสติ ฉบับเด็ก ๆ เป็นอย่างไร ฝึกลูกให้มีสติ ท่ามกลางโลกที่วุ่นวาย
ส่งเสริมพัฒนาการเด็กยุคใหม่ด้วย ทักษะ Executive Function
ส่งเสริมพัฒนาการเด็กยุคใหม่ด้วย ทักษะ Executive Function
ปี 2567 เด็กป่วยด้วยโรคอะไร? LUMA แบ่งปันสถิติให้เข้าใจมากขึ้น
ปี 2567 เด็กป่วยด้วยโรคอะไร? LUMA แบ่งปันสถิติให้เข้าใจมากขึ้น
Value Health (Kids) ประกันสุขภาพสำหรับลูกน้อย เจ้าของรางวัล Most Promising จากเวที TAP Awards 2023
Value Health (Kids) ประกันสุขภาพสำหรับลูกน้อย เจ้าของรางวัล Most Promising จากเวที TAP Awards 2023

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Napatsakorn .R

  • หน้าแรก
  • /
  • ชีวิตครอบครัว
  • /
  • ลูกกลัวคนแปลกหน้า วิธีแก้ปัญหาควรทำอย่างไร ?
แชร์ :
  • เปลี่ยนคำขู่ เป็นคำพูดที่ไม่ทำร้ายใจลูก ให้ลูกเติบโตอย่างมั่นใจและปลอดภัย

    เปลี่ยนคำขู่ เป็นคำพูดที่ไม่ทำร้ายใจลูก ให้ลูกเติบโตอย่างมั่นใจและปลอดภัย

  • หยุดก่อนแม่! ปล่อยลูกดูคลิปสั้นทั้งวัน ผลเสียอาจไม่ใช่เรื่องเล่น ๆ อย่างที่คิด

    หยุดก่อนแม่! ปล่อยลูกดูคลิปสั้นทั้งวัน ผลเสียอาจไม่ใช่เรื่องเล่น ๆ อย่างที่คิด

  • ทำไมแค่ ให้ลูกช่วยงานบ้าน ถึงช่วยให้ลูกโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดี ประสบความสำเร็จมากกว่า?

    ทำไมแค่ ให้ลูกช่วยงานบ้าน ถึงช่วยให้ลูกโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดี ประสบความสำเร็จมากกว่า?

  • เปลี่ยนคำขู่ เป็นคำพูดที่ไม่ทำร้ายใจลูก ให้ลูกเติบโตอย่างมั่นใจและปลอดภัย

    เปลี่ยนคำขู่ เป็นคำพูดที่ไม่ทำร้ายใจลูก ให้ลูกเติบโตอย่างมั่นใจและปลอดภัย

  • หยุดก่อนแม่! ปล่อยลูกดูคลิปสั้นทั้งวัน ผลเสียอาจไม่ใช่เรื่องเล่น ๆ อย่างที่คิด

    หยุดก่อนแม่! ปล่อยลูกดูคลิปสั้นทั้งวัน ผลเสียอาจไม่ใช่เรื่องเล่น ๆ อย่างที่คิด

  • ทำไมแค่ ให้ลูกช่วยงานบ้าน ถึงช่วยให้ลูกโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดี ประสบความสำเร็จมากกว่า?

    ทำไมแค่ ให้ลูกช่วยงานบ้าน ถึงช่วยให้ลูกโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดี ประสบความสำเร็จมากกว่า?

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว