คุณพ่อดูแลแม่ท้อง มีวิธีสร้างสายสัมพันธ์คุณพ่อกับลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์ เวลาที่คุณแม่พูดคุยกับเจ้าตัวน้อย ร้องเพลงให้ลูกฟัง ลูบท้องอย่างอ่อนโยน หรือแสดงความรักความผูกพันกับลูกในท้อง คุณพ่ออาจจะรู้สึกเหมือนเป็นส่วนเกิน แต่ไม่ได้หมายความว่า คุณพ่อจะไม่สามารถทำอะไรเพื่อสร้างสายสัมพันธ์กับเจ้าตัวน้อยได้เลย ยังมีอีกหลายวิธีที่คุณพ่อสามารถทำได้ค่ะ มาดูกันว่ามีอะไรบ้าง
10 วิธีสำหรับ คุณพ่อดูแลแม่ท้อง
1. พูดคุยกับคุณพ่อท่านอื่น
คุณสามารถเข้าร่วมกลุ่มสังคมออนไลน์ของคุณพ่อ (เช่น theAsianparent Community) หรืออาจถามเพื่อนๆ ที่เป็นคุณพ่อว่ารู้สึกอย่างไรตอนที่ลูกน้อยยังอยู่ในท้องคุณแม่ หรือปรึกษาถึงเคล็ดลับต่างๆ ในการเลี้ยงลูก ก่อนที่ลูกน้อยจะคลอดออกมา ซึ่งจะช่วยให้คุณรู้สึกอินในความเป็นพ่อมากขึ้นได้ค่ะ
2. ติดรูปเบบี๋ในทุก ๆ ที่
ลองก๊อปปี้ภาพอัลตร้าซาวนด์เจ้าตัวน้อยของคุณไว้หลายๆ ใบ แล้วใส่ไว้ในกระเป๋าสตางค์ ติดไว้บนโต๊ะทำงาน ในรถ และที่อื่นๆ จะช่วยเตือนใจคุณไปตลอดวันว่า คุณกำลังรอคอยเจ้าตัวน้อยอยู่นะ
3. ไปพบหมอตามนัดพร้อมกับคุณแม่
การได้เห็นพัฒนาการของเจ้าตัวน้อยเวลาที่คุณหมออัลตร้าซาวนด์เป็นอะไรที่น่าตื่นเต้นทุกครั้ง ดังนั้นคุณพ่อไม่ควรพลาดที่จะไปกับคุณแม่ให้ได้ทุกครั้งค่ะ
4. หาข้อมูลเตรียมความพร้อม
หาข้อมูลเพื่อเตรียมให้การสนับสนุนคุณแม่อย่างเต็มที่ เช่น อ่านหนังสือ หาข้อมูลในอินเทอร์เน็ต รวมถึงเข้าร่วมอบรมพ่อแม่มือใหม่ เป็นต้น
5. ซื้อของเล่นรอไว้เลย
คุณพ่อมักจะฝันถึงกิจกรรมที่จะทำร่วมกันเมื่อลูกโตขึ้น คุณอาจซื้อของเล่นเหล่านั้นเตรียมไว้ให้ลูกเลยก็ได้
6. เตรียมบ้านต้อนรับสมาชิกใหม่
เรื่องทำความสะอาดบ้าน จัดบ้าน หรือเตรียมซักเสื้อผ้าของใช้เจ้าตัวน้อย คุณพ่อก็ทำได้นะคะ เพราะในช่วงไตรมาสสุดท้าย คุณแม่ควรพักผ่อนเยอะๆ ค่ะ
7. อ่านหนังสือให้ลูกฟัง
เจ้าตัวน้อยควรจะได้ยินเสียงคุณพ่อคุณแม่แล้วในระหว่างสัปดาห์ที่ 23-27 ดังนั้น แม่ลูกจะยังอยู่ในท้องคุณแม่ก็ตาม คุณสามารถทำให้ลูกคุ้นเคยกับเสียงของคุณได้โดยการอ่านหนังสือให้ลูกฟังบ่อยๆ
8. ร้องเพลงให้ลูกฟัง
ถ้าคุณชอบเสียงเพลง ร้องเพลงโปรดของคุณให้ลูกฟังตรงท้องของคุณแม่ ลูกน้อยจะจำเพลงที่คุณร้องให้เขาฟังได้
9. เปิดเพลงให้ลูกฟัง
คุณพ่อบางท่านอาจไม่ได้เป็นนักร้องที่ดี แต่คุณก็สามารถเปิดเพลงหรือเล่นดนตรีให้ลูกฟังได้เช่นกัน
10. รับรู้ว่าลูกกำลังเคลื่อนไหว
ขอให้คุณแม่บอกคุณเวลาที่ลูกดิ้น คุณพ่อจะได้เอามือวางที่ท้องของคุณแม่ และรับรู้ได้ว่าเจ้าตัวน้อยกำลังเคลื่อนไหวอยู่ภายใน
พ่อเล่นกับลูกในท้อง ดีอย่างไร
บทความ : พ่อเล่นกับลูกในท้อง กระตุ้นพัฒนาการ เสริมความฉลาดให้ลูก
ความผูกพันพ่อกับลูกในท้อง
นับตั้งแต่วันแรกของการปฏิสนธิ ร่างกายของคุณแม่ สัมผัสได้ถึงความเปลี่ยนแปลงของเจ้าตัวน้อยในครรภ์ จากวันเป็นสัปดาห์ จากสัปดาห์เป็นเดือน ความผูกพันของแม่และลูกในท้อง ก่อตัวขึ้นทีละเล็กทีละน้อย แล้วคุณพ่อไปอยู่ที่ไหนเสียล่ะ? คุณพ่อคงมีคำถามนี้อยู่ในใจบ้างใช่ไหมคะ ก็แหม! ความมุ้งมิ้งของแม่ลูกนี่ คุณพ่อไม่สามารถสัมผัสได้เลย ดังนั้น จำเป็นอย่างมากที่พ่อจะสร้างความผูกพันกับลูกในท้อง
พ่อคุยกับลูกในท้องบ้างดีไหม
การพูดคุยกับลูกในท้องเป็นสิ่งที่ดีอยู่แล้ว โดยเฉพาะคนเป็นพ่อเป็นแม่ เพื่อให้ลูกในท้องคุ้นเคยกับเสียงของพ่อแม่ ทั้งยังเป็นการกระตุ้นพัฒนาการทารกในครรภ์อีกด้วย สำหรับการคุยกับลูกในท้อง พ่อและแม่สามารถทำได้ทันทีที่รู้ว่าตั้งครรภ์ เพียงแค่ว่า ลูกจะรับรู้จริง ๆ เมื่อเข้าสู่ไตรมาสที่สอง หรือการตั้งครรภ์เดือนที่ 4 – 6
หากพ่อคุยกับลูกในท้องลูกจะได้ยินตอนไหน
ประสาทสัมผัสทางการได้ยินของลูกจะเริ่มพัฒนาในช่วงไตรมาสสอง หรือช่วงตั้งครรภ์ 4 – 6 เดือน หากคุณพ่อและคุณแม่ หมั่นพูดคุยกับลูก ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ ลูกก็จะจดจำน้ำเสียงของพ่อและแม่ได้ ทั้งยังได้ยินเสียงชัดขึ้นแล้วในช่วงนี้
ช่วงเวลานี้ จึงเป็นช่วงเวลาที่เหมาะที่พ่อจะคุยกับลูกในท้อง เพราะช่วงไตรมาสแรก ลูกไม่ได้ตอบสนองเนื่องจากทารกเพิ่งเริ่มต้นสร้างอวัยวะ กล้ามเนื้อ และเซลล์ประสาท คุณพ่ออาจจะอาย เมื่อคุยกับลูกแล้วไม่มีการตอบสนอง แต่ในช่วง 4 – 6 เดือนนี้ ลูกจะเริ่มดิ้น มีการเคลื่อนไหว ทำให้คุณพ่อรับรู้ว่าลูกได้ยิน และมีกำลังใจในการคุยกับลูกในท้องมากขึ้น สำหรับช่วงเวลาที่ดีที่สุดอาจจะเป็นช่วงหลังมื้ออาหาร เพราะเป็นช่วงเวลาที่ลูกในท้องตื่นตัวมากที่สุด หรืออาจจะเป็นช่วงก่อนนอนก็ได้
พ่อคุยกับลูกในท้องช่วงไตรมาสสุดท้าย
เข้าสู่การตั้งครรภ์ไตรมาสสุดท้าย ช่วง 7 – 9 เดือนนี้ ลูกจะดิ้นมากขึ้น มีปฏิกิริยาตอบสนองเยอะขึ้น ทั้งพ่อและแม่จึงควรพูดคุยกับลูกในท้องบ่อย ๆ จะพูดคุยเรื่องชีวิตประจำวัน เล่าเรื่องราวดี ๆ ให้ฟัง แล้วก็ใช้วิธีสัมผัส ลูบท้องไปด้วยเล่าไปด้วย
เห็นไหมคะว่ามีหลากหลายวิธีในการที่คุณพ่อจะสร้างสายสัมพันธ์กับเจ้าตัวน้อยในท้องคุณแม่ได้ ลองทำตามคำแนะนำข้างต้น แล้วคุณจะพบว่า การรอคอยที่จะได้เป็นคุณพ่อเต็มตัวนั้นมีความหมายในทุกวินาทีไม่แพ้คุณแม่เลยล่ะค่ะ
_________________________________________________________________________________________
ลงทะเบียนรับการดูแลตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ กับ theAsianparent Thailand ตั้งแต่ช่วงไตรมาสแรก มาติดตามพัฒนาการของลูกอย่างใกล้ชิด ว่าลูกโตขึ้นแค่ไหนกันนะ ไตรมาสที่ 2 มาฟังเสียงลูกน้อย นับว่าหนึ่งวันลูกดิ้นไหมนะ และ ลูกดิ้นวันละกี่ครั้งด้วยแอพพลิเคชั่น theAsianparent Thailand นี่เป็นแค่ตัวอย่างกิจกรรมบนแอพพลิเคชั่นในส่วนแรก เพราะคุณแม่จะได้รับการดูแล ทั้งอาหารการกิน โดยการออกแบบจากผู้เชี่ยวชาญว่าควรทานอะไรบ้างในแต่ช่วงอายุครรภ์ ยาที่เป็นอันตรายชนิดไหนบ้าง ที่ไม่ควรทาน กิจกรรมใดบ้างที่ทำได้ หรือทำไม่ได้ เคล็ดลับการตั้งชื่อลูกอย่างไรให้เป็นมงคล ทั้งเด็กหญิง และเด็กชาย รวมถึงเตรียมแผนการล่วงหน้าถึงอนาคต การเตรียมคลอด การดูแลตนเองหลังคลอด ที่ครอบคลุมทุกช่วงเวลาที่คุณแม่ต้องการ
ที่มา : www.theindusparent.com
บทความที่น่าสนใจอื่น ๆ
5 เหตุผล ทำไมผู้ชายกลัวการเป็นพ่อคน
10 นิสัยควรโยนทิ้ง เพื่อเป็นพ่อแม่ที่สมบูรณ์แบบ
7 วิธีเตรียมตัวเป็นพ่อแม่มือใหม่ พ่อลูกอ่อน แม่ลูกอ่อนต้องเตรียมตัวอย่างไร ก่อนที่ลูกจะคลอด
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!