X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

โครงสร้างครอบครัว โรงเรียนชีวิตแห่งแรก ความสำคัญที่เด็กทุกคนต้องรู้

บทความ 5 นาที
โครงสร้างครอบครัว โรงเรียนชีวิตแห่งแรก ความสำคัญที่เด็กทุกคนต้องรู้

อยู่กันแบบพ่อแม่ลูก แบบนี้เรียกว่า “ครอบครัว” แล้วรู้จักคำว่า “โครงสร้างครอบครัว” แล้วหรือยัง มาปูพื้นฐานสำคัญให้ลูกเข้าใจความหมาย และความสำคัญของสถาบันครอบครัว สถาบันแรกที่เป็นจุดเลี้ยงดู และเป็นตัวกำหนดทิศทางของเด็กทุกคนว่าจะโตไปเป็นแบบไหน

 

โครงสร้างครอบครัว หมายถึงอะไร ?

ครอบครัว คือ การรวมตัวกันตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ถือเป็นกลุ่มองค์กรที่มีขนาดเล็กที่สุดในสังคม โดยบุคคลในครอบครัวนั้นจะมีความเกี่ยวข้องกันทางกฎหมาย และสายเลือด ไม่ว่าจะเป็นการสมรส หรือการรับรองบุตรบุญธรรมเอง ก็ถือเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัวได้เช่นกัน ดังนั้นพื้นฐานของสมาชิกในครอบครัวจึงได้แก่ พ่อ, แม่, ลูก และญาติพี่น้อง เป็นต้น โดยปกติแล้วบุคคลในครอบครัวเหล่านี้จะอยู่กันแบบพึ่งพาอาศัย คอยช่วยเหลือซึ่งกันและกัน อีกทั้งยังมีหน้าที่ในการอบรมเลี้ยงดูบุตรหลาน เพื่อให้สามารถใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างเป็นปกติสุข โดยทั่วไปโครงสร้างครอบครัว จะถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่

 

  • ครอบครัวเดี่ยว หรือครอบครัวเฉพาะ : เป็นรูปแบบครอบครัวที่สามารถพบได้มากที่สุด ครอบครัวเดี่ยวจะประกอบไปด้วย 3 ส่วน นั่นคือ พ่อ, แม่ และบุตรทั้งจากที่ให้กำเนิด และมาจากการรับรองบุตรบุญธรรม ครอบครัวเดี่ยว หรือครอบครัวเฉพาะนี้ จะไม่รวมญาติคนอื่น ๆ เข้ามา หรือที่เรามักเรียกกันติดปากว่า “พ่อ แม่ ลูก” นั่นเอง
  • ครอบครัวขยาย หรือครอบครัวเสริม : เป็นรูปแบบครอบครัวที่ถูกพัฒนามาจากครอบครัวเดี่ยว คือ มีการเข้ามาอยู่ร่วมกันของเครือญาติ จึงไม่ได้มีแค่พ่อแม่ลูก แต่ยังมีปู่, ย่า, ตา, ยาย, ลุง, ป้า, น้า, อา หรือหลานด้วย เป็นต้น โดยไม่จำเป็นต้องมีทั้งหมดตามที่กล่าวมา แต่ถ้าหากมีพ่อแม่ลูก และญาติคนใดคนหนึ่งก็ถือว่าเป็นครอบครัวขยายได้แล้ว

บทความที่เกี่ยวข้อง : การแบ่งหน้าที่ช่วยเหลือกันในครอบครัว แบ่งอย่างไร พ่อแม่ลูกมีหน้าที่อะไรบ้าง

 

วิดีโอจาก : ครูโอ๋ สื่อการเรียนการสอน

 

ลักษณะครอบครัวของคนไทย

โดยปกติแล้วสำหรับในสังคมไทยในอดีตคนจำนวนมากทำงานเกี่ยวกับเกษตรกรเป็นหลัก ทำให้ต้องกำลังคนในการทำงาน ครอบครัวของไทยในอดีตจึงเป็นแบบขยาย คือ มีมากกว่าพ่อแม่ลูก เพื่อช่วยกันทำงาน แต่เมื่อเวลาผ่านพ้นไป อาชีพมีความหลากหลายมากขึ้น มีทางเลือกมากขึ้น ทำให้เกิดการกระจัดกระจายออกไปหางาน จนเกิดเป็นครอบครัวเดี่ยวอยู่ตามพื้นที่ต่าง ๆ มากขึ้นแทน อย่างไรก็ตามวิถีชีวิตของครอบครัวเดี่ยวก็ยังมีข้อจำกัดมากกว่าที่คิด

เนื่องด้วยปัจจุบันหน้าที่การทำงานเป็นของทั้งพ่อและแม่ ทำให้หากมีบุตร หลายครอบครัวจึงต้องจ้างคนมาดูแลลูกของตน แต่ก็ยังมีความเป็นห่วงเรื่องการเอาใจใส่ของลูกจ้าง ที่อาจจะไม่มากเท่ากับคนในครอบครัว ไม่นานครอบครัวเดี่ยวจึงกลายเป็นครอบครัวขยาย มีการรวมตัวกันของญาติบางส่วนเข้ามาอยู่อาศัย เพื่อช่วยเหลือ และคอยดูแลซึ่งกันและกัน อย่างสนิทใจมากขึ้นนั่นเอง นอกจากนี้คนไทยยังนิยมอยู่คนเดียวจากรายงานการวิจัยสัมพันธภาพในครอบครัว สถาบันพัฒนาการสาธารณสุขอาเซียน พบว่าปัจจุบันจำนวนคนโสดมีมากขึ้น และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นนับตั้งแต่ปี 2551

 

บทบาทหน้าที่ของสมาชิกในครอบครัว

การอยู่ร่วมกันของบุคคลในครอบครัว หากอิงจากครอบครัวเดี่ยวที่พบได้มาก พ่อแม่ และลูก จะต้องมีสิ่งที่ต้องรับผิดชอบแตกต่างกัน ในมุมของพ่อแม่ หรือผู้ปกครองจะให้น้ำหนักไปที่การช่วยเหลือเลี้ยงดูลูก และพาครอบครัวให้อยู่รอดจากการทำงานหารายได้ วางแผนการใช้เงิน ส่วนลูกนั้นจะเน้นที่การตั้งใจเรียนรู้ในด้านต่าง ๆ และช่วยเหลือพ่อแม่ สรุปได้ ดังนี้

 

โครงสร้างครอบครัว

 

หน้าที่ของผู้ปกครอง

ทั้งบิดา และมารดา ต่างมีหน้าที่ไม่แตกต่างกันมากนัก เมื่อก่อนอาจเป็นภาพจำที่คนเป็นพ่อต้องเป็นช้างเท้าหน้า ออกทำงานหาเงินเพื่อจุนเจือครอบครัว ส่วนมาจะมีหน้าที่เลี้ยงลูก ทำงานบ้านให้ แต่ปัจจุบันนั้นเปลี่ยนแปลงไปมาก ผู้เป็นแม่เองก็นิยมออกไปประกอบอาชีพด้วย เรื่องงานบ้าน และการเลี้ยงลูก กลายมาเป็นสิ่งที่รับผิดชอบร่วมกันแทน สรุปได้ว่าผู้ปกครองมีหน้าที่ ดังนี้

 

  • ทำงานเพื่อหารายได้มาใช้จ่ายสำหรับครอบครัว โดยงานที่เลือกทำต้องเป็นงานที่สุจริต
  • มีความซื่อสัตย์ต่อคู่รักของตนเอง ไม่นอกใจซึ่งกันและกัน
  • วางแผนการใช้เงินให้ดี ทั้งค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือน, เงินเก็บ หรือค่าเล่าเรียนนของบุตรหลาน
  • ทำตัวให้เป็นแบบอย่างที่ดีต่อบุตรหลาน เพื่อให้บุตรหลานจดจำสิ่งดี ๆ และนำไปทำต่อกับผู้อื่น
  • คอยอบรมเลี้ยงดูสั่งสอนบุตรหลานของตนเองแต่ในสิ่งที่ถูกต้อง และตักเตือนให้เข้าใจในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง
  • ดูแลความปลอดภัย และให้ความสำคัญกับโอกาสในการศึกษาเล่าเรียนของบุตรหลาน

 

หน้าที่ของบุตรหลาน

สำหรับผู้เป็นลูกนั้น มีหน้าที่หลัก ๆ ในการตั้งใจเรียน และเชื่อฟังสิ่งดี ๆ จากพ่อแม่ เพราะในช่วงนี้ เป็นช่วงที่ยังไม่สามารถทำอะไรหลาย ๆ อย่างได้ด้วยตนเอง หน้าที่ในการพัฒนาทั้งความรู้ ความสามารถรวมถึงคอยช่วยเหลือพ่อแม่ จึงเป็นสิ่งพื้นฐานที่ลูกทุกคนควรทำไปก่อน จนกว่าจะเติบใหญ่ในอนาคต ดังนี้

 

  • คอยช่วยเหลืองานบ้าน หรือสิ่งอื่น ๆ ที่สามารถแบ่งเบาภาระได้
  • ตั้งใจศึกษาเล่าเรียน ใช้โอกาสที่พ่อแม่ลำบากหามาให้อย่างคุ้มค่า
  • เชื่อฟังคำสั่งสอน การอบรม และนำสิ่งดี ๆ มาปฏิบัติตาม
  • หาแนวทางในการพัฒนาตนเอง วางแผนสำหรับอนาคตเพื่อเติบโตอย่างมีคุณภาพ

 

โครงสร้างครอบครัว 2

 

ความสำคัญของโครงสร้างครอบครัว

แม้จะบอกว่าเป็นกลุ่มที่เล็กที่สุดในสังคม แต่กลับเป็นรากฐานที่สำคัญที่สุด เนื่องจากทุกคนไม่ว่าจะเป็นสังคมไหน ๆ จะเป็นแวดวงผู้ประกอบการ แวดวงของคนทำงานรัฐ และเอกชน คนทั่วไปที่เดินตามท้องถนน ล้วนแล้วแต่ถูกหล่อหลอม และเรียนรู้ได้เป็นครั้งแรกจากครอบครัวทั้งนั้น ครอบครัวจึงเหมือนกับคนกลุ่มแรกที่คอยรดน้ำต้นกล้าที่เปรียบเหมือนลูกน้อย ที่จะโตไปเป็นอนาคตของประเทศนั่นเอง นอกจากนี้หากไม่มีสถาบันครอบครัว ก็ทำให้องค์กรอื่น ๆ ไม่สามารถพัฒนาได้ เพราะขาดกำลังคน หรือขาดคนที่มีคุณภาพ

 

ครอบครัวเป็นสิ่งแรกที่ลูกได้พบเจอ ก่อนจะได้ไปมีสังคมในโรงเรียน ลูกจะเป็นอย่างไร นิสัยแบบไหน แสดงออกอย่างไรต่อหน้าผู้อื่น หากสังเกตได้เด่นชัด ก็คือภาพสะท้อนของครอบครัวนั้น ๆ ได้เช่นกัน

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

บทความจากพันธมิตร
เคล็ดลับเนรมิตห้องครัวให้เรียบหรู ทันสมัย และถูกใจคนใช้งานจริง
เคล็ดลับเนรมิตห้องครัวให้เรียบหรู ทันสมัย และถูกใจคนใช้งานจริง
ชี้เป้า ประกันสุขภาพลูก ลดภาระทางการเงินเมื่อลูกเจ็บป่วย ช่วยให้ได้รับการรักษาอย่างดีที่สุด
ชี้เป้า ประกันสุขภาพลูก ลดภาระทางการเงินเมื่อลูกเจ็บป่วย ช่วยให้ได้รับการรักษาอย่างดีที่สุด
ประกันสำหรับเด็ก เลือกแบบไหนดี มีไว้อุ่นใจ คุ้มครองครบ มีทุนสำรองเพื่ออนาคตของลูกรัก
ประกันสำหรับเด็ก เลือกแบบไหนดี มีไว้อุ่นใจ คุ้มครองครบ มีทุนสำรองเพื่ออนาคตของลูกรัก
เพราะการศึกษาลูกเป็นสิ่งสำคัญ เพิ่มความมั่นคงทางการเงินในอนาคต ด้วยประกันสะสมทรัพย์ Saving 20/10
เพราะการศึกษาลูกเป็นสิ่งสำคัญ เพิ่มความมั่นคงทางการเงินในอนาคต ด้วยประกันสะสมทรัพย์ Saving 20/10

ตั้งกฎครอบครัว อย่างไรให้ลูกเชื่อฟัง คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ ไม่ควรพลาด!

หัวหน้าครอบครัวที่ดี แบบนี้เลย! 9 สัญญาณที่บอกว่า คุณโชคดีแค่ไหนที่ได้สามีคนนี้

สอนลูกยังไงให้เข้าใจ ครอบครัวที่สมบูรณ์แบบ ไม่จำเป็นต้องมีแค่พ่อ แม่ และลูก

ที่มา : 1, 2

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Sutthilak Keawon

  • หน้าแรก
  • /
  • ความรักและความสัมพันธ์
  • /
  • โครงสร้างครอบครัว โรงเรียนชีวิตแห่งแรก ความสำคัญที่เด็กทุกคนต้องรู้
แชร์ :
  • ห้องนอนเด็กอ่อน ต้องจัดอย่างไร ต้องเตรียมอะไรบ้าง พ่อแม่มือใหม่ต้องอ่าน !

    ห้องนอนเด็กอ่อน ต้องจัดอย่างไร ต้องเตรียมอะไรบ้าง พ่อแม่มือใหม่ต้องอ่าน !

  • 4 เทคนิคสำคัญที่ควรรู้ก่อนไปเลือกแหวนแต่งงาน

    4 เทคนิคสำคัญที่ควรรู้ก่อนไปเลือกแหวนแต่งงาน

  • 5 ข้อต้องคิดหาก อยากให้ลูกเลิกกับแฟน และวิธีการบอกที่เหมาะสม

    5 ข้อต้องคิดหาก อยากให้ลูกเลิกกับแฟน และวิธีการบอกที่เหมาะสม

  • ห้องนอนเด็กอ่อน ต้องจัดอย่างไร ต้องเตรียมอะไรบ้าง พ่อแม่มือใหม่ต้องอ่าน !

    ห้องนอนเด็กอ่อน ต้องจัดอย่างไร ต้องเตรียมอะไรบ้าง พ่อแม่มือใหม่ต้องอ่าน !

  • 4 เทคนิคสำคัญที่ควรรู้ก่อนไปเลือกแหวนแต่งงาน

    4 เทคนิคสำคัญที่ควรรู้ก่อนไปเลือกแหวนแต่งงาน

  • 5 ข้อต้องคิดหาก อยากให้ลูกเลิกกับแฟน และวิธีการบอกที่เหมาะสม

    5 ข้อต้องคิดหาก อยากให้ลูกเลิกกับแฟน และวิธีการบอกที่เหมาะสม

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารไลฟ์สไตล์ที่น่าสนใจไปให้กับคุณ