สำหรับรายการ TAP Ambassador ของเราในสัปดาห์นี้ มาพร้อมกับประเด็นที่น่าสนใจมาก ๆ เพราะเป็นเรื่องที่คุณพ่อคุณแม่หลาย ๆ ท่านให้ความสนใจ โดยหัวข้อในวันนี้คือ อยากให้ลูกฉลาดและเก่ง สร้างได้ด้วย กิจกรรมส่งเสริม ทักษะ EF ซึ่งในวันนี้ theAsianparent จะพาคุณพ่อคุณแม่ทุกคนมาไขข้อข้องใจไปพร้อม ๆ กันกับคุณหมอแอม แพทย์หญิงพรนิภา ศรีประเสริฐ กุมารแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องของจิตวิทยาพัฒนาการ และจิตวิทยาสมองและการเรียนรู้ของเด็ก
ทักษะ EF คืออะไร สำคัญกับเด็กอย่างไรบ้าง
EF มาจากคำว่า Exclusive Function ที่หมายถึง ทักษะขั้นสูงของสมอง ซึ่งทักษะพวกนี้คือทักษะการวางแผนชีวิต รู้จักคิด วางแผนแก้ไขปัญหา ควบคุมตัวอารมณ์ตัวเองให้ได้ ทำให้ชีวิตลูกประสบความสำเร็จได้
บทความที่น่าสนใจ : 16 วิธีพัฒนา EF (อีเอฟ) ช่วยให้ลูกเก่ง ฉลาดเสริมสร้างทักษะการคิด
ทักษะ EF จำแนกออกเป็นกี่ด้าน และมีกี่วิธีที่จะทำ EF กับลูก
จริง ๆ แล้ว ทักษะ EF มีทั้งหมด 9 ด้าน แต่มีทักษะ EF 5 ด้านที่ควรส่งเสริมในเด็กเล็ก โดยทักษะที่ควรส่งเสริมในช่วงนี้ได้แก่ ความจำใช้งาน โดยความจำใช้งานจะต่างจากความจำทั่วไป โดยความจำใช้งานจะเป็นการนำความจำมาใช้ในสถานการณ์จริง ๆ ไม่ได้เหมือนกับการท่องจำทั่วไปเฉย ๆ โดยความจำใช้งานจะเริ่มเห็นชัดเมื่ออายุ 9 -12 เดือน ส่วนทักษะ EF ถัดมาก็คือ การยับยั้ง ซึ่งพ่อแม่หลาย ๆ คนอาจรู้สึกว่าลูกซนมาก ๆ ถึงแม้จะอยู่ในช่วงวัยที่ซุกซน แต่ก็สามารถฝึกกันได้ เช่น การรอคอย โดยทักษะการยับยั้งจะเริ่มมีได้เมื่ออายุ 3 – 4 ปี ทักษะถัดมาคือ การคิดยืดหยุ่น การคิดแก้ปัญหา เพราะในโลกปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงที่เร็วมาก ๆ แล้วถ้าหากลูกยังไม่รู้จักเปลี่ยนวิธีคิด หรือตัวพ่อแม่เองที่ตีกรอบให้ลูกหมด สุดท้ายจะทำให้เด็กแก้ปัญหาไม่ได้ โดยความคิดยืดหยุ่น เป็นทักษะที่สามารถเสริมสร้างได้ตั้งแต่เด็ก
ภาพจาก pixabay.com
สำหรับทักษะ EF ด้านที่ 4 คือ การควบคุมอารมณ์ โดยหากเป็นเด็กที่เริ่มพูดเป็น แต่ไม่พูด เมื่ออยากได้อะไรก็ร้องไห้ งอแง รอไม่ได้ หากเป็นดังข้างต้น แสดงว่าเด็กเริ่มมีปัญหาด้านการจัดการอารมณ์ สาเหตุหลัก ๆ มีด้วยกัน 2 อย่างคือ การที่พ่อแม่ตามใจ หรือสาเหตุที่มาจากการสื่อสารไม่เป็น เพราะฉะนั้นก็ต้องมาแก้ปัญหาตรงนี้ด้วย ต้องค่อยเรียนรู้กันไป ไม่ใช่การตามใจ ทักษะถัดมาจะเป็นเรื่องของ ทักษะการวางแผน ซึ่งการวางแผนสามารถทำได้ง่าย ๆ กิจวัตรประจำวันก็สามารถทำได้ เช่น การให้ลูกมีส่วนร่วมในการทำอาหาร โดยที่กล่าวมาข้างต้น เป็นทักษะ EF ที่ควรที่ควรจะฝึกในวัยอนุบาล
ในช่วงวัยเด็กเล็ก ๆ จะมีช่วงที่เรียกว่า สายเกินไปหรือไม่ สำหรับการฝึกทักษะ EF
การฝึกฝนทักษะ EF นั้นจะมีช่วงที่เรียกว่า ส่งเสริมได้ง่าย หากจะเปรียบเทียบก็เหมือนเด็กที่เรียนรู้ภาษาอังกฤษมาตั้งแต่เล็ก ๆ ที่จะสามารถพูดภาษาอังกฤษได้คล่องกว่า เมื่อเทียบกับเด็กที่เริ่มเรียนภาษาอังกฤษในวัยประถม โดยทักษะ EF จะมีช่วงเวลาที่ช่วยส่งเสริมได้ง่ายจะอยู่ในช่วง 3 – 5 ขวบปีแรก จะเป็นช่วงที่ทักษะ EF ฝึกได้ง่ายที่สุด เหลือเพียงแค่พ่อแม่ส่งเสริมเท่านั้น
กิจกรรมไหนบ้าง ที่ช่วยส่งเสริมทักษะ EF ได้ เมื่อพ่อแม่ไม่มีเวลา
สำหรับทักษะ EF นั้นสามารถส่งเสริมได้จากชีวิตประจำวัน เช่น การอ่านหนังสือนิทานกับลูก เพราะจะทำให้เด็กรู้จักโฟกัส กับตัวละครในนิทาน รวมถึงฝึกให้เด็กรู้จักรอคอยที่จะอ่านให้ถึงหน้าถัดไป รวมถึงยังช่วยฝึกทักษะความจำใช้งานได้อีกด้วย หรือจะฝึกโดยกิจวัตรประจำวัน เช่น การให้เด็กช่วยทำอาหาร อย่างที่ได้กล่าวไปข้างต้น
บทความที่น่าสนใจ : 12 กิจกรรมเด็ก หลากหลายไอเดียทำสนุกๆ กับลูกได้ไม่ซ้ำ
ภาพจาก freepik.com
ถ้าเด็กอายุ 6 เดือน ควรเสริมพัฒนาการด้านไหนบ้าง
ด้านแรกต้องเสริมพัฒนาการด้านกล้ามเนื้อ เพราะเด็ก 6 เดือนควรที่จะนั่งทานอาหารได้แล้ว ด้านที่สองควรฝึกในด้านภาษา เช่นการเล่านิทานให้ฟัง หรือเวลาพ่อแม่พูดคุยกับลูกให้พูดช้า ๆ อ้าปากให้กว้าง ๆ ส่วนในด้านถัดมาคือในเรื่องของ EF โดยฝึกผ่านกิจกรรมประจำวัน และเมื่อเด็กเริ่มอายุ 1 ขวบแล้วเริ่มที่จะรอไม่ได้ ก็สามารถที่จะค่อย ๆ ฝึกให้ลูกรู้จักการรอคอยก็ได้เช่นกัน
คุณหมอแอม แพทย์หญิงพรนิภา ศรีประเสริฐ กุมารแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องของจิตวิทยาพัฒนาการ และจิตวิทยาสมองและการเรียนรู้ของเด็ก
บทความที่น่าสนใจ :
การกระตุ้นสมองลูกน้อย เทคนิคสร้างความฉลาดให้ลูก ตั้งแต่อยู่ในท้องแม่
ข้อควรรู้ เตรียมความพร้อม เป็น คุณพ่อมือใหม่หัดเลี้ยงลูก
ความแตกต่างของการเลี้ยงลูกชายและลูกสาว
ที่มา : คุณหมอแอม แพทย์หญิงพรนิภา ศรีประเสริฐ
เจ้าของเพจ เรื่องเด็ก ๆ by หมอแอม
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!