- โรคกระเพาะ
การเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมน ในร่างกายช่วงตั้งครรภ์ ส่งผลต่อการย่อยอาหารด้วย แต่การรับประทานอาหารให้ถูกต้องตามโภชนาการก็ช่วยลดการเกิดโรคกระเพาะได้ ทั้งที่เกิดจากการกินมากเกินไป กินไม่เป็นเวลา รวมถึงกินน้อยเกินไป ด้วยการจัดตารางการกินใหม่ ให้มีมื้อหลัก 3 มื้อ และเสริมมื้ออาหารว่างอีก 3 มื้อโดยเน้นการกินอาหารที่หลากหลาย เน้นโปรตีนและผักผลไม้ งดอาหารรสจัด อาหารสุกๆ ดิบๆ เก็บไว้แซ่บหลังคลอดเถอะนะคะ ตอนนี้ต้องดูแลทั้งตัวคุณและลูกไปก่อน
- โรคกรดไหลย้อน
อาการกรดไหลย้อนเป็นอาการหนักขึ้นอีกขั้นของโรคกระเพาะ เนื่องจากหูรูดของกระเพาะนั้นผิดปกติไป ทำให้น้ำย่อยจากกระเพาะอาหารไหลย้อนกลับขึ้นไปในหลอดอาหาร แล้วทำให้เกิดอาการแสบร้อนบริเวณหน้าอกหรืออาการขย้อน จนรบกวนการใช้ชีวิตประจำวันของคุณแม่เป็นอย่างมาก
วิธีการบรรเทาอาการกรดไหลย้อนคือหลีกเลี่ยงการดื่มชา กาแฟ น้ำอัดลม น้ำผลไม้ หรืออาหารที่มีรสเปรี้ยวจัด เผ็ดจัด อาหารไขมันสูง ช็อกโกแลต หลีกเลี่ยงการดื่มสุราและการสูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารมื้อเย็นปริมาณมาก และไม่ควรนอนทันทีหลังรับประทานอาหารอย่างน้อย 4 ชั่วโมง เปลี่ยนวิธีการรับประทานอาหารเป็นควรรับประทานอาหารปริมาณน้อยแต่บ่อยครั้ง เปลี่ยนวิธีการนอนด้วยการปรับหรือหนุนหัวให้สูงอย่างน้อย 6 นิ้ว และ พยายามหลีกเลี่ยงความเครียด
อ่านเรื่องของกรดไหลย้อนอย่างละเอียดได้ที่ กรดไหลย้อนระหว่างตั้งครรภ์
- โรคริดสีดวงทวาร
ริดสีดวงทวาร พบได้บ่อยในช่วงอายุครรภ์ 4-6 เดือน มีสาเหตุมาจากการเพิ่มระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนและจากมดลูกที่โตขึ้นจนไปกดทับเส้นเลือดดำ ทำให้การไหลเวียนของเลือดบริเวณทวารหนักไม่ดี ความดันในเส้นเลือดเลยสูงขึ้น เส้นเลือดจึงโป่งพอง เมื่อท้องผูกอุจจาระจะเป็นก้อนแข็ง ทำให้เส้นเลือดที่โป่งพองเกิดฉีกขาด จึงมีเลือดสด ๆ ปนออกมากับอุจจาระและทำให้คุณแม่ รู้สึกปวดแสบ ส่วนหนึ่งนอกจากฮอร์โมนแล้ว ยังเกิดจากการที่คุณแม่รับประทานอาหารที่ไม่มีกากใย หรือกากใยน้อยเกินไป กินอาหารที่เป็นแป้งมาก แต่ไม่แตะผักผลไม้เลย ริดสีดวงทวารจึงถามหาค่ะ
- โรคเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์
คุณแม่หลายคนอาจจะคิดว่าโรคเบาหวานนั้นไกลตัว แต่ในช่วงตั้งครรภ์ที่ฮอร์โมนต่างๆเปลี่ยนแปลงไป ส่งผลให้เสี่ยงต่อภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์คือ ความผิดปกติของระดับน้ำตาลในเลือดที่ตรวจพบระดับตั้งครรภ์ เนื่องจากฮอร์โมนที่รกผลิตออกมามีผลต่อประสิทธิภาพของอินซูลิน หรือ ฮอร์โมนที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของแม่ ปกติตับอ่อนจะผลิตอินซูลินออกมา แต่ในกรณีนี้ตับอ่อนไม่ผลิตอินซูลินเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลเลยทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้น
วิธีจัดการกับเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์ต้องผสมผสานทั้งการเปลี่ยนพฤติกรรมการกินและการเลือกอาหารมารับประทานให้ถูกต้องตามโภชนาการ เช่น เปลี่ยนเป็นมื้อเล็ก ๆ แต่หลาย ๆ มื้อ ห้ามงดอาหารเด็ดขาดเพราะจะทำให้ระดับน้ำตาลของคุณไม่เป็นปกติ พยายามรับประทานอาหารเช้าภายใน 1 ชั่วโมงหลังจากที่คุณตื่นนอน และกำหนดเวลารับประทานอาหารกลางวัน อาหารเย็น และอาหารว่างอีก 2 มื้อ วิธีนี้จะทำให้ร่างกายของคุณขาดอาหารไม่เกินครั้งละ 3 – 4 ชั่วโมง และรับประทานผักให้มากขึ้น ไม่ว่าจะต้ม นึ่ง ผัด ส่วนผลไม้ไม่เกิน 2 ผลต่อวัน รับประทานผลไม้สดหรือแช่แข็งก็ได้
พยายามหลีกเลี่ยงหนังหรือมันจากสัตว์เลือกทานเฉพาะเนื้อไม่ติดหนัง ตัดมันออกก่อนทำอาหาร หลีกเลี่ยงอาหารที่มันจัดอย่าง เบคอน ไส้กรอก กุนเชียง และใช้น้ำมันพืชทำอาหาร เช่น น้ำมันรำข้าว น้ำมันมะกอก น้ำมันดอกทานตะวัน
นี่ล่ะค่ะ 4 โรคร้าย ที่จะมาเยือนคุณแม่เมื่อคุณแม่ตามใจปากมากเกินไป ทุกครั้งที่รับประทานอาหาร อยากให้คุณแม่ทุกคนคิดไว้ว่าเราไม่ได้กินเพื่อตัวเองเท่านั้น แต่เรากินเพื่อลูกด้วย ต้องเลือกของกินที่ถูกต้องตามโภชนาการเท่านั้น ให้อาหารทุกมื้อเป็นประโยชน์ต่อทั้งคุณและลูกน้อย
สุขภาพช่วงตั้งครรภ์เป็นเรื่องสำคัญ แม่ท้องอยากสุขภาพดี และไม่อยากให้ลูกในท้องสุขภาพแย่ ความสำคัญอยู่ที่ต้องรู้จักการวางแผนทานอาหารที่มีประโยชน์กันด้วยนะคะ เพราะถ้าไม่เลือกทานก็อาจสุขภาพแย่ทั้งแม่และลูกได้นะคะ
ที่มา
https://medthai.com/การดูแลสตรีตั้งครรภ์
https://th.theasianparent.com/เบาหวานระหว่างตั้งครรภ์
https://eln.theasianparent.com/gerd-during-pregnancy
อ่านบทความที่น่าสนใจคลิก
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!