ขี้หูเด็ก ควรแคะออกไหม การแคะขี้หูให้ลูกน้อยเป็นเรื่องดีหรือไม่? หลายบ้านอาจใช้คอตตอนบัดเช็ดหูลูกเป็นประจำแต่รู้ไหมคะว่า การแคะขี้หูหรือปั่นหูด้วยคอตตอนบัดอาจส่งผลเสียและทำให้เกิดปัญหาภายในช่องหูตามมา แต่ถ้าปล่อยไว้ไม่แคะออก จะเกิดอาการขี้หูอุดตันหรือไม่ คุณพ่อคุณแม่ควรดูแลหูลูกน้อยอย่างไร เราได้รวบรวมข้อมูลจากแพทย์มาไขความกระจ่างให้คุณแม่ค่ะ
ขี้หูเกิดจากอะไร มีประโยชน์อย่างไร
ขี้หู (Earwax) หรือที่เรียกทางการแพทย์ว่า “เซรูเมน” (Cerumen) นั้นไม่ได้เป็นเพียงสิ่งสกปรกอย่างที่หลายคนเข้าใจ แต่เป็นสารคัดหลั่งที่มีประโยชน์ต่อหูของเรา ขี้หูถูกผลิตขึ้นมาจากต่อมในผิวหนังที่บุช่องหู มีส่วนประกอบหลักคือไขมัน เซลล์ผิวหนังที่ตายแล้ว และขนเล็กๆ ที่ดักจับฝุ่นละอองต่างๆ
- ป้องกันการติดเชื้อ ขี้หูมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา ช่วยป้องกันการติดเชื้อในช่องหู
- ดักจับสิ่งแปลกปลอม ขี้หูจะดักจับฝุ่นละออง แมลง และสิ่งสกปรกต่างๆ ไม่ให้เข้าไปในหูชั้นใน
- หล่อลื่นช่องหู ขี้หูช่วยให้ผิวหนังในช่องหูชุ่มชื้น ไม่แห้งและคัน
- ป้องกันน้ำเข้าหู ขี้หูจะอุดช่องหูเล็กน้อย ช่วยป้องกันไม่ให้น้ำเข้าไปในหูขณะอาบน้ำหรือว่ายน้ำ
ขี้หูเด็ก ควรแคะออกไหม
หลายคนคงสงสัยว่า การแคะขี้หูให้ลูกน้อยเป็นเรื่องจำเป็นหรือไม่? คำตอบอาจจะไม่ใช่แค่ “ใช่” หรือ “ไม่ใช่” เสมอไป ลองมาดูเหตุผลที่คุณหมอแนะนำกันดีกว่าค่ะ
ทำไมหมอถึงไม่แนะนำให้ แคะขี้หู
- ร่างกายมีกลไกในการทำความสะอาดเอง ขี้หูเปรียบเสมือนขี้ไคลที่หลุดลอกออกมาเองได้ตามธรรมชาติ โดยเฉพาะเวลาที่เราเคี้ยวอาหารหรือขยับใบหน้า
- การแคะอาจทำให้เกิดอันตราย หากแคะไม่ถูกวิธี อาจทำให้เกิดรอยขีดข่วนในช่องหู หรืออาจดันขี้หูให้เข้าไปอุดตันมากขึ้นได้
- เยื่อแก้วหูบอบบางมาก การแคะหูอาจทำให้เกิดบาดแผลที่เยื่อแก้วหูได้ ซึ่งอาจนำไปสู่การติดเชื้อหรือสูญเสียการได้ยินได้
แต่ถ้าขี้หูอุดตันจนมีปัญหา ควรทำยังไง
- สังเกตอาการ: ถ้าลูกมีอาการปวดหู หูอื้อ ได้ยินเสียงไม่ชัด หรือมีหนองไหลออกจากหู ควรพาไปพบแพทย์ทันที
- แพทย์จะทำความสะอาดให้: แพทย์จะมีเครื่องมือและความรู้ในการทำความสะอาดขี้หูอย่างปลอดภัย โดยไม่ทำให้เกิดอันตรายต่อหู
ใช้คอตตอนบัด แคะขี้หู อันตรายยังไง
การใช้คอตตอนบัดปั่นหูลูกเป็นพฤติกรรมที่หลายคนทำเป็นประจำ แต่การทำแบบนี้กลับส่งผลเสียต่อหูมากกว่าที่คิด ลองมาดูกันว่าอันตรายจากการใช้คอตตอนแคะหูมีอะไรบ้าง
- ขี้หูอุดตันมากขึ้น แทนที่จะทำให้ขี้หูออกจากหู การใช้คอตตอนบัดกลับดันให้ขี้หูเข้าไปอัดแน่นในช่องหูมากขึ้น ทำให้เกิดการอุดตันได้
- เกิดการติดเชื้อ การแคะหูอาจทำให้เกิดรอยขีดข่วนในช่องหู ซึ่งเป็นประตูเปิดให้เชื้อแบคทีเรียเข้าไปทำอันตรายได้ง่ายขึ้น
- เยื่อแก้วหูอาจได้รับบาดเจ็บ หากใช้คอตตอนบัดแรงเกินไป อาจทำให้เยื่อแก้วหูฉีกขาดได้ ส่งผลต่อการได้ยิน
- อาการหูอื้อ ขี้หูที่อุดตันจะทำให้เสียงเดินทางเข้าสู่หูชั้นในได้ยากขึ้น ทำให้เกิดอาการหูอื้อ
- การได้ยินลดลง หากปล่อยให้ขี้หูอุดตันนานวันเข้า อาจส่งผลให้การได้ยินลดลงได้
ทำไมการปั่นหูจึงไม่ใช่ทางออก?
- ยิ่งปั่น ยิ่งตัน การปั่นหูจะยิ่งทำให้ขี้หูอัดแน่นเข้าไปในช่องหูมากขึ้น แทนที่จะทำให้ ขี้หูเด็ก หลุดออกมา
- น้ำเข้าหูก็ไม่ควรปั่น แม้ว่าจะรู้สึกว่ามีน้ำเข้าหู การปั่นหูก็ไม่ใช่ทางแก้ไขที่ดีที่สุด เพราะจะยิ่งทำให้ขี้หูอัดแน่นและอาจทำให้เกิดการติดเชื้อได้
- วิธีที่ถูกต้อง หากมีน้ำเข้าหู ควรเอียงศีรษะให้ด้านที่มีน้ำเข้าหูชิดพื้น แล้วใช้ผ้าขนหนูซับบริเวณใบหูเบาๆ เพื่อให้น้ำไหลออกมา
แคะหูแล้วเลือดออก อันตรายที่ควรรู้
การแคะหูแล้วเลือดออก สาเหตุหลักมาจากการใช้คอตตอนบัดหรือวัตถุแปลกปลอมอื่นๆ แคะหู อาจทำให้ผิวหนังในช่องหูเกิดรอยขีดข่วน เกิดบาดแผลเล็กๆ น้อยๆ หรือยิ่งดันขี้หูให้เข้าไปอุดตันมากขึ้น หรืออาจรุนแรงถึงขั้นเยื่อแก้วหูทะลุได้
อันตรายจากการแคะหูแล้วเลือดออก
- การติดเชื้อ บาดแผลในช่องหูอาจติดเชื้อแบคทีเรียได้ ทำให้เกิดอาการปวดหู หูอื้อ และมีหนองไหลออกจากหู
- เยื่อแก้วหูทะลุ หากใช้แรงในการแคะหูมากเกินไป อาจทำให้เยื่อแก้วหูทะลุได้ ส่งผลต่อการได้ยินและอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ตามมา
- สูญเสียการได้ยิน การบาดเจ็บที่เยื่อแก้วหูหรือการติดเชื้อในหู อาจทำให้การได้ยินลดลงได้
หากแคะหูแล้วเลือดออก ควรหยุดแคะหูทันที ห้ามใช้คอตตอนบัดหรือวัตถุแปลกปลอมใดๆ แคะหูอีก
ลูกมีขี้หูเยอะ ควรดูแลยังไง
การที่ลูกมีขี้หูเยอะ อาจทำให้คุณพ่อคุณแม่เป็นกังวลได้ว่าจะส่งผลต่อการได้ยินหรือไม่ เรามีคำแนะนำดีๆ วิธีดูแลลูกน้อยที่มีขี้หูเยอะมาฝาก
- ปล่อยให้ร่างกายกำจัดขี้หูเอง ขี้หูจะค่อยๆ เคลื่อนตัวออกมาเองตามธรรมชาติขณะที่เราเคี้ยวอาหารหรือขยับขากรรไกร
- ทำความสะอาดรอบนอกหู หลังอาบน้ำ สระผม มีโอกาสที่น้ำจะเข้าไปในรูหูส่วนนอกได้บ้างอยู่แล้ว ให้ใช้ผ้าขนหนูชุบน้ำเช็ดทำความสะอาดเท่าที่ทำได้ ก็เพียงพอแล้ว
- หลีกเลี่ยงการแคะหูด้วยคอตตอนบัด เพราะอาจทำให้ขี้หูอัดแน่นเข้าไปในหูมากขึ้นได้ หากต้องการใช้คอตตอนบัด อาจใช้คอตตอนบัตซับตรงปลายรูหูแล้วเอียงนิดหนึ่ง เพื่อซับตรงบริเวณปลายรูหูให้น้ำออกก็เพียงพอ
- พบแพทย์เมื่อมีปัญหา หากมีอาการปวดหู หูอื้อ หรือมีหนองไหลออกจากหู ควรปรึกษาแพทย์ หรือหากกังวลว่าขี้หูอาจส่งผลต่อการได้ยินของลูก ควรพาไปพบแพทย์เพื่อตรวจเช็ค
อาการบ่งบอกว่าลูกน้อยมีขี้หูอุดตัน
หากคุณแม่สังเกตว่าลูกน้อยมีอาการเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณของขี้หูอุดตันได้ค่ะ
- ปวดหู หรือเจ็บบริเวณหู
- หูอื้อ ได้ยินเสียงไม่ชัด หรือรู้สึกเหมือนมีอะไรอุดตันอยู่ในหู
- รู้สึกคันบริเวณรูหู
- ได้ยินเสียงดังก้องในหู
- ได้ยินเสียงเบาลง หรือได้ยินไม่ชัดเจน
- อาจมีขี้หูไหลออกมา หรือมีกลิ่นเหม็นออกมาจากหู
- รู้สึกมึนหัว หรือเวียนหัว
หากอาการหนักจนปวดหูรุนแรง ร่วมกับมีหนองไหลออกมาจากรูหู ควรรีบพบแพทย์โดยด่วน
การรักษาขี้หูอุดตัน
เมื่อไปพบแพทย์ แพทย์อาจทำอะไรให้บ้าง?
- ตรวจสอบหู คุณหมอจะใช้เครื่องมือตรวจสอบภายในหูเพื่อดูว่ามีขี้หูอุดตันมากน้อยแค่ไหน
- ทำความสะอาดหู หาก ขี้หูเด็ก อุดตันมาก แพทย์อาจใช้เครื่องมือดูดขี้หูออก หรือใช้ยาละลายขี้หู
หูของลูกน้อยเป็นส่วนที่เล็กและบอบบางอย่างมาก คุณแม่ควรเช็ดทำความสะอาดอย่างเบามือ หากไม่มีความจำเป็น ควรปล่อยให้ร่างกายของลูกได้ทำความสะอาดตัวเองไปตามธรรมชาติ และพยายามอย่าแคะ ขี้หูเด็ก ด้วยตัวเอง หากพบขี้หูอุดตัน ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับคำแนะนำที่ถูกต้องค่ะ
ที่มา: รามาแชนแนล , โรงพยาบาลบางปะกอกสมุทรปราการ , โรงพยาบาลพญาไท , เพจเลี้ยงลูกตามใจหมอ
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ
เด็กนั่งท่า W-Sitting ท่านั่งอันตราย ! ทำลายพัฒนาการลูก ต้องรีบปรับ
นมแม่ใส ลูกน้ำหนักไม่ขึ้น ทำไงดี ? 8 วิธีเพิ่มไขมันนมแม่ เพิ่มน้ำหนักลูกน้อย
ลูก 1 ขวบควรสอนอะไรบ้าง ? เรื่องสำคัญที่ต้องฝึกให้ลูกเรียนรู้
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!