X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • พัฒนาการลูก
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • การศึกษา
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

หูฟัง แบบไหนที่ดีสำหรับเด็ก หลักการเลือกง่าย ๆ เพื่อให้เด็กปลอดภัย

บทความ 5 นาที
หูฟัง แบบไหนที่ดีสำหรับเด็ก หลักการเลือกง่าย ๆ เพื่อให้เด็กปลอดภัยหูฟัง แบบไหนที่ดีสำหรับเด็ก หลักการเลือกง่าย ๆ เพื่อให้เด็กปลอดภัย

หูฟัง สำหรับเด็ก (Kids Headphones) เป็นหนึ่งในสิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้ามหากต้องเลี้ยงลูกในยุคดิจิทัล เนื่องจากเด็กทุกคนสามารถเข้าถึงคอมพิวเตอร์หรือสมาร์ตโฟนได้ ทุกครั้งที่ทำการเลือกซื้ออุปกรณ์เหล่านี้จึงควรมองหาระบบ Volume Limiting เพื่อจำกัดระดับเสียง รวมถึงให้ความสำคัญกับวัสดุอุปกรณ์เพื่อให้เด็กสามารถใช้งานได้อย่างปลอดภัยมากยิ่งขึ้น

 

หูฟัง สำหรับเด็กคืออะไร

เป็นหูฟังที่ถูกออกแบบมาเฉพาะสำหรับให้เด็กนำไปใช้งาน หรือทำกิจกรรมต่าง ๆ โดยจะมีความพิเศษกว่าหูฟังทั่วไปที่ระบบการควบคุมระดับเสียงที่เรียกว่า " Volume Limiting" ซึ่งเหมาะกับเด็ก และด้วยระบบจำกัดเสียงนี้เองทำให้เด็กไม่ต้องเสี่ยงกับอันตรายด้านการได้ยิน นอกจากนี้หูฟังสำหรับเด็กยังเหมาะกับผู้ใช้ที่เป็นผู้ใหญ่ที่ต้องการถนอมการได้ยินของตนเองด้วย นอกเหนือจากการควบคุมระดับเสียง หูฟังสำหรับเด็กยังถูกออกแบบด้วยวัสดุที่เป็นมิตรต่อการใช้งานไม่แข็งจนเกินไป เพื่อให้เด็กสามารถใช้งานได้อย่างสะดวก

 

หูฟัง มีความสำคัญกับเด็กอย่างไร ทำไมต้องเลือกให้ดี

การเลือกใช้งานหูฟังสำหรับเด็กนั้นอาจเป็นสิ่งเล็ก ๆ ที่คุณพ่อคุณแม่อาจมองข้าม แต่ในยุคปัจจุบันเด็กมักจะใช้เวลาส่วนหนึ่งไปกับการเล่นสมาร์ตโฟน, คอมพิวเตอร์ ไปจนถึงการเรียนออนไลน์ ทำให้การใช้หูฟังมีความจำเป็นในชีวิตประจำวันมากขึ้นกว่าในอดีตมาก หากไม่เลือกใช้หูฟังที่ได้มาตรฐาน หรือมีเสียงที่ดังมากจนเกินไป จะทำให้เกิดอันตรายต่อเด็กได้ในอนาคต นำมาซึ่งปัญหาด้านการได้ยิน และอาจรุนแรงถึงขั้นสูญเสียการได้ยินในที่สุด

บทความที่เกี่ยวข้อง : ดูแลสุขภาพหู ของลูกน้อยของคุณอย่างไร ให้ถูกวิธี และถูกสุขอนามัย

 

หูฟัง

 

หลักการเลือกหูฟังสำหรับเด็กที่ถูกต้อง

การเลือกหูฟังเพื่อให้เด็กใช้งานต้องโฟกัสทั้งประเภทของหูฟัง ระบบการจำกัดเสียงสูงสุด ความเหมาะสมของวัสดุที่ใช้ในการผลิต และตรวจสอบวิธีการใช้งานก่อนทุกครั้ง เป็นวิธีที่ควรทำสำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่จะเลือกซื้อให้เด็ก

 

ระดับเสียงที่พอดี

ระดับเสียงที่หูฟังทั่วไปสามารถปรับได้จะอยู่ที่ 115 dB. ซึ่งถือเป็นระดับเสียงที่อันตรายต่อเด็ก หูฟังสำหรับเด็กจึงจำกัดระดับเสียงไว้สูงสุดที่ 85 dB. อย่างไรก็ตามถึงแม้จะเป็นระดับเสียงที่ปลอดภัย แต่หูของเด็กหรือของทุกคนก็ไม่ควรใช้อุปกรณ์นานมากกว่า 8 ชั่วโมง สำหรับผู้ใหญ่หากต้องการฟังระดับเสียงที่มากกว่า 85 dB. จะสามารถฟังได้เพียงแค่ 2 ชั่วโมงเท่านั้น 

 

หลีกเลี่ยงหูฟังประเภท In-ear

หูฟังมีอยู่ด้วยกัน 3 ประเภทหลัก ๆ ที่ต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับอายุ และสถานที่ เพื่อให้ได้รับความเหมาะสมภายใต้ความปลอดภัยตลอดการใช้งาน ได้แก่

  • In-ear :ลักษณะหูฟังจะเป็นแบบทรงกลมมีจุกยาง ถูกผลิตออกมาหลายขนาด เพื่อให้เหมาะสมกับผู้ใช้ หรือสรีระของศีรษะในแต่ละบุคคล หูฟังประเภทนี้สามารถลดเสียงรบกวนภายนอกได้ ทำให้มีเสียงที่ดังจนได้รับความนิยมในการใช้งานยุคปัจจุบัน เหมาะกับผู้ที่ต้องการฟังเพลงขณะออกกำลังกาย หรืออยู่ในที่สาธารณะ เป็นต้น
  • Earbuds : มีลักษณะกลมและแบน มีน้ำหนักเบาง่ายต่อการพกพา ด้วยการออกแบบที่เน้นทำให้ใช้งานได้ง่าย จึงไม่สามารถลดเสียงรบกวนภายนอกได้ดีเท่าที่ควร หูฟังชนิดนี้เหมาะกับการใช้ในพื้นที่มีเสียงน้อยเท่านั้น
  • Headphone (Full-Size) : มี 2 ชนิดคือแบบ Over-ear ที่ครอบกับหูได้รับความนิยมอย่างมากด้วยคุณภาพของเสียง และความสามารถในการลดเสียงรบกวนที่ดี แต่พกพาได้ลำบากเพราะมีขนาดใหญ่ อีกแบบคือ On-Ear ที่แนบกับหู พกพาได้ง่ายกว่า และสามารถป้องกันเสียงรบกวนได้ในระดับหนึ่ง หูฟังชนิดนี้เหมาะกับการใช้งานตอนที่อยู่ในห้องมากกว่าใช้งานในที่สาธารณะ

 

สำหรับการเลือกใช้งานหูฟังสำหรับเด็กควรหลีกเลี่ยงหูฟังประเภท In-ear มากกว่าชนิดอื่น ๆ เนื่องจากลักษณะการใช้งานที่อาจเป็นอันตรายด้วยระดับเสียงที่สูง ไม่สามารถควบคุมระดับเสียงได้ จึงต้องมองหาระบบ Volume Limiting ที่ควบคุมระดับเสียงสูงสุดได้ก่อนทำการซื้อทุกครั้ง

 

หูฟัง 2

 

เลือกหูฟังที่มีความทนทาน

เนื่องจากเด็กมีความซนอยู่ในตัวอยู่แล้ว ทำให้การใช้งานอุปกรณ์ต่าง ๆ จะทำให้มีโอกาสชำรุดได้ง่ายกว่าวัยทั่วไป รวมถึงการใช้งานหูฟังด้วยเช่นกัน การเลือกวัสดุที่ใช้ผลิตจึงควรคำนึงถึงความคงทน และมีความเหมาะสมภายใต้การทำงานที่มีประสิทธิภาพ เช่น ฟองน้ำรองหูต้องนุ่มไม่แข็งจนเกินไป เป็นต้น หรือเมื่อต้องซื้อควรปรึกษาความเหมาะสมกับเด็กจากทางร้านค้าก่อนตัดสินใจซื้อหูฟัง นอกจากนี้เพื่อป้องกันไม่ให้อุปกรณ์เสียหายสามารถพูดคุยกับลูกเพื่อทำความเข้าใจ และเพิ่มความระมัดระวังมากขึ้น

 

ตรวจสอบวิธีการใช้งานก่อนให้เด็กใช้

หลังจากเลือกหูฟังที่เหมาะกับเด็กได้แล้ว เมื่อจะนำมาใช้งาน ไม่ควรให้ลูกนำไปใช้ในทันที ผู้ปกครองควรตรวจสอบ และเรียนรู้วิธีการใช้งานอย่างละเอียด รวมถึงข้อควรรู้และข้อระวังในการใช้งาน ที่ต้องศึกษาก่อนทุกครั้งหลังทำการซื้อ เนื่องจากการใช้งานอุปกรณ์ในแต่ละรุ่น แต่ละยี่ห้อ อาจมีความแตกต่างกัน และมีวิธีที่ใช้เก็บรักษาไม่เหมือนกัน เพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อตัวของเด็ก และยืดอายุการใช้งานอุปกรณ์ได้ยาวนานมากยิ่งขึ้น

 

เกิดอะไรขึ้นเมื่อเลือกหูฟังผิดวิธี

การปล่อยให้ลูกใช้งานหูฟังที่ไม่เหมาะสมในระยะเวลาสะสม จะส่งผลต่อการได้ยินของเด็กโดยตรง โดยจะมีสัญญาณเตือน ดังนี้

  • เด็กไม่สามารถรับฟังเสียงการสนทนา หรือเสียงสิ่งแวดล้อมรอบตัวได้ในระดับปกติ
  • เกิดอาการหูอื้อ หรือสูญเสียการได้ยินไปชั่วคราว
  • มีเสียงดังรบกวนในหูโดยไม่สามารถหาที่มาของเสียงได้

หากไม่หยุดการใช้งานหูฟังที่ไม่เหมาะสม และใช้อย่างต่อเนื่องแม้มีอาการผิดปกติเกิดขึ้น จะส่งผลให้ระบบการได้ยินของเด็กเสียหายรุนแรง หรือถาวรได้ นอกจากต้องระวังเสียงจากหูฟังแล้ว เสียงบางประเภทที่ดังมาก ๆ ก็อันตรายต่อเด็กเช่นกัน เช่น เสียงยิงปืน หรือเสียงลูกโป่ง เป็นต้น

บทความที่เกี่ยวข้อง : คิดดีๆ ก่อนให้ลูกเล่นและเสี่ยงหูมีปัญหา เพราะเสียงลูกโป่งแตกดังกว่าเสียงปืน

 

หูฟัง 3

 

บทความจากพันธมิตร
อัปเดต แอปพลิเคชันดูแลสุขภาพ  ALive Powered by AIA ใคร ๆ ก็มีไว้ในสมาร์ตโฟน
อัปเดต แอปพลิเคชันดูแลสุขภาพ ALive Powered by AIA ใคร ๆ ก็มีไว้ในสมาร์ตโฟน
5 เคล็ดลับการเลือก รถยนต์อเนกประสงค์สำหรับครอบครัว ปลอดภัย พร้อมไปทุกที่ได้อย่างมั่นใจ
5 เคล็ดลับการเลือก รถยนต์อเนกประสงค์สำหรับครอบครัว ปลอดภัย พร้อมไปทุกที่ได้อย่างมั่นใจ
วันเด็กแห่งชาติ ปี 2565 กระทรวง อว. ชวนเจ้าตัวเล็ก ร่วมกิจกรรม Online “ถนนสายวิทยาศาสตร์” ลุ้นเปิด “กล่องสุ่มของเล่น” กระจายความสนุกพร้อมกันทั่วประเทศ
วันเด็กแห่งชาติ ปี 2565 กระทรวง อว. ชวนเจ้าตัวเล็ก ร่วมกิจกรรม Online “ถนนสายวิทยาศาสตร์” ลุ้นเปิด “กล่องสุ่มของเล่น” กระจายความสนุกพร้อมกันทั่วประเทศ
เนรมิตทริปฮ่องกงสุดปัง ปักหมุดจุดหมายยอดฮิต เช็กอินร้านอาหาร พร้อมทิปส์น่ารู้มากมายสไตล์คนท้องถิ่น
เนรมิตทริปฮ่องกงสุดปัง ปักหมุดจุดหมายยอดฮิต เช็กอินร้านอาหาร พร้อมทิปส์น่ารู้มากมายสไตล์คนท้องถิ่น

จะช่วยลูกป้องกันอันตรายขณะใช้ หูฟัง ได้อย่างไร

  • ติดตามดูแลอาการของเด็ก : คอยสอบถามลักษณะอาการ หรือความรู้สึกหลังจากลูกใช้งานหูฟังเพื่อให้ได้รู้ว่ามีอาการผิดปกติที่เป็นสัญญาณของปัญหาการได้ยินบ้างหรือไม่ เนื่องจากเด็กบางคนอาจไม่กล้าบอก หรืออาจไม่รู้ว่าอาการผิดปกติเกิดจากการใช้หูฟัง
  • จัดการระยะเวลาการเล่นอย่างเหมาะสม : ให้เด็กเล่นสมาร์ตโฟน หรือคอมพิวเตอร์ในเวลา และระยะเวลาที่เหมาะสม เพื่อลดโอกาสเกิดความผิดปกติทางด้านการได้ยิน หรือลดโอกาสเกิดความผิดปกติด้านการมองเห็นไปได้ในตัวเช่นกัน
  • ตรวจความสมบูรณ์ของหูฟัง : ตรวจเช็กอุปกรณ์ทั้งก่อน และหลังลูกใช้งาน เนื่องจากอุปกรณ์อาจมีการชำรุด ส่งผลให้มีโอกาสเกิดอันตรายกับหูของเด็กได้
  • เสียงในสิ่งแวดล้อมก็สำคัญ : นอกจากจะคอยดูแลระยะเวลาการใช้งานอุปกรณ์ต่าง ๆ แล้วต้องให้ความสำคัญกับระดับเสียงภายในสิ่งแวดล้อมด้วย พยายามไม่ให้เกิดเสียงที่ดังมากเกินไปในครั้งเดียว เพราะเสี่ยงทำให้เกิดการสูญเสียการได้ยินแบบเฉียบพลันได้ หรือระวังไม่ให้มีเสียงดังในเวลานาน ซึ่งมีอันตรายไม่ต่างจากการใช้หูฟังเป็นเวลานาน

หากเลือกหูฟังสำหรับเด็กอย่างเหมาะสม และให้ใช้งานอย่างระมัดระวังแล้ว คุณพ่อคุณแม่คงจะสามารถมั่นใจเพิ่มขึ้นในระดับหนึ่งแล้วว่าเด็กจะปลอดภัยจากการใช้งานหูฟังได้มากขึ้นอย่างแน่นอน

 

ที่มาข้อมูล : 1 2 3 4

 

บทความที่น่าสนใจ

100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 85 ฟังเสียงหัวใจลูกกันเถอะ

เพลงกล่อมลูกในท้อง ให้ลูกในท้องหลับสบาย คลอดออกมาเป็นเด็กฉลาด

แม่ท้องฟังเพลง ดีต่อลูกในท้องยังไง เปิดเพลงแบบไหนให้ลูกฟังแล้วฉลาด

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Sutthilak Keawon

  • หน้าแรก
  • /
  • เด็กก่อนเข้าเรียน
  • /
  • หูฟัง แบบไหนที่ดีสำหรับเด็ก หลักการเลือกง่าย ๆ เพื่อให้เด็กปลอดภัย
แชร์ :
  • แนะนำ 7 ชุดเครื่องมือช่าง อเนกประสงค์ ตัวช่วยให้คุณทำงานง่ายขึ้น

    แนะนำ 7 ชุดเครื่องมือช่าง อเนกประสงค์ ตัวช่วยให้คุณทำงานง่ายขึ้น

  • สีเล็บมงคล เสริมดวงเฮงประจำปี 2565 สีเล็บเรียกทรัพย์ สีเล็บเรียกรัก

    สีเล็บมงคล เสริมดวงเฮงประจำปี 2565 สีเล็บเรียกทรัพย์ สีเล็บเรียกรัก

  • รวมคาถาเด็ด คาถาป้องกันคุณไสย มนต์ดำ ขับไล่สิ่งชั่วร้าย

    รวมคาถาเด็ด คาถาป้องกันคุณไสย มนต์ดำ ขับไล่สิ่งชั่วร้าย

app info
get app banner
  • แนะนำ 7 ชุดเครื่องมือช่าง อเนกประสงค์ ตัวช่วยให้คุณทำงานง่ายขึ้น

    แนะนำ 7 ชุดเครื่องมือช่าง อเนกประสงค์ ตัวช่วยให้คุณทำงานง่ายขึ้น

  • สีเล็บมงคล เสริมดวงเฮงประจำปี 2565 สีเล็บเรียกทรัพย์ สีเล็บเรียกรัก

    สีเล็บมงคล เสริมดวงเฮงประจำปี 2565 สีเล็บเรียกทรัพย์ สีเล็บเรียกรัก

  • รวมคาถาเด็ด คาถาป้องกันคุณไสย มนต์ดำ ขับไล่สิ่งชั่วร้าย

    รวมคาถาเด็ด คาถาป้องกันคุณไสย มนต์ดำ ขับไล่สิ่งชั่วร้าย

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2022. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารไลฟ์สไตล์ที่น่าสนใจไปให้กับคุณ