E-Book ตัวเลือกสำหรับการเรียนรู้ของเด็กที่เข้ามามีบทบาทมากขึ้นเรื่อย ๆ ในปัจจุบัน ด้วยความรวดเร็วในการเป็นเจ้าของ พกพาได้สะดวกข้ามขีดจำกัดของรูปเล่มหนังสือ ส่งผลให้การอ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เป็นสิ่งที่เหมาะกับเด็กโดยตรง โดยหนังสือประเภทนี้เองก็มีทั้งในรูปแบบการ์ตูนที่เน้นความสนุกสนาน และแบบที่เน้นความรู้เพื่อเสริมพัฒนาการ
E-Book คืออะไร
Electronic Book เป็นรูปแบบของเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถนำมาอ่านได้ทั้งแบบออนไลน์ หรือโหลดมาเก็บไว้เป็นออฟไลน์ สามารถอ่านผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์ หรือมือถือ ปกติแล้วไฟล์ดังกล่าวจะมาในสกุล Pdf (Portable Document Format) เนื่องจากเป็นไฟล์สากลที่สามารถเปิดอ่านได้ง่าย และทำให้ตัวหนังสือไม่คลาดเคลื่อน ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมากต่อผู้อ่าน
เด็กกับ E-Book เกี่ยวข้องอย่างไร
ความผันเปลี่ยนของเวลาจากอดีตสู่ปัจจุบันได้นำพาเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามามีบทบาททดแทนของที่มีอยู่เดิมไปหลายอย่าง การเข้ามาของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ก็เช่นกัน การนำมาใช้นั้นโดยมากคือทดแทนหนังสืออ่านต่าง ๆ ทั้งการ์ตูนอ่านเล่น, นวนิยายไปจนถึงหนังสือเรียน แน่นอนว่าสิ่งเหล่านี้เกี่ยวข้องกับเด็กโดยตรง นอกจากเด็กจะเรียนออนไลน์อยู่หน้าจอคอมแล้ว การใช้หนังสือชนิดนี้จะยิ่งเพิ่มความสะดวกสบายให้กับเด็กอยู่หลายประการ อีกทั้งยังค่อย ๆ ได้รับความนิยมมากขึ้นตามลำดับด้วย
บทความที่เกี่ยวข้อง : “นิทานออนไลน์” แนะนำช่องทางอ่านฟรี ดูฟรี ให้ลูกน้อยได้หลับฝันดีคลอดทั้งคืน
วิดีโอจาก : A Little Story Me
ประโยชน์ของ E-Book กับเด็ก
จากที่กล่าวไปข้างต้นว่าเทคโนโลยีสมัยใหม่ชนิดนี้ส่งผลต่อเด็กหลายด้าน ทำให้เด็กได้รับประโยชน์ ดังนี้
ลดภาระน้ำหนัก
หากโรงเรียนส่งเสริมการใช้งานจะทำให้เด็ก ๆ ไม่จำเป็นต้องแบกหนังสือที่เป็นเล่มอีกต่อไปทำให้ลดปัญหาอาการเจ็บปวดจากการแบกของหนักไปโรงเรียนทุกวัน หรือถ้าหากโรงเรียนไม่ได้ส่งเสริมการใช้งาน ก็ยังมีประโยชน์ต่อการพกพาไปยังพื้นที่ต่าง ๆ อยู่ดี เช่น ไปเที่ยว หรือการเดินทางระยะไกลจะยิ่งประหยัดพื้นที่ในกระเป๋าได้
การใช้งานแบบประสาน
เมื่อการใช้งานจากกระดาษถูกจำลองสู่หน้าจอไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์มือถือ หรือจอคอมพิวเตอร์ แน่นอนว่าในตัวเครื่องจะต้องมีโปรแกรมเสริมที่สามารถใช้งานร่วมกันเพื่อให้เกิดรูปแบบความคิดสร้างสรรค์ต่อยอดขึ้นไป เช่น การใช้ปากกาไฮไลท์แทนการใช้ปากกาจริง ไปจนถึงการบันทึกหน้าจอในหน้าที่ต้องการและนำไปใช้ประโยชน์ด้านอื่น ๆ เป็นต้น
ความรวดเร็วในการซื้อ-ขาย
ในยุคโควิด-19 อาจเป็นเรื่องอันตรายหากต้องไปซื้อหนังสือที่ร้านค้าโดยตรง เนื่องจากส่วนมากร้านหนังสือมักจะอยู่ในแหล่งชุมชน หรือถ้าสั่งซื้อหนังสือผ่านระบบออนไลน์ก็ต้องรอให้หนังสือมาส่งอย่างน้อย 1 วันถึงจะได้ให้ลูกอ่าน แต่การสั่งซื้อหนังสือแบบใหม่นี้จะเป็นระบบออนไลน์อยู่แล้ว และจะได้รับไฟล์มาแทนรูปเล่ม แน่นอนว่าไฟล์สามารถรับได้ทันทีและใช้เวลาโหลดไฟล์ไม่นานแน่นอน
สนุกได้แม้ลืมหนังสือ
การไปยังสถานที่ต่าง ๆ บางครอบครัวอาจพบปัญหาลืมพกหนังสือไปให้เด็กอ่านเล่นระหว่างทาง ปัญหานี้จะไม่เกิดขึ้นกับการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เนื่องจากหากมีโทรศัพท์มือถือหรือเครื่องมือใด ๆ ที่สามารถใช้ระบบออนไลน์ได้จะสามารถกลับเข้าไปยังร้านค้าที่ซื้อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เพื่อโหลดไฟล์ใหม่ได้นั่นเอง
หนังสือ E-Book สำหรับเด็กที่น่าสนใจ
หนังสือที่เราจะมาแนะนำในวันนี้เป็นหนังสือฟรีที่เหมาะกับเด็กวัยประถม หรืออนุบาลซึ่งเป็นช่วงวัยที่กำลังคลุกคลีอยู่กับการอ่านหนังสือภาพ หรือการ์ตูนสั้น ๆ ทั้งเพื่อความบันเทิง หรือเน้นไปที่การให้ความรู้เป็นหลัก
บทความที่เกี่ยวข้อง : 10 วิธีฝึกให้ลูกมีนิสัยรักการอ่าน สอนให้ลูก รักการอ่าน ได้ง่าย ๆ
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เพื่อความสนุก
สำหรับหนังสือบนระบบออนไลน์ที่เราจะนำเสนอในส่วนแรกคือหนังสือรวมนิทาน หรือแหล่งให้ความรู้ผ่านการอ่านในรูปแบบเรื่องสั้น หรือนิทานก่อนนอนเพื่อให้เด็กได้ข้อคิดควบคู่ไปกับความสนุกสนาน โดยมีทั้งแบบอ่านได้ทันทีบนเว็บไซต์ หรือแบบโหลดไฟล์มาเก็บไว้อ่านทีหลังก็ได้เช่นกัน
- หนังสือนิทานเด็กปฐมวัย เสริมสร้างเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ Click
- สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ Click
- นิทานเด็ก PRABHASSORN Click
หนังสือเสริมพัฒนาการเด็ก และให้ความรู้
นอกจากะอ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เพื่อความสนุกสนานแล้ว การใช้เวลาว่างบางส่วนกับหนังสือที่ให้ความรู้ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อให้มีพัฒนาการที่ดียิ่งขึ้นก็สามารถหาอ่านได้เช่นกัน
- หนังสือเด็ก-SE-ED Click
- หนังสือภาษาอังกฤษ Kids world fun Click
- หนังสือสำหรับเด็ก MCRU Click
ข้อควรระวังในการใช้หนังสือแบบอิเล็กทรอนิกส์
ไม่ใช่เพียงแต่จะมีข้อดีเท่านั้น การใช้งานยังต้องมีเรื่องอื่นที่ควรระวังเพราะอาจส่งผลเสียกับเด็กมากกว่าที่จะได้รับผลดีได้ หากคุณพ่อคุณแม่ให้ลูกอยู่กับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์มากจนเกินไป
- การจ้องจอนานเกินไป : ถึงจะมีความสะดวกสบายต่อการใช้งานหลายอย่างแต่ก็เท่ากับว่าเด็กต้องใช้เวลากับหน้าจอนานมากขึ้นในแต่ละวัน ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าเป็นห่วง คุณพ่อคุณแม่จึงควรระมัดระวังเรื่องระยะเวลาการใช้งานของลูกไม่ให้นานจนเกินไป ควรมีช่วงพักสายตาและไปทำกิจกรรมอื่น ๆ ร่วมด้วย
- ลูกติดจอเป็นนิสัย : การให้ลูกใช้งานโทรศัพท์หรือคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานจนลูกเกิดความเคยชิน และเริ่มมองว่าเป็นเรื่องปกติจะยิ่งส่งผลให้เด็กติดหน้าจอได้ หากเด็กมีนิสัยติดจอจะยิ่งแก้ได้ยาก ดังนั้นจึงควรพาลูกใช้เวลาว่างไปกับกิจกรรมอื่นเพื่อลดโอกาสในการเกิดสภาวะดังกล่าว
- ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มมากขึ้น : ปัจจุบันการโฆษณาต่าง ๆ มักปรากฏอยู่หลายบริบทในสื่อออนไลน์ ทำให้เด็กที่เล่นมือถือหรืออ่าน E-Book ออนไลน์มีโอกาสที่จะเจอโฆษณาสินค้าต่าง ๆ ได้ หากเด็กลองกดเข้าไปอาจเป็นสาเหตุหนึ่งของการสูญเสียเงินโดยไม่เจตนา ดังนั้นก่อนให้ลูกเล่นควรพูดคุยกับลูกให้ระวังปัญหานี้มากขึ้น
- อุปสรรคของพัฒนาการ : การมีพัฒนาการที่ดีส่วนหนึ่งคือการออกไปทำสิ่งต่าง ๆ รอบตัวให้มากที่สุดทั้งการวิ่งเล่น หยิบจับสิ่งของ หรือพูดคุยกับผู้อื่น สิ่งเหล่านี้สามารถช่วยด้านพัฒนาการของเด็กให้สมวัยมากขึ้น แต่หากเด็กเอาแต่เล่นมือถือจะยิ่งทำให้มีพัฒนาการที่ช้ากว่าคนอื่นได้
ทำอย่างไรให้เด็กไม่จ้องจอนาน
ปัญหาพื้นฐานของคุณพ่อคุณแม่ในยุคนี้คือเด็กจ้องจอนานเกินไป เนื่องจากอะไร ๆ ก็ออนไลน์อยู่เสมอ โดยไม่ควรให้ลูกน้อยมองจอติดต่อกันนานถึง 1 ชั่วโมง ควรให้เด็กพักสายตา เช่น ชวนพูดคุย ชวนทำกิจกรรมอื่น ๆ เป็นต้น นอกจากนี้ควรจำกัดเวลาที่ชัดเจนที่ลูกสามารถเล่นได้ เช่น วันละ 2 ชม. หรืออาจใช้การอ่านการ์ตูนเป็นรางวัลเมื่อเขาช่วยงานบ้าน หรือทำความดีก็สามารถช่วยให้เด็กมีแรงผลักดันในการทำสิ่งต่าง ๆ มากขึ้นได้เช่นกัน นอกจากนี้การสื่อสารพูดคุยกับลูกโดยตรงยังสามารถช่วยให้เด็กมีความเข้าใจเบื้องต้นถึงข้อเสียของการมองจอนานอีกด้วย
การอ่านให้เกิดประโยชน์สูงสุดสำหรับเด็กเล็กที่ไม่สามารถจัดการเรื่องเวลาได้ คุณพ่อคุณแม่จึงต้องให้ความสนใจมากเป็นพิเศษเพื่อให้คงไว้ซึ่งประโยชน์ที่เด็กจะได้รับมากกว่าข้อเสีย
บทความที่น่าสนใจ
แนะนำ 7 หนังเจ้าหญิงดิสนีย์ สนุก คลาสสิค ดูได้ตลอดสัปดาห์
เปิดคลัง “การ์ตูนอนิเมชั่น” เหมาะสำหรับเด็กเล็ก ดูได้ฟรีบน Youtube
แนะนำ ! 7 รูปแบบ “กระเป๋านักเรียน” สำหรับเด็ก ต้อนรับช่วงเวลาแห่งการเรียนรู้
ที่มาข้อมูล : 1
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!