เวลาที่ลูกดื้อ ทำตัวไม่น่ารัก เกเร หรือพูดอะไรแล้วไม่เชื่อฟัง การพูดบ่อย ๆ ก็ทำให้คนเป็นแม่อย่างเราหงุดหงิดได้ง่าย ๆ เหมือนกัน และสิ่งที่เรามักเผลอทำคืออะไร ถ้าไม่ใช่ การ ตะโกนใส่ลูก และสิ่งนี้นี่แหละ ที่จะทำให้เรากลายเป็นคุณแม่ใจร้ายในสายตาพวกเขาได้ ถ้าหากคุณไม่อยากเป็นคุณแม่ใจร้าย ลองดูเคล็ดลับเล็ก ๆ น้อยเหล่านี้ดูค่ะ
1. ระลึกถึงเสมอ ก่อนอื่นคุณต้องนึกก่อนว่า ถ้าคุณโกรธ ตะคอกหรือตะโกนใส่หน้าลูกไป ลูกจะตกใจ และรู้สึกเสียใจมากขนาดไหน เพราะในสายตาลูก คุณคือคนที่เขารักและสำคัญที่สุด คุณคือนางฟ้าและโลกทั้งใบของเขา และถ้าจู่มาวันนึง นางฟ้ากลายร่างมาเป็นแม่ใจร้ายละ ลูกอาจจะช็อก และไม่กล้าเข้าใกล้คุณอีกก็เป็นได้
2. รู้จักระงับอารมณ์ คุณลองนึกถึงนักล่าและผู้ถูกล่าสิคะ ว่ามันน่ากลัวขนาดไหน ผู้ล่าอาจจะดูมีพลังมากมาย แตกต่างกับผู้ถูกล่าที่เต็มไปด้วยความกลัวและการรนราน ถ้าหากคุณไม่อยากให้ลูกคุณรู้สึกเช่นเดียวกับผู้ถูกล่าละก็ หยุดและหาทางระงับอารมณ์ของตัวเองก่อน ไม่ว่าจะเป็นการเดินออกไปจากตรงนั้นเพื่ออยู่เงียบ ๆ คนเดียว หรือหาเพลงฟังเพื่อให้ความโกรธนั้นเบาลง เมื่อทุกอย่างเบาลงแล้ว ค่อยกลับมาพูดคุยกับลูกใหม่
3. รู้ว่าอะไรคือสิ่งกระตุ้นความโกรธ ก่อนอื่นคุณต้องรู้ก่อนว่า เรื่องไหนที่ลูกทำแล้ว ทำให้คุณรู้สึกโกรธได้ง่ายและบ่อยมากที่สุด แล้วเขียนลงบนกระดาษ เมื่อคุณทราบแล้วก็พยายามหาทางหลีกเลี่ยงและหาวิธีระงับอารมณ์ของตัวเองให้ได้มากที่สุด
4. ถามตัวเองว่าทำไม ใช่ค่ะ ถ้าคุณรู้แล้วว่า อะไรคือสิ่งกระตุ้นความโกรธของคุณ ๆ ก็ต้องหาคำตอบให้ได้ว่า เพราะอะไร ทำไมพฤติกรรมนั้นของลูก ถึงทำให้คุณโกรธและหงุดหงิดได้มากถึงเพียงนี้
5. รู้จักกับความโกรธ คุณรู้จักกับความโกรธของตัวเองหรือเปล่า คุณรู้ไหมว่า มันมีพลังรุนแรงมากขนาดไหน ถ้าหากรู้แล้ว คุณยังอยากทำพฤติกรรมเหล่านั้นใส่ลูกคุณอีกหรือ
6. อยู่กับความจริง อย่าพยายามกดดันตัวเองและลูก ด้วยการทำทุกอย่างเพื่อให้มันออกมาดูดีและสมบูรณ์ที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในสายตาของคนอื่น อย่ามัวแต่แคร์สายตาของคนอื่น จนลืมแคร์ความรู้สึกของลูกคุณเอง ที่สำคัญบนโลกนี้ไม่มีใครหรอกที่เพอร์เฟคไปเสียทุกอย่าง เพื่อชีวิตที่มีความสุข และการมีสุขภาพจิตที่ดี อะไรที่ลูกทำแล้วไม่ร้ายแรง และไม่เดือดร้อนคนอื่น ก็หลับหูหลับตาเสียบ้างเถอะค่ะ
7. รู้จักวิธีเยียวยา เมื่อคุณรู้จักสิ่งกระตุ้น รู้จักกับอารมณ์โกรธของตัวเองแล้ว อย่าลืมที่จะรู้จักหาวิธีเยียวยาอารมณ์ของคุณด้วย ไม่ว่าจะด้วยการหากิจกรรมทำ หรือการพูดคุยกับคนครอบครัว หรือเพื่อนฝูงเป็นต้น
8. พยายามหลีกเลี่ยง ถ้าคุณรู้แล้วว่าตอนนั้น อารมณ์คุณกำลังขึ้น ใกล้ถึงจุดที่คุณอาจจะต้องเสียงดังและตะโกนใส่ลูกแล้ว หยุด แล้วนับหนึ่งถึงสิบ ถอยห่างออกมาและกลับมาอยู่กับความเป็นจริงก่อน
9. หยุดความคิดของตัวเอง จริงอยู่ว่าคนเป็นแม่ จะรู้สึกกลัวและตื่นตระหนกไปเสียทุกอย่าง ซึ่งความกลัวเหล่านั้น ก็มักจะมากดดันความรู้สึกนึกคิดของเราเสมอ และไม่ว่าลูกจะทำอะไร เราก็จะคอยห้าม เพราะไม่อยากให้สิ่งที่เราคิดเกิดขึ้น ยิ่งถ้าลูกไม่ทำตาม อารมณ์โมโหก็จะเกิดขึ้นในที่สุด อย่าสอนให้ลูกกลายเป็นเด็กขี้กลัวและขี้กังวล แต่จงสอนให้ลูกให้รู้จักกับความไม่ประมาทจะดีกว่า
10. ปลดปล่อยอารมณ์บ้าง อย่าพยายามเก็บความรู้สึกทั้งหมดไว้เพียงคนเดียว ถ้าคุณโกรธแล้ว และสามารถระงับตัวเองไม่ให้ตะโกนหรือระเบิดใส่ลูกได้ … นั่นแสดงว่า คุณเก่งมากค่ะ คุณสามารถชนะบททดสอบนี้ผ่าน แต่อย่าลืมที่จะหาเวลาให้ตัวเองได้ปลดปล่อยอารมณ์ และมีเวลาส่วนตัวบ้างนะคะ
เพราะอารมณ์โกรธคือ บ่อเกิดของทุกสิ่ง การ ตะโกนใส่ลูก จึงอาจเป็นสิ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้ ดังนั้น ถ้าหากเรารู้จักเรียนรู้ความโกรธของตัวเองได้ การระบายอารมณ์ทั้งหมดใส่ลูกก็จะไม่เกิดขึ้น … เพราะคุณ คงไม่อยากกลายเป็นคุณแม่ใจร้ายในสายตาลูกของเรากันหรอกนะคะ
เหตุการณ์ที่คุณพ่อ คุณแม่กำลังสอนลูกทำการบ้านตอนเย็นหลังเลิกเรียน ลูกทำไม่ได้ ทำผิดซ้ำซาก ทำให้พ่อแม่เกิดอารมณ์หงุดหงิด ไม่พอใจที่ลูกทำผิด เพราะเคยสอนไปแล้วหลายรอบ แต่ทำไมถึงยังผิดอีก ถึงแม้จะพยายามใจเย็นแล้ว แต่สุดท้ายคุณพ่อ คุณแม่ก็โกรธ และต้องตะโกนออกมา
“โอ๊ย แม่ไม่ไหวแล้วนะ ทำไมสอนกี่รอบก็ลืม เบื่อจะแย่ ไม่ต้องเรียนมันแล้ว”
เมื่อคุณพ่อ คุณแม่ตะโกนเสร็จแล้ว เหตุการณ์ ต่อไป ก็มักจะเป็นแบบนี้
- เด็กบางคนก็จะตะโกนกลับ และกลายเป็นการตะโกนใส่กัน สุดท้ายก็อาจจะมีการลงไม้ลงมือ คุณพ่อคุณแม่ตีลูก แล้วลูกน้อยก็ร้องไห้
- เด็กบางคนเม้มปาก ขมวดคิ้ว กดดินสอหนักๆ จนบางครั้งกระดาษขาด คุณพ่อ คุณแม่ยิ่งโกรธ แล้วลูกก็จะตะโกนออกมาว่า “ไม่ทำแล้วโว้ย” เดินกระแทกเท้าออกไป
- เด็กบางคนจะตั้งใจมากขึ้น แต่เมื่อดูสีหน้าลูกแล้ว หน้าตาลูกจะบูดบึ้ง หรือบางคนอาจจะร้องไห้ออกมาด้วยความเสียใจ
ผลกระทบของการตะโกนส่วนใหญ่ ไม่มีใครชอบ ไม่ว่าจะเป็นคุณพ่อ คุณแม่เองที่ตะโกนใส่ลูก ก็จะยิ่งหงุดหงิดมากขึ้น ไม่ชอบที่เห็นตัวเองตะโกนแบบนั้น ใช่ว่าตะโกนแล้วจะสบายใจ
ลูกน้อย ก็ไม่ชอบให้พ่อแม่ตะโกนใส่ ลองคิดดู ว่าถ้าเป็นตัวคุณพ่อ คุณแม่เอง ถูกคนตะโกนใส่ก็คงไม่ชอบ เด็กก็ไม่ต่างกัน พ่อแม่เกือบทั้งหมด ไม่มีใครชอบตะโกนใส่ลูก
ที่มา: empoweringparents.com
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ:
50 วิธีรับมือเวลาโมโหลูก
คุณแม่ขอเวลานอก วิธีรับมือเรื่องยุ่งเหยิงอย่างมีประสิทธิภาพ
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!