คนส่วนใหญ่มักจะคุ้นเคยกับคำว่า “7 วันอันตราย” ในช่วงเทศกาลสำคัญต่าง ๆ แต่จริง ๆ แล้วยังมี “3 เดือนอันตราย” ที่พวกเราควรที่จะต้องระวังกันอีก นั่นคือ ช่วงเวลาปิดเทอมใหญ่ ระหว่างเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคมของทุกปี
และที่น่าตกใจที่สุดก็คือ ช่วง 12 วันของกลางเดือนเมษายน ระหว่างวันที่ 12 – 23 เมษายน มีเด็กที่มีอายุระหว่าง 4 – 12 ปีเสียชีวิตมากที่สุด เมื่อเทียบกับช่วงเวลาอื่น ๆ โดยสาเหตุการเสียชีวิตนั้นมาจาก
– การจมน้ำ แหล่งน้ำเสียที่อยู่ละแวกชุมชน ยกตัวอย่างเช่น บ่อน้ำ สระน้ำสาธารณะ ห้วยหนองคลองบึง และแม่บ้านใกล้บ้าน
– อุบัติเหตุจราจร ขับหรือซ้อนมอเตอร์ไซด์แล้วพลิกคว่ำ ถูกเฉี่ยวชน
– ตกจากที่สูง เช่นตกจากระเบียง หลังคา ต้นไม้ แป้นบาส เสาฟุตบอลหรือถูกของแข็งกระแทก เช่นเล่นสเก็ต ถูกเครื่องเล่นในสนามเด็กเล่นหล่นทับศรีษะ ทำให้ได้รับการกระทบกระเทือยอย่างรุนแรง อวัยวะภายในแตกแหลกเหลว
– ถูกทำร้าย ไฟดูดไฟช็อต การขาดอากาศหายใจ น้ำร้อนลวก เป็นต้น
และทราบหรือไม่คะว่า จากสาเหตุการเสียชีวิตที่เอ่ยมาในข้างต้นนั้น เกิดจากที่ไหน หากไม่ใช่สถานที่เล่นใกล้บ้าน ดังนั้นควรถึงเวลาแล้วที่พวกเราทุกคนจะช่วยกันจัด “เซฟตี้โซน” ให้ลูกหลานของเรากัน
รศ.นพ.อดิศักดิ์ เผยหากเกิดอุบัติเหตุในเด็กอายุต่ำกว่า 7 ปี ความตายของเด็กกลุ่มนี้ถือเป็นความละเลยของผู้ปกครอง ขณะที่ความตายของเด็กอายุ 7 ปีขึ้นไปมักพบว่าเป็นความละเลยของผู้บริหารท้องถิ่น หรือผู้ดูแลพื้นที่ ยกตัวอย่างเช่น ไม่จัดพื้นที่เล่นปลอดภัยสำหรับเด็ก พื้นที่เล่นของเด็กนั้นไม่มีการแยกเด็กออกจากถนน แหล่งน้ำ ไม่มีการตรวจสอบเครื่องเล่นในสนาม รวมถึงไม่ตรวจสอบความปลอดภัยของสนามกีฬา เป็นต้น
แต่ถึงอย่างไรก็แล้วแต่ เราไม่สามารถที่จะเอาภาระความรับผิดชอบอันเกี่ยวกับความปลอดภัยของลูกให้กับคนอื่นได้เลย เพราะถึงอย่างน้อยหน้าที่หลักในการดูแลบุตรหลานนั้น ย่อมเป็นหน้าที่ของพ่อแม่ และทุกคนในครอบครัว
ขอบคุณภาพและที่มาจาก Post Today
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ:
5 ภัยช่วงปิดเทอม พ่อแม่ควรระวัง!!
ภัยที่คาดไม่ถึง เด็ก 8 ขวบตายเพราะลูกโป่ง!
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!