X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ทำไมพูดว่า "อย่า" "ไม่" "ห้าม.." ลูกจึงทำ

บทความ 3 นาที
ทำไมพูดว่า "อย่า" "ไม่" "ห้าม.." ลูกจึงทำ

ผมบังเอิญได้ฟังเพลงขอร้องวัยรุ่น ของ คำมอด พรขุนเดช ในท่อนฮุกของเพลงนั้นร้องว่า " อย่าตี อย่าตี อย่าตี อย่าตี อย่าตีกันเน้อ..♫♫ " ทำให้ผมนึกถึงทฤษฎีเรื่องหนึ่งและนำมาทดลองเล่นอะไรสนุกๆกับลูก

ทำไมยิ่งห้าม ลูกยิ่งทำ

เมื่อกลับถึงบ้าน ผมบอกกับณดาว่าเดี๋ยวพ่อจะร้องเพลงให้ฟังแล้วณดาเต้นนะ

ณดาตื่นเต้น รอคอย… ผมเลยร้องว่า… ♪ อย่าตี อย่าตี อย่าตี อย่าตี กันเน้อ… ♫♫

ผลปรากฏว่า ณดาเธอทำท่าตีๆๆ ตุ๊กตา ตามจังหวะเพลงที่ผมร้องย้ำเลยครับว่า … เธอทำท่าตีพร้อมหน้าตาจริงจัง (บ้านไหนจะลองเอาไปทดลองดูก็ได้นะครับ)

ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น… เคยสงสัยไหมครับว่าทำไมเวลาที่เราบอกลูกว่า “อย่า” “ห้าม” “ไม่” แล้วลูกยังคงฝ่าฝืนทำในสิ่งที่เราบอก เช่น “อย่าวิ่ง” —>ลูกวิ่งทันทีอย่างเร็ว  “อย่าปีน” –> ปีนทันที  “ห้ามโยน” –> แน่นอนโยนแน่ๆ  เคยได้ยินทฤษฎี “ช้างสีชมพู”ไหมครับเรามาทดลองกัน ให้ผู้อ่านตั้งใจอ่านประโยคต่อไปนี้ พร้อมกับจินตนาการตามที่ได้อ่านไปด้วยนะครับ….”มีทุ่งหญ้าแห่งหนึ่ง มีแสงแดดอ่อนๆ ต้นหญ้าสีเขียวไปทั่ว มีนกที่บนต้นไม้ 3 ตัว มองไปอีกทางขวาผมเห็นช้างตัวหนึ่ง มันไม่ใช่ช้างสีชมพู…ห้ามคิดถึงช้างสีชมพู…อย่าคิดถึงช้างสีชมพู…ไม่ให้คิดถึงช้างสีชมพู”….

Advertisement

เป็นอย่างไรบ้างครับ ภาพของช้างสีชมพูปิ๊งขึ้นมาเลยใช่ไหมครับ นั้นเป็นเพราะสมองไม่สามารถสร้างภาพปฎิเสธได้ในทันที สมองจึงสร้างภาพสิ่งนั้นขึ้นมาก่อนจึงค่อยปฎิเสธภาพนั้นในภายหลัง จากบทความ Why Thought Suppression is Counter-Productive โดย Dr Jeremy D. นักจิตวิทยาได้กล่าวถึงทฤษฎีในเรื่องของ Thought Suppression ของ Wegner, Schneider, Carter, & White (1987) ที่มีการทดลองสุดคลาสสิค “ห้ามคิดถึงช้างสีชมพู และหมีสีขาว” สอดคล้องเชื่อมโยงกับประเด็นดังกล่าว (1) และจากหนังสือ Powerful thinking on purpose ได้อธิบายไว้เช่นกันว่าในขณะที่จิตใต้สำนึกทำงานร่วมด้วย ภาพที่เราเห็นและจินตนาการในภาพแรกที่แว๊บและนึกถึงคือสิ่งที่จิตใต้สำนึกรับสารข้อมูลเหล่านั้นโดยปราศจากข้อสงสัย และจิตใต้สำนึกไม่สามารถเข้าใจคำว่า “ไม่” “อย่า” “ห้าม” ได้ (2) เช่นเดียวกันกับที่เราบอกลูกว่า”อย่าวิ่ง” สมองจะรับรู้คำว่า”วิ่ง”ขึ้นมาก่อน เด็กๆจึงวิ่งในทันที

ดังนั้นสิ่งที่พ่อแม่ควรสื่อสารสิ่งที่อยากให้ลูกทำหรือรับรู้โดยตรง เช่น ถ้าเราไม่อยากให้ลูก”วิ่ง” ควรเปลี่ยนเป็น “เดินช้าๆ”นะลูก ” หรืออย่าเสียงดัง ควรเป็น “พูดเบาๆ” และผมเชื่อว่าหลายบ้านมักพูดหรือได้ยินเสมอด้วยคำว่า”อย่าดื้อนะ” “อย่าซนนะ” “วันนี้ดื้อหรือเปล่า” ” ซนไหม” สมองและจิตใต้สำนึกของเด็กๆจะรับรู้คำว่า “ดื้อ” “ซน” เข้าไป จนเด็กเองเชื่อว่าตัวเขานั้นดื้อและซนจริงๆ

ในทางกลับกันผู้ใหญ่ที่เป็นคนพูดคำเหล่านั้น ก็จะโฟกัสไปที่ความดื้อและซนของเด็ก จนมองข้ามสิ่งดีๆในตัวเด็กคนนั้นไปด้วย

ในบทเรียนเรื่องนี้ไม่เพียงแต่สอนวิธีการพูดกับลูกให้สื่อความหมายอย่างถูกวิธีและเชิงบวก แต่ยังสอนในเรื่องของการคิดและการใช้ภาษากับตัวเราเองอีกด้วยลองจิตนาการดูระหว่างสองคำนี้ครับ“ชีวิตนี้ฉันไม่อยากจะป่วย และไม่เป็นทุกข์” กับ “ชีวิตนี้ฉันจะแข็งแรง มีความสุข” จิตของเรา เสียงในหัวของเราชอบประโยคไหนกว่ากันครับ

ดังนั้นลองฝึกฝนดูครับ แรกๆเราจะยังไม่ชินกับการเปลี่ยนภาษาที่เราเคยใช้มากับแบบแทบจะอัตโนมัติ แต่การฝึกในช่วงแรกนี้แหละครับเราจะได้ฝึกสติกันไปด้วยเมื่อภาษาเปลี่ยน โฟกัสเปลี่ยน เชื่อเถอะครับชีวิตเราดีขึ้น….ชีวิตลูกก็จะไม่ถูกตัดทอนในศักยภาพและมีความสุขแน่นอนครับ

บทความจากพันธมิตร
การมีสติ ฉบับเด็ก ๆ เป็นอย่างไร ฝึกลูกให้มีสติ ท่ามกลางโลกที่วุ่นวาย
การมีสติ ฉบับเด็ก ๆ เป็นอย่างไร ฝึกลูกให้มีสติ ท่ามกลางโลกที่วุ่นวาย
ส่งเสริมพัฒนาการเด็กยุคใหม่ด้วย ทักษะ Executive Function
ส่งเสริมพัฒนาการเด็กยุคใหม่ด้วย ทักษะ Executive Function
ปี 2567 เด็กป่วยด้วยโรคอะไร? LUMA แบ่งปันสถิติให้เข้าใจมากขึ้น
ปี 2567 เด็กป่วยด้วยโรคอะไร? LUMA แบ่งปันสถิติให้เข้าใจมากขึ้น
Value Health (Kids) ประกันสุขภาพสำหรับลูกน้อย เจ้าของรางวัล Most Promising จากเวที TAP Awards 2023
Value Health (Kids) ประกันสุขภาพสำหรับลูกน้อย เจ้าของรางวัล Most Promising จากเวที TAP Awards 2023

Reference : (1) https://www.spring.org.uk/2009/05/why-thought-suppression-is-counter-productive.php
(2) https://www.powerfulthinkingonpurpose.com/dont-imagine-pink-elephant/
บทความที่น่าสนใจอื่นๆ

Mirror Neuron เซลล์สมองกระจกเงา กับการเลี้ยงลูก

4 วิธีฝึกลูกเดินทางได้ ไม่ง้อแท็บเล็ต

TAP mobile app

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

โค้ชพ่อโป๊ะ ยศพร ปัญจมะวัต

  • หน้าแรก
  • /
  • ชีวิตครอบครัว
  • /
  • ทำไมพูดว่า "อย่า" "ไม่" "ห้าม.." ลูกจึงทำ
แชร์ :
  • ชีวิตที่มีลูก เข้าแล้วออกไม่ได้ : บริหารเวลายังไง ให้ชีวิตแม่มีความสุข

    ชีวิตที่มีลูก เข้าแล้วออกไม่ได้ : บริหารเวลายังไง ให้ชีวิตแม่มีความสุข

  • อาถรรพ์ 7 ปี ทำไมคู่รักมักเลิกกัน: อาถรรพ์ ความเชื่อ หรือแค่การเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา

    อาถรรพ์ 7 ปี ทำไมคู่รักมักเลิกกัน: อาถรรพ์ ความเชื่อ หรือแค่การเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา

  • MBTI กับการเลี้ยงลูก: เมื่อบุคลิกภาพกำหนดสไตล์การเลี้ยงดู

    MBTI กับการเลี้ยงลูก: เมื่อบุคลิกภาพกำหนดสไตล์การเลี้ยงดู

  • ชีวิตที่มีลูก เข้าแล้วออกไม่ได้ : บริหารเวลายังไง ให้ชีวิตแม่มีความสุข

    ชีวิตที่มีลูก เข้าแล้วออกไม่ได้ : บริหารเวลายังไง ให้ชีวิตแม่มีความสุข

  • อาถรรพ์ 7 ปี ทำไมคู่รักมักเลิกกัน: อาถรรพ์ ความเชื่อ หรือแค่การเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา

    อาถรรพ์ 7 ปี ทำไมคู่รักมักเลิกกัน: อาถรรพ์ ความเชื่อ หรือแค่การเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา

  • MBTI กับการเลี้ยงลูก: เมื่อบุคลิกภาพกำหนดสไตล์การเลี้ยงดู

    MBTI กับการเลี้ยงลูก: เมื่อบุคลิกภาพกำหนดสไตล์การเลี้ยงดู

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว