สถานการณ์ความรุนแรงในครอบครัวไทยยังสูงอยู่
สถานการณ์ความรุนแรงในครอบครัวไทยยังสูงอยู่ : นายวิเชียร ชวลิต ปลัดพม. เป็นประธานเปิดงานสัมมนา “รายงานสถานการณ์ความรุนแรงในครอบครัว”จัดโดย มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล สำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
สถานการณ์ความรุนแรงในครอบครัวไทยยังสูงอยู่
จากข้อมูลการนำเสนอข่าวความรุนแรงในครอบครัว ผ่านสื่อสิ่งพิมพ์ พบมีข่าวความรุนแรงเกิดขึ้นถึง 333 ข่าว ในปี 2555 ซึ่งในจำนวนนี้เป็นความรุนแรงที่มีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เข้ามาเกี่ยวข้อง 97 ข่าว ส่วนประเภทของความรุนแรง แบ่งเป็นการฆ่ากันตายเกือบร้อยละ 60 ตามด้วยการฆ่าตัวตาย ทำร้ายกันเอง และล่วงละเมิดทางเพศ
หากจำแนกความรุนแรงที่เกิดขึ้นจากความสัมพันธ์ จะพบว่าการฆ่ากันเกิดขึ้นระหว่างสามีภรรยามากที่สุด ตามด้วยคู่รักที่เป็นแฟนกัน จังหวัดกรุงเทพฯ เป็นจังหวัดที่มีข่าวการทำร้ายกันและฆ่ากันของสามีภรรยามากที่สุด รองลงมาเป็นจังหวัด ชลบุรี และปทุมธานี
ส่วนข่าวสามีฆ่าภรรยามีมากในจังหวัด สมุทรปราการ นครปฐม ปทุมธานี ทั้งนี้ จากข้อมูลยังพบว่า การฆ่าตัวตายเกิดขึ้นในผู้ชายมากกว่าหญิง และจังหวัดที่เกิดการฆ่าตัวตายสูงสุดได้แก่ ชลบุรี นครศรีธรรมราช สระบุรี ส่วนสาเหตุการทำร้ายและฆ่ากันระหว่างสามีภรรยาในข่าวนั้น ส่วนใหญ่มาจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
จากการสำรวจในหัวข้อการทำร้ายคู่สมรส พบว่าประเทศไทยมีการทำร้ายกันของคู่สมรสอยู่ประมาณอันดับที่ 30 โดยผู้ชายเป็นฝ่ายทำร้ายผู้หญิงสูงเป็นอันดับ 7 ของโลก ที่สำคัญพบว่าผู้หญิงยอมรับการถูกทำร้ายสูงเป็นอันดับ 2 ของโลก จากทั้งหมด 49 ประเทศ
ความรุนแรงไม่ได้หมายถึงการตีเพียงเดียวนะคะ ยังมีความรุนแรงที่เรียกว่า ทำร้ายจิตใจ อีกด้วย เช่น เลี้ยงลูกลำเอียง รักพี่หรือรักน้องมากกว่า การใช้คำพูดกระทบกระเทือนจิตใจ ไม่ว่าคุณพ่อคุณแม่จะตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม เช่น ลูกเก็บมาเลี้ยง หรือเกิดมาทำไม เกิดมาแล้วทำให้พ่อแม่ลำบาก คำพูดเช่นนี้จะสะสมในจิตใจจนเกิดความน้อยเนื้อต่ำใจ คิดว่าพ่อแม่ไม่รัก นานวันเข้าลูกจะแสดงออกด้วยการกระทำที่รุนแรง แรกเริ่มอาจจะไม่รุนแรงมาก แต่เมื่อนานวันเข้าจะค่อย ๆ พัฒนาเป็นคนที่ชอบใช้ความรุนแรงมากขึ้น ๆ ต่อไป
2. ปล่อยปละละเลย
เรื่องนี้คุณพ่อคุณแม่อาจจะไม่ค่อยนึกถึงกันสักเท่าไร การไม่มีเวลาให้ลูก หรือแม้จะอยู่ด้วยกันแต่ไม่ค่อยเอาใจใส่ลูกเท่าใดนัก อาจจะเหนื่อยจากงานหรือเรื่องส่วนตัวทำให้พ่อแม่หมกมุ่นสนใจแต่ตัวเอง จนลืมไปว่าลูกก็ต้องการความรักความเอาใจใส่จากพ่อแม่ การปล่อยให้ลูกอยู่กับโลกโซเชียล เล่นเกมคอมพิวเตอร์ ดูซีดี ดูการ์ตูนซึ่งอาจจะแฝงความรุนแรง โดยที่เด็กยังไม่รู้จักกลั่นกรองว่าสิ่งใดดีหรือไม่ดี อาจจะจดจำมาและรับสิ่งนั้นไปใช้โดยขาดการไตร่ตรอง
3. การเลี้ยงดูที่ดี คือ วัคซีน ป้องกันความรุนแรง
เมื่อพูดถึงคำว่า “วัคซีน” แน่นอนว่าย่อมหมายถึง การป้องกัน เช่นเดียวกับการเลี้ยงดูลูก พ่อแม่ก็ต้องป้องกันไม่ให้เกิดความรุนแรง สิ่งแวดล้อม ทัศนคติของพ่อแม่มีความสำคัญต่อการพัฒนาบุคลิกภาพของลูก เด็กที่ถูกเลี้ยงดูมาด้วยความรักและความเข้าใจเมื่อโตขึ้นเด็กจะรู้จักปรับตัวให้เข้ากับสังคม และมีอารมณ์ที่มั่นคง
การเลี้ยงดูตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 6 ขวบ ไม่ได้มีผลต่อพฤติกรรมของลูกเท่านั้นนะคะ แต่ยังมีส่วนในการกำหนดโครงสร้างและการทำงานของสมอง หากเด็กถูกเลี้ยงดูด้วยความรุนแรง สมองจะเรียนรู้การกระทำที่รุนแรง การถูกปล่อยปละละเลยจากพ่อแม่ ทำให้ลูกเติบโตขึ้นมาท่ามกลางความเงียบเหงา ขาดความรัก จึงทำให้มองโลกในแง่ลบได้
บทความแนะนำ ทำอย่างไรเมื่อเจอกับความรุนแรงในครอบครัว
ดังนั้น ทางออกของปัญหาการใช้ความรุนแรง ควรเริ่มจาก
3.1 เตรียมตัวเองให้พร้อม
คำว่าเตรียมตัวเองให้พร้อมก่อนจะสร้างครอบครัว ไม่ใช่หมายถึง เรื่องเงินทองเท่านั้น แต่ต้องเตรียมพร้อมทั้งร่างกายและจิตใจ เพราะถ้ามีลูกในช่วงเวลาที่ไม่เหมาะสม หรือไม่ได้วางแผนในการมีลูกคนต่อไป อาจสร้างความปัญหาให้กับคุณพ่อคุณแม่เองและลูกอีกด้วย
บทความแนะนำ ยังไม่พร้อมมีลูกคนต่อไป!!สารพัดวิธีคุมกำเนิดช่วยคุณได้
3.2 อย่าให้ลูกรู้สึกว่า “ ขาดความรัก ”
เชื่อว่าพ่อแม่ทุกคนย่อมรักลูกของตนเองอยู่แล้ว แต่ความรักนั้นหากไม่แสดงออกลูกก็คงไม่รู้ ที่สำคัญความรักไม่ใช่การให้สิ่งของหรือเงินทอง หรือที่เรียกว่า ใช้เงินเลี้ยงลูก ลูกอยากได้อะไร ตามใจ สิ่งนั้นไม่ถูกต้องแน่ ๆ ที่สำคัญเมื่อลูกขึ้นจะทำให้เขาปรับตัวเข้ากับสังคมยาก ขาดความอดทน และรู้สึกว่าตนเองมีปมด้อยหากไม่ได้รับการตอบสนองตามที่ต้องการ สิ่งเหล่านี้จะหวนกลับมาทำร้ายลูกในอนาคตต่อไป รักลูกแสดงออกด้วยการพูดคุย ให้คำปรึกษา ให้เวลาแก่ลูก ร่วมทำกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกัน เมื่อมีเวลาว่าง ให้ลูกรู้สึกอบอุ่นและปลอดภัยจะดีที่สุดค่ะ ที่สำคัญความรักของพ่อแม่ต้องมีความยืดหยุ่นบนหลักเหตุและผลไม่ควรปล่อยให้ทำตามใจตนเองไปทุกอย่าง
3.3 เหตุผลVSอารมณ์
คงไม่มีเด็กคนไหนชอบให้พ่อแม่ใส่อารมณ์ดุด่าว่ากล่าวตนเองอย่างแน่นอน ยิ่งเมื่อลูกเข้าสู่วัยที่อยากรู้อยากลองสิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเอง อาจจะมีอาการดื้อซนให้เห็นอยู่บ่อย ๆ บางครั้งเด็กยังสื่อสารด้วยคำพูดไม่ได้จึงแสดงออกด้วยการกระทำ เช่น ตี หยิก ดึง เมื่อเขารู้สึกไม่พอใจ ทำให้คุณพ่อคุณแม่อาจเกิดอารมณ์โมโห ไม่พอใจในการกระทำของลูก อย่านะคะ!!! อย่าตีลูก
แต่คุณพ่อคุณแม่ควรสอนลูกด้วยเหตุผล เพื่อให้ลูกรู้ว่าตนเองควรแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างไร สิ่งสำคัญคุณพ่อคุณแม่เองนั่นแหละคะต้องควบคุมอารมณ์ตัวเองให้ได้เสียก่อน แทนที่จะตีก็ให้พาลูกออกไปจากสิ่งนั้น เช่น หากลูกอยากได้ของเล่นแล้วลงไปนอนดิ้นกับพื้น แทนที่จะตีก็สงบอารมณ์ลงก่อน แล้วค่อยอธิบายกับลูก เมื่อลูกได้เห็นท่าทีที่อ่อนโยนของพ่อแม่ต่อเขา ลูกจะเรียนรู้วิธีการปฏิบัติที่พ่อแม่มีต่อเขา และเกิดการเรียนรู้ว่าไม่ควรใช้อารมณ์ตัดสินปัญหา ถือเป็นปลูกฝังสิ่งดี ๆนั้นให้กับลูกต่อไป โดยลูกได้เรียนรู้ผ่านการกระทำของพ่อแม่นั่นเอง
บทความแนะนำ ของเล่นที่ดีที่สุดของลูก คือพ่อแม่
3.4 พ่อแม่ คือต้นแบบที่สำคัญ
ลูกในวัยที่พร้อมจะเรียนรู้จากการเลียนแบบจากคนใกล้ตัว แน่นอนว่า ก็คือคุณพ่อคุณแม่และคนในครอบครัว การปฏิบัติตัวของพ่อแม่ที่มีต่อกัน ที่มีต่อลูก รวมถึงสมาชิกในครอบครัว ทุกอย่างเปรียบได้กับฉากละคร ลูกจะซึมซับเอาพฤติกรรมเหล่านั้นติดตัวเขา หากพ่อแม่มีจิตใจที่เอื้ออาทร รักสัตว์ ลูกก็จะจดจำและทำตาม หากพ่อแม่ชอบอ่านหนังสือ ลูกก็จะทำตามได้ไม่ยาก ตรงกันข้ามหากพ่อแม่ชอบมีปากมีเสียง ลงไม้ลงมือ ลูกก็จะเรียนรู้วิธีการแก้ปัญหาเช่นเดียวกับที่พ่อแม่ทำเช่นกัน
บทความแนะนำ ความสำคัญของการอ่านหนังสือให้ลูกฟัง
3.5 เลี้ยงลูกด้วยความรักและอาทร
ปัจจุบันนี้การแข่งขันมีสูงในสังคมของเราแม้แต่เด็กเล็ก ๆ ในวัยอนุบาลยังต้องสอบแข่งขันแย่งที่เรียนกันเลย แต่คุณพ่อคุณแม่อาจสวนกระแสด้วยการสอนลูกให้รู้จักแบ่งปันและเอื้ออาทรต่อผู้อื่น แม้วันนี้ลูกอาจจะไม่เข้าใจ แต่อย่างน้อยการเริ่มต้นสั่งสอนตั้งแต่เยาว์วัย สิ่งเหล่านี้จะสั่งสมอยู่ในจิตใจของลูกได้ไม่ยากเลยค่ะ เพราะพื้นฐานที่ดีจะช่วยกล่อมเกลาจิตใจให้ลูกดีงามไปพร้อมกับการเจริญเติบโตทั้งทางร่างกายและจิตใจนั่นเอง
บทความแนะนำ IQ สูงอย่างเดียวคงไม่พอ “เลี้ยงลูกสมัยใหม่ต้องส่งเสริม SQ (ความฉลาดทางสัมคม)”
จะเห็นว่า ความรุนแรงแม้จะเกิดขึ้นรอบ ๆ ตัวเรา หรือผ่านสื่อมาให้เห็นทุกเมื่อเชื่อวัน แต่เราสามารถสร้างเกราะป้องกันความรุนแรงนั้นได้ด้วยความรักและความเข้าใจกันภายในครอบครัว เริ่มตั้งแต่วันนี้เพื่อลูกของเราและเพื่อสังคมที่สงบสุขต่อไปค่ะ
ร่วมบอกเล่าและแชร์ประสบการณ์ในช่วงตั้งครรภ์ คลอดบุตร รวมถึงการเลี้ยงดูทารกน้อย เพื่อเป็นประโยชน์ต่อครอบครัวอื่น ๆ กันนะคะ หากมีคำถามหรือข้อสงสัย ทางทีมงานจะหาคำตอบมาให้คุณ
ห้ามพ่อแม่ตีลูก
ญี่ปุ่นเริ่มออกกฎ ห้ามพ่อแม่ตีลูก ห้ามลงโทษลูกให้เกิดความเจ็บปวดทั้งร่างกายและจิตใจ พ่อแม่ไทยคิดว่าไง ทำบ้างดีไหม?
ญี่ปุ่นออกกฎห้ามพ่อแม่ตีลูก
ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ประเทศญี่ปุ่นพบเด็ก ๆ ถูกทำร้าย ทำให้เด็กเกิดความเจ็บปวดทางร่างกาย อย่างน้อย ๆ ก็บาดเจ็บ แต่ก็มีรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต จากกรณีเด็กถูกทำร้ายให้บาดเจ็บและเสียชีวิตจากพ่อแม่พุ่งสูงขึ้น ทำให้รัฐบาลโตเกียวเตรียมเสนอแนวคิดห้ามพ่อแม่ตีลูก
ข้อบังคับห้ามพ่อแม่ตีลูก จะเริ่มใช้ในเดือนเมษายนนี้ โดยห้ามลงโทษลูกทุกรูปแบบที่ทำให้เกิดความเจ็บปวดทั้งร่างกายและจิตใจ นอกจากนี้ ทางรัฐบาลยังเสนอให้เด็ก ๆ มีการตรวจเช็คร่างกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อตรวจเช็คว่า พ่อแม่ใช้กำลังร่างกายกับลูกหรือไม่ แต่ขณะนี้ก็ยังไม่มีการกำหนดโทษ กรณีที่พ่อแม่ที่ทำผิดแต่อย่างใด
วิธีลงโทษลูก
เพจหมอมินบานเย็น แนะนำวิธีลงโทษแบบอื่น ๆ ว่า เทคนิคการทำโทษที่ไม่ต้องให้ต้องเจ็บตัว แต่ทำให้เด็กจดจำและเรียนรู้เพื่อทีหลังเด็กจะไม่ทำผิดอีก มีหลายวิธีให้เลือกตามความเหมาะสม
ในเด็กที่พอรู้ความอายุประมาณหนึ่งขวบขึ้นไป เริ่มเอาแต่ใจตัวเอง ปกติเด็กจะชอบให้เราสนใจในพฤติกรรมบางอย่าง เมื่อต้องการให้เราตามใจ เช่น เด็กมีพฤติกรรมร้องไห้โวยวาย กรี๊ดๆ บางทีมีท่าทาง เช่น ลงไปดิ้นๆที่พื้น บางทีร้องจนดูน่าสงสาร บางคน มีร้องจนไอ ร้องจนอ๊วก มักจะมีอาการเวลาไม่ได้สิ่งที่ต้องการ
ส่วนใหญ่พ่อแม่ก็จะเข้าไปให้ความสนใจ เข้าไปโอ๋ ไปปลอบ และสุดท้ายยอมให้ของที่เด็กต้องการ ทำให้กลายเป็นเงื่อนไขว่า เวลาเด็กต้องการอะไรก็จะใช้วิธีร้องไห้โวยวายเสมอ ยิ่งร้องดัง หรือมีท่าทางด้วยจะยิ่งดึงดูดความสนใจ ทำซ้ำๆบ่อยๆพอได้ผล ก็จะเรียนรู้จนกลายเป็นนิสัย ทำให้พฤติกรรมร้องไห้โวยวายไม่ลดลง มีแต่เพิ่มขึ้นๆ
หากใช้เทคนิคนี้คือ การงดการให้ความสนใจ ไม่ตามใจเด็ก เพิกเฉยเสีย เมื่อเด็กมีพฤติกรรมโวยวาย ใช้คำพูดสั้นๆว่าเราเข้าใจความรู้สึก เช่น “แม่รู้ว่าหนูโกรธที่แม่ไม่ซื้อของเล่นให้” ไม่ต้องพูดอะไรมากกว่านี้ รอสักพัก ไม่ต้องสนใจหรือโอ๋ ไม่นานเด็กจะหยุดพฤติกรรมโวยวายไปเอง เพราะรู้ว่าไม่ได้ผลและทำให้ไม่ใช้วิธีร้องไห้โวยวายอีก ตรงนี้ทำได้หรือไม่ขึ้นอยู่กับผู้ใหญ่ต้องหนักแน่น อดทน เพราะเวลาเด็กร้องโวยวายก็ค่อนข้างบีบคั้นจิตใจ
-
เทคนิค “time-out ขอเวลานอก”
ส่วนใหญ่จะใช้เทคนิคนี้ในเด็กเล็ก เมื่อเด็กมีพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ จะให้เด็กไปอยู่ในบริเวณ time-out ซึ่งต้องเป็นที่ๆเด็กไม่สามารถเข้าถึงสิ่งทีชอบต่างๆ จะต้องเป็นบริเวณที่น่าเบื่อ โดยอาจเป็นนั่งเก้าอี้ในมุมห้องที่สงบ ไม่มีสิ่งต่างๆที่เด็กชอบ เช่น ไม่มีโทรทัศน์ ของเล่น หน้าต่าง หรือการสนใจจากคนรอบข้าง โดยกำหนดเวลาที่ไม่นานมากนัก เช่น ประมาณ 5 นาทีหรือน้อยกว่านั้น
โดยจะมีหลักการทั่วไปว่าใช้เวลา 1 นาทีสำหรับอายุของเด็ก 1 ปี เช่น เด็กอายุสามปีจะใช้ time out เป็นเวลา3นาที ควรจะบอกเด็กให้ทราบก่อนว่า พ่อแม่จะใช้วิธีนี้เมื่อเด็กมีพฤติกรรมที่ไม่ดีนั้นๆ และบอกเด็กล่วงหน้าก่อนที่จะให้เด็กไป time out ว่าเหตุผลที่ต้องไปนั่งเก้าอี้คืออะไร และใช้เวลานานเท่าไร เช่น “เพราะว่าหนูขว้างของ หนูต้องไปนั่งเก้าอี้เด็กดี 3 นาที”
แต่ส่วนใหญ่พ่อแม่มักจะบ่นว่าทำยาก ก็อาจจะลองใช้วิธีอื่น เพราะวิธีนี้จะได้ผลดีเมื่อเด็กค่อนข้างจะเชื่อฟังและเกรงใจพ่อแม่ ที่หมอมักจะแนะนำคือ ก่อนมี time out ต้องมี time in ก่อน คือ พ่อแม่ต้องเคยมีช่วงเวลาดีๆกับเด็ก ให้เด็กรู้สึกดี ๆ กับพ่อแม่ นำมาซึ่งความรักผูกพัน และความเชื่อฟังเกรงใจก็จะตามมา
โดยอาจเป็นการตัดสิทธิ์ที่เคยมีเคยได้ หรือ ปรับเป็นเงินหรือสิ่งของที่เป็นของๆเด็ก ใช้วิธีนี้เมื่อเด็กโตพอที่จะรู้เรื่อง ควรมีการพูดคุยตกลงกับเด็ก ว่าเราจะใช้วิธีนี้ในการปรับพฤติกรรม เช่น การงดดูการ์ตูนที่ชอบ หรือ งดขนม เมื่อเด็กทำพฤติกรรมไม่เหมาะสม หรือ การตัดค่าขนมเด็กเมื่อเด็กทำของเสียหาย
เช่น เมื่อเด็กโกรธ ขว้างแจกันแม่แตก สมมติแจกันแม่ราคา 150 บาท ก็หักค่าขนมวันละห้าบาทเป็นเวลาหนื่งเดือน (ครบ 150) ซึ่งตรงนี้ก็แล้วแต่ความเหมาะสมและการตกลงกัน การทำโทษวิธีนี้จะทำให้เด็กเรียนรู้ว่าทำผิดแล้วต้องรับผิดชอบ นอกจากนั้นทีหลังถ้าไม่อยากเสียอะไรไปหรือไม่อยากจะลำบาก ก็ต้องพยายามไม่ทำผิดอีก
คือ การให้เด็กที่ทำผิดต้องรับผิดชอบผลที่เกิดขึ้นของความผิดนั้นและทำพฤติกรรมอื่นที่เหมาะสมทดแทน เช่น เมื่อเด็กขว้างแจกันแม่แตก สมมติแจกันแม่ราคา 150 บาท นอกจากการหักค่าขนมชดเชย ก็ต้องให้เด็กทำดีเพิ่มเติม เช่น จะต้องเปลี่ยนน้ำในแจกันทุกวันตอนเย็นหลังกลับจากโรงเรียนเป็นเวลาหนึ่งเดือน ตรงนี้ก็จะเป็นการให้เด็กรู้จักรับผิดชอบ
สำหรับเรื่องการทำโทษด้วยการตีนั้น จริงอยู่ว่า การตีจะทำให้พฤติกรรมไม่ดี ลดลงได้เร็วกว่าเทคนิคอื่นๆ แต่ก็มีผลเสียตามมาหลายประการ เช่น ทำให้สัมพันธภาพระหว่างเด็กกับผู้ใหญ่ไม่ดี เด็กมีปฏิกิริยาทางอารมณ์ เกิดการเลียนแบบ เช่น เมื่อเด็กถูกพ่อแม่ตี ก็ร้องไห้โวยวายลงมือลงเท้า เวลาหงุดหงิดเพื่อนก็จะใช้วิธีตีเพื่อน (เหมือนที่ถูกพ่อแม่ตี) พ่อแม่จึงต้องใช้ความระมัดระวังในการตี หลักการตี ที่เหมาะสม คือ ใช้มือตี ไม่ใช้วัสดุอื่น ไม่ตีเด็กเวลาที่เราโกรธ (เพราะจะทำให้ตีรุนแรงด้วยอารมณ์) บอกเด็กก่อนว่าจะตีกี่ครั้ง และเหตุผลที่ตีคืออะไร
และข้อสำคัญ “อย่าลืมทำเป็นตัวอย่าง” ถ้าพ่อแม่และผู้ใหญ่ที่ใกล้ชิดเป็นคนที่รับผิดชอบรู้จักผิดถูก เด็กก็จะเรียนรู้และก็จะซึมซับในพฤติกรรมดีๆ นั้น หมอเคยเห็นพ่อแม่หลายคนบอกว่า “เป็นเด็กดีสิลูก” แต่สิ่งที่พ่อแม่ทำกลับตรงกันข้าม
การปรับพฤติกรรมเด็กนั้นหากจะทำให้ได้ผลดี ต้องทำด้วยพื้นฐานของความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกัน เด็กจะต่อต้านน้อยกว่า เชื่อฟังและมีความเกรงใจมากกว่า และต้องเริ่มทำตั้งแต่เด็กยังเล็ก
ที่สำคัญสิ่งที่เด็กทำได้ดีก็ต้องชมเชยด้วย ใช่ว่าจะมองหาสิ่งที่เด็กทำผิดอย่างเดียว
เน้นอีกอย่างคือ ผู้ใหญ่ต้องจัดการอารมณ์ให้ดี บางครั้งผู้ใหญ่ก็โกรธมากกับพฤติกรรมเด็ก จนทำให้ผู้ใหญ่ปรับพฤติกรรมเด็กได้ไม่ดีเทำไหร่ เพราะความโกรธจนขาดสติ
อ้างอิงข้อมูลจาก
https://www.sahavicha.com
https://www.thaichildrights.org
บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
แพทย์เตือนพ่อแม่ไม่ควรให้ลูกเห็นภาพความรุนแรงในข่าว
สถานการณ์ความรุนแรงในครอบครัวไทยยังสูงอยู่
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
ห้ามพ่อแม่ตีลูก ญี่ปุ่นเตรียมออกกฎ! หลังสถิติเด็กถูกทำร้ายพุ่งสูง พ่อแม่ไทยทำบ้างดีไหม?
ฝันว่าสามีนอกใจ แปลว่าอะไร เป็นลางบอกว่าสามีจะมีเมียน้อยจริง หรือแค่คิดมากไปเอง?
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!