อย่าเปรียบเทียบลูกกับคนอื่น มันสร้างความเจ็บปวดให้หนูรู้มั้ย!
มีไม่น้อยที่ความหวังดีของพ่อแม่ กลับกลายเป็นสิ่งที่ทำร้ายจิตใจลูก และอาจกลายเป็นจุดเปลี่ยนทางด้านความคิดของลูกได้ไม่น้อย แม้ลูกจะยังเป็นเด็กตัวเล็ก ๆ ก็ตาม อย่าเปรียบเทียบลูกกับคนอื่น เพราะสิ่งที่เราคิดว่าพูดแล้วดี แต่สำหรับเด็กน้อยอาจไม่ได้คิดเช่นนั้น
อย่าเปรียบเทียบลูกกับคนอื่น มันสร้างความเจ็บปวดให้หนูรู้มั้ย!
“อย่าเปรียบเทียบลูกของเรากับลูกของผู้อื่น เพราะไม่มีความจำเป็นอะไรเลยที่จะเปรียบเทียบดวงจันทร์กับดวงอาทิตย์ มันส่องสว่างเมื่อถึงเวลาของมัน”
คำคมโดนใจที่สัมผัสความรู้สึกคนเป็นพ่อ เป็นแม่ อ่านแล้วก็ให้ความรู้สึกว่า เออ ! เรามักจะใช้วิธีเปรียบเทียบเด็กคนอื่นกับลูกของเรา แล้วพูดให้ลูกฟังในลักษณะที่เชื่อว่าเป็นการสร้างแรงจูงใจให้แก่เขา ซึ่งข้อความข้างต้นก็บอกกับเราแล้วว่า มันไม่มีความจำเป็นอะไรเลย ! ที่จะไปเปรียบเทียบสิ่งมีความแตกต่างกันสองอย่าง ที่ต่างก็ดีงามเหมือนกัน
ถึงแม้เป็นความจริงที่เราไม่อาจหลีกเลี่ยงสถานการณ์การเปรียบเทียบกันระหว่างลูกของเรากับลูกของคนอื่น ไม่ว่าจะเป็นกับเพื่อนในละแวกบ้าน ญาติพี่น้อง หรือในชั้นเรียนเดียวกัน การเปรียบเทียบอาจเป็นวิธีการที่จะช่วยให้มองเห็นว่าลูกของเรามีพฤติกรรม ความประพฤติ หรือผลการเรียนดีในระดับไหน เป็นเด็กที่เรียนดี ดีเยี่ยม ปานกลาง หรืออ่อนกว่าเพื่อนคนอื่น และบ่อยครั้งก็มักจะหยิบยกเอาความสำเร็จของเด็กคนอื่นมาสร้างแรงจูงใจให้กับลูกของตัวเอง เพราะเชื่อว่าจะเป็นวิธีที่จะทำให้ลูกมีความพยายามพัฒนาตัวเองให้ดีขึ้น อย่างไรก็ตามคำพูดในลักษณะเปรียบเทียบนี้กลับส่งผลเสียต่อเด็กมากกว่าผลดี ทำให้ทั้งเด็กและพ่อแม่เกิดเครียดโดยไม่จำเป็น
Happy cheerful family. Asian mother and baby kissing, laughing and hugging; Shutterstock ID 226708465
การเปรียบเทียบลูกตัวเองให้ดี ให้เก่ง เหมือนเด็กคนนั้นคนนี้ อาจเป็นความหวังดีที่นำมาพูดกระตุ้นให้ลูกน้อยได้ทำหรือได้เป็นอย่างคนอื่นตามที่พ่อแม่ต้องการ อยากให้ลูกได้เห็นต้นฉบับที่ดี มีพฤติกรรมที่ดี หรือเอาคำพูดเปรียบเทียบมาเป็นการประชดประชันเมื่อลูกทำอะไรไม่ได้ดั่งใจ การพูดแบบนี้สำหรับพ่อแม่อาจพูดแล้วก็จบไป แต่กับเด็กแล้วคำพูดของพ่อแม่ที่นำตัวเองไปเทียบกับเด็กคนอื่นนั้น มันเจ็บปวดและกระทบต่อความรู้สึกลูกไม่น้อย
ผลกระทบที่สำคัญเมื่อพ่อแม่พูดเปรียบเทียบลูกกับคนอื่น ยิ่งพูดบ่อยครั้ง ลูกได้ยินทุกวัน จะทำให้ตัวเด็กนั้นรู้สึกมองไม่เห็นคุณค่าในตัวเอง ด้อยค่า ไม่มีความหมาย ไม่สามารถทำเหมือนลูกคนอื่นที่พ่อแม่อยากให้เป็นได้ กลายเป็นคนขี้อาย ไม่กล้าแสดงออก ไม่มั่นใจในตนเอง นานวันเข้าก็จะเป็นเด็กที่เริ่มปลีกตัวออกจากสังคม ไม่กล้าลงมือทำ กลัวว่าจะไม่ประสบความสำเร็จและจะถูกพ่อแม่ว่า หรือในทางตรงข้าม เด็กบางคนอาจจะเริ่มทำตัวก้าวร้าว รู้สึกมีความอิจฉาริษยา เกิดความคิดที่ไม่ดี มีการต่อต้าน และมักจะทำตรงข้าม เช่น เมื่อพ่อต้องการให้กินเก่งเหมือนเด็กคนอื่น ลูกก็อาจจะปฏิเสธการกิน จากที่เคยไม่ชอบกินแบบนี้ก็จะยิ่งไม่อยากเข้าไปอีก
คำพูดเปรียบเทียบของพ่อแม่ที่หวังว่าจะกลายเป็นแรงผลักดันที่ดีนั้นความจริงแล้วมีน้อยมากที่ลูกจะเอาคำเปรียบเทียบของพ่อแม่ไปทำตาม ดังนั้นสิ่งสำคัญที่พ่อแม่ควรเข้าใจคือ บุคคลิก ลักษณะนิสัย ความคิด พฤติกรรมการแสดงออก รวมทั้งศักยภาพและความสามารถของเด็กแต่ละคนนั้นเป็นปัจเจกที่แตกต่างกันไป สิ่งที่พ่อแม่ควรทำคือ
- หยุดและไม่ควรนำลูกไปเปรียบเทียบข้อดีข้อด้อยกับเด็กคนอื่น หรือแม้แต่ญาติพี่น้องที่สนิทกัน
- มองหาความชอบความสามารถของลูก เพื่อสนับสนุนและเปิดโอกาสให้ลูกได้ใช้ศักยภาพของตัวเองออกมา เช่น ลูกชอบวาดภาพ ร้องเพลง หรือกีฬาต่าง ๆ
- ใช้คำชมเชย ให้กำลังใจในสิ่งที่ลูกพยายามและตั้งใจทำแล้ว เพื่อให้ลูกได้มองเห็นคุณค่าในตัวเอง รู้สึกภูมิใจ และพยายามที่จะทำให้ดีต่อไปด้วยตัวเอง การชื่นชมของพ่อแม่ทำให้ลูกได้ความรักไปเต็ม ๆ ซึ่งจะส่งผลต่ออารมณ์จิตใจเด็กให้ดียิ่งขึ้น
ผลกระทบในด้านลบที่เกิดขึ้นจากการเปรียบเทียบลูกตัวเองกับเด็กคนอื่น
การเ ป็นพ่อทำให้มีความสุขแค่ไหน?
- ความเครียด
เด็กจะรู้สึกเหมือนเป็นภาระหนักอึ้งที่ต้องแบกไว้ ตลอดเวลาที่ถูกเปรียบเทียบกับเด็กคนอื่น พ่อแม่จึงไม่ควรใช้การเปรียบเทียบมากดดันเขาให้เกิดความเครียด วิตกกังวล แต่ควรใช้การนั่งลงพูดคุยหาสาเหตุของปัญหาที่ส่งผลต่อพฤติกรรมของเขาร่วมกัน
2. มีความเคารพตัวเองน้อยลง (self esteem)
เด็กจะเริ่มเชื่อว่าถึงอย่างไรคนอื่นก็ดีกว่าตัวเอง และตัวเขาเองก็ไม่มีความสามารถเพียงพอที่จะทำอย่างที่พ่อแม่คาดหวังได้ ความรู้สึกอย่างนี้ถือเป็นอันตรายต่อการเติบโตทางความคิด ความรู้ ความสามารถของเขาต่อไปในอนาคต
3. ลดทอนคุณค่าในตัวเอง (self worth)
ถึงแม้ว่าเขาจะพยายามที่จะปรับปรุงตัวเอง พัฒนาตัวเองให้ดีขึ้นแค่ไหนแล้วก็ตาม แต่ถ้าหากว่ายังคงได้ยินคำพูดที่คอยบอกเขาว่าต้องยังต้องทำให้ดีกว่านี้ ให้ดีกว่านี้ เพื่อให้ทันเด็กคนอื่นอยู่ตลอดเวลา ก็จะยิ่งทำให้เขาขาดความมั่นใจลงไปอีก และสิ่งที่ทำมาทั้งหมดไม่มีอะไรดีพอและจะทำไปเพื่ออะไรกัน
การเป็นพ่อทำให้มีความสุขแค่ไหน?
4. ขี้อาย ไม่กล้าเข้าสังคม
เมื่อเขาต้องถูกเย้ยหยันจากการเปรียบเทียบกับเด็กคนอื่นอยู่ตลอดเวลา จนสภาพจิตใจของเขามีแผล เขาก็จะเริ่มหลีกเลี่ยงการออกไปพบปะ มีปฏิสัมพันธ์กับผู้คนนอนบ้าน ทำให้เขาขาดทักษะในการสังคมกับผู้อื่น กลายเป็นเด็กขี้อายไป
5. กลายเป็นเด็กที่ไม่สนใจอะไรเลย
จากการที่เด็กพยายามทำทุกอย่างที่พ่อแม่คาดหวังอย่างดีที่สุด และคิดว่าน่าจะดีพอที่จะทำให้พ่อแม่ของตนเกิดความพึงพอใจ สมหวังในตัวลูกขึ้นมาบ้าง แต่กลับได้รับการแสดงออกในลักษณะที่มีความเฉยเมยจากพ่อแม่แทน หรือยังคงไปให้ความชื่นชมกับลูกของคนอื่นมากกว่า ก็จะทำให้เด็กกลายเป็นเด็กที่มีทัศนคติแบบโนสนโนแคร์ ไม่อยากสนใจหรือรู้สึก รู้สาอะไรมากนัก เพื่อที่ว่าตัวเองจะได้ไม่ต้องรู้สึกเจ็บปวด
เลี้ยงลูกด้วยความสุข
6. ศักยภาพในด้านที่เด็กมีความถนัดอย่างแท้จริงถูกปิดกั้น
บางครั้งความสามารถบางอย่างที่เด็กมี อาจไม่ตรงตามที่พ่อแม่ต้องการ ตัวอย่างเช่น เด็กบางคนอาจมีพรสวรรค์ในด้านการวาดภาพ สามารถวาดภาพได้น่าสนใจ มีเอกลักษณ์เฉพาะ แต่ว่าพ่อแม่อยากให้เอาเวลาที่นั่งวาดภาพนั้นไปฝึกเล่นแบดมินตัน อยากให้เป็นนักกีฬาแบดมินตันเหมือนเด็กคนอื่น เด็กจะรู้สึกเหมือนอยู่ในภาวะที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออก ต้องฝึกแบดมินตันไปทั้งที่ใจไม่ได้รัก ฝึกไปแล้วก็อาจไม่ได้เล่นได้ดีมากนัก ไม่ได้โดดเด่นอะไร ในขณะที่ความสามารถด้านการวาดภาพไม่ได้รับการชื่นชม ส่งเสริม พัฒนาให้ดียิ่งขึ้น กลายเป็นว่าสิ่งที่ชอบ ที่ถนัดกลับไม่มีพื้นที่ให้เติบโต
7. เกิดระยะห่างระหว่างลูกกับพ่อแม่
แน่นอนว่าเมื่อพ่อแม่มีความสัมพันธ์ที่เป็นไปในทางลบกับลูก จากการที่ไปพยายามกดดันให้เขาต้องทำให้ได้ในสิ่งที่พ่อแม่ต้องการ เพื่อไม่ให้น้อยหน้าเพื่อนคนอื่น ทำให้ปฏิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นระหว่างกันเป็นไปอย่างไม่มีความสุข พ่อแม่กลายเป็นที่มาของความเจ็บปวดในชีวิตสำหรับเขา รู้สึกไม่ปลอดภัยและไม่ไว้วางใจ เด็กจึงต้องการที่จะรักษาระยะห่างกับพ่อแม่ไว้ ซึ่งนี่จะส่งผลร้ายแรงต่อพัฒนาการทางความคิด อารมณ์ สติปัญญา รวมถึงพฤติกรรมเมื่อเติบโตขึ้นไป
วันนี้แม้แต่เรื่องเล็ก ๆ น้อยที่เรามองลูกคนอื่นดี ก็ไม่ควรนำมาเปรียบเทียบพูดกับลูกของตัวเองนะคะ เพราะเด็กทุกคนดีเหมือนกัน แต่มีจุดดีที่แตกต่างกันเท่านั้นเอง.
ที่มา : thaichildrights
บทความอื่นที่น่าสนใจ :
กระตุ้นให้ลูกเรียน มากไป เร็วไป ระวัง ลูกสมาธิสั้น ?
รับมืออย่างไร เมื่อเจอพี่สะใภ้ชอบเอาลูกมาเปรียบเทียบ!
อุ้มลูกอยู่ดี ๆ ก็ร้องไห้ ใบเตย อาร์สยาม มีอาการ เบบี้บลู หลังคลอดน้องเวทย์มน
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!