Do & Don’t พ่อแม่ที่ดีควรทำอย่างไร
#1 DON’T : อย่าตั้งคำถามกับทุกสิ่ง
เคยเป็นไหมคะพี่เวลาคุยกับลูกเรามักจะเผลอลงท้ายด้วยคำถามอยู่บ่อยครั้ง เช่น โอเคไหม ทำได้ไหม หรือใช่หรือเปล่า และผลที่ตามมาก็กลายเป็นว่าเราเปลี่ยนคำแนะนำต่าง ๆ ให้กลายเป็นถามไป แน่นอนว่าการใช้คำถามนั้นเป็นเครื่องมือที่ดีสำหรับพ่อแม่เมื่อเราใช้ให้ถูกต้องเหมาะสม แต่ถ้ามันมากเกินไปมันก็จะกลายเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็น เช่น อีก 5 นาทีต้องกลับบ้าน โอเคไหม / ได้เวลาอาบน้ำแล้ว โอเคไหม เป็นสิ่งที่ว่า พ่อแม่ที่ดีควรทำอย่างไร
DO : เลือกใช้คำถามอย่างชาญฉลาด
ให้คำแนะนำอย่างชัดเจนและเป็นจริง ซึ่งบางอย่างอาจไม่จำเป็นต้องลงท้ายด้วยประโยคคำถามเลยก็ได้ เช่น “ได้เวลาอาบน้ำแล้ว ไปได้” แต่ก็สามารถใช้ประโยคคำถามเพื่อสร้างโอกาสเล็ก ๆ ให้กับลูกได้ใช้ความคิดและช่วยให้เขาเข้าใจบางสิ่งโดยที่ไม่ต้องพูด เช่น “เราจะกลับบ้านในอีก 5 นาที ลูกต้องการที่จะเล่นกระดานลื่นหรือชิงช้าก่อนเราจะกลับไหม”
#2 DON’T : อย่าให้ทางเลือกมากเกินไปในแต่ละครั้ง
เป็นความต้องการของพ่อแม่เองที่อยากจะให้ตัวเลือกต่าง ๆ กับลูก เพื่อมาสนับสนุนความคิดของตัวเอง เราจึงมักจะโยนตัวเลือกมากมายให้ลูก ซึ่งในความเป็นจริงเด็ก ๆ ส่วนใหญ่ไม่สามารถที่จะจัดการได้มากกว่า 3 ทางเลือกในแต่ละครั้ง
DO : จำกัดทางเลือกไว้แค่ 2 – 3 ทางเลือก
และให้เวลาลูกในการตัดสินใจ สำหรับเด็กบางคนอาจใช้เวลานานกว่าคนอื่น ๆ เพื่อย่อยข้อมูลต่างๆ และตัดสินใจ เมื่อมันมีตัวเลือกมากมายให้เลือก เช่น การเลือกอาหารในศูนย์อาหาร
#3 DON’T : อย่าแสดงออกมากเกินไปในทุกเรื่อง
ส่วนใหญ่แล้วบาดแผลที่เกิดจากการใช้ชีวิตประจำวันของลูกนั้นไม่ถึงขนาดเป็นเหตุร้ายแรงทุกเรื่อง เช่น หกล้ม แผลยุงกัด ฯลฯ ซึ่งไม่ได้เป็นเรื่องที่พ่อแม่ต้องตอบสนองต่ออาการเจ็บของลูกทุกครั้ง ยกเว้นลูกเกิดอุบัติเหตุเลือดออกหรือเกิดเหตุร้ายแรง ที่ควรรีบเข้าไปปฐมพยาบาลในทันที รวมถึงการโทรขอความช่วยเหลือด่วน
DO : เก็บแซมบัคหรือกล่องปฐมพยาบาลไว้กับตัว
เพื่อที่จะนำออกมาใช้ได้ยามฉุกเฉินเมื่อเกิดรอยฟกช้ำ จำไว้ว่าบาดแผลเล็ก ๆ ไม่เคยทำให้ใครเจ็บ หากมีความรู้พื้นฐานในการปฐมพยาบาลและไม่ต้องตกใจเมื่อเห็นเลือดจากบาดแผลเล็กน้อย และไม่ใช่แค่เพียงบาดแผลทางร่างกาย บ่อยครั้งที่เรามักจะอยู่ใกล้กับในสนามเด็กเล่น หากเป็นไปได้ก็ควรปล่อยให้ได้ “สู้” ด้วยตัวเอง ให้เขาเรียนรู้ที่จะยืนบนขาเองได้ พร้อมให้กำลังใจลูกด้วยใจของคุณ
Do & Don’t พ่อแม่ที่ดีควรทำอย่างไร อย่าพลาดที่จะรู้ >>
.
#4 DON’T : อย่าเก็บซ่อนความรู้สึกของคุณไว้ตลอดเวลา
พ่อแม่มักจะคิดว่าการเก็บความรู้สึกไม่ให้ลูกรู้จะเป็นการดีกว่า เช่น คุณรู้สึกโกรธกับผู้ที่ขับรถอย่างไร้ความรับผิดชอบบนถนน หรือรู้สึกเป็นกังวลในวันที่ลูกไปโรงเรียนวันแรก แต่อย่างไรก็ตามมันเป็นเรื่องที่พ่อแม่ควรแสดงความรู้สึกที่แท้จริงให้ลูกได้เห็นเพื่อที่พวกเขาจะได้มองเห็นว่า พ่อแม่ก็เป็นมนุษย์ธรรมดาคนหนึ่ง และลูกจะเรียนรู้ที่จะแสดงออกหรือจัดการกับอารมณ์ของพ่อแม่อย่างเหมาะสมได้
DO : จงแสดงความรู้สึกที่แท้จริงกับลูก ๆ ของคุณ
และชวนให้ลูกมีส่วนร่วมในการเป็นที่ปรึกษาหรือแสดงความคิดเห็นต่อเรื่องนั้น ๆ เช่น “พ่อรู้สึกเหมือนคนบ้าเมือโทรศัพท์ถูกขโมย มันไม่น่าเชื่อว่าคนเราจะทำกันแบบนี้ได้ และโทรศัพท์เครื่องใหม่ก็ราคาแพงเกินไป มันก็เป็นปัญหา พ่อรู้สึกหมดหวังจังเลย” ยอมให้ลูกได้มองเห็นถึงความรู้สึกและเรียนรู้ที่จะเอาใจใส่ต่อความรู้สึกของคุณ บางทีคุณอาจประหลาดใจเมื่อได้ยินว่าลูกพูดขึ้นมาก็ได้
#5 DON’T : อย่า” ตำหนิติเตียนมากเกินไป
พ่อแม่มักจะมองเห็นสิ่งที่ลูกทำผิดพลาดได้มากกว่าสิ่งดี ๆ ที่พวกเขาทำ แต่สิ่งที่ลูกต้องการคือ “การวิจารณ์ที่สร้างสรรค์” ซึ่งลูกจะเรียนรู้จากความผิดพลาดและปรับปรุงตัวเองจากเสียงสะท้อนเหล่านั้น การติเตียนจึงเป็นเรื่องที่ต้องทำอย่างพอดีไม่มากเกินไป
DO : หาหนทางที่จะสนับสนุนและยกย่องลูก ๆ ของคุณในทุก ๆ วัน
มีความเห็นของผู้เชียวชาญกล่าวไว้ว่าว่า “เราควรสื่อสารด้วยประโยคเชิงบวกอย่างน้อย 5 ประโยคกับลูก ๆ และเพียง 1 ประโยคในเชิงลบ”
#6 DON’T : อย่าทำให้เรื่องในครอบครัวให้กลายเป็นสาธารณะ
ไม่ว่าจะเป็นการตะโกนใส่ลูกในที่สาธารณะ หรือการไปโพสต์แรง ๆ ต่อว่าลูกบนหน้าเฟซบุ๊ก คิดให้ดีก่อนที่จะทำให้เรื่องส่วนตัวของคุณกลายเป็นเรื่องสาธารณะ นอกจากนี้มันยังสามารถที่สร้างความเสียหายต่อลูกในเรื่องการเคารพตัวเองอีกด้วย คุณไม่มีทางรู้ได้ว่าใครกำลงเฝ้ามองอยู่ หรือใครที่กำลังอ่านในสิ่งที่คุณได้เขียนไป ซึ่งจริง ๆ แล้วเรื่องของลูกควรจะเป็นเรื่องที่จัดการแก้ไข้กันภายในครอบครัวมากกว่า
DO : ละเว้นการอบรมสั่งสอนไว้ก่อนจนกว่าคุณจะอยู่ในสถานที่ที่เป็นส่วนตัว เช่น เมื่อลูกงอแงในขณะเดินห้าง ควรจะหาวิธีทำให้ลูกสงบ และค่อยมาอธิบายเรื่องถูกผิด ทำความเข้าใจกับลูกภายในบ้านมากกว่าการดุด่าว่าลูก ณ จุดนั้น
Do & Don’t พ่อแม่ที่ดีควรทำอย่างไร อย่าพลาดที่จะรู้ >>
#7 DON’T : อย่าคืนคำพูดของคุณ
ต้องซื่อสัตย์ต่อคำสัญญาที่ให้ไว้กับลูก ถ้าคุณรับปากกับลูกก็ควรจะตอบแทนให้ได้ตามที่คุณบอกไว้
DO : หลีกเลี่ยงการใช้การติดสินบนหรือให้รางวัล
เช่น การให้รางวัลเป็นการหลอกล่อให้ลูกทำสิ่งนั้นได้สำเร็จ มากกว่าจะสอนลูกและให้ลูกพยายามทำโดยไม่มีสิ่งของตอบแทน แต่หากลูกประพฤติดีก็สามารถให้รางวัลตามที่เขาสมควรได้รับ
#8 DON’T : อย่าให้คนอื่นมาเป็นจุดวัดความสำเร็จของครอบครัวคุณ
ในฐานะของพ่อแม่ที่มีบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของตัวเอง อย่าได้ปล่อยมันให้เป็นบทบาทหรือภาระของบุคคลอื่น ไม่ว่าจะเป็นคนในครอบครัว เพื่อน ๆ ของเรา หรือความคิดเห็นของสาธารณะชน จงจำไว้ว่าอะไรก็ตามที่ใช้ได้ผลกับครอบครัวอื่น ๆ อาจจะใช้ไม่ได้กับครอบครัวของคุณเอง เพราะแต่ละครอบครัวก็จะมีความต่างกัน
DO : พ่อแม่ควรหาเวลาในการแลกเปลี่ยนความคิดกันและพูดคุยเกี่ยวกับครอบครัว
พวกคุณอยากให้อนาคตลูกเป็นแบบไหน หรืออยากให้ครอบครัวประสบความสำเร็จได้อย่างไร ฯลฯ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะส่งผลต่อแนวทางการเลี้ยงลูกของพวกคุณ เพื่อจะได้กำหนดเส้นทางในอนาคตของครอบครัวต่อไปได้
#9 DON’T : อย่าทำทุกอย่างแทนลูกของคุณ
มันดีกว่า ง่ายกว่า และเร็วขึ้นอยู่แล้วที่จะทำสิ่งต่าง ๆ ให้ลูก อย่างเช่น การสวมใส่ถุงเท้าและรองเท้า ติดกระดุมชุดเครื่องแบบนักเรียน การจัดกระเป๋า หรือเก็บห้อง แต่ในความเป็นจริงคือ คุณไม่สามารถทำสิ่งเหล่านี้ให้พวกเขาไปตลอด ไม่ช้าก็เร็วลูก ๆ ก็จะเรียนรู้วิธีการดูแลตัวเองและดูแลสิ่งของของพวกเขาเอง ซึ่งนั่นเป็นสิ่งที่ดีสำหรับพ่อแม่นะ
DO : จงปล่อยให้ลูกๆ ของคุณได้รับผิดชอบตามความเหมาะสมกับช่วงวัยที่เพิ่มขึ้น
บ้าน เป็นสถานที่ที่ดีที่สุดสำหรับการเริ่มต้นปลูกฝังค่านิยม อย่างความรับผิดชอบ ความน่าเชื่อถือ สุขอนามัยที่ดีและความเป็นระเบียบเรียบร้อย สิ่งเหล่านี้เป็นทักษะชีวิตที่สำคัญต่อตัวลูกในอนาคตด้วย
การทำสิ่งเหล่านี้ที่กล่าวมาทั้งหมด เชื่อว่าไม่ยากสำหรับพ่อแม่ที่ควรทำดีอย่างไรต่อลูก และคิดว่าพ่อแม่หลายคนได้ทำวิธีแบบนี้กันอยู่แล้ว หากเห็นว่าบทความนี้เป็นประโยชน์สำหรับพ่อแม่ ช่วยกันแชร์บทความนี้ส่งต่อกันเยอะ ๆ นะคะ
ที่มา : thenewageparents.com
The Asianparent Thailand เว็บไซต์ข้อมูลคุณภาพและสังคมคุณแม่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศและเอเชีย เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ แหล่งความรู้แม่และเด็ก รวมถึงแอพพลิเคชั่น The Asianparent ที่ติดตามการตั้งครรภ์ให้คุณแม่ได้ลงทะเบียนใช้งานฟรี เพื่อติดตามพัฒนาการทารกตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงติดตามหลังคลอดที่ครอบคลุมที่สุดและผู้ใช้งานสูงสุดในประเทศไทย นอกจากความรู้ยังมีไลฟ์สไตล์และสื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ไม่ว่าสุขภาพแม่และเด็ก โภชนาการแม่และเด็ก กิจกรรมสำหรับครอบครัว
การวางแผนครอบครัวไปจนถึง การดูแลลูก การศึกษา และจิตวิทยาเด็ก The Asianparent เราพร้อมสนับสนุนพ่อแม่ทุกท่าน ให้มีความรู้และมีสุขภาพกายใจเข้มแข็ง เพื่อเสริมสร้างครอบครัวอย่างแข็งแรง
เพราะเราเชื่อว่า “พ่อแม่เข้มแข็ง ครอบครัวแข็งแรง”
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
Do & Don’t เมื่อลูกติดไอแพด
15 สิ่งที่พ่อแม่ที่ดีทำแตกต่าง
ลูกติดพ่อแม่มาก ลูกติดมือ ควรทำอย่างไร? ถึงจะช่วยลูกได้
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!