พัฒนาการเด็ก 9 ขวบ คืออีกหนึ่งใน การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ ที่พ่อแม่ควรรู้ ! ไปดูกันเลยว่ามีอะไรบ้าง รู้ก่อนจะได้รับมือทัน น้อยคนที่จะทราบว่า พัฒนาการเด็ก 9 ขวบ คือช่วงแห่งการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ มีการก้าวกระโดดจากพัฒนาการขั้นหนึ่งไปสู่อีกขั้น แน่นอนว่าไม่ใช่เรื่องง่าย เป็นวัยเด็กตอนปลายก่อนเข้าสู่วัยแรกรุ่น
พัฒนาการด้านร่างกาย
เด็ก 9 ขวบ เป็นช่วงวัยเข้าใกล้วัยรุ่น ร่างกายเริ่มมีการเปลี่ยนแปลง ลูกอาจมีส่วนสูงและน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน
โดยเด็กผู้หญิงอาจมีอาการเริ่มต้นของวัยแรกรุ่น เมื่ออายุประมาณ 8 – 12 ปี และสำหรับเด็กผู้ชาย เมื่ออายุประมาณ 14 ปี ในฐานะผู้ปกครอง คุณพ่อคุณแม่ควรพูดคุยให้คำปรึกษาเรื่องเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงกับลูกอย่างเปิดเผย จะช่วยให้ลูกก้าวผ่านการเปลี่ยนแปลงได้อย่างง่ายขึ้น
ควรดูแลลูกอย่างไรเพื่อสุขอนามัยที่ดี
- ให้ลูกรับประทานผักและผลไม้มากขึ้น ลดอาหารที่มีไขมันสูง หรือเนื้อสัตว์ติดมัน จำกัดปริมาณน้ำตาลและเกลือ ควรเลือกอาหารที่ดี มีประโยชน์ต่อสุขภาพ เพื่อลูกจะได้ดูดซึมสารอาหารที่ดีเหมาะแก่การเจริญเติบโตของเด็ก
- จำกัดเวลาการเล่นเกมมือถือ หรือควรวางโทรทัศน์ไว้นอกห้องนอนของลูก จำกัดเวลาการเล่นเกมในแต่ละวันของลูก
- ส่งเสริมให้ลูกมีส่วนร่วมในกิจกรรมการออกกำลังกายเป็นเวลา 1 ชั่วโมงต่อวัน อย่างน้อย 3 วันต่อสัปดาห์ โดยเลือกการออกกำลังที่เหมาะสมกับวัยมีความสนุกสนานและหลากหลาย เช่น การวิ่ง ช่วยเรื่องการเคลื่อนไหว , ปีนเขา ช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อ และกระโดดเชือก ช่วยเสริมสร้างการเติบโตของกระดูก
- นอนหลับในปริมาณที่เพียงพอ สำหรับเด็กอายุ 6-12 ปี ควรนอนพักผ่อนวันละ 9–12 ชั่วโมง
พัฒนาการด้านสังคม อารมณ์
เด็กในวัย 9 ขวบนี้จะเริ่มสร้างมิตรภาพที่แข็งแกร่งและซับซ้อนยิ่งขึ้นกับเพื่อนฝูง มักนิยมคบหาเพื่อนเพศเดียวกัน ต้องการเป็นที่ยอมรับและให้ความสำคัญกับกลุ่มเพื่อนมากขึ้น เริ่มสนใจสังคมรอบคนข้าง รับรู้ได้ถึงความกดดันต่าง ๆ และเด็กบางคนเริ่มเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ ให้ความสำคัญกับรูปร่างหน้าตา เด็กผู้หญิงมีความรักสวยรักงาม กังวลเรื่องน้ำหนักตัว เป็นต้น
ความกังวลของเด็ก 9 ขวบ
- เริ่มกังวลเรื่องรูปร่างหน้าตา อาจขาดความมั่นใจเกี่ยวกับเสื้อผ้า รูปร่างหน้าตา และน้ำหนัก บางคนเริ่มรู้จักการคุมอาหาร คุณพ่อคุณแม่จึงควรแนะนำให้คำปรึกษาอย่างใกล้ชิด
- เด็ก 9 ขวบมักชอบทำสิ่งต่าง ๆ ให้ห่างจากพ่อแม่และบ้าน เป็นวัยที่ให้ความสำคัญกับเพื่อนเป็นพิเศษ บางคนมีการนอนค้างบ้านเพื่อนบ่อยขึ้น ควรให้อิสระลูกแต่ต้องอยู่บนข้อตกลงระหว่างกัน
- สามารถควบคุม หรือซ่อนความผิดหวังได้ดีขึ้น คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตพฤติกรรมของลูกอยู่เสมอ เพื่อเกิดการพูดคุยถึงปัญหาต่าง ๆ อย่างเหมาะสม
เคล็ดลับการเลี้ยงลูกเชิงบวก
- คุณพ่อคุณแม่ควรใช้เวลาพูดคุยกับลูก ในทุก ๆ ด้าน เช่น เรื่องที่โรงเรียน กลุ่มเพื่อนฝูง คุณครูอาจารย์ กิจกรรม กีฬา ความชอบต่าง ๆ ของลูก เพื่อจะได้ทราบถึงซึ่งที่ลูกของเราต้องเผชิญในแต่ละวัน เป็นการประเมินความเครียด หรือลูกมีความเสี่ยงต่อพฤติกรรมที่เป็นอันตราย ความรุนแรงหรือไม่ เป็นเรื่องที่คุณพ่อคุณแม่ต้องรู้ จะได้รับมือทันได้ท่วงที
- คุณพ่อคุณแม่ควรชักชวนลูกไปทำกิจกรรมเพื่อสังคม งานจิตอาสา งานการกุศล ช่วยเหลือผู้คนที่ลำบาก เพื่อเป็นการสอนเรื่องรู้จักผิดชอบชั่วดี ช่วยขัดเกลานิสัยของลูกให้อ่อนโยน มีจิตสำนึกต่อส่วนรวม
- ให้ลูกของคุณมีส่วนร่วมในงานบ้าน เช่น การทำความสะอาดและการทำอาหาร นับเป็นหนึ่งในกิจกรรมที่คนในครอบครัวสามารถทำร่วมกัน และเป็นโอกาสที่ดีในการพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดซึ่งกันและกัน จะทำให้ลูกเปิดใจกล้าปรึกษาคุณพ่อคุณแม่ได้ทุกเรื่อง
- สอนให้ลูกรู้จักการเก็บออมและการใช้จ่ายเงินอย่างชาญฉลาด
- พบปะทำความรู้จักกับเพื่อนลูก และครอบครัวของเพื่อนลูก
- ช่วยสนับสนุนในสิ่งที่ลูกชอบ เป็นการช่วยพัฒนาทักษะความถนัดของลูก ให้เต็มขีดความสามารถ
- คุณพ่อคุณแม่ช่วยเป็นแรงกระตุ้นลูก โดยการช่วยกำหนดเป้าหมาย สร้างกฎเกณฑ์ที่ชัดเจนและปฏิบัติตาม แต่ไม่ใช่การบังคับต้องเกิดจากข้อตกลงที่เห็นชอบจากทั้ง 2 ฝ่าย ทั้งลูกและพ่อแม่
- สอนให้ลูกรู้จักภูมิใจในตนเอง เมื่อลูกทำดี ควรชื่นชม จะทำให้ลูกเกิดความมั่นใจในทางที่ถูกที่ควร
- ส่งเสริมให้ลูกรักการอ่าน ให้ลูกอ่านหนังสือทุกวัน และพูดคุยให้ลูกเล่าให้ฟังถึงหนังสือที่อ่านในแต่ละวัน
เรื่องที่พ่อแม่ควรป้องกันความปลอดภัยให้กับลูก
เมื่อลูกอยู่ในวัยที่เริ่มโตขึ้น ช่วยเหลือตัวเองได้มากขึ้น แต่ไม่ได้หมายความว่าความเสี่ยงต่ออุบัติเหตุอื่น ๆ จะลดลง หน้าที่ของคุณพ่อคุณแม่จึงควรให้คำแนะนำ และช่วยปกป้องลูก ดังนี้
- ขณะโดยสารด้วยรถยนต์ ควรให้ลูกนั่งเบาะหลังจนกว่าจะอายุถึง 12 ปี เพราะการนั่งเบาะหลังจะปลอดภัยกว่าเมื่อเกิดอุบัติเหตุ
- เมื่อลูกขี่จักรยาน เล่นสเกตบอร์ด นั่งมอเตอร์ไซค์ ตรวจสอบทุกครั้งให้แน่ใจว่าลูกสวมหมวกกันน็อค
- มีเด็กหลายคนเลิกเรียนและกลับถึงบ้านก่อนที่พ่อแม่จะเลิกงาน จึงต้องมีกฎเกณฑ์ที่ชัดเจนสำหรับลูก เช่น ห้ามเปิดประตูให้คนแปลกหน้า , ต้องทำการบ้านให้เสร็จก่อนแล้วจึงเล่นเกมได้ เป็นต้น
บทความที่น่าสนใจ :
พัฒนาการเด็ก 7 ขวบ เรื่องที่คุณพ่อคุณแม่ต้องรู้ จะได้รับมือทัน!!
คุณแม่รู้ไหม ? ให้ลูก ๆ เล่น วิ่งไล่จับ ช่วยเสริมพัฒนาการเด็ก ๆ ได้ดี !
พัฒนาการเด็ก 6 ขวบ 11 เดือน ลูกมีการเปลี่ยนแปลงแบบไหน ทักษะจำเป็นต่อลูก
ที่มา : cdc verywellfamily
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!