พัฒนาการการตั้งครรภ์ประจำสัปดาห์ที่ 17
พัฒนาการของทารกในครรภ์ช่วงสัปดาห์ที่ 17
พัฒนาการการตั้งครรภ์ประจำสัปดาห์ที่ 17 กระดูกของลูกเปลี่ยนจากกระดูกอ่อน เป็นกระดูกแข็ง สายสะดือที่เป็นส่วนลำเลียงอาหาร และ อากาศของลูกหนา และ แข็งแรงขึ้น น้ำหนักของลูกในอาทิตย์นี้อยู่ที่ประมาณ 140 กรัม หรือเท่ากับขนาดของหัวผักกาด ลูกยาว 5 นิ้วเมื่อวัดจากหัวถึงก้น ลูกสามารถขยับข้อต่อต่าง ๆ ได้ ที่สำคัญร่างกายเริ่มสร้างต่อมเหงื่อแล้ว
ช่วงนี้เจ้าตัวน้อยจะเติบโตเร็วมากค่ะ น้ำหนักของทารกเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า และ จากศีรษะถึงส่วนล่างสุดมีความยาวประมาณ 13 เซนติเมตร
• ในช่วงนี้เจ้าตัวน้อยยังผอมมากค่ะ ผิวหนังจะแผ่ตรึงอยู่ทั่วร่างกายน้อย ๆ ของเขา หลอดเลือดซึ่งคอยลำเลียงเลือด ที่ประกอบไปด้วยออกซิเจนไป จะทำให้มองเห็นได้ผ่าน ทางผิวหนังโปร่งแสง ช่วงนี้ถ้าวัดอัตราการเต้นของหัวใจของ คุณแม่ (ง่าย ๆ เพียงแค่กำหนดความรู้สึกไปที่ ข้อมือด้านในฝั่งเดียวกับนิ้วหัว คุณแม่ มือ) และ นำอัตรานั้นไปคูณสอง คุณแม่ ก็พอจะทราบค่ะว่าเจ้าตัวน้อยในครรภ์มีอัตราการเต้นของหัวใจเท่าไหร่
• เจ้าตัวน้อยมีขาแล้วนะคะในช่วงสัปดาห์ที่ 17 ซึ่งเกือบจะไม่สมส่วนเมื่อเทียบกับส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย แต่ขาเหล่านี้จะยาวกว่าแขน และ งอบริเวณหัวเข่า และ ข้อเท้า ช่วงนี้แคลเซียมจะเริ่มสะสมตัวอยู่ในกระดูก ดังนั้นให้ คุณแม่ ทานอาหารประเภทนมเป็นประจำค่ะ
• ในขั้นนี้เมื่อทำ อัลตราซาวด์ จะเห็นได้ชัดค่ะว่าเจ้าตัวน้อย ในครรภ์เป็นเพศอะไร หากเป็น เด็กผู้หญิง รังไข่ของเขาจะประกอบไปด้วย ไข่ทุกใบที่ทารกจะมีตลอดชีวิตคือ ประมาณ 3 ล้านใบ หากเป็น เด็กผู้ชาย แขนขาจะยังอยู่ในตำแหน่งเหนือท้องของทารก หัวนมขนาดเล็ก ๆ จะเริ่มมองเห็นได้ตรงบริเวณผนังหน้าอกของเขาค่ะ
• ฟันหลัก ฟันทารก หรือ ฟันน้ำนมจะเริ่มก่อตัวขึ้นในเหงือก และ ทำหน้าที่สำคัญต่อ การพัฒนาการ ของช่องปากของเจ้าตัวน้อย ช่วงนี้ ฟลูออไรด์ที่ คุณแม่ ได้รับจากการดื่มน้ำจะ ช่วยสร้างเคลือบฟันที่ แข็งแรง บนฟันเหล่านี้รวมไป ถึงฟันแท้ได้ค่ะ
• เจ้าตัวน้อยในครรภ์สามารถหาว ยืดตัว และ ทำหน้าบูดบึ้งได้นะคะ แต่เขาจะยังหลับเป็นเวลานาน และ จะมีช่วงเวลาที่ต้องการขยับตัว และ บริหารกล้ามเนื้อค่ะ
• ในช่วงนี้ เจ้าตัวน้อยในครรภ์เริ่มมีลายนิ้วมือแล้ว ซึ่งจะเป็นสิ่งหนึ่งที่มี เอกลักษณ์เฉพาะตัวแยก ความแตกต่างระหว่างเจ้าตัวน้อยของ คุณแม่ ออกจากคนอื่น ๆ ได้อย่างแท้จริงค่ะ
สิ่งที่คุณสามารถทำได้ตอนนี้
ตอนนี้ร่างกายของ คุณแม่ อาจจะมีจุดศูนย์ถ่วงที่เปลี่ยนไป เนื่องจากท้องของ คุณแม่ เริ่มใหญ่ขึ้น เลยทำให้คุณรู้สึกเหมือน ว่าคุณจะล้มได้ง่าย ๆ มาก ๆ คุณควรหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่อาจ เสี่ยงต่อการหกล้ม ใส่รองเท้าพื้นราบ เพื่อป้องกันการสะดุดก่อให้เกิดการกระแทกบริเวณหน้าท้อง ซึ่งอาจจะส่งผลอันตรายต่อ ลูกในท้องได้ ทุกครั้งที่คุณนั่งรถ หรือขับรถเพื่อความปลอดภัย อย่าลืมคาดเข็มขัดนิรภัยนะคะ วิธีการคาดเข็มขัดนิรภัยระหว่างตั้งครรภ์คือ ใช้เข็มขัดคาดบริเวณใต้ท้อง ส่วนเส้นที่อยู่ด้านบนให้คาดไว้ใต้หน้าอก
นอกจากนี้คุณอาจจะสังเกตได้ว่าตาของคุณแห้ง คุณสามารถใช้น้ำตาเทียมได้ค่ะ แต่ถ้าหากรู้สึกระคายเคืองเมื่อ ใส่คอนแท็กเลนส์ก็ลองเปลี่ยนมา ใส่แว่นตาแทนจนกว่าจะคลอดลูกนะคะ
ที่มาอ้างอิง huggies.co.th
theAsianparent Thailand เว็บไซต์ และ คอมมูนิตี้อันดับหนึ่งที่ คุณแม่ เลือก นอกจากสาระความรู้ที่เรามอบให้ คุณแม่ ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ การวางแผนมีลูกแล้ว เรายังมีแอพพลิเคชั่นรวมถึงสื่อ มัลติมีเดียหลากหลายที่ช่วยตอบโจทย์ ทุกความต้องการของ คุณแม่ ยุคใหม่ ที่ต้องทำงาน และ ดูแลลูกไปพร้อมกัน ให้มีความมั่นใจ และ พร้อมในการดูแลลูกทุกช่วงเวลา ตั้งแต่การให้นมบุตร การดูแลตนเองหลังคลอด ท่าออกกำลังกายหลังคลอดเพื่อให้หุ่นของ คุณแม่ หลังคลอดกลับมาฟิตแอนเฟิร์มอีกครั้ง theAsianparent Thailand ขอเป็นส่วนหนึ่งที่จะสนับสนุน คุณพ่อ คุณแม่ ในเรื่องการดูแลลูก ความรู้ คุณแม่ และ เด็ก ที่เต็มเปี่ยม และ ตอบทุกข้อสงสัยในแอพพลิเคชั่นที่เป็นสื่อกลาง และ กิจกรรมส่งเสริมความสัมพันธ์ในครอบครัวไทย
อาการที่พบบ่อยช่วงตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 2
พัฒนาการการตั้งครรภ์ประจำสัปดาห์ที่ 18
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!