ทำอย่างไรดี ? ลูกดิ้นน้อยลง ภัยเงียบที่แม่ท้องต้องระวัง !
หนึ่งในความสุขเล็กๆของแม่ๆทุกท่าน คือ การที่ได้รู้สึกถึงอีกหนึ่งชีวิตในท้อง ตั้งแต่วินาทีที่รู้ว่าได้เป็นแม่ จนกระทั่งลูกน้อยในครรภ์เริ่มเติบโตขึ้นมาเรื่อยๆ ทุกช่วงเวลามีความหมายและน่าจดจำอีกช่วงหนึ่งของชีวิตใช่ไหมคะคุณแม่… อย่างไรก็ตาม คุณแม่จะต้องให้ความสำคัญกับการนับลูกดิ้น ในช่วงการตั้งครรภ์ในไตรมาสที่สาม ถือเป็นอีกหนึ่งเรื่องที่คุณแม่ไม่ควรมองข้ามเลยค่ะ เพราะ การนับลูกดิ้นเป็นประจำนั้น จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการแท้งลูก และ ช่วยชีวิตลูกน้อยได้อย่างทันท่วงทีด้วยค่ะ วันนี้ทีม TheAsianparent จึงมีวิธีการเช็คเมื่อ ลูกดิ้นน้อยลง มาฝากกันค่ะ
หนึ่งในความสุขเล็กๆของแม่ คือ การที่ได้รู้สึกถึงอีกหนึ่งชีวิตในท้อง
ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่า คุณแม่ตั้งครรภ์ ควรเริ่มนับการดิ้นของลูกตั้งแต่ สัปดาห์ที่ 28 หรือ สัปดาห์ที่ 26 หากคุณแม่ตั้งครรภ์ลูกแฝดค่ะ
คุณแม่อาจจะรู้สึกว่าการตั้งครรภ์นั้นราบรื่นดี แต่ถึงแม้ว่าคุณแม่จะคิดเช่นนั้น ก็อาจจะมีปัญหาซ่อนอยู่ เป็นภัยเงียบก็เป็นได้ ซึ่งปัญหาเหล่านี้มักเกิดขึ้นอย่างไม่ทันตั้งตัว และ ไม่มีสัญญาณใดๆเตือนมาก่อนเลยค่ะ มาติดตามการเช็คความเคลื่อนไหวของลูกน้อยในไตรมาสสุดท้ายกันค่ะ
การเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์ลดลงในไตรมาสที่สาม
การเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์ลดลง ในไตรมาสที่สาม : ลูกควรดิ้นบ่อยแค่ไหน ?
การเตะของทารก หมายถึง การเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์ ประเภทของการเคลื่อนไหวอาจเปลี่ยนไปตามพัฒนาการในแต่ละช่วง คุณแม่อาจจะรู้สึกได้ว่าเหมือนมีอะไรกำลังกระพือ เตะ ต่อย ม้วนตัวอยู่ในท้อง
ในไตรมาสสุดท้ายนี้ ในหนึ่งชั่วโมง ลูกจะดิ้นประมาณสิบครั้ง
แน่นอนว่า ทารกทุกคนมีความแตกต่างกัน และ เราไม่สามารถบอกได้ว่า แบบนี้ปกติหรือไม่ แต่คุณแม่สามารถรู้ได้ หากคุณแม่เช็คการดิ้นของลูกเป็นประจำ คุณแม่จะรู้เองว่าโดยปกติแล้ว ในเวลานี้ลูกจะดิ้น หรือ ลูกจะหลับ ทั่วไปแล้ว ในไตรมาสสุดท้ายนี้ ในหนึ่งชั่วโมง ลูกจะดิ้นประมาณสิบครั้ง
การเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์ลดลง ในไตรมาสที่สาม : คุณแม่ควรทำอย่างไร เมื่อลูกยังไม่ดิ้น ?
หากอายุครรภ์ของคุณแม่ได้ 24 สัปดาห์แล้ว ลูกน้อยยังไม่ดิ้น คุณแม่ควรเข้าพอคุณหมอทันทีค่ะ เพื่ออัลตราซาวด์และเช็คอัตราการเต้นของหัวใจของลูก
การเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์ลดลง ในไตรมาสที่สาม : คุณแม่ควรทำอย่างไร เมื่อลูกไม่ดิ้นในระหว่างสัปดาห์ที่ 24 – 28
หากลูกไม่ดิ้นตามช่วงเวลาดังกล่าว ควรเข้าพบแพทย์ทันที โดยให้คุณหมอเช็คขนาดครรภ์ วัดความดันโลหิต และ ตรวจสอบปัสสาวะเพื่อหาค่าโปรตีน นอกจากนี้ ยังต้องอัลตราซาวด์ด้วย หากขนาดครรภ์ มีขนาดเล็กลงกว่าปกติ
การเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์ลดลง ในไตรมาสที่สาม : คุณแม่ควรทำอย่างไร เมื่อลูกไม่ดิ้นขณะอายุครรภ์มากกว่า 28 สัปดาห์
อย่ารอดูสถานการณ์ คุณแม่ควรรีบไปพบแพทย์ทันที เพื่อความปลอดภัยของลูกน้อย โดยให้คุณหมอตรวจการเคลื่อนไหวของทารก ตรวจสอบอัตราการเต้นของหัวใจโดยใช้เครื่อง cardiotocography ( CTG ) อย่างน้อย 20 นาที เช็คขนาดครรภ์ วัดความดันโลหิต และ สุดท้ายต้องอัลตราซาวด์เพื่อดูภาพรวมอีกครั้ง
หลังจากตรวจกับคุณหมอ และได้รับการยืนยันแล้วว่า ครรภ์ของคุณแม่เป็นปกติแล้ว หลังจากนี้ คุณแม่ควรระมัดระวังเป็นพิเศษ หมั่นนับการดิ้นลูก ทุกชั่วโมงเท่าที่เป็นไปได้ หากพบความผิดปกติอีกครั้ง ให้รีบติดต่อเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลทันที
พบความผิดปกติ ให้รีบติดต่อเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลทันที
อย่าพยายามวัดอัตราการเต้นหัวใจของลูกด้วยเครื่องมือต่างๆ เช่น จากแอพลิเคชั่นในโทรศัพท์มือถือ เพราะบางครั้งการวัดจากแอพลิเคชั่นนั้นไม่เสถียรเท่ากับการใช้เครื่อง cardiotocography ( CTG ) และ การมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจริงๆมาดูแล
theAsianparent Thailand เว็บไซต์ข้อมูลคุณภาพ และ สังคมคุณแม่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ และ เอเชีย เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ แหล่งความรู้แม่ และ เด็ก รวมถึงแอพพลิเคชั่น theAsianparent Thailand ที่ติดตามการตั้งครรภ์ให้คุณแม่ได้ลงทะเบียนใช้งาน เพื่อติดตามพัฒนาการทารกตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงติดตามหลังคลอดที่ครอบคลุมที่สุด และ ผู้ใช้งานสูงสุดในประเทศไทย นอกจากความรู้ ยังมีไลฟ์สไตล์ และ สื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ไม่ว่าสุขภาพแม่และ เด็ก โภชนาการแม่ และ เด็ก กิจกรรมสำหรับครอบครัว การวางแผนครอบครัวไปจนถึง การดูแลลูก การศึกษา และ จิตวิทยาเด็ก theAsianparent Thailand เราพร้อมสนับสนุนพ่อแม่ทุกท่าน ให้มีความรู้ และ มีสุขภาพกายใจเข้มแข็ง เพื่อเสริมสร้างครอบครัวอย่างแข็งแรง
เพราะเราเชื่อว่า “ พ่อแม่เข้มแข็ง ครอบครัวแข็งแรง ”
ที่มา : Theasianparent
บทความอื่นๆที่น่าสนใจ :
วิธีการนับลูกดิ้น ทำไมการ นับลูกดิ้น จึงสำคัญ แม่ท้องต้องอ่าน!!
ลูกชอบดิ้นตอนกลางคืน ลูกดิ้นกลางคืนบ่อยจนแม่ไม่ค่อยได้นอน เป็นเพราะอะไร?
ลูกสะอึกในท้อง รู้สึกต่างจากลูกดิ้นอย่างไร เป็นสัญญาณบอกอะไร
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!