TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ฟันผุช่วงตั้งครรภ์ มีผลต่อลูกในท้องไหม?

บทความ 5 นาที
ฟันผุช่วงตั้งครรภ์ มีผลต่อลูกในท้องไหม?

ฟันผุช่วงตั้งครรภ์ มีผลต่อลูกในท้องไหม? คนท้องทำฟันได้ไหม? และจะมีวิธีป้องกันฟันผุช่วงตั้งครรภ์อย่างไร? พบคำตอบได้ในบทความนี้ค่ะ

ปัญหา ฟันผุช่วงตั้งครรภ์ อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของลูกน้อยในครรภ์ได้อย่างไม่คาดคิด การศึกษาหลายชิ้นพบว่ามีสัดส่วนของคุณแม่ตั้งครรภ์จำนวนไม่น้อยที่ประสบปัญหาฟันผุ ซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ได้ คนท้องฟันผุมีผลต่อลูกในท้องอย่างไร? คนท้องทำฟันได้ไหม? และจะมีวิธีป้องกันฟันผุช่วงตั้งครรภ์อย่างไร? พบคำตอบได้ในบทความนี้ค่ะ

 

▲▼สารบัญ

  • คนท้องเสี่ยงฟันผุมากกว่าคนทั่วไป
  • ฟันผุช่วงตั้งครรภ์ มีผลต่อลูกในท้องไหม
  • คนท้องทำฟันได้ไหม อะไรทำได้ อะไรไม่ควรทำ
  • จำเป็นต้องแจ้งทันตแพทย์ว่ากำลังตั้งครรภ์ หรือไม่
  • ฟันผุช่วงตั้งครรภ์ ลูกในท้องเสี่ยงฟันผุด้วย จริงไหม
  • วิธีป้องกันและดูแลสุขภาพฟันในช่วงตั้งครรภ์

คนท้องเสี่ยงฟันผุมากกว่าคนทั่วไป

ทำไมคุณแม่ตั้งครรภ์ถึงเสี่ยงฟันผุง่ายกว่าคนทั่วไป? เพราะช่วงตั้งครรภ์เป็นช่วงเวลาที่มีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายหลายอย่าง ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพช่องปากด้วยเช่นกัน สาเหตุหลักที่ทำให้คุณแม่ตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการเกิดฟันผุและเหงือกอักเสบมีดังนี้

  • การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่เพิ่มขึ้นในช่วงตั้งครรภ์ ทำให้เหงือกบวมแดงง่าย และอักเสบได้ง่ายขึ้น เมื่อเหงือกอักเสบก็จะทำให้แปรงฟันได้ไม่สะอาดเท่าที่ควร จึงเป็นสาเหตุให้เกิดฟันผุได้
  • การเปลี่ยนแปลงของน้ำลาย สังเกตได้ว่า คนท้องมักจะปากแห้ง เนื่องจากปริมาณน้ำลายลดลง ความสามารถในการชะล้างเศษอาหารและแบคทีเรียจึงลดลง ส่งผลให้แบคทีเรียในช่องปากเจริญเติบโตได้ดีขึ้น และทำให้ฟันผุได้ง่ายขึ้น
  • การอาเจียน อาการแพ้ท้องและอาเจียนบ่อย ทำให้กรดในกระเพาะอาหารสัมผัสกับผิวฟันบ่อยขึ้น ทำให้เคลือบฟันถูกกัดกร่อน และเกิดฟันผุได้ง่ายขึ้น
  • การรับประทานอาหาร คนท้องมักหิวบ่อย จึงทานอาหารบ่อยขึ้น และมักเลือกทานอาหารที่มีน้ำตาลสูง ทำให้มีเศษอาหารตกค้างตามซอกฟัน และเป็นแหล่งอาหารของแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดฟันผุ

 

คลอดก่อนกำหนด

ฟันผุช่วงตั้งครรภ์ มีผลต่อลูกในท้องไหม

หลายคนอาจสงสัยว่า ฟันผุเพียงเล็กน้อย จะส่งผลอะไรกับลูกน้อยได้มากมายขนาดนั้น? แต่ในความเป็นจริง แบคทีเรียที่ก่อให้เกิดฟันผุนั้น สามารถแพร่กระจายเข้าสู่กระแสเลือด และส่งผลกระทบต่อทั้งคุณแม่และลูกน้อยได้ ดังนี้

  • เสี่ยงคลอดก่อนกำหนด การติดเชื้อในช่องปาก เช่น โรคเหงือกอักเสบ หรือฟันผุที่ไม่ได้รับการรักษา อาจกระตุ้นให้เกิดการอักเสบรุนแรง ส่งผลต่อฮอร์โมนที่ควบคุมการคลอด ทำให้มีโอกาสคลอดก่อนกำหนดสูงขึ้น
  • ทารกมีน้ำหนักน้อย การติดเชื้อในช่องปากของแม่ อาจส่งผลให้ทารกมีน้ำหนักน้อยกว่าปกติ ซึ่งอาจส่งผลต่อพัฒนาการของทารกในระยะยาว
  • เสี่ยงติดเชื้อ แบคทีเรียที่ก่อให้เกิดฟันผุ สามารถแพร่กระจายเข้าสู่กระแสเลือดของแม่ และอาจส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกันของลูกน้อย ทำให้ลูกน้อยมีโอกาสติดเชื้ออื่นๆ ได้ง่ายขึ้น

 

คนท้องทำฟันได้ไหม อะไรทำได้ อะไรไม่ควรทำ

การทำฟันในคุณแม่ตั้งครรภ์ ควรต้องคำนึงถึงช่วงอายุครรภ์ เลือกทำในช่วงเวลาที่เหมาะสมและปรึกษาทันตแพทย์ก่อนเสมอ เพราะอาจเกิดอันตรายได้ 

ช่วงเวลาไหนเหมาะกับการทำฟันช่วงตั้งครรภ์?

  • ช่วงไตรมาสที่ 2 (4-6 เดือน) เป็นช่วงที่เหมาะสมที่สุด เนื่องจากร่างกายของคุณแม่มีความแข็งแรงขึ้น อาการแพ้ท้องน้อยลง และความเสี่ยงต่อการแท้งก็ลดลง
  • หลีกเลี่ยงช่วงไตรมาสแรก เนื่องจากเป็นช่วงที่ตัวอ่อนกำลังเจริญเติบโต การทำฟันอาจส่งผลกระทบต่อตัวอ่อนได้
  • หลีกเลี่ยงช่วงไตรมาสสุดท้าย เนื่องจากท้องโต อาจทำให้การนอนบนเก้าอี้ทำฟันเป็นเวลานานไม่สะดวก น้ำหนักตัวเด็กอาจไปกดเส้นเลือดด้านหลังช่องท้อง และอาจทำให้ความดันโลหิตต่ำ จนเป็นลมได้

สิ่งที่คุณแม่ตั้งครรภ์สามารถทำได้

  • ขูดหินปูน การขูดหินปูนเป็นการทำความสะอาดคราบหินปูนที่เกาะตามซอกฟัน ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดฟันผุและเหงือกอักเสบ การขูดหินปูนในช่วงตั้งครรภ์จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาเหล่านี้
  • อุดฟัน หากมีฟันผุ การอุดฟันจะช่วยป้องกันไม่ให้ฟันผุลุกลามไปยังเนื้อฟันส่วนที่อยู่ข้างใน และป้องกันการติดเชื้อ
  • เคลือบฟลูออไรด์ การเคลือบฟลูออไรด์จะช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับเคลือบฟัน ทำให้ฟันทนต่อกรดและแบคทีเรียได้ดีขึ้น
  • ถอนฟัน ในกรณีที่ฟันผุรุนแรงจนไม่สามารถรักษาได้ การถอนฟันอาจเป็นทางเลือกสุดท้าย แต่ทันตแพทย์จะพิจารณาอย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจ เนื่องจากการถอนฟันอาจทำให้เกิดการติดเชื้อได้

อย่างไรก็ตาม หากการขูดหินปูนหรือถอนฟันที่ทันตแพทย์พิจารณาแล้วว่าอาจทำให้เสียเลือดมากจนเกิดอันตราย ก็จะพิจารณาเลื่อนไปทำในช่วงหลังคลอดแทน

 

ฟันผุช่วงตั้งครรภ​์ คนท้องทำฟันได้ไหม

จำเป็นต้องแจ้งทันตแพทย์ว่ากำลังตั้งครรภ์ หรือไม่

การแจ้งทันตแพทย์ให้ทราบว่ากำลังตั้งครรภ์จำเป็นมาก เพราะทันตแพทย์จะสามารถปรับเปลี่ยนแผนการรักษาให้เหมาะสมกับสภาพร่างกายของคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ เพื่อความปลอดภัยของคุณแม่และลูกน้อย โดยเฉพาะในเรื่องของ:

  • การใช้รังสีเอกซ์ หากจำเป็นต้องเอกซเรย์ ทันตแพทย์จะใช้แผ่นตะกั่วป้องกันรังสีบริเวณท้อง เพื่อลดความเสี่ยงต่อทารกในครรภ์
  • การใช้ยา ไม่ว่าจะเป็นยาชา ยาปฏิชีวนะ หรือยาอื่นๆ ทันตแพทย์จะเลือกใช้ยาที่มีความปลอดภัยสูงสุดสำหรับทั้งคุณแม่และลูกน้อย หากไม่แจ้งให้ทันตแพทย์ทราบ อาจทำให้คุณแม่ได้รับยาหรือการรักษาที่ไม่เหมาะสม ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อทารกในครรภ์ได้
  • การผ่าตัด การผ่าตัดในช่องปากจะพิจารณาทำเฉพาะในกรณีที่จำเป็นจริงๆ และจะเลือกวิธีการที่ปลอดภัยที่สุด

สำหรับผู้ที่มีแผนจะตั้งครรภ์ ควรเข้ารับการตรวจสุขภาพช่องปากก่อน เพื่อให้มั่นใจว่าช่องปากพร้อมสำหรับการตั้งครรภ์ หากต้องมีการอุดฟัน ขูดหินปูน แนะนำให้ทำให้เรียบร้อยก่อนตั้งครรภ์ เพื่อจะได้ไม่มีอาการปวดฟันตอนท้อง ซึ่งอาจทำให้คุณแม่ลำบาก หากปวดฟันในช่วงอายุครรภ์ที่ไม่สามารถทำฟันได้

 

ฟันผุช่วงตั้งครรภ์ ลูกในท้องเสี่ยงฟันผุด้วย จริงไหม

จริงค่ะ การที่คุณแม่ตั้งครรภ์มีปัญหาเรื่องฟันผุ อาจส่งผลต่อสุขภาพช่องปากของลูกน้อยได้ในอนาคต เนื่องจาก

  • การถ่ายทอดเชื้อแบคทีเรีย แบคทีเรียที่ก่อให้เกิดฟันผุในช่องปากของแม่ สามารถถ่ายทอดไปสู่ลูกน้อยในครรภ์ หรือขณะที่ลูกดูดนมแม่ ทำให้ลูกน้อยมีโอกาสฟันผุสูงขึ้น
  • สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเกิดฟันผุ เมื่อลูกน้อยได้รับเชื้อแบคทีเรียจากแม่แล้ว หากไม่ได้รับการดูแลสุขภาพช่องปากที่ดี เช่น การแปรงฟัน การใช้ไหมขัดฟัน และการหลีกเลี่ยงอาหารหวาน ก็จะทำให้แบคทีเรียเหล่านี้เจริญเติบโตและก่อให้เกิดฟันผุได้ง่ายขึ้น

ผลกระทบที่ตามมา

  • ปัญหาสุขภาพช่องปากในระยะยาว เด็กที่เป็นฟันผุตั้งแต่เด็ก อาจมีปัญหาสุขภาพช่องปากตามมาในระยะยาว เช่น ฟันผุรุนแรง เหงือกอักเสบ และต้องรักษาทางทันตกรรมบ่อยครั้ง
  • ส่งผลต่อการกินอาหารและการเจริญเติบโต ฟันผุอาจทำให้เด็กเจ็บปวดเวลาเคี้ยวอาหาร ส่งผลต่อการรับประทานอาหาร และอาจส่งผลต่อการเจริญเติบโตได้
  • กระทบต่อความมั่นใจ เด็กที่มีปัญหาฟันอาจขาดความมั่นใจในการเข้าสังคม

ฟันผุช่วงตั้งครรภ์

วิธีป้องกันและดูแลสุขภาพฟันในช่วงตั้งครรภ์

เรามีวิธีดูแลสุขภาพช่องปากสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ เพื่อป้องกัน ฟันผุช่วงตั้งครรภ์ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อลูกในท้อง มาฝากคุณแม่ ดังนี้

  • ตรวจสุขภาพฟันเป็นประจำ

การตรวจสุขภาพฟันเป็นประจำจะช่วยให้คุณแม่ตรวจพบปัญหาในช่องปากได้ตั้งแต่เนิ่นๆ และสามารถรักษาได้อย่างทันท่วงที โดยมีความถี่ในการตรวจฟันสำหรับคนท้อง ดังนี้

    • ไตรมาสแรก: ตรวจฟัน 2 ครั้ง
    • ไตรมาสที่สอง: ตรวจฟัน 1 ครั้ง
    • ไตรมาสที่สาม: ตรวจฟัน 1 ครั้ง

เหตุผลที่ต้องตรวจบ่อย เนื่องจากฮอร์โมนเปลี่ยนแปลง ทำให้เหงือกอ่อนแอลงและเสี่ยงต่อการอักเสบ การตรวจบ่อยจะช่วยให้ทันตแพทย์ติดตามอาการและให้คำแนะนำได้อย่างเหมาะสม

  • ทำความสะอาดช่องปากอย่างถูกวิธี

แปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ใช้ยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์ และใช้ไหมขัดฟันเป็นประจำ จะช่วยขจัดคราบแบคทีเรียที่ตกค้างตามซอกฟัน หลังทานอาหารหรืออาเจียน ควรบ้วนปากด้วยน้ำสะอาด เพื่อลดปริมาณกรดในช่องปาก

  • เลือกอาหารที่ดีต่อสุขภาพช่องปาก

คนท้องควรหลีกเลี่ยงอาหารหวาน เพราะอาหารหวานเป็นสาเหตุหลักของฟันผุ ควรลดการบริโภคขนมหวาน น้ำอัดลม หันมารับประทานอาหารที่มีแคลเซียม เช่น นม โยเกิร์ต ผักใบเขียว เพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงของฟันและกระดูก และเพิ่มผักและผลไม้ ช่วยให้มีใยอาหาร ช่วยทำความสะอาดช่องปาก

  • ดูแลเหงือกที่บอบบาง

ควรแปรงฟันเบาๆ เนื่องจากเหงือกในช่วงตั้งครรภ์อาจบอบบางและมีเลือดออกง่าย เลือกแปรงสีฟันที่มีขนนุ่ม เพื่อป้องกันเหงือกอักเสบ

  • ระวังอาการแพ้ท้อง

กรดในกระเพาะอาหารอาจทำลายเคลือบฟัน จึงควรบ้วนปากด้วยน้ำเปล่าหลังอาเจียน และรอสักครู่ก่อนแปรงฟัน เนื่องจาก กรดจากกระเพาะอาหารจะทำให้เคลือบฟันอ่อนแอลง การแปรงฟันทันทีอาจทำให้เคลือบฟันสึกกร่อนได้

บทความจากพันธมิตร
ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์
ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
  • ปรึกษาทันตแพทย์หากมีปัญหา

หากมีอาการปวดฟัน เหงือกอักเสบ หรือมีเลือดออกขณะแปรงฟัน ควรรีบปรึกษาทันตแพทย์ทันที

 

การดูแลสุขภาพช่องปากที่ดีในช่วงตั้งครรภ์ จะช่วยให้คุณแม่มีสุขภาพช่องปากที่แข็งแรง ไม่ต้องกังวลผลกระทบต่อลูกน้อย หากต้องทำฟันในช่วงตั้งครรภ์ และยังส่งผลดีต่อสุขภาพของลูกน้อยในอนาคตอีกด้วยค่ะ

 

ที่มา : โรงพยาบาลพญาไท , โรงพยาบาลสมิติเวช , โรงพยาบาลเมดพาร์ค

 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

คนท้องทำฟันได้หรือไม่ คนท้องจัดฟันได้ไหม ลูกในท้องจะเป็นอันตรายหรือเปล่า

คนท้องปวดฟัน ฟันผุ เหงือกอักเสบ เสี่ยงคลอดก่อนกำหนดจริงหรือ ?

อันตรายไหม หากคนท้องเดินผ่านเครื่องสแกนร่างกายทุกวัน

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

สิริลักษณ์ อุทยารัตน์

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • ฟันผุช่วงตั้งครรภ์ มีผลต่อลูกในท้องไหม?
แชร์ :
  • คนท้อง เหนื่อยง่าย หายใจไม่อิ่ม เกิดจากอะไร? พร้อมวิธีรับมือให้หายใจสบายขึ้น

    คนท้อง เหนื่อยง่าย หายใจไม่อิ่ม เกิดจากอะไร? พร้อมวิธีรับมือให้หายใจสบายขึ้น

  • สวยได้ไม่ต้องเสี่ยง! ครีมบำรุง และ เครื่องสำอางที่คนท้องควรเลี่ยง

    สวยได้ไม่ต้องเสี่ยง! ครีมบำรุง และ เครื่องสำอางที่คนท้องควรเลี่ยง

  • นักวิทยาศาสตร์พบ ปัจจัยเสี่ยงออทิสติก อาจมาจากสิ่งแวดล้อมขณะตั้งครรภ์

    นักวิทยาศาสตร์พบ ปัจจัยเสี่ยงออทิสติก อาจมาจากสิ่งแวดล้อมขณะตั้งครรภ์

powered by
  • คนท้อง เหนื่อยง่าย หายใจไม่อิ่ม เกิดจากอะไร? พร้อมวิธีรับมือให้หายใจสบายขึ้น

    คนท้อง เหนื่อยง่าย หายใจไม่อิ่ม เกิดจากอะไร? พร้อมวิธีรับมือให้หายใจสบายขึ้น

  • สวยได้ไม่ต้องเสี่ยง! ครีมบำรุง และ เครื่องสำอางที่คนท้องควรเลี่ยง

    สวยได้ไม่ต้องเสี่ยง! ครีมบำรุง และ เครื่องสำอางที่คนท้องควรเลี่ยง

  • นักวิทยาศาสตร์พบ ปัจจัยเสี่ยงออทิสติก อาจมาจากสิ่งแวดล้อมขณะตั้งครรภ์

    นักวิทยาศาสตร์พบ ปัจจัยเสี่ยงออทิสติก อาจมาจากสิ่งแวดล้อมขณะตั้งครรภ์

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว