เป็นตะคริวขาดวิตามินอะไร ตั้งครรภ์แล้ว เป็นตะคริวบ่อย ทำอย่างไรดี

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

คุณแม่ที่เป็นตะคริว คงจะสงสัยว่าต้นตอของอาการนี้มาจากไหน และ เป็นตะคริวขาดวิตามินอะไร หรือไม่ เป็นตะคริวบ่อยเกิดจากอะไร มีวิธี แก้ตะคริวถาวรหรือไม่ วันนี้เรารวบรวมคำตอบมาฝาก

 

เป็นตะคริวบ่อยขาดวิตามินอะไร ทำอย่างไรให้หาย

ในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ ตะคริวนั้นเป็นเรื่องปกติ ซึ่งเกิดจากความเปลี่ยนแปลง เพราะพัฒนาการของเด็กทารก แม้ว่าอาการเหล่านี้จะไม่ได้เป็นอาการที่จะการันตี 100 เปอร์เซ็นต์ ว่าจะเกิดขึ้นในช่วงแรกของการตั้งครรภ์ แต่ก็เป็นหนึ่งในอาการที่มักจะเกิดขึ้นกับว่าที่คุณแม่ อย่างที่กล่าวไปข้างต้น การเป็นตะคริวนั้น เป็นเรื่องที่ปกติ แต่เมื่อมีอาการเกิดขึ้นแล้ว เชื่อว่าคงจะมีคุณแม่บางส่วนที่กำลังกังวลเรื่องนี้อยู่ คุณแม่ที่เป็นตะคริว คงจะสงสัยว่าต้นตอของอาการนี้ มาจากไหน และ เป็นตะคริวขาดวิตามินอะไร ขาดสารอาหารประเภทใดหรือไม่ เป็นบ่อย ๆ เกิดจากอะไร ไม่ต้องกังวลไปนะคะ เพราะตะคริวที่เกิดขึ้น ช่วงการตั้งครรภ์นั้น เป็นเรื่องปกติ หากคุณแม่รู้วิธีรับมือกับปัญหาเหล่านี้ จะช่วยทำให้คุณแม่คลายกังวล และรับมือได้อย่างถูกวิธี

 

 

เป็นตะคริวบ่อย ช่วงตั้งครรภ์ เกิดจากอะไร

เป็นตะคริวบ่อย ในช่วงตั้งครรภ์ โดยปกติแล้ว จะเกิดจากการที่ มดลูกขยายตัว ทำให้เอ็น และกล้ามเนื้อสองส่วนนี้ ต้องขยายตัวตามไปด้วย เพื่อรองรับ มดลูกที่ใหญ่ขึ้น ตะคริวมักจะเกิดขึ้นตอน คุณแม่ จาม ไอ หรือเปลี่ยนท่านั่ง ยืน และ นอน ในช่วงไตรมาสที่สอง เส้นเอ็นปวดเป็นที่มาของอาการตะคริว เส้นเอ็นที่รองรับมดลูกนี้ เมื่อมันขยายตัวแล้ว คุณจะรู้สึกชา และเจ็บ ๆ หลังหรือท้องล่าง

บทความที่เกี่ยวข้อง : ท่านอนคนท้องที่ถูกวิธี แม่ท้องนอนท่าไหนถึงหลับสบาย ไม่เมื่อย ไม่เป็นตะคริว

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

วิธีรักษาตะคริวเบื้องต้น

  • เปลี่ยนท่านั่งบ้าง
  • แช่น้ำอุ่น
  • ออกกำลังกาย ให้กล้ามเนื้อได้ผ่อนคลาย
  • ใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นประคบ
  • ดื่มน้ำเยอะ ๆ
  • ให้คุณสามีช่วยนวดบริเวณที่เป็นตะคริว

 

 

นวดขา คลายตะคริว

คุณแม่อาจจะให้คุณพ่อช่วย โดยพยายามยืดกล้ามเนื้อ เริ่มจากค่อย ๆ ยืดส้นเท้าก่อน ตามด้วยข้อเท้า และนิ้วเท้า ตอนนี้คุณสามีต้องทำอย่างเบา ๆ มือหน่อย โดยใช้มือจับปลายเท้า ขยับขึ้นลง ในขณะที่แม่ท้องเอง ก็ต้องเหยียดขาให้สุด แล้วค่อย ๆ ขยับมือมานวดบริเวณน่อง ตอนนั้นแม่ท้องจะเจ็บมาก ๆ ต้องค่อย ๆ ทำ แต่ถ้าแม่ท้องรู้สึกเจ็บที่ต้นขา สามีก็ต้องนวดเหนือหัวเข่าช้า ๆ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อย่าลืมว่า เวลาเป็นตะคริว คุณแม่ต้องเหยียดขาให้ตรง จะได้นวดง่าย ๆ ถ้าเจ็บ หรือเกร็งบริเวณไหน ให้นวดเบาๆ ที่บริเวณนั้น

หลังจากที่อาการตะคริวเริ่มดีขึ้นแล้ว ให้สามีพาคุณแม่เดินยืดขาสักพัก แล้วค่อยกลับไปนอนต่อ ให้แม่ท้องเกาะกำแพง ค่อย ๆ เดิน โดยมีสามีพยุงอยู่เคียงข้าง การยืดตรง ๆ จะช่วยยืดกล้ามเนื้อขา ทำให้หายจากความเจ็บปวดได้เร็วขึ้น

บทความที่เกี่ยวข้อง : 100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 83 คนท้องนวดได้ไหม คุณแม่นวดผ่อนคลาย

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

วิตามินอะไรช่วยลดการเกิดตะคริวได้

วิตามินสองชนิด ที่จะช่วยลดการอาการตะคริวได้ก็ คือ แม็กนีเซียม วิตามิน B และแคลเซียม อาหารที่มีแม็กนีเซียม ก็จะมี ถั่ว ผลไม้แห้งเมล็ดพืชชนิดต่าง ๆ ส่วนอาหารที่มีวิตามินก็คือถั่ว ผักใบเขียว ข้าวบาร์เลย์ อโวคาโด สุดท้าย แคลเซียมสามารถพบได้ใน ถั่ว เมล็ดของพืชผักผลไม้หลายชนิด คุณแม่บางคนที่กลัวว่าจะได้รับวิตามินไม่พอ อาจจะทานวิตามิน หรือ อาหารเสริมที่ขายตามท้องตลอดก็ได้ แต่ก่อนที่จะทานอาหารเสริมเหล่านี้ คุณแม่จำเป็นที่จะต้องดูส่วนผสมให้ดี และปรึกษาแพทย์เสมอ เพื่อความปลอดภัยของตัวคุณแม่และเด็ก

บทความที่เกี่ยวข้อง : วิตามินDหาได้จากไหน มีอาหารหรือผลไม้ชนิดไหนที่มีวิตามินDบ้าง?

 

ตะคริวแบบไหนที่ควรรีบไปหาหมอ

  • เจ็บมากไปหายซะที
  • เจ็บท้องล่างมาก และ มีอาการมดลูกบีบตัว
  • ตะคริวที่จิ๊มิ๊ เลือดออก มึนหัว
  • ตะคริว พร้อมกับเจ็บไหล่ กับคออย่างมาก

 

อาการตะคริวขณะตั้งครรภ์นั้นอาจเกิดขึ้นแล้วหายไปเพียงครั้งคราว แต่ก็ไม่ควรนิ่งนอนใจ เพราะอาจเป็นสัญญาณของอันตรายที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทั้งคุณแม่ และลูกน้อย จึงต้องให้ความสำคัญในเรื่องนี้อยู่ตลอดเวลา

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

ตะคริวที่ท้องตอนตั้งครรภ์อันตรายมั๊ย เกิดจากอะไร ลูกในท้องจะปลอดภัยหรือเปล่า

อาหารสำหรับคนท้อง อาหารบํารุงครรภ์ไตรมาส2 อาหารที่แม่ท้องควรกิน!

การเกิดตะคริวบริเวณท้องระหว่างตั้งครรภ์เป็นเรื่องปกติหรือไม่?

ที่มา : americanpregnancy, mayoclinic

บทความโดย

Jitawat Jansuwan