เด็กทารกท้องผูก สัญญาณอันตราย ที่พ่อแม่ไม่ควรมองข้าม

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

สัญญาณอันตรายที่มักจะพบเห็นได้บ่อยของเด็กทารกคือ อาการท้องผูก ซึ่งถือเป็นปัญหาที่พบบ่อยในทารกและเด็กเล็ก หากปล่อยไว้นานจนไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง ก็อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายของลูกน้อยได้ วันนี้ theAsianparent จะพามาดูกันว่า เด็กทารกท้องผูก เกิดจากอะไร แล้วเราจะรับมือได้ด้วยวิธีไหนบ้าง เรามาหาคำตอบไปพร้อม ๆ กันค่ะ

 

เด็กทารกท้องผูก เกิดจากสาเหตุอะไร

ปัญหาของทารกท้องผูกนั้น เกิดได้จากหลายสาเหตุ โดยเราจะแบ่งออกตามช่วงอายุของทารกเป็น 2 ช่วงวัยด้วยกัน คือ ทารกที่มีอายุน้อยกว่า 6 เดือน และทารกที่มีอายุมากกว่า 6 เดือนขึ้นไป

 

1. ทารกที่มีอายุน้อยกว่า 6 เดือน

อย่างที่เราทราบกันดีกว่า เด็กทารกที่มีอายุน้อยกว่า 6 เดือนนั้น จะกินแต่นมเพียงอย่างเดียว ดังนั้นหากเด็กในช่วงวัยนี้มีอาการท้องผูกเกิดขึ้น มีความจำเป็นจะต้องได้รับการดูแลจากกุมารแพทย์อย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะทารกที่มีอายุน้อยกว่า 1 เดือน ซึ่งเด็กในวัยนี้มีความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดอาการท้องผูกได้จากปัจจัยดังต่อไปนี้

  • ปัญหาแพ้โปรตีนจากน้ำนม

โดยมากทารกที่ดื่มนมแม่นั้น มักจะไม่เกิดปัญหาท้องผูกให้ได้พบเห็น เนื่องจากในน้ำนมแม่ จะมีแบคทีเรียชนิดดี รวมถึงไขมัน และโปรตีนที่ช่วยทำให้อุจจาระไม่แข็งตัว ส่งผลให้การขับถ่ายนั้นสามารถทำได้โดยง่าย ยกเว้นในกรณีที่เด็กมีอาการแพ้โปรตีนในน้ำนมแม่ หรืออาหารบางประเภทที่คุณแม่รับประทานเข้าไป

 

  • ปัญหาสุขภาพ

เด็กในช่วงวัยนี้ หากมีอาการท้องผูกมักจะมีปัญหาจากสุขภาพโดยตรง เช่น อาการของภาวะลำไส้ใหญ่โป่งพองแต่กำเนิด (Hirschsprung’s Disease : HD) ซึ่งมีโอกาสเกิดขึ้นประมาณ 1 ใน 5,000 คน โดยแพทย์จะทำการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดเท่านั้น

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

  • เด็กที่คลอดก่อนกำหนด

เด็กทารกที่คลอดก่อนกำหนด มักจะมีความเสี่ยงการเป็นท้องผูกได้มากกว่าเด็กทั่วไป เนื่องจากระบบย่อยอาหารของเด็กยังไม่สามารถเจริญเติบโตได้อย่างเต็มที่ ทำให้น้ำนมที่รับประทานเข้าไป เคลื่อนผ่านทางเดินอาหารได้ช้า และย่อยได้ไม่สมบูรณ์ ส่งผลให้อุจจาระมีลักษณะแห้ง และแข็ง ทำให้เกิดอาการท้องผูกได้ง่าย

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

2. ทารกที่มีอายุมากกว่า 6 เดือนขึ้นไป

สำหรับทารกที่อายุมากกว่า 6 เดือนขึ้นไปนั้น อาการท้องผูกที่เกิดขึ้นมักจะมีสาเหตุมาจากอาหารการกินเป็นหลัก หรือปัญหาของสุขภาพที่ส่งผลให้เกิดอาการท้องผูกได้ โดยสาเหตุหลักที่เราพบเจอมีดังนี้

  • นมชง

เมื่อเด็กโตขึ้นในระดับหนึ่ง มักจะพบว่าคุณพ่อคุณแม่จะเริ่มเปลี่ยนจากนมแม่ ให้เด็กเริ่มกินนมชงมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มคุณแม่ที่มีปริมาณน้ำนมที่ไม่เพียงพอ ปริมาณนมผงที่มากกว่าที่กำหนดเอาไว้ ก็สามารถเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้เด็กทารกเกิดอาการท้องผูกได้ นอกจากนี้ ทารกที่แพ้โปรตีนในน้ำนม ก็สามารถเกิดอาการท้องผูกได้เช่นเดียวกัน

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • ภาวะขาดน้ำ

ในบางกรณี หากทารกประสบภาวะขาดน้ำ หรือได้รับน้ำไม่เพียงพอ เช่น การชงนมในปริมาณที่ผิดสัดส่วน หรือร่างกายดูดซึมน้ำจากอาหารที่กินเข้าไปได้ไม่เพียงพอ ส่งผลให้อุจจาระ หรือกากของเสียในร่างกายแห้งและแข็งตัวจนขับถ่ายลำบาก

 

  • อาหารต่าง ๆ

หลังจากการเพิ่มปริมาณ ความหลากหลายของอาหารให้กับเด็กทารก ทำให้ร่างกายของเด็กได้รับปริมาณของเหลวน้อยลงกว่าเดิม ซึ่งจากเดิมเด็กทารกจะได้รับน้ำนมแม่อยู่ตลอดเวลา อีกทั้งอาหารที่ทานเข้าไปนั้น ยังมีปริมาณเส้นใยที่ต่ำ ทำให้เด็กเกิดอาการท้องผูกได้ง่าย

 

  • อาการป่วยและยา

หากเด็กทารกมีอาการแพ้อาหารบางชนิด หรือเป็นโรคที่เกี่ยวกับระบบเผาผลาญอาหาร จะส่งผลให้เด็กกินอาหาร หรือดื่มน้ำในปริมาณที่น้อยลง ทำให้ระบบการทำงานของร่างกายผิดปกติ จนนำไปสู่ปัญหาท้องผูกได้ นอกจากนี้ การใช้ยาระงับปวด หรือธาตุเหล็กในปริมาณที่สูง ก็ส่งผลให้เกิดอาการท้องผูกได้เช่นเดียวกัน

 

 

สิ่งที่ผู้ปกครองควรระวังไม่ให้ทารกท้องผูก

  • ให้ทารกกินอาหารที่ไม่เหมาะสมกับวัย
  • บางครอบครัวให้เด็กทารกกินอาหารเสริมก่อนวัย 6 เดือน ทั้งที่ร่างกายยังไม่สามารถย่อยสารอาหารเหล่านั้นได้
  • การที่เด็กท้องผูกอาจส่งผลให้เกิดภาวะลำไส้ตีบตัน ซึ่งถือเป็นภาวะที่เป็นอันตรายมากสำหรับเด็กวัยนี้
  • การชงนมที่ผิดสัดส่วนกรณีที่ไม่ใช่น้ำนมแม่ ดังนั้น ควรชงนมตามสัดส่วนที่ระบุเอาไว้ข้างกล่องอย่างเคร่งครัด
  • หลัง 6 เดือนขึ้นไปแล้ว สามารถให้ทารกเริ่มกินอาหารเสริมได้ โดยควรให้ลูกกินอาหารตามสัดส่วนที่พอเหมาะ และควรเน้นผักผลไม้ อาหารที่มีกากใย เพื่อกระตุ้นการขับถ่าย รวมถึงให้กินน้ำในปริมาณที่มากเพียงพอเพื่อให้ช่วยขับถ่ายได้ง่ายยิ่งขึ้น
  • หากทำทุกอย่างถูกต้องแล้วแต่พบว่าลูกยังท้องผูกบ่อย ควรพบแพทย์โดยทันที

 

วิธีดูแลและกระตุ้นให้ทารกขับถ่ายง่ายขึ้น

นอกจากชนิดอาหารที่จำเป็นจะต้องให้ทารกในปริมาณที่เหมาะสมกับวัยของทารกแล้ว คุณพ่อคุณแม่ยังสามารถช่วยกระตุ้นระบบขับถ่ายให้กับทารกได้ด้วยวิธีต่าง ๆ ดังนี้

  • เลือกโภชนาการย่อยง่าย

นมแม่ดีที่สุดสำหรับทารก เพราะมีสารอาหารกว่า 200 ชนิด รวมถึงมีสารอาหารสำคัญอย่าง MFGM และ DHA ที่ช่วยส่งเสริมพัฒนาการทางสมองของลูกน้อย แต่ในกรณีที่คุณแม่ไม่สามารถให้นมแม่ได้และมีความจำเป็นต้องให้นมผง คุณแม่ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับคำแนะนำในการเลือกโภชนาการย่อยง่ายสำหรับลูกน้อย โดยแพทย์อาจแนะนำโปรตีนที่ผ่านการย่อยบางส่วนหรือ PHP (Partially Hydrolyzed Protein) ซึ่งเป็นโปรตีนที่ผ่านการย่อยบางส่วน สามารถดูดซึมได้ดี เหมาะสมกับระบบย่อยอาหารของลูก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

 

  • การนวดบริเวณท้องของทารก

การนวดท้องเบา ๆ จากบริเวณท้องส่วนล่างด้านซ้ายของเด็ก โดยให้ห่างจากสะดือประมาณ 3 นิ้วมือ ด้วยการใช้ปลายนิ้วกดลงไปเบา ๆ อย่างสม่ำเสมอ ทำลักษณะนี้ประมาณ 3 นาที และควรทำอย่างต่อเนื่องจนกว่าเด็กจะสามารถขับถ่ายได้เป็นปกติ เพราะวิธีนี้ จะช่วยในการกระตุ้นลำไส้ให้แข็งแรง และขับถ่ายได้ง่ายยิ่งขึ้น

 

  • การใช้ยาในการรักษาอาการท้องผูก

หากทารกมีอาการท้องผูก ขับถ่ายไม่ได้ คุณพ่อคุณแม่ควรพาทารกน้อยไปพบกับแพทย์ เพื่อขอคำปรึกษา และแนะนำ ในกรณีที่จำเป็นจะต้องใช้ยาในการรักษานั้น ยาที่นำมาใช้ จะช่วยให้อุจจาระอ่อนตัวลง และสามารถขับถ่ายได้ง่ายยิ่งขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม การรักษาอาการท้องผูกด้วยยาในเด็กเล็ก เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำหากไม่จำเป็น เพราะหากใช้บ่อยครั้ง อาจทำให้ร่างกายเด็ก เกิดความเคยชิน และไม่สามารถขับถ่ายเองได้ตามปกติ

 

  • ทาว่านหางจระเข้

ในกรณีที่เด็กทารกไม่สามารถขับถ่ายได้เป็นปกติจนมีเลือดออก หรือผิวหนังบริเวณทวารหนักเกิดการฉีกขาด ควรใช้ครีมที่มีส่วนผสมของว่านหางจระเข้ทาบริเวณดังกล่าว เพื่อช่วยบรรเทาความเจ็บปวดในเบื้องต้น จากนั้นให้รีบพาทารกไปพบแพทย์ เพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุ และรักษาโดยทันที

 

  • ฝึกการขยับร่างกายอยู่บ่อยครั้ง

วิธีนี้สำคัญมาก คุณแม่สามารถช่วยขยับร่างกายของทารกด้วยการนวดกระตุ้นขา จับขาของทารกให้ทำท่าเหมือนถีบจักรยานกลางอากาศ ฝึกการเคลื่อนไหว บิดตัวซ้ายขวาอย่างเหมาะสม เพื่อช่วยให้ร่างกายมีการเร่งระบบการย่อยอาหาร และร่างกายมีการลำเลียงของเสียออกไปได้เร็วยิ่งขึ้น

 

 

ทารกท้องผูกรักษาได้อย่างไร

นอกจากโภชนาการและสัดส่วนของอาหารที่จะต้องเหมาะสมกับวัยของเด็กทารกแล้ว การใส่ใจในพฤติกรรมการเคลื่อนไหวของเด็กก็มีความจำเป็นไม่แพ้กัน หากแต่สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ยังไม่สามารถช่วยให้อาการท้องผูกของเด็กทารกดีขึ้นได้ การใช้ยาจึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือก สำหรับคุณพ่อคุณแม่ แต่ควรเข้ารับการปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ รวมทั้งเรียนรู้วิธีการใช้ยาที่ถูกต้องและปลอดภัยต่อเด็กทารก เช่น

  • เหน็บก้นด้วยกลีเซอรีน

วิธีนี้คือการเหน็บตัวยาเข้าไปในบริเวณก้น เพื่อช่วยกระตุ้นการขับถ่าย ซึ่งวิธีนี้จะเหมาะกับทารกที่ประสบปัญหาการขับถ่ายยากจนถึงขั้นมีเลือดปนออกมากับอุจจาระ

 

  • ใช้ยาระบายสำหรับเด็ก

ยาถ่าย หรือยาระบายสำหรับเด็ก จะมีตัวยาที่ช่วยให้อุจจาระนิ่มตัวมากยิ่งขึ้น ทำให้ลำไส้ที่อ่อนแรงอย่างลำไส้ของเด็กวัยทารกสามารถขับถ่ายได้ดียิ่งขึ้น แต่ก่อนใช้ยานี้ ควรปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชก่อนการใช้ยาเสมอ

 

อย่างไรก็ตาม ปัญหาของทารกที่มีอาการท้องผูกนั้น นับว่าเป็นปัญหาใหญ่ และส่งผลเสียในระยะยาว หากผู้ปกครองปล่อยปละละเลย รวมถึงซื้อยามาเพื่อทำการรักษาเองโดยไม่ได้ขอคำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ก็อาจจะส่งผลเสียได้มากกว่า ดังนั้น การเข้าพบแพทย์เบื้องต้นเพื่อขอคำวินิจฉัยสู่วิธีการรักษาอย่างถูกต้อง จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นและไม่ควรมองข้ามค่ะ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

ลูกท้องเสีย ถ่ายเป็นน้ำ ท้องร่วง ถ่ายเหลว รับมืออย่างไรดี

วิธีจับลูกเรอ ให้ได้ผลชะงัด ทำไมต้องทำให้ลูกเรอ? มาดูกัน!

ภาวะแหวะนมในทารก อันตรายไหม อาการพบได้บ่อยที่พ่อแม่ต้องรู้

ที่มา :  mahidol, pobpad

บทความโดย

Arunsri Karnmana