เมื่อมีครรภ์แฝดครั้งแรก คุณแม่อาจตื่นเต้นมาก แต่ต้องระวังให้ดีโดยเฉพาะ ภาวะแทรกซ้อนในครรภ์แฝด ที่มีอยู่หลายอย่าง หากไม่ได้รับการดูแลครรภ์ที่ดีมากพอ อาจทำให้เกิดภาวะอันตรายได้หลายอย่าง บทความนี้จะมาบอกในสิ่งที่อาจเกิดขึ้นหากไม่ระวัง และการดูแลครรภ์แฝดแบบเบื้องต้นให้
ภาวะแทรกซ้อนในครรภ์แฝด มีอะไรบ้าง ?
การเกิดครรภ์แฝดหากเป็นคุณแม่มือใหม่ที่อยากมีลูกคงจะยินดีมาก แต่ต้องระวังให้ดี เพราะการมีครรภ์แฝดนั้นทำการดูแลยากมากกว่าครรภ์ทั่วไป และมีความเสี่ยงต่อภาวะความผิดปกติต่าง ๆ มากขึ้นกว่าเดิมด้วย เดิมทีหากแค่ดูแลครรภ์พอผ่าน ๆ อาจไม่สามารถช่วยรักษาครรภ์แฝดเอาไว้ได้ และยิ่งจะทำให้เสี่ยงต่อภาวะร้ายจนทำให้แท้งบุตรได้ ดังนั้นคุณแม่ควรจะต้องศึกษาให้ดีว่าภาวะแทรกซ้อนในครรภ์แฝดมีอะไรบ้าง ซึ่งมีทั้งในช่วงที่ระหว่างตั้งครรภ์ ไปจนถึงช่วงหลังคลอด อันตรายเหล่านี้เกิดขึ้นได้ต่อทั้งคุณแม่ และทารกน้อย
บทความที่เกี่ยวข้อง : คันขา ยุบยิบขา ก้มไปดูไม่มีอะไร กลุ่มอาการขาอยู่ไม่สุข คนท้องเสี่ยงไหม ?
วิดีโอจาก : RAMA Channel
ภาวะแทรกซ้อนในครรภ์แฝดขณะตั้งครรภ์
จุดที่สังเกตจากภาวะแรกที่เด่นชัด คือ การที่คุณแม่มีอาการแพ้ท้องที่รุนแรงมากกว่าปกติ สังเกตจากการคลื่นไส้อาเจียนหนัก และเกิดขึ้นบ่อย หรือมีอาการแสบร้อนกลางอกบ่อย ๆ เป็นต้น นอกจากนี้ยังเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ในช่วงที่กำลังตั้งครรภ์ หรือช่วงก่อนคลอด ดังนี้
- ครรภ์เป็นพิษ : การเกิดครรภ์เป็นพิษช่วงครรภ์แฝด เกิดจากความเสี่ยงที่จะเป็นความดันโลหิตสูงมากขึ้นของแม่ท้องแฝด ซึ่งเป็นภาวะอันตราย หากมีความดันสูงประกอบกับปริมาณโปรตีนที่มากในปัสสาวะร่วมด้วย จะทำให้เสี่ยงต่อภาวะครรภ์เป็นพิษได้ ซึ่งเป็นภาวะอันตรายที่ไม่มีแม่ท้องคนไหนอยากเสี่ยงแน่นอน แต่ถ้าหากแม่ท้องทำการฝากครรภ์ไว้จะเพิ่มความปลอดภัยได้เช่นกัน
- เพิ่มโอกาสเสียบุตร : แม้การมีลูกแฝดจะเห็นได้ทั่วไปหลายครั้ง แต่แม่ท้องรู้หรือไม่ว่า การมีลูกแฝด จะทำให้เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแท้งบุตร เสี่ยงต่อการสูญเสียทารกในครรภ์ไปมากกว่าปกติด้วยเช่นกัน
- เสี่ยงต่อโรคต่าง ๆ : แม่ท้องหลายคนอาจกังวลเกี่ยวกับบางโรคที่มักพบเจอในช่วงที่กำลังตั้งครรภ์ โดยเฉพาะโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ และภาวะโลหิตจาง ซึ่งการมีลูกแฝดเอง หากดูแลไม่ดี ก็เสี่ยงทำให้คุณแม่เสี่ยงโรคเหล่านี้ได้ด้วยเช่นกัน
- คลอดก่อนกำหนด : โดยทั่วไปแล้วครรภ์แฝดจะช่วยเพิ่มโอกาสเกิดการคลอดก่อนกำหนด ยิ่งมีทารกมากเท่าไหร่ก็ยิ่งเสี่ยงมากเท่านั้น ซึ่งการที่ทารกคลอดก่อนกำหนด จะทำให้มีปัญหาด้านพัฒนาการ และการเติบโตได้
- อันตรายจากการคลอด : โดยทั่วไปแล้วการคลอดครรภ์แฝด แพทย์จะต้องใช้เครื่องมือช่วยมากกว่าปกติ นอกจากนี้การคลอดครรภ์แฝด ยังมีสถิติระบุว่ามีโอกาสทำให้คุณแม่เสียชีวิตมากกว่าการคลอดครรภ์ทั่วไปถึง 2.5 เท่า
ผลกระทบหลังคลอดครรภ์แฝดต่อคุณแม่ และทารก
นอกจากระหว่างการตั้งครรภ์ หรือในขณะคลอด ในช่วงหลังจากที่คุณแม่คลอดครรภ์แฝดออกมาแล้ว ก็ยังมีโอกาสที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อน หรืออาการผิดปกติต่าง ๆ ตามมาได้ด้วยเช่นกัน ตัวอย่างเช่นการเกิดภาวะซึมเศร้าหลังจากคลอด หรือการเกิดภาวะตกเลือดที่สามารถพบได้ทั้งในช่วงก่อนคลอด และหลังคลอด ในส่วนของทารกนั้น ก็ได้รับผลกระทบ และเสี่ยงต่อการเกิดภาวะอันตรายต่าง ๆ เยอะไม่ต่างจากคุณแม่ ดังนี้
- ทารกจะมีความเสี่ยงต่อภาวะทารกในครรภ์เจริญเติบโตช้า หรือ IUGR คือทารกมีลักษณะตัวที่เล็ก แต่ยังสามารถมีสุขภาพที่แข็งแรงได้ หากได้รับการดูแลจากแพทย์ หากมีการตรวจเจอในขณะตั้งครรภ์แพทย์จะพิจารณาทำการผ่าคลอดก่อนกำหนด
- ขณะที่ทารกอยู่ในครรภ์ อาจมีการถ่ายเลือดให้กัน ทารกที่สูญเสียเลือดจะทำให้มีขนาดตัวเล็ก และเสี่ยงต่อภาวะโลหิตจาง ในขณะที่ทารกอีกคนอาจรับเลือดปริมาณมากเกินไป เสี่ยงต่อการเกิดหัวใจวายได้
- เสี่ยงต่อการเกิดโรคพิการแต่กำเนิด เช่น โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด ซึ่งเป็นโรคร้ายแรง ที่สามารถพบได้ในทารกจากครรภ์แฝดมากกว่าครรภ์ทั่วไปถึง 2 เท่า
- เสี่ยงต่อการเกิดภาวะความผิดปกติหลังจากคลอดไปแล้วในระยะยาว โดยอาการเหล่านี้ไม่ได้แสดงออกมาให้เห็นทันทีหลังคลอด เช่น ปัญหาด้านการสื่อสาร การแสดงออกผ่านพฤติกรรม และการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่ผิดปกติ เป็นต้น
- การมีทารกที่เกิดจากครรภ์แฝดนั้น จะทำให้เสี่ยงต่อการรับสารอาหารที่ไม่พอดี เพราะคุณแม่ต้องให้นมทารกมากกว่า 1 คนนั่นเอง โดยเฉพาะในช่วง 6 เดือนแรกเป็นอย่างน้อย ที่ทารกควรได้รับแต่เพียงนมของคุณแม่เท่านั้น
การป้องกันภาวะแทรกซ้อนในครรภ์แฝด
การเกิดขึ้นของครรภ์แฝดมักมาจากความไม่ได้ตั้งใจ เพราะนอกจากความสวยงามของคู่แฝดที่เกิดออกมาแล้ว ทำให้มีผู้คนสนใจอยากติดตาม แต่เบื้องหลังนั้นมีความเสี่ยงมากมาย ดังนั้นหากคุณแม่พบว่าตนเองกำลังตั้งครรภ์แฝดอยู่ ควรดูแลตนเองเบื้องต้น ดังนี้
- การมีครรภ์แฝดที่ปลอดภัยมากที่สุดควรเริ่มจากการไปฝากครรภ์ และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด ไปพบแพทย์ตามนัดทุกครั้ง เพราะการฝากครรภ์ครอบคลุมไปถึงการตรวจครรภ์ที่เกี่ยวข้อง ทำให้สามารถตรวจพบภาวะความผิดปกติต่าง ๆ ได้
- คอยสังเกตอาการของตนเองอยู่ตลอดเวลา หากพบความผิดปกติ เช่น มีอาการอาเจียนมาก ปวดท้องรุนแรง ใบหน้ามือ และเท้าบวมเฉียบพลัน เป็นต้น หากมีอาการเหล่านี้ควรพบแพทย์ทันที นอกจากนี้ยังรวมไปถึงอาการอื่น ๆ ที่คุณแม่อาจไม่สบายใจ หรือมีความสงสัย ก็ควรไปพบแพทย์เช่นกัน
- ดูแลสุขภาพขั้นพื้นฐานให้ดี พักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำสะอาดมาก ๆ พยายามหลีกเลี่ยงความเครียด นอกจากนี้ควรงดแอลกอฮอล์ และออกกำลังกายเบา ๆ เช่น เล่นโยคะ หรือการว่ายน้ำ ซึ่งควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์ก่อนเสมอ
- ระมัดระวังเรื่องของการทานอาหารจะต้องทานให้ครบ 5 หมู่ อะไรที่แพทย์ห้ามทานก็ต้องไม่กินจริง ๆ ประกอบกับการกินยาต่าง ๆ แม้จะกินเป็นปกติก่อนตั้งครรภ์ แต่การกินยาทุกชนิดในตอนตั้งครรภ์ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนเสมอ
- ควรห่างจากบุหรี่ จากการศึกษาพบว่าหากแม่ท้องมีพฤติกรรมติดบุหรี่ ไม่ใช่แค่ครรภ์แฝดเท่านั้น แต่ครรภ์ทั่วไปก็จะได้รับผลกระทบ จากการที่รกจะต้องทำงานหนักมากขึ้นเพื่อส่งออกซิเจนไปให้ทารก
การฝากครรภ์ถือเป็นทางเลือกที่ไม่ควรมองข้าม การดูแลครรภ์แฝดโดยแพทย์เป็นทางเลือกที่สามารถเพิ่มความปลอดภัยได้ดี หากคุณแม่มีข้อสงสัยเรื่องไหนเกี่ยวกับครรภ์แฝดยังสามารถสอบถามแพทย์ได้อีกด้วย
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
คนท้องเลือดออกใต้ผิวหนัง จุดแดง จุดม่วงใต้ผิว มาจากไหน อันตรายมากไหม ?
คนท้องเป็นฝี อาการติดเชื้ออันตราย สังเกตและรักษาอย่างไร ?
คนท้องเป็นวัณโรค เสี่ยงเชื้อส่งต่อทารกแรกเกิด มีความเสี่ยงรีบตรวจ
ที่มา : chulalongkornhospital.go.th, rama.mahidol.ac.th, pobpad.com