คุณแม่ ตั้งครรภ์ที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป เกินกว่าครึ่งที่ ติดเชื้อไวรัส แต่ว่าเชื้อนั้นไม่แสดงอาการ คุณแม่ จึงไม่รู้ตัว แต่นั่นก็ทำให้ลูกที่คลอดออกมาติดเชื้อไปด้วย จากผลรายงานของทีมวิจัยแห่ง University College London พบว่าเด็กแรกเกิดจะนวนกว่า 1000 คน ต่อปี คลอดออกมาพร้อม กับการติดเชื้อ Cytomegalovirus (CMV)
ไม่มีอาการ = ไม่รุนแรง ???
การติดเชื้อ ไซโตเมกาโลไวรัส เป็นการติดเชื้อที่พบได้บ่อย เนื่องจากร่างกายจะไม่มีอาการใด ๆ แสดงออกว่ากำลังติดเชื้อไวรัสตัวนี้อยู่ บางคนอาจจะแค่มีอาการคัดจมูก หรือ เป็นหวัดธรรมดาเท่านั้นเองค่ะ
แม้อาการที่แสดงใน ผู้ใหญ่จะน้อย แต่ไม่ใช่ว่าเด็ก ๆ ที่ติดเชื้อไวรัสนี้จะแสดงอาการน้อยไปด้วย เด็กทารกที่มีการติดเชื้อ จะสูญเสียการได้ยิน สูญเสียการมองเห็น บกพร่องทางการเรียนรู้ หรือ อาจจะถึงขั้นสมองพิการ หรือ เป็นโรคลมชักได้
ทำไมถึงรุนแรงในเด็ก แต่ไม่เกิดอาการในผู้ใหญ่
ติดเชื้อไวรัส เนื่องจากผู้ใหญ่มีภูมิคุ้มกันในระดับที่ เชื้อไวรัสตัวนี้ไม่สามารถทำให้เกิด อาการร้ายแรงได้ ภูมิคุ้มกันของ ผู้ใหญ่ที่มีร่างกายแข็งแรงจะ สามารถจัดการกับเชื้อไวรัสได้ อย่างง่ายดายมาก ๆ กลับกันในผู้ใหญ่ที่มีร่างกายอ่อนแอ หรือ มีภูมิคุ้มกันลดลง เหมือนร่างกายของ คุณแม่ ขณะตั้งครรภ์ การแสดงออกของอาการก็จะมากขึ้น แต่ก็ยังไม่มากจนทำให้ คุณแม่ ส่วนใหญ่ผิดสังเกต ๆ
แต่การแสดงอาการของ เชื้อไวรัส ในเด็กเป็นคนละเรื่องกันเลย เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันของเด็ก ๆ ที่อยู่ในครรภ์ คุณแม่ ยังไม่เจริญเติบโตเต็มที่ เป็นตัวอ่อนที่ยังอ่อนแออยู่มาก ๆ เชื้อไวรัสจึงโจมตีได้ อย่างง่ายดายยังไงละคะ ๆ
แม่ที่เป็นหวัดระหว่างตั้งครรภ์ ทำให้เด็กเสี่ยงเป็นโรคอารมณ์สองขั้วมากขึ้น
หนทางแก้ไข การป้องกัน จะทำยังไงได้บ้าง
หากลูก ติดเชื้อตั้งแต่อยู่ในครรภ์แล้ว การป้องกันแทบ จะเป็นไปไม่ได้เลยค่ะ ในทารกที่มี ร่างกายแข็งแรงอาการจะเหมือนของ ผู้ใหญ่ คือไม่มีอาการใด ๆ แสดงออกมา นั่นหมายถึงภูมิคุ้ม กันของลูกทานได้ดีแล้ว แต่ถ้าหากทารกติด เชื้อตอนที่ภูมิคุ้มกันยังทำงานได้ไม่ดี ก็จะแสดง อาการข้างต้น ซึ่งเป็นอาการที่ร้ายแรงเกินกว่าที่จะ แก้ไขแล้วละค่ะ
สำหรับ คุณแม่ ที่คลอดลูกออกมาแล้วนั้น อยากจะป้องกัน การติดเชื้อของไวรัส การแพร่เชื้อของ ไวรัส จะมาจากสารคัดหลั่งต่าง ๆ เช่น น้ำลาย น้ำมูก ปัสสาวะ คุณแม่ จึงต้องทำให้แน่ใจว่าลูกจะไม่ ไม่เสี่ยงสัมผัสสารคัดหลั่งเหล่านี้จากใครก็ตาม รวมไปถึงคนในครอบครัวด้วย
หลีกเลี่ยงการจุ๊บปาก หรือ กินข้าวจานเดียวกัน ช้อนเดียวกัน เปลี่ยนเป็นการ หอมแก้ม หอมหน้าผากลูก แยกภาชนะสำหรับรับประทานอาหาร หมั่นล้างมือทั้งคุณแม่ และ คุณลูก ก็สามารถช่วยป้องกันได้ค่ะ
ที่มา goodhousekeeping
theAsianparent Thailand เว็บไซต์ ข้อมูลคุณภาพ และ สังคม คุณแม่ ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ และ เอเชีย เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ แหล่งความรู้ คุณแม่ และ เด็ก รวมถึงแอพพลิเคชั่น theAsianparent Thailand ที่ติดตามการตั้งครรภ์ให้ คุณแม่ ได้ลงทะเบียนใช้งาน เพื่อติดตามพัฒนาการทารกตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงติดตามหลังคลอดที่ครอบคลุมที่สุด และ ผู้ใช้งานสูงสุดในประเทศไทย นอกจากความรู้ยังมีไลฟ์สไตล์ และ สื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ไม่ว่าสุขภาพ คุณแม่ และ เด็ก โภชนาการ คุณแม่ และ เด็ก กิจกรรมสำหรับครอบครัว
การวางแผนครอบครัวไปจนถึง การดูแลลูก การศึกษา และ จิตวิทยาเด็ก theAsianparent Thailand เราพร้อมสนับสนุน คุณพ่อ คุณแม่ ทุกท่าน ให้มีความรู้และ มีสุขภาพกายใจเข้มแข็ง เพื่อเสริมสร้าง ครอบครัวอย่างแข็งแรง
เพราะเราเชื่อว่า “ พ่อแม่ เข้มแข็ง ครอบครัว แข็งแรง”
บทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
โรคไขสันหลังอ่อนแอเฉียบพลัน ทำเด็กตายไปแล้ว 2 คน
เด็กศีรษะเล็กอาจไม่ได้เกิดจากไวรัสซิกาเพียงอย่างเดียว
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!