X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

กวดวิชาแย่งเวลาของลูกไปจากพ่อแม่ เด็กไทยต้องแบกความคาดหวังของพ่อแม่

บทความ 3 นาที
กวดวิชาแย่งเวลาของลูกไปจากพ่อแม่ เด็กไทยต้องแบกความคาดหวังของพ่อแม่

กวดวิชาแย่งเวลาของลูกไปจากพ่อแม่ เพียงเพราะพ่อแม่อยากให้ลูกได้เข้าเรียนในโรงเรียนดีๆ จนเด็กไม่มีเวลาเล่น ไม่มีเวลาทำในสิ่งที่ตนเองชอบ ปัญหาที่พบบ่อยในไทย

กวดวิชาแย่งเวลาของลูกไปจากพ่อแม่

เด็กเรียนหนัก การบ้านเยอะ โดนกดดันจากผู้ใหญ่ ความเป็นจริงที่เด็กได้รับในแต่ละวัน เมื่อเด็กเกิดมาพร้อมกับความคาดหวังของพ่อแม่ที่อยากให้ลูกได้เข้าเรียนโรงเรียนดังๆ ได้ประสบความสำเร็จในชีวิตการงาน เรียนสูงๆ ตำแหน่งดีๆ เป็นที่นับหน้าถือตา สิ่งเหล่านี้เองที่ทำให้เด็กต่างพากันต้องเรียนให้หนัก ติวให้หนักเพื่อที่จะได้สอบเข้าแข่งขันกับผู้อื่นได้ จนบางครั้งทำให้พ่อแม่ลูกไม่เคยมีปฎิสัมพันธ์ระหว่างกัน หรืออาจเรียกได้ว่า กวดวิชาแย่งเวลาของลูกไปจากพ่อแม่

โดยหมอเดว-รศ.นพ.สุริยเดว ทรีปาตี กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการเด็กและวัยรุ่น ได้ให้สัมภาษณ์ในผู้จัดการออนไลน์ เกี่ยวกับปัญหาการศึกษา จนเด็กต้องหันมาร้องขอเวลา จากในเพจ “บันทึกหมอเดว” โดยขอสรุปมาไว้ดังนี้

โดยคุณหมอเล่าว่า เจอเคสที่เด็กเรียนหนัก ติวหนัก การบ้านเยอะ กดดันหนัก ทุกวัน ทุกเทอม ทุกปี และเจอเคสแบบนี้เยอะมาก อย่างกรณีนี้ ที่คุณหมอสะท้อนใจหมอมากๆ คือ เด็กร้องขอเวลา ไม่ต้องโทษพ่อแม่แต่ต้องโทษความเป็นจริงระบบการศึกษาแพ้ออกที่เกิดขึ้นในเด็กเล็ก

จุดเริ่มต้นมาจากการที่เด็กผู้หญิงคนหนึ่งที่กำลังเรียนอยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนแห่งหนึ่ง คุณครูได้แนะนำให้มาพบเพื่อให้ยาสมาธิสั้น ขาดความรับผิดชอบ แต่คุณหมอได้ฟังเรื่องราวแล้ว สารสารมาก ด้วยความที่เป็นแม่เลี้ยงเดี่ยวที่รักลูกมากแต่ต้องทำงานหนัก กลับบ้านดึกลูกหลับ ต้องให้ตายายช่วยเลี้ยงหลาน รับส่งหลาน

ในชีวิตประจำวันเด็กต้องตื่นตี 5 ออกจากบ้าน 6 โมงเช้ากินข้าวบนรถ ถึงโรงเรียน 7 โมงเช้า แล้วต้องรับการบ้านมาทำก่อนเข้าเรียน ทำเสร็จก็ต้องเข้าแถว เข้าเรียนแต่ก็เรียนหนักเพราะเด็กต้องเรียนของชั้นที่โตกว่าคือ ป. 5 เลิกเรียนบ่าย 3 ครึ่ง ก็ต้องไปกวดวิชา เลิกเกือบ 5 โมงเย็น กินข้าวเย็นบนรถ มาถึงบ้านต้องรีบทำการบ้าน ส่วนคุณตาก็เข้มกับหลานมาก อยากให้หลานเข้าโรงเรียนดัง ก็ให้ท่องอาขยาน ศัพท์ภาษาอังกฤษทุกวัน กว่าจะนอนก็ 3-4 ทุ่ม วันเสาร์ ก็ต้องไปกวดวิชา 2-3 ที่ กลับมาต้องรีบทำการบ้าน วันอาทิตย์ก็ต้องกวดวิชา แล้วก็ทำการบ้านอีก ทำให้เด็กไม่มีเวลาให้แม่เลย ทั้งๆ ที่แม่มีเวลา ใครขโมยเวลา ใครมาโทษว่าขาดความรับผิดชอบ ใครเป็นคนกดดันเด็ก ครูก็ดุ การบ้านก็เยอะแถมมีทุกวัน

กวดวิชาแย่งเวลาของลูกไปจากพ่อแม่

กวดวิชาแย่งเวลาของลูกไปจากพ่อแม่

คำแนะนำจากคุณหมอ

การพบเจอกับเรื่องราวแบบนี้บ่อยๆ คุณหมอได้ตั้งคำถามว่า ทำไมถึงต้องเอาความรักมาเปลี่ยนเป็นความคาดหวัง กดดันเด็ก ควรที่จะให้เด็กมีชีวิตตามที่เด็กอยากจะเป็นจะดีกว่า โดยคุณหมอได้แสดงความคิดเห็นไว้ ดังนี้

1. ทัศนคติของผู้ปกครอง

คุณหมอบอกว่า วิธีเยียวยาที่จำเป็นต้องทำ อาจต้องเปลี่ยนกระแสนิยมของพ่อแม่ ต้องเข้าใจว่าประเทศชาติบ้านเมืองไม่ได้มีแค่บางอาชีพเท่านั้นที่มีความหมาย ทุกอาชีพมีความหมาย ต้องไม่เลี้ยงลูกแบบเปรียบเทียบ

2. ระบบการศึกษา

ไม่ควรใช้ระบบแพ้คัดออกกับเด็กเล็ก ในชั้นอนุบาลและชั้นประถม เพราะเท่ากับรังแกเด็ก เนื่องจากเด็กที่มีอายุน้อยกว่า 10 ปี เพิ่งที่จะปรับตัวเข้าสังคม เข้ากับโรงเรียน เริ่มที่จะเข้าสู่กระบวนการมีเพื่อน กำลังหาจุดถนัดของตัวเอง ควรมีเฉพาะเด็กโต

3. การรับคนเข้าทำงาน

ให้ดูเด็กที่ความสามารถไม่ต้องดูที่ใบปริญญา เวลาที่ระบุคุณสมบัติในการรับเข้าทำงาน ไม่ควรระบุที่เกรดต้องเท่าไหร่ แต่ให้เอาความสามารถพื้นฐานเลย ถ้าไม่มีความสามารถพื้นฐาน ก็ไม่มีงาน

4. กระทรวงที่เกี่ยวข้อง

ควรช่วยกระตุกต่อมจิตสำนึก และดึงจิตวิญญาณความเป็นครูกลับมา ช่วยดูแลลูกหลานด้วยความรักและหัวใจ ไม่ใช่หลับหูหลับตา คุณไม่ได้มาดูที่หน้างาน เด็กกำลังรับกรรมขนาดไหน เขาไม่รู้หรอก แล้วเขาก็ยังนิยมชมชอบ เพราะคิดอย่างอื่นไม่เป็น ไม่เห็นภาพความจริง

ทั้งนี้ คุณหมอยังทิ้งท้ายอีกว่า ระบบการศึกษาไทย เกิดความล้มเหลวสะสมมานานมาก นี่จึงเป็นเหตุทำให้อัตราการฆ่าตัวตายของเด็กก็มีเพิ่มสูงเช่นกัน คุณไปใช้ระบบแพ้คัดออกโดยลืมซึ่งวิชาชีวิต ลืมเรื่องจิตสำนึกอะไรต่างๆ เหล่านี้ มันขโมยธรรมชาติ ขโมยเวลาไป ลืมหัวใจความเป็นมนุษย์ นี่จึงทำให้เห็นอัตราฆ่าตัวตายของเด็กสูงมาก เราจะไม่วนหลูบนั้นใช่ไหม เราไม่ได้ต้องการอัตราฆ่าตัวตายของเราเพิ่มขึ้นใช่ไหม จึงจำเป็นจะต้องมาช่วยกัน

หมอเดว-รศ.นพ.สุริยเดว ทรีปาตี

หมอเดว-รศ.นพ.สุริยเดว ทรีปาตี

 

อ่านบทความเต็มๆ ได้จาก: ผู้จัดการออนไลน์

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ:

พ่อแม่ต้องอ่าน! วิธี เลี้ยงลูกให้ประสบความสำเร็จ เลี้ยงลูกให้ฉลาด วิธีจากวิจัย!

พ่อแม่เจ้ากี้เจ้าการ เข้มงวดกับลูกมากเกินไป ยิ่งทำให้ชีวิตลูกดิ่งลงเหว!

การบ้านสำหรับเด็กอนุบาลเป็นสิ่งจำเป็นรึเปล่านะ?

บทความจากพันธมิตร
เคล็ดลับเนรมิตห้องครัวให้เรียบหรู ทันสมัย และถูกใจคนใช้งานจริง
เคล็ดลับเนรมิตห้องครัวให้เรียบหรู ทันสมัย และถูกใจคนใช้งานจริง
ชี้เป้า ประกันสุขภาพลูก ลดภาระทางการเงินเมื่อลูกเจ็บป่วย ช่วยให้ได้รับการรักษาอย่างดีที่สุด
ชี้เป้า ประกันสุขภาพลูก ลดภาระทางการเงินเมื่อลูกเจ็บป่วย ช่วยให้ได้รับการรักษาอย่างดีที่สุด
ประกันสำหรับเด็ก เลือกแบบไหนดี มีไว้อุ่นใจ คุ้มครองครบ มีทุนสำรองเพื่ออนาคตของลูกรัก
ประกันสำหรับเด็ก เลือกแบบไหนดี มีไว้อุ่นใจ คุ้มครองครบ มีทุนสำรองเพื่ออนาคตของลูกรัก
เพราะการศึกษาลูกเป็นสิ่งสำคัญ เพิ่มความมั่นคงทางการเงินในอนาคต ด้วยประกันสะสมทรัพย์ Saving 20/10
เพราะการศึกษาลูกเป็นสิ่งสำคัญ เพิ่มความมั่นคงทางการเงินในอนาคต ด้วยประกันสะสมทรัพย์ Saving 20/10

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Khunsiri

  • หน้าแรก
  • /
  • ชีวิตครอบครัว
  • /
  • กวดวิชาแย่งเวลาของลูกไปจากพ่อแม่ เด็กไทยต้องแบกความคาดหวังของพ่อแม่
แชร์ :
  • ลูกเรียนหนักเกินไป พ่อแม่ยุคใหม่ ควรหยุดสร้างความกดดันให้ลูก

    ลูกเรียนหนักเกินไป พ่อแม่ยุคใหม่ ควรหยุดสร้างความกดดันให้ลูก

  • เด็กไทยแบกกระเป๋านักเรียนหนักเกินตัว อันตราย! ร่างกายบาดเจ็บ มีผลต่อการเรียนรู้

    เด็กไทยแบกกระเป๋านักเรียนหนักเกินตัว อันตราย! ร่างกายบาดเจ็บ มีผลต่อการเรียนรู้

  • ลูกเรียนหนักเกินไป พ่อแม่ยุคใหม่ ควรหยุดสร้างความกดดันให้ลูก

    ลูกเรียนหนักเกินไป พ่อแม่ยุคใหม่ ควรหยุดสร้างความกดดันให้ลูก

  • เด็กไทยแบกกระเป๋านักเรียนหนักเกินตัว อันตราย! ร่างกายบาดเจ็บ มีผลต่อการเรียนรู้

    เด็กไทยแบกกระเป๋านักเรียนหนักเกินตัว อันตราย! ร่างกายบาดเจ็บ มีผลต่อการเรียนรู้

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ