ใคร ๆ ก็กลัวว่าลูกจะแพ้ลูกลูกของเพื่อน ๆ คุณแม่หลายคนจึงบังคับ ให้ลูกฝึกเรียนก่อนเข้าเรียนตั้งแต่เนิ่น ๆ เช่นเดียวกับ เด็ก 4 ขวบคนนี้ ที่จะต้อง ท่องจำถึงเที่ยงคืน ถ้าลูกจำบทเรียนไม่ได้ แม่ก็จะตบหน้าตัวเอง ทำให้เด็กคนนี้ กลัวมาก
บังคับเด็ก 4 ขวบ ท่องจำถึงเที่ยงคืน ทำไม่ได้แม่ลงโทษตัวเองเพื่อบังคับลูก
แม่บังคับ ให้ลูกท่องจำถึงเที่ยงคืน
คุณแม่อาจจะคุ้นเคยกับระดับก่อนประถมศึกษามากเกินไป โดยเฉพาะในยุคนี้ โปรแกรมการเรียนการสอนนั้นรวดเร็วมาก หากไม่ให้ลูก อ่าน เขียน ก่อนเข้าเรียนชั้น ป.1 ได้ ก็กลัวว่าลูกจะตามไม่ทัน แต่การปล่อยให้เด็กเรียนรู้เร็วเกินไป ก็ไม่ได้ดีต่อเด็ก โดยเฉพาะเด็กที่ยังอายุน้อยเกินไป ซึ่งเด็กหญิงคนนี้ อายุเพิ่งจะ 4 ขวบเท่านั้น แต่ถูกแม่บังคับให้เรียน ในขณะที่อายุของเด็กวัยนี้ คือ วัยกำลังเล่น กิน และนอน
เรื่องราวนี้ถูกเผยแพร่ผ่านโลกออนไลน์ ทำให้หลายคนกังวลเกี่ยวกับการบังคับให้ลูกเรียนรู้เร็วมากเกินไป วิธีที่พ่อแม่ข่มขู่เด็กก็กดดันทางด้านจิตใจของเด็ก
เด็กหญิงวัย 4 ขวบ ในสายตาของทุกคนเป็นเด็กที่เชื่องและฉลาดในโรงเรียนอนุบาล เมื่อมีคนทำของเล่นเลอะ เธอก็จะเข้าไปทำความสะอาด เมื่อมีเพื่อนใหม่เข้ามา เธอก็เข้าไปเล่นด้วย แถมเธอยังอ่านและเขียนได้เร็วกว่าเพื่อน ๆ ในชั้นเรียน ไม่น่าเชื่อว่านี่จะเป็นเด็กอายุเพียงแค่ 4 ขวบเท่านั้น
แต่เบื้องหลังของหนูน้อยคนนี้ ช่างน่าหดหู่ยิ่งนัก เมื่อแม่ของเธอฝึกตั้งแต่อายุยังน้อย และมีอยู่วันหนึ่ง เด็กหญิงคนนี้ไม่สามารถจดจำบทเรียนได้ ทำให้แม่ตบหน้าตัวเองเพื่อขู่ให้เด็กกลัว และไม่ยอมให้หนูน้อยเข้านอนไว และทุกครั้งที่ลูกของเธออ่านติดขัด สะดุด เธอก็จะตบหน้าตัวเองทุกครั้งที่เด็กทำไม่ได้ ทำให้ลูกของเธอกลัวมาก
เธอบอกว่า “อ่านผิดครั้งเดียว ฉันจะตบเอง” เด็กน้อยได้ยินแบบนี้ และใบหน้าแม่ที่โมโห ทำให้หนูน้อยยิ่งกลัวแม่ตัวเองเข้าไปใหญ่ แม่ตบหน้าตัวเองซ้ำแล้วซ้ำเล่า เด็กหญิงตัวเล็ก ๆ จึงกลัวและคิดว่าการที่แม่ตบหน้าตัวเองเป็นการหลอกหลอนจิตใจของเธอเป็นอย่างมาก
อย่าปล่อยให้ลูกโต ในความคิดที่ว่าจะโทษพ่อแม่
พ่อแม่ บังคับลูก ขู่ลูกให้อ่านหนังสือ
รูปแบบการเลี้ยงลูกของแม่ จากเคสกรณีข้างต้น การลงโทษตัวเองเพื่อให้ลูกรู้สึกผิดต่อพ่อแม่ มันน่ากลัว กว่าการตะโกนใส่หน้าเด็ก และนี่เป็นการทรมานทางจิตใจ ทำให้เด็กกลัวและรู้สึกว่า เขาทำอะไรผิด และอาจส่งผลให้เด็กมีปัญหากดดันทางด้านจิตใจ
พ่อแม่ที่จงใจทำให้ลูกรู้สึกผิดต่อพ่อแม่ แล้วยอมทำทุกอย่างเพื่อให้พ่อแม่รักนั้นน่ากลัวมากจริง ๆ มีคำศัพท์ทางจิตวิทยาที่เรียกว่า Little Big Man syndrome ซึ่งหมายถึงคนที่ไม่ได้รับความรักอย่างเต็มที่ตั้งแต่อายุยังน้อยถูกบังคับให้กลายเป็นคนอ่อนไหวและห่วงใย
การวิจัยทางจิตวิทยาเด็กพบว่า ความเข้าใจ ที่ไม่เหมาะสมตามวัย ทำให้ต้องเสียความรู้สึก และความต้องการอย่างแท้จริง เด็กที่โตมาภายใต้การควบคุมของพ่อแม่ จะทำให้พ่อแม่พอใจ แม้จะเชื่อฟังจากภายนอก แต่ภายในนั้น อาจไม่ได้รักพ่อแม่เสมอไป ศาสตราจารย์มอนเตสซอรี่กล่าวว่าการบังคับเด็กให้เชื่อฟังเจตจำนงของผู้ใหญ่เป็นความผิดพลาดครั้งใหญ่ที่สุด และน่าอายที่สุดของผู้ใหญ่ และวิธีที่พ่อแม่ลงโทษตัวเอง เพื่อข่มขู่เด็กนั้นผิดยิ่งกว่า
เลี้ยงลูกด้วยคำขู่ของพ่อแม่อันตราย !
ขู่ลูกมาก ส่งผลต่อตัวเด็กในอนาคต
การขู่ลูกเป็นการสอนลูกที่ผิด เพราะเป็นการทำร้ายลูกทางอ้อม และอาจจะส่งผลเสียต่อลูกในอนาคตได้อีกด้วย
เด็กที่อยู่ในวัยกำลังเรียนรู้ อยากเล่น อยากเห็น อยากลองสิ่งใหม่ ๆ หากพ่อแม่ขู่บ่อย ๆ เด็กจะเกิดความกลัวและปิดกั้นตัวเอง ไม่กล้าทำ ไม่กล้าลองสิ่งใหม่ ๆ จนทำให้เด็กพลาดโอกาสหลายอย่าง
บทความที่เกี่ยวข้อง : ลูกไม่กล้าแสดงออก ทำอย่างไรดีลูกขี้อาย มาเสริมสร้าง Self-Esteem ให้ลูกกัน
เมื่อเข้าสู่วัยเรียน เด็กก็จะไม่ใฝ่รู้ ใฝ่เรียนอีกต่อไป เพราะคิดว่าพ่อแม่จะคอยป้อนความรู้ตลอด เมื่อเกิดข้อสงสัยก็ไม่กล้าที่จะถาม เพราะกลัวว่าตัวเองจะโดนว่า อย่าที่เคยโดน อีกทั้ง เด็กจะไม่รู้ว่าตัวเองอยากทำอะไร หรือไม่อยากทำอะไร
นอกจากทำให้เด็กไม่กล้าลองทำอะไรใหม่ ๆ แล้ว การได้พบปะเพื่อนฝูงก็จะยากเช่นกัน เพราะจะทำให้เด็กมีความกังวล ไม่มั่นใจในตัวเอง โตขึ้นก็จะเป็นคนที่ชอบเก็บตัวเงียบมากกว่าไปสังสรรค์ มีปัญหาด้วยความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง หวาดระแวง ไม่รู้วิธีเริ่มต้น หรือการทักทายคนอื่น และอาจจะส่งผลกระทบในชีวิตประจำวัน รวมถึงโรคซึมเศร้าได้อีกด้วย
หากพ่อแม่ทำการขู่ หรือกระทำรุนแรงต่อเด็ก เมื่อเด็กโตขึ้น ก็จะเลียนแบบพฤติกรรมแบบนี้ที่พ่อแม่เคยทำมาก่อน ใช้ความรุนแรง และเมื่อเด็กโดนทุกวัน ๆ จะเกิดความเคยชิน และในระยะยาวเด็กก็จะไม่เชื่อฟัง และแสดงอาการต่อต้านที่ก้าวร้าวมากขึ้น
บทความอื่น ๆ ที่คุณอาจจะสนใจ :
ทำไมลูกก้าวร้าว ต้นตอของปัญหาความก้าวร้าวในตัวเด็ก มีแบบไหนบ้าง
การขู่ลูก ดุเด็ก พ่อแม่ชอบขู่ลูก ส่งผลต่อพัฒนาการเด็ก พัฒนาการทารก เลิกหลอกลูกให้กลัวได้แล้ว
8 พฤติกรรมไม่ดีของลูก ที่พ่อแม่ควรแก้ไขให้เร็วที่สุด
ที่มา : www.webtretho.com
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!