พฤติกรรมไม่ดี ของลูกที่พ่อแม่ต้องรีบแก้ไขให้เร็วที่สุด เช่น ลูกชอบกรี๊ด ชอบตะโกน ชอบโยนสิ่งของ ไม่ใช่แค่สร้างความรำคาญใจให้แก่คนรอบข้างเท่านั้น เพราะยังไม่พฤติกรรมไม่ดีของลูกอีกหลายๆ การกระทำที่สร้างความเครียดให้พ่อแม่ และอาจทำให้เด็กติดนิสัยที่ไม่ดีไปจนโต ซึ่งส่งผลเสียต่อตัวเด็กเองในการเข้าสังคม ไม่ว่าจะเป็นสังคมที่โรงเรียน การเข้ากับเพื่อน หรือเวลาพาพวกเขาไปเที่ยวตามสถานที่ต่างๆ ซึ่งพ่อแม่ควรใส่ใจแต่สังเกตพฤติกรรมไม่ดีของลูกๆ ว่ามีอะไรและสามารถแก้อย่างไรได้บ้าง
พฤติกรรมไม่ดี ของลูก 8 ข้อ ที่พ่อแม่ต้องคอยสังเกตและรีบแก้ไขด่วน
พฤติกรรมไม่ดีของลูกหลายๆ อย่าง ไม่ว่าจะเป็นการส่งเสียงกรี๊ด ดึงผม ตีตัวเอง ล้วนเป็นพฤติกรรมไม่ดีของเด็กๆ แม่พ่อแม่อาจมองว่าลูกยังเล็ก ไม่เป็นไรหรอก แต่หารู้ไม่ว่า หากเด็กๆ กระทำพฤติกรรมไม่ดีเหล่านี้ด้วยความเคยชิน อาจทำให้ลูกเข้าใจว่านั่นคือสิ่งที่ถูกและใครๆ ก็ทำกัน ซึ่งพ่อแม่ควรทราบว่า พฤติกรรมเหล่านี้มีสาเหตุมาจากอะไร จะได้ปรับพฤติกรรมของลูกให้ดีขึ้น
1. พฤติกรรมไม่ดีของลูกชอบกรี๊ด
คือพฤติกรรมไม่ดีสำหรับเด็กและสร้างความรำคาญแก่คนทั่วไป สาเหตุมาจากพวกเขารู้สึกขัดใจแต่ยังพูดไม่ได้ หรือไม่สามารถบอกเหตุผลให้พ่อแม่เข้าใจได้ ลูกๆ จึงส่งเสียงกรีดร้องระบายอารมณ์ ถ้าพ่อแม่เห็นลูกกรี๊ดมักจะตามใจทุกครั้ง เพ่อให้ลูกรีบหยุดกรี๊ด ซึ่งลูกก็จะจดจำว่ากรี๊ดแล้ว เขาจะได้สิ่งที่ต้องการ และจะทำให้ลูกได้สิ่งที่ต้องการและทำเป็นนิสัย เมื่อไม่พอใจอะไรก็จะกรี๊ด และบางทีลูกอาจจะเลียนแบบพฤติกรรมมาจากคนรอบข้างด้วย
การแก้ไขพฤติกรรมไม่ดีนี้
- พูดคุยและสนใจลูกอย่างใกล้ชิด การที่พ่อแม่หันไปสนใจลูกตอนกรี๊ด พวกเขาก็จะจดจำว่านั่นเป็นเรื่องที่ดี ทำแล้วพ่อแม่สนใจ
- พยายามอย่าตามใจมากเกินไป สอนให้ลูกรู้จักควบคุมอารมณ์ตัวเอง หากผิดหวังหรือเสียใจก็ให้ระบายออกมาเป็นคำพูดมากกว่ากรีดร้อง
2. พฤติกรรมไม่ดีของลูกชอบดูดนิ้ว
ปัญหาเด็กพบได้บ่อยๆ ในวัยเด็กเล็ก ลูกที่ชอบดูดนิ้วนั้น มาจากการที่เด็กๆ ชอบสำรวจนิ้วมือตัวเอง หรือมีอาการคันเหงือกจากฟันที่กำลังจะขึ้น รวมถึงดูดนิ้วเพื่อแทนการสื่อสารว่า…หนูหิว การดูดนิ้วของลูกในช่วงขวบปีแรกจึงเป็นเรื่องปกติ และจะลดลงเองในช่วง 2-4 ขวบ ถ้าดูดนานกว่านั้นอาจทำให้ลูกฟันเหยินหรือการสบฟันผิดปกติได้
การแก้ไขพฤติกรรมไม่ดีนี้
- ลองเปลี่ยนความสนใจของลูกด้วยการใช้ของเล่นเข้าช่วย คือให้ของเล่นที่ต้องให้มือเล่นเป็นหลักเพื่อเบี่ยงเบนความสนใจ
- พฤติกรรมไม่ดีที่ลูกชอบเอานิ้วเข้าปาก เมื่อพ่อแม่เห็นลูกดูดนิ้ว แนะนำว่าค่อยๆ ดึงมือของลูกออกอย่างนิ่มนวลและหันเหความสนใจของลูก
- พ่อแม่อย่าเสียงดังดุลูกจนเขาตกใจ และอย่าบังคับหรือตีมือเพื่อให้เลิกลูกดูดนิ้ว เพราะนั่นจะยิ่งทำให้ลูกแสดงพฤติกรรมเหล่านี้มากขึ้น
บทความที่เกี่ยวข้อง: พัฒนาการการโกหกของเด็ก 2-12 ปีและวิธีรับมือ
3. พฤติกรรมไม่ดีของลูกชอบโกหก
แม้ว่าเด็กจะเข้าอยู่ในวัย 2-3 ขวบแล้ว แต่การจัดระบบความคิดนั้นยังไม่เข้าใจว่าพฤติกรรมแบบไหนดีหรือไม่ดี เพราะลูกยังไม่เข้าใจหรือยังไม่สามารถแยกแยะความจริงกับจินตนาการได้อย่างชัดเจน จึงทำให้ลูกพูดไปเรื่อยเปื่อยโดยไม่ได้ตรวจสอบกับโลกความเป็นจริง และลูกอาจกลัวการถูกลงโทษหรือทำให้พ่อแม่เสียใจในตัวพวกเขา พ่อแม่จึงควรหลีกเลี่ยงการใช้คำว่าลูกเป็นเด็กโกหก แม่ไม่รักแล้ว แม่ไม่ชอบเด็กโกหก
ทั้งนี้จะเป็นการตอกย้ำพฤติกรรมนี้เข้าไปในสมองลูกแทน แล้วพวกเขากลัวพ่อแม่ผิดหวัง จึงทำให้หลายครั้งสร้างพฤติกรรมไม่ดี แอบโกหกพ่อแม่ ดังนั้นเมื่อลูกโตขึ้นพอที่จะรู้ว่าแบบไหนคือการโกหก แต่ยังโกหกอยู่ก็อาจเป็นเพราะกลัวความผิดหรือไม่กล้าที่จะพูดความจริงออกมา หรือกลัวว่าการบอกความจริงจะทำให้พ่อแม่เสียใจ
การแก้ไขพฤติกรรมไม่ดีนี้
- ก่อนอื่นต้องเปิดใจคุยกับลูกให้มากขึ้น ให้ลูกกล้าสารภาพเมื่อทำผิดพลาด ถามเหตุผล คุยกับลูกให้มากขึ้น ฟังลูกให้มากขึ้น
- ห้ามตัดสินลูกด้วยความรุนแรง ไม่ว่าจะเป็นน้ำเสียงที่ดุดัน โวยวาย หรือใช้กำลังถึงขั้นตีถ้าจับได้ว่าพวกเขาโกหก การเรียนรู้พฤติกรรมของลูกและแสดงถึงความเข้าอกเข้าใจ เพื่อให้ลูกเกิดความไว้วางใจและกล้าที่จะคุยกับพ่อแม่ในทุกเรื่อง
4. พฤติกรรมไม่ดีของลูกชอบกัดเล็บ
พฤติกรรมที่ไม่ดีของลูกที่พบบ่อยๆ ในวัยเด็ก ชอบกัดเล็บ สังเกตได้ว่า เด็กๆ มักจะกัดเล็บเวลาเผลอ เหม่อลอย หรือมีสาเหตุมาจากความคับข้องใจ หรือความเครียด ในเด็กก็เกิดความเครียดได้ ซึ่งมีความกังวลต่อสถานการณ์บางอย่างที่เกิดรู้สึกไม่สบายใจ และลูกๆ ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ พวกเขาจึงใช้วิธีกัดเล็บเพื่อเรียกร้องความสนใจจากพ่อแม่ หรือเพื่อแสดงออกถึงความไม่สบายใจ
การแก้ไขพฤติกรรมไม่ดีนี้
- พยายามเข้าใจลูก เพราะปัญหาการกัดเล็บเป็นพฤติกรรมไม่ดีระดับพื้นฐานในการตอบสนองทางอารมณ์ที่พบได้บ่อยในเด็ก และส่วนใหญ่มักจะหายได้เอง ดังนั้นพ่อแม่ควรใจเย็นและหาสาเหตุว่าลูกไม่สบายใจหรือกังวลใจเรื่องอะไร
- พ่อแม่ลองลดพฤติกรรมไม่ดีอย่างการกัดเล็บนี้ด้วยการเบี่ยงเบนความสนใจ ด้วยการให้กัดอย่างอื่นที่ไม่อันตราย เช่น กัดผ้า กัดของเล่นยาง และชวนให้ลูกไปทำกิจกรรมอื่น
5. พฤติกรรมไม่ดีของลูกที่ชอบตีอกชกหัวตัวเอง
พฤติกรรมไม่ดีของเด็กที่ชอบตีอกชกหัวตัวเอง อาจมาพร้อมกับพฤติกรรมที่ชอบกรี๊ด ซึ่งเกิดจากความรู้สึกคับข้องใจ อึดอัด สับสน อยากได้อย่างใจ หรือเลียนแบบผู้ใหญ่ แต่ห้ามว่า อย่าทำนะ ทั้งที่พวกเขาเห็นว่าผู้ใหญ่ทำได้ เช่น ห้ามลูกดื่มน้ำอัดลม แต่เขาเห็นว่าพ่อแม่กินได้ เด็กๆ จึงรู้สึกหงุดหงิด กรี๊ดอาละวาดตีตัวเองโดยการแสดงออกด้วยภาษากาย หากพ่อแม่ตอบสนองต่อการกระทำนี้ ด้วยการตีลูกกลับ ลูกก็ยิ่งจำเพราะคิดว่าได้ผลจึงทำร้ายตัวเองอยู่เรื่อย ๆ
การแก้ไขพฤติกรรมไม่ดีนี้
- พ่อแม่ต้องพยายามเบี่ยงเบนความสนใจของลูกตอนที่ลูกตีอกชกหัวตัวเอง เพราะเด็กจะสนใจสิ่งใหม่ที่น่าสนใจมากกว่า
- พ่อแม่อย่าทำสีหน้าตกใจเกินเหตุ หรือขึ้นเสียงใส่ลูกแว้ดๆ แต่ควรวางเฉยก่อน เดี๋ยวลูกๆ ก็จะค่อยๆ เลิกทำพฤติกรรมไม่ดีนี้ไปเอง ที่สำคัญคือพ่อแม่ต้องให้ความรักความอบอุ่นกับลูกอย่างเต็มที่
บทความที่เกี่ยวข้อง: ลูกดื้อมาก ชอบปีนป่ายและไม่เชื่อฟัง ลูกเราผิดปกติไหม?
6. พฤติกรรมไม่ดีของลูกที่ชอบดึงผม
ก่อนอื่นต้องตรวจดูหนังศีรษะของลูกก่อนว่า การที่ลูก ชอบดึงผมบ่อยๆ นั้นมาจากอาการคันหนังศีรษะหรือไม่ มีปัญหาเกี่ยวกับเส้นผมหรือไม่ค่อยสระผมให้ลูกหรือเปล่า นอกจากนี้อาจความเคยชินที่ลูกชอบดึงหรือเล่นผม เวลาที่เขานอนหรืออ่านหนังสือ ดูโทรทัศน์ เลยเอามือที่ว่างๆ มาดึงผมเล่น ส่วนอีกสาเหตุหนึ่งคือเกิดจากความเครียดทางจิตใจ ลูกก็ชอบดึงผมเพื่อคลายความเครียด โดยนิสัยนี้จะหายไปเองเมื่ออายุ 4-5 ขวบหรือเข้าโรงเรียน เด็กก็จะมีกิจกรรมอื่นมากขึ้น
ทั้งนี้ถ้าหากลูกมีพฤติกรรมไม่ดีชอบดึงผมเล่นบ่อยๆ ติดต่อกันนานและหนักมาก จนสังเกตได้ว่าหัวล้านเป็นหย่อมๆ ลูกอาจเป็นโรคทิโคทิโลแมนเนีย (Trichotillomania) ภาวการณ์ดึงผมตัวเองและควรไปปรึกษาแพทย์ ซึ่งผู้ใหญ่ก็ชอบดึงผมเล่นเหมือนกันนะ
การแก้ไขพฤติกรรมไม่ดีนี้
- พ่อแม่ต้องใส่ใจสุขภาพเส้นผมของลุก หากลูกคันหัวก็ให้เลือกใช้ยาสระผมใหม่ที่อ่อนโยนเพื่อลดการระคายเคือง
- ลองสังเกตดูว่าหากลูกไม่สบายใจ เหม่อลอยดึงผมเล่น ลองค่อยๆ ปลอบประโลมให้ลูกพูดความรู้สึกออกมา
- อย่าดุลูก อย่าตีมือเมื่อเห็นลูกๆ นั่งดึงผม ค่อยๆ หาสาเหตุว่าเกิดจากสุขภาพของหนังศีรษะหรือความเครียดทางจิตใจ
7. พฤติกรรมไม่ดีของลูกที่ชอบเล่นอวัยวะเพศตัวเอง
พฤติกรรมไม่ดีที่พ่อแม่มักจะตกใจและเครียดมาก นั่นคือ การที่ลูกเผลอถูไถอวัยวะเพศตนเองกับพื้นหรือสิ่งของ ซึ่งพฤติกรรมนี้อาจเกิดขึ้นจากความบังเอิญ เพราะลูกทำแล้วรู้สึกเพลิดเพลิน มีความสุข ซึ่งเด็กส่วนใหญ่อาจค้นพบการทำแบบนี้ในขณะสำรวจเรียนรู้อวัยวะเพศตนเอง ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติ แต่ก็ควรสังเกตลูกๆ อยู่เสมอ และอธิบายเขาเมื่อถึงเวลา เช่น เวลาอาบน้ำ
การแก้ไขพฤติกรรมไม่ดีนี้
- พ่อแม่ควรเบี่ยงเบนความสนใจพฤติกรรมนี้ของลูกด้วยการเข้าไปพูดคุย ชวนให้ไปทำกิจกรรมอื่น เพิ่มเวลาทำกิจกรรมร่วมกับลูกให้มากขึ้น
- ถ้าพ่อแม่เห็น อย่าตะโกนโวยวายตกใจและไม่ควรตี หรือดุด่าอย่างรุนแรง ว่าการทำพฤติกรรมอย่างนี้ไม่ดี ผิด หรือสกปรก เพราะอาจทำให้มีปัญหากระทบกระเทือนด้านอารมณ์ความรู้สึก
- พ่อแม่ควรอธิบายลูกว่า หากเกิดอาการคัน หรือมีสิ่งผิดปกติจนต้องไปจับ ควรให้เขามาบอกพ่อแม่ตรงๆ อาจเกิดปัญหาผิวหนังได้ อธิบายว่าการจับอวัยวะเพศในที่สาธารณะนั้นเป็นการกระทำที่ไม่สุภาพ
8. พฤติกรรมไม่ดีของลูกที่ชอบตีผู้อื่น
เคยสังเกตไหมว่า เวลาเด็กๆ เริ่มเล่นกับเพื่อน มักจะเผลอตีเพื่อนจนเกิดการทะเลาะวิวาท แต่แล้วเด็กๆ ก็กลับมาดีกันเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น นั้นเพราะพฤติกรรมไม่ดีอย่างการตีคนอื่นคือสิ่งที่เด็กๆ ไม่ตั้งใจ และไม่ทราบว่าเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ หลายครั้งที่พ่อแม่มักจะสอนลูกด้วยวิธีตี เช่น ลูกหกล้ม พื้นไม่ดีใช่ไหม พ่อแม่จะตีพื้นเลย แล้วลูกก็จะเลียนแบบพฤติกรรมว่าตีพื้นสิ เพราะพื้นทำให้เขาเจ็บ
อีกทางหนึ่ง พฤติกรรมไม่ดีที่ตั้งใจทำร้ายผู้อื่น สิ่งนี้เป็นเหมือนกฎที่สำคัญที่พ่อแม่ควรจะบอกให้ลูกเรียนรู้ว่าการทำร้ายผู้อื่นนั้นเป็นสิ่งที่เลวร้ายและไม่เป็นที่ยอมรับในสังคม เด็กเล็กๆ มักจะชอบออกนอกขอบเขตที่วางไว้และชอบทดลองอำนาจที่เขามี เพราะสำหรับเด็กเล็กๆ นั้นชอบการแสดงความโกรธด้วยการตี เตะ หรือกัดเป็นสิ่งที่เขาคิดว่าสามารถทำได้เมื่อโกรธ หรือเป็นการตอบโต้ที่ทำให้พวกเขาไม่พอใจ
การแก้ไขพฤติกรรมไม่ดีนี้
- พ่อแม่ต้องสอนให้รู้ว่าการแสดงออกโดยการทำร้ายผู้อื่นนั้นเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง และการตีผู้อื่นนั้นเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ และบอกเด็กๆ ว่าพ่อแม่หรือคุณครูไม่อนุญาตให้มีการทำร้ายร่างกายกันเกิดขึ้น
- ต้องตัดไฟแต่ต้นลม เมื่อเห็นว่าจะมีสถานการณ์การทะเลาะวิวาทระหว่างเด็กๆ พ่อแม่ต้องคิดแล้วว่าควรจัดการกับสถานการณ์นั้นก่อนที่จะเกิดขึ้นอย่างไร
- พ่อแม่ควรเป็นตัวอย่างที่ดีด้วยโดยการที่ไม่ควรแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวหรือทำร้ายร่างกายกันต่อหน้าเด็ก เพราะเด็กจะซึมซับและทำตาม
ฉะนั้นไม่ว่าพฤติกรรมไม่ดีของลูกจะมีอะไรก็ตาม ก่อนที่พ่อแม่จะแก้ไขด้วยการดุ ต่อว่า ควรสังเกตพฤติกรรมตนเองด้วยว่า เคยทำให้ลูกๆ เห็นหรือไม่ ดังนั้นพ่อแม่จึงไม่ควรทำให้อะไรที่ไม่ดี ให้เด็กๆ เห็นจนพวกเขาซึมซับและคิดว่าผู้ใหญ่ทำได้ เด็กก็ทำได้
บทความที่น่าสนใจ:
วิธีสร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย แค่ปล่อยให้ลูกเล่นสกปรกจริงหรอ!
ช่วยด้วย! ลูกก้าวร้าว บางคนชอบทำร้ายตัวเอง บางคนชอบทำร้ายคนอื่น
ที่มา: parentsone , mgronline
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!