X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

พฤติกรรมเด็ก 4-6 ขวบ หนูทำแบบนี้แม่ควรรับมือแบบไหน

บทความ 5 นาที
พฤติกรรมเด็ก 4-6 ขวบ หนูทำแบบนี้แม่ควรรับมือแบบไหน

เมื่อลูกโตขึ้น ความเป็นตัวเองเริ่มชัดเจนขึ้น ในขณะเดียวกันลูกต้องเรียนรู้กฎกติกาและการอยู่ร่วมกัน หากคุณเข้าใจ พฤติกรรมเด็ก 4-6 ขวบ ก็จะสามารถรับมือได้

ก่อนหน้านี้เราได้พูดถึง พฤติกรรมลูกวัยแรกเกิด-3 ปี ในหัวข้อ พฤติกรรมเด็กแรกเกิด-3 ปี หนูทำแบบนี้แม่ต้องรับมือแบบไหน ไปแล้วนะคะ วันนี้เราจะพูดถึง พฤติกรรมเด็ก 4-6 ขวบ กันบ้าง ว่าเป็นอย่างไร และ พ่อแม่ ต้องมีวิธีการรับมืออย่างไร

 

พฤติกรรมเด็ก 4-6 ขวบ

พฤติกรรมเด็ก 4-6 ขวบ เด็ก 4 ขวบ

 

พฤติกรรม เด็ก 4 ขวบ

  • เริ่มที่จะแยกแยะสิ่งต่าง ๆ อย่างง่าย ๆ เช่น สิ่งนั้นหรือคนนั้น ผิดหรือถูก ดีหรือไม่ดี เป็นต้น
  • เริ่มเข้าใจพลังของคำพูด และจะใช้คำพูด เพื่อให้ได้สิ่งที่ต้องการ หรือเพื่อควบคุมผู้อื่น แต่ความสามารถในการใช้ภาษายังคงไม่ได้นัก บางทีอาจต้องใช้สีหน้าหรือท่าทางประกอบ
  • เริ่มชอบการแข่งขัน
  • ยังคงสับสนระหว่างความเป็นจริงกับจินตนาการในบางครั้ง และอาจพูดโกหก เกินจริงไปบ้าง หรือมีเพื่อนในจินตนาการ
  • ยังคงพัฒนาในเรื่องของตัวตน และการทดลองความเป็นอิสระ จึงอาจพบว่า ลูกดื้อ ท้าทาย และเจ้ากี้เจ้าการ
  • พยายามทำทุกอย่างเพื่อจะไม่ต้องเข้านอน
  • อาจมีฝันร้ายบ้าง
  • อาจกลัวความมืดและวิตกกังวลว่าจะถูกแยกจากพ่อแม่หรือคนใกล้ชิด
  • เริ่มสนุกกับการเล่นกับเด็กคนอื่นมากขึ้น
  • ชอบทดสอบขีดจำกัดต่าง ๆ ว่าเขาสามารถทำได้หรือเปล่า และ ก็ยังคงอยากที่จะช่วยคุณทำในสิ่งที่เขาทำได้

 

บทความแนะนำ พัฒนาการการโกหกของเด็ก 2-12 ปีและวิธีรับมือ

 

เด็ก 4 ขวบ พ่อแม่ควรตอบสนองอย่างไร

  • เมื่อคุณตั้งกฎ ให้คุยกับลูกว่าทำไมกฎนั้นถึงสำคัญ แม้ลูกจะยังไม่เข้าใจ หรือทำตามในทันที แต่เขาจะค่อยๆ พัฒนาความคิดของเขาต่อสิ่งต่าง ๆ บนโลกใบนี้
  • พยายามใช้คำถามหรือคำสั่งให้ง่ายเข้าไว้
  • ลูกอยากทำให้คุณมีความสุข ดังนั้น คุณต้องทำให้เขารู้ว่าคุณมีความสุขที่เห็นเขามีพฤติกรรมที่ดี
  • อย่าโต้เถียงกับลูกวัย 4 ขวบ เพราะลูกจะยิ่งทำในสิ่งที่คุณห้าม แต่ถ้าคุณเงียบ ไม่โต้เถียง ลูกจะแค่ถามซ้ำๆ ว่า “ทำไม”
  • เมื่อลูกทำพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ให้ถามลูกว่า เกิดอะไรขึ้น แต่อย่าถามว่า ทำไมลูกถึงทำอย่างนั้น เพราะจะเป็นการกระตุ้นให้ลูกโกหก เนื่องจากลูกยังแยกไม่ออกระหว่างโลกแฟนตาซีกับโลกแห่งความเป็นจริง
  • เมื่อลูกทำผิด ค่อย ๆ อธิบายให้ลูกฟังว่า ทำไมพฤติกรรมนั้นถึงผิด และคุณรู้ว่าลูกสามารถทำดีกว่านี้ได้ในครั้งต่อไป ลูกอยากได้รับความมั่นใจว่าคุณเชื่อในตัวเขา แล้วเขาก็จะทำอย่างที่คุณอยากจะเห็น
  • ความคงเส้นคงวาเป็นสิ่งสำคัญ หากคุณไม่คิดว่ากฎที่ตั้งขึ้นมาเป็นเรื่องสำคัญ ลูกก็จะไม่เห็นความสำคัญและไม่ยอมทำตามกฎเช่นกัน
  • สนับสนุนให้ลูกเป็นตัวของตัวเอง แต่ต้องไม่ลืมว่าลูกยังคงเป็นเด็ก อย่าปล่อยให้เขาเครียดหรือเหนื่อยจนเกินเด็ก
  • กอดลูก หอมลูกบ่อย ๆ แม้ลูกจะโตแล้วก็ตาม

 

 

พฤติกรรมเด็ก 5 ขวบ

 

พฤติกรรม เด็ก 4-6 ขวบ

พฤติกรรมของเด็ก อายุ4-6 ขวบ เด็ก 4 ขวบ

 

  • ลูกวัย 5 ขวบ เข้าใจความสำคัญของกฎแล้ว เช่น กฎในการเล่น แต่กฎของเด็กในวัยนี้ยังคงมีความยืดหยุ่นอยู่ค่ะ
  • อาจกล่าวหาว่าเพื่อนโกง ถ้าลูกแพ้ในเกมนั้น
  • เริ่มแสดงความเห็นอกเห็นใจและเข้าใจว่าคนอื่นอาจมีมุมมองที่ต่างไป
  • เริ่มที่จะแบ่งปัน แต่ก็ยังคงรู้สึกว่ามันเป็นเรื่องยาก โดยเฉพาะ เมื่อสิ่งนั้นเป็นสิ่งที่พิเศษสำหรับเขา
  • อาจกลัวความล้มเหลว คำวิจารณ์ หรือ สิ่งที่เหมือนผี หรือปีศาจ
  • ช่วงความสนใจต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งยาวนานขึ้น และ จะพูดเกี่ยวกับสิ่งนั้นมากขึ้น
  • เริ่มทำตัวเป็นผู้เชี่ยวชาญในทุกเรื่อง
  • ชอบที่จะตัดสินใจเอง ว่าจะกินอะไร จะใส่ชุดไหน เป็นต้น
  • เมื่อไปโรงเรียนอาจมีอาการขี้หงุดหงิด เจ้าอารมณ์ หรือเหนื่อยมากกว่าปกติ ซึ่งเป็นผลมาจากการต้องนั่งนิ่ง ๆ และใช้สมาธิเป็นเวลานาน

บทความแนะนำ แม่ต้องสอนเรื่องนี้ เมื่อลูกเริ่มย่างเข้า 5 ขวบ

 

เด็ก 5 ขวบ พ่อแม่ควรตอบสนองอย่างไร

  • สนับสนุนให้ลูกเล่นกับเด็กคนอื่น ๆ เป็นกลุ่มหรือเป็นทีม จะช่วยให้ลูกพัฒนาทักษะที่สำคัญอย่างเช่น การผลัดกันเล่น การเข้ากับผู้อื่น การทำงานร่วมกัน การเจรจา การประนีประนอม การรู้จักแพ้-ชนะ
  • ในแต่ละวัน คุณควรมีเวลาที่จะอยู่กับลูก ใช้เวลาร่วมกับลูก เล่นกับลูก เข้าไปอยู่ในโลกของลูก เพื่อเรียนรู้ความรู้สึกนึกคิด และจิตใจของลูกด้วย
  • สอนลูกให้รู้จักอารมณ์ของตัวเอง โดยการบอกว่าความรู้สึกแบบนี้เรียกว่าอะไร เช่น หนูกำลัง ( หงุดหงิด ) หนูกำลัง ( ผิดหวัง ) หนูควรทำอย่างไรเมื่อรู้สึกแบบนั้น
  • ให้รางวัลเมื่อลูกมีความรับผิดชอบ เช่น ถ้าลูกช่วยแม่เก็บโต๊ะให้เรียบร้อย ลูกจะได้ทานของหวานแสนอร่อย เป็นต้น
  • ยังคงตั้งกฎง่าย ๆ และไม่เยอะจนเกินไป ให้กับลูกวัยนี้

 

 พฤติกรรมเด็ก 6 ขวบ

 

พฤติกรรม เด็ก 4-6 ขวบ

คุณพ่อ คุณแม่ ต้องเรียนรู้ และรับมือ กับพฤติกรรม เด็ก 4-6 ขวบ เด็ก 4 ขวบ

 

  • เด็กวัยนี้รู้มากขึ้น บางทีอาจมากกว่าคุณเสียอีก ไม่เชื่อก็ลองถามลูกดูซิ
  • ความเกรี้ยวกราด อาละวาด อาจกลับมาอีกรอบ
  • ยังคงชอบทดสอบขีดจำกัดต่าง ๆ และ อยากจะช่วยเหลือคุณ ทำให้คุณพอใจ
  • อยากให้พ่อแม่ชื่นชมผลงานที่ลูกทำที่โรงเรียน รวมถึงสิ่งดี ๆ อื่น ๆ ที่ลูกทำด้วย
  • อยากที่จะมีความสามารถในทักษะใหม่ ๆ และรู้สึกมีอำนาจ
  • อาจวิตกกังวล ที่จะต้องห่างจากพ่อแม่

 

พฤติกรรม เด็ก 4-6 ขวบ

พฤติกรรม เด็ก 4-6 ขวบ ที่คุณพ่อ และคุณแม่ ต้องรับมือ เด็ก 4 ขวบ

เด็ก 6 ขวบ พ่อแม่ควรตอบสนองอย่างไร

  • สนับสนุนความพยายามของลูก และ แสดงให้ลูกรู้ว่า คุณเห็นความพยายามของเขา
  • พยายามอย่าชื่นชมลูกมากเกินไป หรือ ชมโดยไม่มีเหตุผล
  • ให้ความสำคัญกับความพยายามของลูกมากกว่าผลลัพธ์ที่ได้ เพื่อให้ลูกได้พัฒนากระบวนการคิด และ เชื่อมั่นในศักยภาพของตัวเองว่าจะสามารถไปสู่ความสำเร็จได้

 

ที่มา : 1

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

พีแอนด์จี ร่วมกับ เทสโก้ โลตัส ส่งแคมเปญพิเศษ “Mom to Mom” ชวนเหล่าคุณแม่ ร่วมใจกันช่วยเหลือแม่ ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤต โควิด-19

9+ GOLD MOM CLINIC EP.1 สารอาหารสำคัญ & เพื่อ 1,000 วันแรก ที่สมบูรณ์ โดย พญ.นพรัตน์ ไชยบูรณะพันธ์กุล สูตินรีแพทย์ประจำ รพ. พญาไท 3

ชี้เป้า ของตัวแม่ต้องมี (10 MUST HAVE ITEMS FOR WOMAN & MOM) ช้อปสนุก หยุดไม่อยู่ ในเดือนแห่งแม่ กับ JD CENTRAL ตลอดเดือนสิงหาคม

บทความจากพันธมิตร
LPR โพรไบโอติก เกรด A กระตุ้นภูมิคุ้มกันให้ลูกรักแข็งแรงพร้อมเรียนรู้
LPR โพรไบโอติก เกรด A กระตุ้นภูมิคุ้มกันให้ลูกรักแข็งแรงพร้อมเรียนรู้
แม่รู้ไหม? พัฒนาการสมอง ของลูกเกิดขึ้นได้ทั้งกลางวันและกลางคืน เสริมด้วย สารอาหารสมอง และการนอนอย่างมีคุณภาพ
แม่รู้ไหม? พัฒนาการสมอง ของลูกเกิดขึ้นได้ทั้งกลางวันและกลางคืน เสริมด้วย สารอาหารสมอง และการนอนอย่างมีคุณภาพ
มารู้จักกับ Phenomenon-Based Learning กระบวนการเรียนรู้ที่เน้นการศึกษานอกห้องเรียนมากกว่าการท่องจำ
มารู้จักกับ Phenomenon-Based Learning กระบวนการเรียนรู้ที่เน้นการศึกษานอกห้องเรียนมากกว่าการท่องจำ
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

สิริลักษณ์ อุทยารัตน์

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการลูก
  • /
  • พฤติกรรมเด็ก 4-6 ขวบ หนูทำแบบนี้แม่ควรรับมือแบบไหน
แชร์ :
  • พฤติกรรมเด็กแรกเกิด-3 ปี หนูทำแบบนี้ แม่ต้องรับมือแบบไหน

    พฤติกรรมเด็กแรกเกิด-3 ปี หนูทำแบบนี้ แม่ต้องรับมือแบบไหน

  • พฤติกรรมเด็ก : 100 เรื่องพ่อแม่ต้องรู้ก่อนลูก 1 ขวบ

    พฤติกรรมเด็ก : 100 เรื่องพ่อแม่ต้องรู้ก่อนลูก 1 ขวบ

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

  • พฤติกรรมเด็กแรกเกิด-3 ปี หนูทำแบบนี้ แม่ต้องรับมือแบบไหน

    พฤติกรรมเด็กแรกเกิด-3 ปี หนูทำแบบนี้ แม่ต้องรับมือแบบไหน

  • พฤติกรรมเด็ก : 100 เรื่องพ่อแม่ต้องรู้ก่อนลูก 1 ขวบ

    พฤติกรรมเด็ก : 100 เรื่องพ่อแม่ต้องรู้ก่อนลูก 1 ขวบ

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ