คุณแม่ทุกคนควรรู้!! ตรวจครรภ์ก่อนคลอด นั้นสำคัญไฉน
คุณแม่ทุกคนควรรู้!! ตรวจครรภ์ก่อนคลอด นั้นสำคัญไฉน
ลูกจะเกิดมามีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้นในร่างกายของเขาไหมนะ? แล้วคุณจะต้องเผชิญกับความยุ่งยากอะไรต่อจากนี้หรือไม่? แต่ถึงกระนั้นเด็กส่วนใหญ่ก็จะเกิดมามีสุขภาพดีตามธรรมชาติ และขอให้หายใจหายคอโล่งขึ้นอีกนิดเมื่อรู้ว่ามีการทดสอบหลายอย่างที่จะพิสูจน์ให้คุณสบายใจมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะช่วยให้คุณระบุถึงปัญหาสุขภาพของคุณและลูกในท้องได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้น และนอกจากนี้ โรคบางอย่างสามารถรักษาได้ เป็นเรื่องที่สำคัญมากที่คุณต้องมีความรู้ในการเตรียมตัวและเข้าร่วมการตรวจทุกอย่างก่อนคลอดเพื่อหาปัญหาของคุณให้เจอเสียก่อน ยิ่งตรวจหาปัญหาเจอก่อนก็จะยิ่งมีเวลาและวางแผนการรักษาได้หลายรูปแบบมากขึ้น
การตรวจครรภ์ก่อนคลอดเป็นเรื่องปกติของผู้หญิงตั้งครรภ์และส่วนใหญ่จะเป็นการตรวจคัดกรอง ซึ่งรวมถึงการตรวจเลือด และอัลตร้าซาวด์ที่จะระบุลักษณะของลูกในท้องได้ แต่ก็ไม่สามารถวินิจฉัยอะไรได้ชัดเจนมากนัก การตรวจวินิจฉัยครรภ์ก่อนคลอดจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่แพทย์จะเสนอให้คุณ หรือคุณเลือกที่จะตรวจเองก็ได้ โดยแพทย์จะทำการตรวจความผิดปกติของโครโมโซม ที่จะส่งผลถึงโครงสร้างร่างกายที่ผิดปกติ หรือจำนวนโครโมโซมได้
อัตราความผิดปกติของเด็กแรกเกิดจะเพิ่มมากขึ้นหากผู้เป็นมารดามีอายุมากขึ้น
อัตราความผิดปกติของเด็กแรกเกิดจะเพิ่มมากขึ้นหากผู้เป็นมารดามีอายุมากขึ้น วิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งอเมริกาพบว่า ทารก 1 ใน 1,667 คนที่เกิดจากผู้หญิงอายุ 20 ต้น ๆ จะมีอาการดาวน์ซินโดรม แต่อัตรานี้จะเพิ่มขึ้นเป็น 1 ใน 378 คนเมื่ออายุมารดาอยู่ในระหว่าง 30 กลาง ๆ และเป็น 1 ใน 106 คน เมื่อมารดาอายุ 40 ปี แพทย์มักแนะนำมารดาที่อายุมากหรือมารดาที่มีประวัติครอบครัวมีความผิดปกติอยู่แล้วให้ร่วมทดสอบเพื่อตรวจหาความผิดปกติของทารก อย่างไรก็ตาม ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงสามารถเลือกที่จะเข้ารับการตรวจเพื่อป้องกันเหตุอันตรายก่อนล่วงหน้าได้ทันทีเช่นกัน
เรามีตัวอย่างการตรวจครรภ์ก่อนคลอดมาให้อ่านกันค่ะ
การเจาะถุงน้ำคร่ำ
คือ: การรวบรวมข้อมูลและตรวจหาสาเหตุของความผิดปกติของโครโมโซม เช่น ดาวน์ซินโดรม การเผาผลาญอาหารผิดปกติจากกรรมพันธุ์ และการติดเชื้อในครรภ์
ใคร: การตรวจนี้เหมาะสำหรับผู้หญิงอายุ 35 ปีขึ้นไป เคยมีบุตรที่มีความผิดปกติตั้งแต่แรกเกิด เคยมีประวัติครอบครัวที่มีความผิดปกติของร่างกาย หรือได้รับผลการตรวจคัดกรองที่ไม่ปกติ
เมื่อไร: มักจะเป็นระยะเวลาตั้งครรภ์ระหว่าง 15 – 20 สัปดาห์
การตรวจนี้เหมาะสำหรับผู้หญิงอายุ 35 ปีขึ้นไป เคยมีบุตรที่มีความผิดปกติตั้งแต่แรกเกิด
อย่างไร: แพทย์จะนำน้ำคร่ำบางส่วนจากผนังมดลูกออกมาในขณะที่ทำการอัลตร้าซาวน์ด้วยเข็มเล็กมากๆ เซลล์นี้จะถูกเพาะเลี้ยงในจานเพาะเชื้อ และจะทำการวินิจฉัย คนไข้อาจจะมีความรู้สึกเจ็บปวดเล็กน้อย แต่ไม่มีอะไรมากไปกว่านั้น คนไข้จะได้รับผลการตรวจภายใน 1-2 สัปดาห์
ความเสี่ยง: มีความเสี่ยงที่จะทำให้ทารกบาดเจ็บ แต่ก็น้อยมาก ขั้นตอนนี้อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงที่จะแท้งบุตรเพียง 1 ต่อ 200 อีกทั้งยังมีความเสี่ยงต่ำที่เกิดการติดเชื้อที่มดลูก และน้ำคร่ำรั่ว
การตัดชิ้นเนื้อจากรก (CVS)
คือ: มักใช้วิธีนี้ในการหาข้อมูลโครโมโซมที่ผิดปกติ เช่น ดาวน์ซินโดรม และความผิดปกติที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม ข้อดีของการตรวจแบบนี้ ที่ไม่เหมือนการเจาะน้ำคร่ำ คือ สามารถตรวจได้ในระยะตั้งครรภ์ที่เร็วกว่า สามารถให้ครอบครัวตัดสินใจ และรับฟังคำปรึกษาจากแพทย์ได้อย่างทันท่วงที
ใคร: การตรวจนี้เหมาะสำหรับผู้หญิงอายุ 35 ปีขึ้นไป เคยมีบุตรที่มีความผิดปกติตั้งแต่แรกเกิด เคยมีประวัติครอบครัวที่มีความผิดปกติของร่างกาย หรือได้รับผลการตรวจคัดกรองที่ไม่ปกติ
ยิ่งคุณแม่มีอายุเยอะ ยิ่งมีความเสี่ยง
เมื่อไร: มักจะเป็นระยะเวลาตั้งครรภ์ระหว่าง 15 – 20 สัปดาห์
อย่างไร: แพทย์จะใช้เข็มสะกิดเนื้อเยื่อบาง ๆ ในรกออกมาในระหว่างการทำอัลตร้าซาวด์ เนื้อเยื่อบาง ๆ นี้จะนำไปตรวจหาการคลอดบุตรที่ผิดปกติ เพราะทารกเกิดจากรก และตัวอย่างของเนื้อเยื่อนี้จะต้องมีโครโมโซมเหมือนกันกับทารกที่ยังอยู่ในครรภ์ขณะนี้ อาจจะมีอาการเจ็บปวดเบา ๆ ระหว่างกระบวนการนี้และจะมีการใช้ยาชาเฉพาะที่ด้วย คนไข้จะได้รับผลการตรวจภายใน 1-2 สัปดาห์
ความเสี่ยง: การตรวจแบบนี้ก่อให้เกิดการแท้งบุตรเพียง 1% แต่ยังมีความเสี่ยงจากการติดเชื้อ และข้อบกพร่องของการเจริญเติบโตของเด็ก หากทำการตรวจนี้เร็วเกินไป
ยิ่งอายุมากโอกาสที่เด็กจะผิดปกติก็สูงขึ้น
การเจาะเลือดทารกจากสายสะดือ (FBS)
คือ : มักใช้วิธีนี้ในการหาข้อมูลโครโมโซมที่ผิดปกติ เช่น ดาวน์ซินโดรม และความผิดปกติที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม และการติดเชื้อที่อาจเกิดผลกระทบกับทารกในครรภ์และภาวะโลหิตจาง หรือระดับเกล็ดเลือfต่ำ ข้อดีที่สำคัญที่สุดของการตรวจแบบนี้คือ สามารถทำได้อย่างรวดเร็ว ส่งผลดีต่อทารกในครรภ์ที่อาจถูกรบกวนจากการตรวจ
ใคร : เหมาะสำหรับมารดาที่พบความผิดปกติจากการตรวจคัดกรอง เช่น จากการอัลตร้าซาวด์ เมื่อการตรวจในแบบอื่น ๆยังสรุปไม่แน่ชัด หรือเมื่อทราบถึงการติดเชื้อโรคบางอย่างที่อาจกระทบถึงบุตรในครรภ์ได้
เมื่อไร : มักจะเป็นระยะเวลาตั้งครรภ์ระหว่าง 18 – 23 สัปดาห์
อย่างไร : แพทย์จะใช้เข็มเจาะผ่านท้อง เข้าไปถึงมดลูก และเก็บตัวอย่างเลือดจากทารกในครรภ์ในระหว่างการทำอัลตร้าซาวด์ อาจเจ็บปวดเล็กน้อยระหว่างขั้นตอนที่ทำ และจะมีการใช้ยาชาเฉพาะที่ คนไข้จะได้รับผลการตรวจภายใน 3-5 วัน
ความเสี่ยง : มีความเสี่ยงต่อการแท้งบุตรเพียง 1 – 1.5%
ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงสามารถเลือกที่ตรวจเพื่อป้องกันอันตรายก่อนล่วงหน้าได้ทันทีเช่นกัน
The Asianparent Thailand เพื่อลงทะเบียนรับการดูแลตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ ช่วงไตรมาสแรกมาติดตามพัฒนาการของลูกอย่างใกล้ชิด ลูกโตขึ้นแค่ไหนกันนะ ไตรมาสที่ 2 มาฟังเสียงลูกน้อย นับว่าหนึ่งวันลูกดิ้นไหมนะ และลูกดิ้นวันละกี่ครั้งด้วยแอพพลิเคชั่น The Asianparent นี่เป็นแค่ตัวอย่างกิจกรรมบนแอพพลิเคชั่นในส่วนแรก เพราะคุณแม่จะได้รับการดูแลทั้งอาหารการกินโดยการออกแบบจากผู้เชี่ยวชาญว่าควรทานอะไรบ้างในแต่ช่วงอายุครรภ์ ยาที่เป็นอันตรายชนิดไหนบ้างที่ไม่ควรทาน กิจกรรมใดบ้างที่ทำได้หรือทำไม่ได้ เคล็ดลับการตั้งชื่อลูกอย่างไรให้เป็นมงคลทั้งเด็กหญิงและเด็กชาย รวมถึงเตรียมแผนการล่วงหน้าถึงอนาคต การเตรียมคลอด การดูแลตนเองหลังคลอด ที่ครอบคลุมทุกช่วงเวลาที่คุณแม่ต้องการ
บทความที่เกี่ยวข้อง :
ACOG.org
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
บทความใกล้เคียง: การฝากครรภ์เป็นสิ่งจำเป็น
บทความใกล้เคียง: เตรียมพร้อมก่อนคลอด
เตรียมตัวก่อนคลอดลูก ต้องทำอะไรบ้าง? ของสิ่งไหนจำเป็น?
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!