การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกระหว่างตั้งครรภ์ ปลอดภัยหรือไม่?

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

คุณแม่อาจสงสัยว่า การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกระหว่างตั้งครรภ์ ปลอดภัยหรือไม่ และผลที่ได้ มีมากกว่าความเสี่ยงหรือเปล่า การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเป็นประจำ เป็นวิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันตัวเองจากมะเร็งปากมดลูก จากผู้หญิง 800 คนที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งปากมดลูกในแต่ละปี 1 ใน 5 ไม่เคยได้รับการตรวจคัดกรอง หรือไม่ได้ตรวจคัดกรองอย่างเป็นประจำทุก 3 ปี

 

การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกคืออะไร ?

การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเป็นวิธีง่าย ๆ ในการตรวจสุขภาพปากมดลูกของคุณ ปากมดลูกคือช่องที่อยู่ด้านบนของช่องคลอด การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก จะค้นหาไวรัสฮิวแมนแพปพิลโลมา (HPV) ซึ่งเป็นไวรัสที่สามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ ในปากมดลูกของคุณ ซึ่งสามารถพัฒนาเป็นมะเร็งปากมดลูกได้ การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก จะใช้วิธีการการตรวจที่เรียกว่า แปปสเมียร์ (Pap Smear หรือ Pap Test)

 

ในระหว่างการตรวจคัดกรองปากมดลูก แพทย์จะใช้เครื่องมือที่เรียกว่า speculum จะถูกสอดเข้าไปในช่องคลอดอย่างเบามือ เพื่อให้แพทย์ที่ทำการตรวจคัดกรอง สามารถมองเห็นปากมดลูกของคุณได้ จากนั้นจะทำการป้ายเซลล์จากมดลูกส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อตรวจหาเซลล์ที่ผิดปกติ ขั้นตอนการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก อาจรู้สึกอึดอัดเล็กน้อย แต่จะไม่ทำให้รู้สึกเจ็บ

 

ควรตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกบ่อยแค่ไหน?

การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกสามารถทำได้ทุก ๆ 3 ปี หากผลการตรวจของคุณอยู่ในเกณฑ์ปกติ คุณควรเข้ารับการตรวจหาก :

  • คุณมีอายุระหว่าง 25  ถึง 74 ปี
  • คุณเคยมีเพศสัมพันธ์
  • คุณมีปากมดลูก

 

ช่วงอายุที่ดีที่สุดที่จะเริ่มตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกคืออายุ 25 ปี  ผู้หญิงที่อายุต่ำกว่า 25 ปี ไม่จำเป็นต้องตรวจคัดกรองปากมดลูกเป็นประจำ หากคุณมีอาการเจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์ หรือมีเลือดออก หรือตกขาวผิดปกติใด ๆ คุณควรรีบพบแพทย์โดยเร็วที่สุด หากคุณอายุต่ำกว่า 25 ปี และเคยตรวจคัดกรองมาแล้ว และผลตรวจผิดปกติ คุณควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ต่อไป

บทความที่เกี่ยวข้อง มะเร็งปากมดลูก ภัยร้ายใกล้ตัวของผู้หญิง อันตรายถ้าไม่รีบตรวจ?

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

วิธีตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ที่มีการบริการในประเทศไทย ในปัจจุบันนั้น มี 3 วิธีหลัก ๆ ได้แก่

  • การตรวจทางเซลล์วิทยาของปากมดลูก แบ่งเป็น
    • 1. การตรวจแปปสเมียร์แบบสามัญ (Conventional Pap Smear)
    • 2. การเก็บตัวอย่างเซลล์ด้วยของเหลว (Liquid-based cytology: LBC)
  • การตรวจหาเชื้อไวรัส HPV ด้วยวิธีการตรวจ DNA แบ่งเป็นการตรวจร่วมกับการตรวจทางเซลล์วิทยา และการตรวจหาเชื้อไวรัส HPV เพียงอย่างเดียว
  • การตรวจด้วยน้ำส้มสายชู (Visual inspection with acetic acid: VIA)

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกระหว่างตั้งครรภ์ ทำได้หรือไม่?

  • หากครบกำหนดที่จะต้องตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ในขณะที่คุณตั้งครรภ์ คุณควรงดการตรวจจนกว่าจะคลอดทารก คุณควรแจ้งให้แพทย์ทราบว่าคุณกำลังตั้งครรภ์ เพื่อให้แพทย์เลื่อนการตรวจครั้งนี้ออกไป โดยปกติแล้วสามารถตรวจได้ 3 เดือนหลังจากคลอดทารก
  • หากไม่ใช่ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกตามปกติ แต่เป็นการตรวจซ้ำหลังจากพบความผิดปกติจากครั้งก่อนหน้า ซึ่งคุณถูกเรียกตรวจในระหว่างตั้งครรภ์ คุณก็ควรตรวจในระหว่างตั้งครรภ์ เวลาที่ดีที่สุดที่จะทำคือระหว่าง 3 ถึง 6 เดือนของการตั้งครรภ์

 

มีอันตรายต่อทารก หรือไม่?

การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในระหว่างตั้งครรภ์ นั้นไม่อันตราย ไม่ว่าผลการตรวจคัดกรองจะออกมาเป็นเช่นไร โดยทั่วไปก็ปลอดภัยที่จะตั้งครรภ์ต่อไป เนื่องจากการติดเชื้อ HPV ในระหว่างตั้งครรภ์มักไม่ส่งผลกระทบต่อทารก แม้ว่าจะมีเซลล์ผิดปกติที่ปากมดลูก แต่หายากมากที่สิ่งนี้จะลุกลามกลายเป็นมะเร็งในระหว่างตั้งครรภ์ นั่นเป็นเหตุผลที่ในกรณีส่วนใหญ่ แพทย์จะรอจนกว่าลูกของคุณจะคลอด ค่อยทำการทดสอบซ้ำ

บทความที่เกี่ยวข้อง : โครโมโซมผิดปกติ อันตรายต่อทารกในครรภ์มากน้อยแค่ไหน คุณแม่ควรรู้!

 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

หากคุณให้นมบุตร

คุณแม่สามารถตรวจคัดกรองได้ แม้คุณแม่ให้นมลูก การให้นมไม่ส่งผลต่อการทดสอบ คุณแม่อาจพบว่าการทดสอบนั้นอึดอัดเล็กน้อย เนื่องจากการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อาจส่งผลต่อระดับฮอร์โมน คุณสามารถถามแพทย์ หรือพยาบาลที่ทำการทดสอบ ถึงวิธีการที่ทำจะให้คุณรู้สึกสบายตัวมากขึ้นกับการทดสอบ คุณแม่ควรรออย่างน้อย 3 เดือนหลังคลอดเพื่อทำการทดสอบ

 

หากผลออกมาไม่ปกติ

หากการทดสอบของคุณแม่ แสดงว่าคุณแม่มีเชื้อ HPV แพทย์จะตรวจสอบการติดเชื้อ และมีแนวโน้มที่จะแนะนำให้ทดสอบเพิ่มเติม เพื่อให้เข้าใจการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ปากมดลูกของคุณได้ดียิ่งขึ้น แม้ว่าผลจะแสดงการติดเชื้อ HPV แต่โดยปกติจะใช้เวลา 10 ปี หรือมากกว่านั้นในการพัฒนาเป็นมะเร็งปากมดลูก สตรีมีครรภ์ประมาณ 1 ใน 20 คนเท่านั้นที่จะมีเซลล์ปากมดลูกผิดปกติหลังจากการตรวจสอบเพิ่มเติม

 

การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกนั้นเป็นสิ่งสำคัญ ที่ผู้หญิงทุกคนไม่ควรละเลย หากคุณมีอายุ 25 – 74 ปี คุณควรเข้ารับการตรวจคัดกรองเป็นประจำทุก ๆ 3 ปี การตรวจนั้นไม่เจ็บ ไม่น่ากลัว และใช้ระยะเวลาตรวจไม่นาน จะทำให้คุณทราบความเสี่ยงก่อนที่จะเกิดขึ้นได้ และเตรียมรับมือได้อย่างทันท่วงที แม่คุณแม่ท้องไม่ต้องเกิดความกังวลใจไป เพราะหากคุณพลาดที่จะตรวจระหว่างตั้งครรภ์ ก็สามารถเข้ารับการตรวจได้หลังจากคลอดบุตร 3 เดือนค่ะ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

โรคธาลัสซีเมียอันตรายมากแค่ไหน ตรวจธาลัสซีเมีย ระหว่างตั้งครรภ์ได้หรือไม่?

แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?

ทำ IF ระหว่างตั้งครรภ์ ได้ไหม? ส่งผลอย่างไรต่อลูกน้อย?

ที่มา : pregnancybirthbaby

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

Kanjana Thammachai