X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ทำไมถึงแท้งบุตร: สาเหตุจากด้านพันธุกรรมหรือสิ่งแวดล้อม?

บทความ 5 นาที
ทำไมถึงแท้งบุตร: สาเหตุจากด้านพันธุกรรมหรือสิ่งแวดล้อม?

ความรู้ใจเกี่ยวกับทำไมถึงแท้งมีไม่มากนัก แต่เรารู้ว่ามันมักเกิดจากหลายปัจจัยรวมกัน ที่พอจะสรุปได้คือสาเหตุทั้งปัจจัยด้านการแท้งบุตรจากสาเหตุด้านพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม มีรายละเอียดอย่างไรบ้างลองมาอ่านกัน

ทำไมถึงแท้งบุตร : สาเหตุจากด้านพันธุกรรมหรือสิ่งแวดล้อม?

การแท้งบุตรจากสาเหตุด้านพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม

การแท้งบุตรจากสาเหตุด้านพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม

เรายังคงมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการแท้งบุตรไม่มากนัก แต่เรารู้ว่ามันมักเกิดจากหลายปัจจัยรวมกัน ทั้งปัจจัยด้านพันธุกรรมและด้านสิ่งแวดล้อม แม้ว่าคุณอาจจะสามารถควบคุมปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมได้ แต่คุณอาจไม่สามารถแก้ไขปัจจัยด้านพันธุกรรมด้วยการรักษาหรือการผ่าตัดได้เสมอไป

สาเหตุทางพันธุกรรมของการแท้งบุตร

  • อายุ: คุณแม่ที่มีอายุมากกว่า 35 ปีมีความเสี่ยงที่จะแท้งบุตรมากกว่าผู้หญิงที่อายุน้อยกว่า
  • โครโมโซม: ส่วนประกอบเล็ก ๆ ของดีเอ็นเอเหล่านี้เป็นตัวกำหนดพัฒนาการของเซลล์ เด็กที่มีร่างกายสมบูรณ์จะมีโครโมโวมทั้งหมด 46 ตัว โดยครึ่งหนึ่งจะมาจากพ่อและอีกครึ่งหนึ่งจากแม่ เชื่อกันว่าสาเหตุหลักของการแท้งบุตรส่วนใหญ่นั้นมักเกิดจากความผิดปกติของโครโมโซมในระหว่างการปฏิสนธิ
  • ความผิดปกติของรก: รกคือพันธะชีวิตที่เชื่อมระหว่างทารกในครรภ์กับคุณแม่ ดังนั้นความผิดปกติใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นกับรกก็อาจนำไปสู่การแท้งบุตรได้เช่นกัน
  • แอนตีบอดี้: เป็นส่วนที่คอยควบคุมระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายของคุณ บางครั้งแอนตีบอดี้บางตัวอาจทำให้เกิดลิ่มเลือดซึ่งจะไปอุดไม่ให้เลือดไปเลี้ยงตัวอ่อน และนำไปสู่การแท้งบุตร เราเรียกภาวะนี้ว่า “ฮิวส์ ซินโดรม”
  • รูปร่างของมดลูกผิดปกติหรือปากมดลูกหลวม: ปัญหาเกี่ยวกับมดลูกก็อาจเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดการแท้งบุตรได้เช่นกัน เช่น แผลเป็น เนื้องอก หากปากมดลูกไม่แข็งแรงก็อาจทำให้ครรภ์ไม่สามารถรองรับตัวอ่อนได้
  • ระดับฮอร์โมนผิดปกติ: โปรแลกตินคือฮอร์โมนที่ช่วยให้คุณแม่พร้อมสำหรับการให้นม แต่ถ้าระดับฮอร์โมนดังกล่าวสูงเกินไป ก็อาจทำให้เกิดการแท้งบุตรได้
  • ต่อมไร้ท่อผิดปกติ: หากตัวคุณแม่มีปัญหาเกี่ยวกับโรคเบาหวานหรือไทรอยด์ ก็มีโอกาสที่จะแท้งบุตรมากขึ้น
  • ปัจจัยอื่น ๆ : ความดันเลือดสูง โรคลูปัส (โรคผิวหนังชนิดหนึ่ง) หรือโรคไต อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้แท้งบุตรได้เช่นกันแม้จะมีปัจจัยด้านพันธุกรรมมากมายที่อาจเป็นสาเหตุของการแท้งบุตร แต่ความผิดปกติส่วนใหญ่ก็สามารถรักษาได้ด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์อันล้ำสมัยสาเหตุด้านสิ่งแวดล้อมของการแท้งบุตร
    คุณอาจจะเคยสงสัยว่ามีปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมอะไรที่จะทำให้แท้งบุตรได้ อันที่จริง ถ้าไม่นับการโดนรังสีอันตรายเข้มข้นหรือสารพิษอย่างปรอท คุณก็แทบจะไม่มีโอกาสแท้งจากปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมเลย สาเหตุส่วนใหญ่มักเกิดจากกิจกรรมต่าง ๆ ที่คุณทำเสียมากกว่า
    • บุหรี่, ยาเสพติด และแอลกอฮอล์: คุณควรรู้ดีว่าการสูบบุหรี่ ใช้ยา หรือดื่มเหล้าระหว่างตั้งครรภ์นั้นเป็นอันตราย เพราะสารที่คุณเสพเข้าไปจะส่งผลกระทบต่อตัวเด็กโดยตรง
    • ยา: ยารักษาโรคบางชนิด เช่น ยาแก้ปวด ก็เป็นอันตรายต่อเด็กในครรภ์ คุณควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยาทุกครั้ง
    • ติดเชื้อ: หัดเยอรมัน โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น คลาไมเดีย อาจเป็นสาเหตุของการแท้งบุตรหรือทำให้ทารกผิดปกติได้

    แม้ว่าสาเหตุทางพันธุกรรมส่วนใหญ่จะอยู่เหนือการควบคุม แต่คุณแม่ทั้งหลายก็ควรระมัดระวังและหลีกเลี่ยงสิ่งที่อาจส่งผลกระทบต่อเด็กในครรภ์ให้มากที่สุด

Colum: Pregnancy Focus
เรื่อง: Trisha Thompson จากเว็บไซต์ www.parenting.com / เรียบเรียง: นันทิดา สุวรรณาทิพย์

“รวม 7 สาเหตุหลักๆว่าอะไรที่ทำให้เกิดการแท้ง และวิธีที่จะช่วยให้คุณแม่มีสุขภาพครรภ์ที่ดีในอนาคต”

ทรีช่า ทอมป์สัน ผู้เขียนบทความเรื่อง Seven Most Common Miscarriage Causes ได้เล่าเรื่องแท้งของตัวเองว่า สามเดือนหลังจากคลอดลูกคนแรกแล้ว ก็อยากจะตั้งท้องอีกครั้งให้เร็วที่สุด เพราะไม่อยากให้ลูกๆอายุห่างกันมาก พอลูกคนโตอายุ 13 เดือน เธอก็ได้ตั้งท้องสมใจ

แต่ก่อนที่ทรีช่าจะได้บอกข่าวดีกับสามี เธอก็แท้งเมื่ออายุครรภ์ได้เพียง 5 สัปดาห์เท่านั้น คุณหมอบอกว่ากรณีของทรีช่าถือว่ารู้ตัวเร็วมาก เพราะจริงๆแล้วมีแค่ 15 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่รู้ตัวว่าท้อง และอีกครึ่งหนึ่งมักจะแท้งในไตรมาสที่หนึ่ง ซึ่งข้อเท็จจริงนี้ก็ไม่ช่วยคลายความเสียใจของทรีช่าได้เลย

หลังจากฟังทรีช่าเล่าแล้วทำให้รู้ว่าแม้หลายครั้งเราอาจไม่รู้สาเหตุของการแท้งอย่างแท้จริง แต่ก็มีอยู่ 7 เหตุผลที่อาจทำให้เกิดการแท้งขึ้นได้ มีอะไรบ้างมาดูกันค่ะ

1. โครโมโซมผิดปกติ
ทำไมจึงทำให้แท้ง
โครโมโซมคือโครงสร้างขนาดเล็กที่ประกอบไปด้วยยีนส์ โดยปกติเรามีโครโมโซมทั้งหมด 23 คู่ ชุดหนึ่งมาจากแม่ และอีกชุดหนึ่งมาจากพ่อ เมื่อไข่และสเปิร์มมาผสมกัน บางครั้งโครโมโซมอาจบกพร่อง ไม่สามารถจับคู่กันได้อย่างสมบูรณ์ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เกิดการแท้งขึ้นได้

แก้ไขได้อย่างไร
หากคุณแม่เคยแท้งมาแล้วครั้งหนึ่ง ต้องอดทนรอสักหน่อย เพราะจากสถิติคุณแม่มีโอกาสท้องและมีลูกที่แข็งแรงได้อีก หากคุณแม่ยังคงแท้งอีก ให้แจ้งคุณหมอเพื่อเก็บเนื้อเยื่อไปตรวจหาความผิดปกติของโครโมโซม หรือหากโครโมโซมปกติคุณหมอจะได้หาสาเหตุอื่นต่อไปและสามารถเยียวยาได้ทันท่วงที

2. มดลูกผิดปกติและปากมดลูกหลวม
ทำไมจึงทำให้แท้ง
หากคุณแม่มีมดลูกผิดปกติ การแท้งย่อมเกิดขึ้นได้ เพราะตัวอ่อนไม่สามารถฝังตัวได้ หรือหากฝังตัวได้แต่ก็ไม่สามารถเจริญเติบโต ส่วนอีกสาเหตุหนึ่งคือมดลูกอ่อนแอหรือปากมดลูกหลวม เพราะก่อนจบไตรมาสแรก ทารกจะตัวโตขึ้นจนทำให้ปากมดลูกขยาย หากปากมดลูกอ่อนแอก็จะไม่สามารถพยุงตัวทารกไหว

แก้ไขได้อย่างไร
ข่าวดีก็คือ เราสามารถแก้ไขได้ด้วยการผ่าตัด เรียกว่า การเย็บปากมดลูก

3. ความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน
ทำไมจึงทำให้แท้ง
เมื่อสเปิร์มเข้ามาในร่างกายของคุณแม่ ร่างกายจะฟ้องว่านี่คือสิ่งแปลกปลอม แต่เมื่อไข่ได้รับการผสมแล้วจะส่งสัญญาณไปบอกคุณแม่ว่า “หนูไม่ใช่เชื้อโรคนะ” กระบวนการตั้งครรภ์จึงดำเนินต่อไปตามปกติ ในกรณีเดียวกัน หากไข่ที่ผสมแล้ว แต่ร่างกายของคุณแม่ไม่ยอมรับ เจ้าแอนตี้บอดี้แอนติฟอสโฟลิพิดที่มีผลต่อการแข็งตัวของเลือดจะทำลายตัวเอง จึงมีผลทำให้เกิดการแท้ง ซึ่งเรื่องนี้นักวิชาการหรือผู้เชี่ยวชาญก็ไม่สามารถหาคำอธิบายได้

แก้ไขได้อย่างไร
ปัจจุบันยังไม่มีการรักษาโดยตรง ทำได้เพียงให้ยากลุ่มต่อต้านการแข็งตัวของเลือด ได้แก่ แอสไพริน เฮพาริน และสเตียรอยด์

4. โรคไทรอยด์ต่างๆ ทั้งภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนเป็นพิษ และภาวะฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำ และโรคเบาหวาน
ทำไมจึงทำให้แท้ง
ภาวะโรคไทรอยด์และโรคเบาหวานที่ควบคุมไม่ได้ ล้วนทำให้มดลูกอยู่ในสภาวะแวดล้อมที่ไม่เหมาะแก่การตั้งครรภ์ และยากต่อตัวอ่อนที่จะอยู่รอดได้

แก้ไขได้อย่างไร
คำแนะนำคือต้องเปลี่ยนการใช้ชีวิตของตัวเอง พร้อมทั้งปฏิบัติตามที่คุณหมอแนะนำอย่างเคร่งครัด สำหรับเบาหวานควรควบคุมให้อยู่ในระดับปกติ ส่วนไทรอยด์สามารถรักษาได้ด้วยยา

5. ภาวะรังไข่มีถุงน้ำหลายใบ
ทำไมจึงทำให้แท้ง
ภาวะนี้เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการแท้งซ้ำๆ ผู้หญิงที่มีถุงน้ำในรังไข่หลายใบจะมีฮอร์โมนเทสโทสเทอโรน ซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศชายสูงกว่าปกติ ดังนั้นจึงมีผลต่อกระบวนการการตกไข่และการมีประจำเดือน และยังทำให้มีอินซูลินในกระแสเลือดมากผิดปกติอีกด้วย

แก้ไขได้อย่างไร
ปัจจุบันยังไม่มีการรักษาโรคโดยตรง จึงรักษาไปตามอาการที่เกิด โดยการใช้ยากระตุ้นการตอบสนองของอินซูลิน เช่น เมตฟอร์มิน ซึ่งจะช่วยลดการเกิดการแท้งได้ดี

6. การติดเชื้อแบคทีเรีย
ทำไมจึงทำให้แท้ง
มีแบคทีเรียอยู่ 2 ชนิดที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดการแท้ง ได้แก่ ไมโคพลาสม่า โฮมินิส และ ยูเรียพลาสม่า ยูเรียไลติคัม ซึ่งทั้งสองชนิดนี้จะอาศัยอยู่ในอวัยวะเพศทั้งผู้หญิงและผู้ชาย การติดเชื้อแบคทีเรียนี้จะทำให้เยื่อบุมดลูกเกิดการอักเสบ และส่งผลให้ตัวอ่อนไม่เจริญเติบโต การติดเชื้อแบคทีเรียนี้จะไม่มีอาการใดๆแสดงออกมา แต่สามารถพบได้ด้วยการตรวจว่าคุณแม่หรือคุณพ่อมีพาหะอยู่หรือไม่

แก้ไขได้อย่างไร
การรักษาการติดเชื้อนี้ทำได้ง่ายๆด้วยการให้ยาปฏิชีวนะ

7. ไลฟ์สไตล์ของคุณแม่ (สูบบุหรี่ กินเหล้า เมายา และอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เป็นพิษ)
ทำไมจึงทำให้แท้ง
สารนิโคตินสามารถผ่านเข้าไปสู่รกผ่านระบบเลือดและมีผลต่อการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ และมีโอกาสแท้งได้มากกว่าคุณแม่ที่ไม่สูบบุหรี่ถึง 2 เท่า การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากกว่า 2 แก้วต่อวันก็เสี่ยงแท้งด้วยเช่นกัน รวมถึงการใช้สารเสพติดด้วย นอกจากนี้คุณแม่ที่ทำงานในฟาร์ม ห้องผ่าตัด ร้านทันตกรรม และห้องแล็บในโรงพยาบาล มีอัตราเสี่ยงแท้งสูงกว่าอาชีพอื่นๆโดยไม่ทราบสาเหตุ

แก้ไขได้อย่างไร
เลิกพฤติกรรมที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดการแท้งให้หมด แค่นี้คุณแม่ก็จะประสบความสำเร็จในการตั้งครรภ์มากขึ้น หรือหากคุณกังวลเรื่องสถานที่ที่ทำงานอยู่ ลองปรึกษาขอคำแนะนำจากคุณหมอและเจ้านายเพื่อหาทางออกและแก้ไขปัญหา
ทรีช่าทิ้งท้ายว่า “ฉันไม่รู้เลยว่าทำไมจึงแท้ง แต่ 2 เดือนต่อมาฉันก็สามารถตั้งท้องได้อีกครั้ง ลูกคนที่สองของฉันคลอดหลังจากวันเกิดลูกคนโตในสองสัปดาห์ถัดมา” ดังนั้นคุณแม่ที่ผ่านประสบการณ์เลวร้ายต้องรีบให้กำลังใจตัวเอง และลุกขึ้นมาสู้ใหม่อีกครั้งนะคะ”

อย่าปล่อยผ่านความเศร้า เมื่อสูญเสียลูก รวมรายชื่อหน่วยงานรัฐฟื้นฟูจิตใจแม่แท้งบุตร

https://w1.med.cmu.ac.th/obgyn/index.php?option=com_content&view=article&id=1379:recurrent-pregnancy&catid=45&Itemid=561

ทำไมถึงแท้งบุตร : สาเหตุจากด้านพันธุกรรมหรือสิ่งแวดล้อม?

บทความจากพันธมิตร
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดบ้านต้อนรับคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยาก ชวนทำความรู้จัก คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก ที่พร้อมให้บริการแบบ One Stop Service
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดบ้านต้อนรับคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยาก ชวนทำความรู้จัก คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก ที่พร้อมให้บริการแบบ One Stop Service
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

Angoon

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • ทำไมถึงแท้งบุตร: สาเหตุจากด้านพันธุกรรมหรือสิ่งแวดล้อม?
แชร์ :
  • นี่คือวิธีที่คุณต้องป้องกันลูกน้อยพ้นจากภูมิแพ้

    นี่คือวิธีที่คุณต้องป้องกันลูกน้อยพ้นจากภูมิแพ้

  • กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

    กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

  • นี่คือวิธีที่คุณต้องป้องกันลูกน้อยพ้นจากภูมิแพ้

    นี่คือวิธีที่คุณต้องป้องกันลูกน้อยพ้นจากภูมิแพ้

  • กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

    กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์ไปให้กับคุณ