มะเร็งต่อมหมวกไต ในเด็ก แม้จะเป็นมะเร็งที่เกิดได้น้อยมาก แต่กลับว่าเด็กส่วนใหญ่นั้นป่วยเป็นโรคมะเร็งต่อมหมวกไตถึง 1 ใน 10 ของโรคมะเร็งที่พบในผู้ใหญ่เลยทีเดียว ที่สำคัญมะเร็งต่อมหมวกไตที่พบในเด็กมักจะถูกตรวจพบเมื่อป่วยถึงระยะที่ 4 ไปแล้ว จึงยากต่อการรักษาแพทย์จึงต้องใช้วิธีรักษามะเร็งชนิดนี้ด้วยยาเคมีบำบัดและผ่าตัด ซึ่งมีผลต่อร่างกายและจิตใจ ดังนั้นเด็กๆ ที่เป็นโรคมะเร็งต่อมหมวกไต จึงต้องมีสภาพจิตใจแข็งแรงเพราะสำคัญมากต่อการรักษา
มะเร็งต่อมหมวกไต ในเด็กเกิดจากปัจจัยเสี่ยงอะไรบ้าง
ก่อนหน้านี้มีคุณแม่เปิดเผยเรื่องของของลูกตนเองว่ามะเร็งต่อมหมวกไตระยะที่ 4 สาเหตุที่ลูกเป็นมะเร็งมาจากการที่คุณแม่กินหวาน กินนม กินเห็ด กินขนมปัง นมถั่วเหลือง เนยเทียมตอนตั้งครรภ์ ทำให้คุณแม่โทษตัวเองที่เป็นสาเหตุให้ลูกเป็นมะเร็งต่อมหมวกไต
มะเร็งต่อมหมวกไตเกิดกับเด็กแรกเกิด
แพทยวินิฉัยว่ามะเร็งต่อมหมวกไตสามารถเกิดได้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์ของมารดา จนถึงเด็กที่มีอายุไม่เกิน 15 ปี และสามารถเกิดขึ้นได้กับเด็กทุกช่วงอายุ ทั้งเพศชายและเพศหญิง โดยมีอัตราเกิดโรคน้อยกว่าผู้ใหญ่ คิดเป็นประมาณ 1 ใน 10 ของโรคมะเร็งในผู้ใหญ่
มะเร็งต่อมหมวกไตมีมากในประเทศไทย
โรคมะเร็งต่อมหมวกไตในเด็กพบว่าปัจจุบันประเทศไทยมีอุบัติการณ์ของเด็กป่วยเป็นโรคมะเร็งรายใหม่ประมาณ 1,000 รายต่อปี โดยมะเร็งเม็ดเลือดขาวพบได้มากกว่าร้อยละ 50 ของโรคมะเร็งทั้งหมดในเด็ก รองลงมา ได้แก่ โรคมะเร็งสมอง โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง และโรคมะเร็งต่อมหมวกไต
มะเร็งต่อมหมวกไตเกิดจากโรคทางพันธุกรรม
โรคมะเร็งในเด็กหลายชนิดเกิดจากหลายปัจจัยร่วมกัน ซึ่งโรคมะเร็งต่อมหมวกไต คือ ความผิดปกติทางพันธุกรรมอย่างโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว โรคมะเร็งจอตา นอกจากนี้ ยังเกิดจากการได้รับรังสีบางชนิดปริมาณสูงขณะอยู่ในครรภ์ เช่น รังสีเอกซ์ (รังสีในการตรวจวินิจฉัยและรักษาโรค) รังสีแกมม่า เป็นต้น อาจเป็นปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว
มะเร็งต่อมหมวกไตเกิดจากอาหารการกิน
การรับประทานผักและผลไม้ที่มีสารปนเปื้อนจากยาฆ่าแมลง เชื้อราในถั่วลิสง ข้าวโพด อาหารตากแห้งที่มีความชื้นมาก เช่น หอม กระเทียม พริกแห้ง การบริโภคอาหารที่ผ่านกระบวนการถนอมอาหาร ใส่สารกันบูด สารปรุงแต่งรส สีสันต่างๆ หรือรมควัน ก็เป็นสาเหตุร่วมที่ทำให้เกิดมะเร็งต่อมหมวกไตได้
มะเร็งต่อมหมวกไตเกิดจากการติดเชื้อโรคร้ายจากครรภ์มารดา
หากมีการเกิดจากการติดเชื้อของมารดาในขณะตั้งครรภ์ เช่น การติดเชื้อไวรัส เอชไอวี (HIV) ก็เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองบางชนิด การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิด บี ซี รวมทั้งการขาดสารบางชนิดของมารดาขณะที่ตั้งครรภ์ เช่น วิตามินบี 9
บทความที่เกี่ยวข้อง: 11 สัญญาณเสี่ยง ลูกอาจเป็นมะเร็ง
สาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งต่อมหมวกไตในผู้ใหญ่
ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งต่อมหมวกไตในผู้ใหญ่ยังไม่แน่ชัด ซึ่งอาจมาจากปัจจัยทางสุขภาพดังต่อไปนี้
1. วัณโรคต่อมหมวกไต: หลังผ่านพ้นขั้นตอนทางการแพทย์สำหรับวัณโรคต่อมหมวกไต การทำงานของต่อมหมวกไตจะถดถอยเรื้อรัง ทำให้เกิดโรคมะเร็งต่อมหมวกไตได้
2. โรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง: โรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเองที่เกิดขึ้นฉับพลันทำให้ต่อมหมวกไตชั้นนอกหดตัวลง เป็นสาเหตุการเกิดโรคที่พบได้มากที่สุดในปัจจุบัน
3. มะเร็งในตำแหน่งอื่นๆ ของร่างกายลุกลามถึงต่อมหมวกไต เป็น 26% – 50% ของมะเร็งต่อมหมวกไต เช่น มะเร็งทางเดินอาหาร มะเร็งปอด มะเร็งเต้านม มะเร็งต่อมไทรอยด์ มะเร็งไฝ เป็นต้น
ประเภทของโรคมะเร็งต่อมหมวกไตในเด็กและผู้ใหญ่
- มะเร็งต่อมหมวกไตชั้นนอกจะพบได้น้อยมากมักพบในหญิงอายุ 30 – 60 ปี เป็นเนื้องอกร้ายซึ่งเกิดขึ้นในเนื้อเยื่อชั้นนอกของต่อมหมวกไต ซึ่งไม่เพียงแต่จะทำลายเนื้อเยื่อปกติของต่อมหมวกไต ยังสามารถรุกล้ำออกไปยังเนื้อเยื่อไขมันโดยรอบ กระทั่งไปยังไตที่อยู่ข้างเดียวกันอีกด้วย
- มะเร็งต่อมหมวกไตชั้นใน เป็นเนื้องอกที่เกิดขึ้นบริเวณเนื้อเยื่อชั้นในของต่อมหมวกไต ในส่วนประสาทซิมพาเทติกหรือที่ตำแหน่งอื่นๆ เป็นก้อนเนื้อแข็งขรุขระ เนื้อเยื่อกล้ามเนื้อค่อนข้างต่ำ เมื่อเซลล์เนื้องอกตาย กลายเป็นถุงน้ำรวมถึงมีเลือดออก ความหนาแน่นก็จะไม่เท่ากัน ก้อนเนื้องอกมักจะมีเยื่อหุ้ม เนื้องอกที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่อาจจะเติบโตเกินขอบเขต ทั้งยังทะลุออกจากเยื่อหุ้มและรุกล้ำไปยังเนื้อเยื่อรอบข้างได้ง่าย
- มะเร็งลุกลามมาที่ต่อมหมวกไต หรือ มะเร็งปฐมภูมิ (จุดเกิดมะเร็ง) ที่พบเห็นได้บ่อยที่สุดคือ มะเร็งปอดและมะเร็งเต้านม รองลงมาคือ กระเพาะอาหาร ลำไส้ใหญ่ ตับอ่อน เป็นต้น แต่มักจะไม่มีอาการ ซึ่ง CT จะแสดงให้เห็นว่าต่อมหมวกไตข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้างใหญ่เล็กไม่เท่ากัน เห็นเงารูปร่างของก้อนเนื้อขรุขระ ความหนาแน่นไม่เท่ากัน กลายเป็นถุงน้ำได้ง่าย มีเลือดออก ซึ่งโรคนี้มักจะพบโดยบังเอิญจากการตรวจ CT ด้วยสาเหตุอื่น หากพบจุดเกิดมะเร็ง ก็จะสามารถวินิจฉัยได้แน่ชัด
Adrenal Gland = ต่อมหมวกไต, Kidney = ไต
การวินิจฉัยโรคมะเร็งต่อมหมวกไตในเด็ก
มะเร็งต่อมหมวกไตสำหรับเด็กเล็กๆ มีการวินิฉัยโรคโดยใช้ขั้นตอนและวิธีการเช่นเดียวกับผู้ใหญ่ โดยการซักประวัติ ตรวจร่างกาย ตรวจวิเคราะห์เม็ดเลือด สำหรับวิธีที่ได้ผลดีและแน่นอนที่สุด คือ การเจาะ ดูด หรือการตัดชิ้นเนื้อไปตรวจสอบทางเซลล์วิทยาหรือพยาธิวิทยา สำหรับอาการของโรคมะเร็งต่อมหมวกไตในเด็กโดยปกติมักจะไม่มีอาการเฉพาะ หรือสามารถระบุอาการต่างๆ ได้ชัดเจนเหมือนผู้ใหญ่ ต้องอาศัยความเอาใจใส่ และการสังเกต ซึ่งอาการที่พบได้บ่อย คือ คลำพบก้อนเนื้อผิดปกติในร่างกายมีอาการไข้สูงโดยจะเป็นๆ หายๆ มีจุด จ้ำ เป็นห้อเลือดง่าย มีจุดเลือดตามลำตัว แขน หรือขา อาการจะคล้ายคนเป็นไข้เลือดออก และอ่อนเพลียง่าย
ระยะของโรคมะเร็งต่อมหมวกไตในเด็กแบ่งออกเป็น 4 ระยะ
- ระยะที่1 ก้อนมะเร็งยังมีขนาดเล็ก ยังจำกัดอยู่เฉพาะที่ ยังไม่ลุกลามเข้าเนื้อเยื่อหรืออวัยวะอื่นๆ ที่อยู่ใกล้เคียง
- ระยะที่2 ก้อนมะเร็งขนาดใหญ่ขึ้น และเริ่มลุกลามมากขึ้น
- ระยะที่3 ก้อนมะเร็งโตมากขึ้น และลุกลามเข้าเนื้อเยื่อและอวัยวะใกล้เคียง
- ระยะที่4 ก้อนเนื้อมะเร็งลุกลามรุนแรง แพร่กระจายเข้าต่อมน้ำเหลือง และแพร่กระจายเข้าสู่กระแสเลือดไปยังอวัยวะต่างๆ ทั่วร่างกาย โรคมะเร็งในเด็กส่วนใหญ่มีความรุนแรงของโรคสูง แต่มีโอกาสรักษาให้หายได้ ขึ้นอยู่กับระยะของโรค
อาการโรคมะเร็งต่อมหมวกไตที่พบได้ทั่วไป
- มะเร็งต่อมหมวกไตเกิดจากเนื้องอกจากเนื้อเยื่อชั้นนอกและชั้นในของต่อมหมวกไต เนื้องอกที่ทำให้การทำงานของต่อมไร้ท่อเปลี่ยนแปลงไป จึงเรียกว่า Functioning Tumor ส่วนเนื้องอกที่ไม่ทำให้การทำงานของต่อมไร้ท่อเปลี่ยนแปลงไป เรียกว่า Non-functioning tumors
- ภาวะ Hypercortisolism เนื่องจากต่อมหมวกไตหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอลมากขึ้น อาจเกิดจากการงอกขยายเพิ่มขึ้นของเนื้อเยื่อชั้นนอกต่อมหมวกไตหรือเกิดจากเนื้องอก จะปรากฏอาการหน้าบวม เกิดก้อนไขมันบริเวณต้นคอ ( หนอกควาย ) อ้วนลงพุง อีกทั้งแขนขาเล็ก ปวดเอวและหลัง ความดันโลหิตสูง ขนขึ้นหนาแน่น ผมร่วง เป็นสิว เกิดความผิดปกติทางเพศ ประจำเดือนขาดหรือประจำเดือนน้อยลง
- ต่อมเพศผิดปกติ เกิดจากเนื้องอกที่ต่อมหมวกไตชั้นนอก จะทำให้อวัยวะสืบพันธุ์เจริญเร็ว เกิดภาวะทวิเพศแบบหญิงและทวิเพศแบบชาย
- อาการหลักของเนื้องอกชนิด pheochromocytoma คือ ความดันโลหิตสูงและการเปลี่ยนแปลงของเมแทบอไลต์ ความดันโลหิตสูงขึ้น หัวใจเต้นไม่สม่ำเสมอ หายใจถี่ ปวดหัว เหงื่อออก เกิดความเครียด แขนขาสั่น
วิธีการตรวจวินิจฉัยมะเร็งต่อมหมวกไต
มะเร็งต่อมหมวกไตจะได้รับการตรวจอย่างละเอียดโดยการนำเลือดและปัสสาวะของผู้ป่วยไปตรวจ สามารถจำแนกเป็น Functioning tumor กับ Non-functioning tumors
1. การตรวจ CT เป็นการตรวจวินิจฉัยมะเร็งต่อมหมวกไตอีกขั้นหนึ่ง ซึ่งการตรวจวินิจฉัยมะเร็งต่อมหมวกไตด้วย CT จะแสดงให้เห็นปัจจัยที่มีความเกี่ยวข้อง เช่น ขนาดของก้อนเนื้อ ไขมันรอบไตมีมากหรือไม่ รวมถึงความหนาแน่นของก้อนเนื้ออยู่ใกล้กับไขมันโดยรอบหรือไม่ เป็นต้น
2. การตรวจ MRI มีความสำคัญต่อการตรวจมะเร็งต่อมหมวกไตชนิด Pheochromocytoma ซึ่ง MRI สามารถแสดงให้เห็นลักษณะเนื้อเยื่อที่ CT ไม่สามารถแสดงให้เห็นได้
3. การตรวจอัลตราซาวด์ เป็นการตรวจอันดับแรกในการคัดกรองมะเร็งต่อมหมวกไต ซึ่งมีประโยชน์ต่อการตรวจดูตำแหน่งก้อนเนื้อ ขนาด รวมทั้งความเกี่ยวข้องกับเนื้อเยื่อรอบข้างในระดับหนึ่ง ผู้เชี่ยวชาญของโรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจวเตือนว่า เมื่อพบว่าร่างกายมีอาการไม่สบายใด ๆ ก็ควรรีบไปตรวจวินิจฉัยและปรึกษาแพทย์ที่โรงพยาบาลทันที
เทคโนโลยีทางการแพทย์สำหรับโรคมะเร็งต่อมหมวกไต
1. การผ่าตัดเนื้อร้ายเพื่อรักษามะเร็ง มะเร็งต่อมหมวกไตต่อมหมวกไตซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงทางพยาธิวิทยาที่ค่อนข้างจำกัดสามารถผ่าตัดออกได้ แต่สำหรับผู้ป่วยที่มีก้อนเนื้องอกหรือเนื้อร้ายที่ค่อนข้างใหญ่ มีการกลับมาเป็นซ้ำและลุกลาม ส่วนใหญ่จะไม่สามารถผ่าตัดออกได้
2. เทคโนโลยีการผ่าตัดแบบบาดแผลเล็ก ปัจจุบันผู้ป่วยที่ไม่สามารถผ่าตัดเนื้องอกหรือผ่าตัดแล้วกลับมาเป็นซ้ำและลุกลาม สามารถใช้วิธีการแบบบาดแผลเล็กได้ด้วยวิธีการทำความเย็น โดยเทคโนโลยีนี้คือ การทำความเย็นภายใต้การนำของเครื่องอัลตราซาวด์หรือ CT ทำลายเซลล์มะเร็ง มีผลต่อเนื้อเยื่อปกติโดยรอบในวงแคบ และมีความปลอดภัยสูง อีกวิธีคือการใช้คลื่นความถี่สูง ซึ่งเป็นการนำเข็มขั้วไฟฟ้าเจาะลงไปในเนื้องอก อาศัยคลื่นความถี่สูง จะทำให้โมเลกุลของเนื้อเยื่อรอบๆ เข็มสั่นสะเทือนและเสียดสีกันจนเกิดความร้อน ทำให้ก้อนเนื้อแข็งตัวและตายไป ทำลายเซลล์มะเร็งที่มีชีวิต
ผู้ป่วยมะเร็งต่อมหมวกไตควรได้รับการดูแลอย่างไร
- สภาพจิตใจสำคัญเหนือสิ่งอื่นใดในการรักษามะเร็งต่อมหมวกไต ผู้ป่วยควรมองโลกในแง่ดีและสร้างความเชื่อมั่นที่จะเอาชนะโรค
- ผู้ป่วยมะเร็งต่อมหมวดไตควรพักผ่อนมากๆ การพักคือวิธีรักษาโรคที่ดีที่สุด โดยหลีกเลี่ยงการออกกำลังอย่างหนักและบาดแผลบริเวณช่องท้อง บวมโตค่อนข้างเห็นได้ชัด ควรใช้สายโยงกางเกงรัดแทนเข็มขัด เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้ก้อนเนื้อแตก โดยทั่วไปให้ตรวจซ้ำทุกครึ่งปี
- ดูแลเรื่องอาหารอาหารการกิน มะเร็งต่อมหมวกไตนั้นไม่ทานอาหารรสเค็มเกินไป ทั้งอาหารหมักดองเพราะมีส่วนผสมของเกลือ ไม่ทานอาหารรสเผ็ด พริก กุ้ง ปู เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ไม่รับประทานอาหารที่ปนเปื้อนสาร อาหารประเภทปิ้งย่าง สำหรับผู้ป่วยที่ไตทำงานไม่สมบูรณ์หรือปัสสาวะเป็นพิษควรระมัดระวังงดทานอาหารประเภทถั่วและผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง จำกัดการทานอาหารที่มีโปรตีนจากสัตว์สูง อาหารที่มีไขมันสูงเป็นต้น
- ผู้ป่วยมะเร็งต่อมหมวกไตต้องป้องกันการติดเชื้อ ต้องรักษาความสะอาดตนเองอยู่สม่ำเสมอ ทั้งที่อยู่ เสื้อผ้า อาหาร ของใช้ส่วนตัว
- หมั่นตรวจสุขภาพโรคแทรกซ้อนอื่นๆ เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดภาวะไตทำงานไม่สมบูรณ์ ควรควบคุมความดันโลหิตสูง เบาหวาน และควรดูแลเอาใจใส่ทุกๆ ด้านอย่างเป็นประจำทุกวัน จึงจะทำได้ง่ายและฟื้นฟูรวดเร็ว
บทความที่น่าสนใจ:
โรคมะเร็งในเด็ก เป็นได้ตั้งแต่เกิด แม่ท้องต้องดูแลตัวเองให้ดี ถ้าไม่อยากให้ลูกป่วยเป็นมะเร็ง
มาตุนอาหารต้านมะเร็งสำหรับเด็ก 15 ชนิดนี้กันเถอะ
ที่มา : bangkokhatyai , mgronline , moderncancerthai
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!