เนยถั่ว คนท้องกินได้ไหม กินแล้วลูกจะแพ้ถั่วหรือเปล่า

กินเนยถั่ว ทำให้ลูกเกิดมาแพ้ถั่วจริง ๆ หรือ ? (ภาพโดย azerbaijan_stockers จาก freepik.com)

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

คุณแม่หลายคนชอบกิน เนยถั่ว แต่ก็กลัวว่ากินถั่วแล้วลูกจะแพ้ถั่ว วันนี้ เราจะมาหาคำตอบกัน ว่าความเชื่อดังกล่าว จริงมากน้อยแค่ไหน กินเนยถั่วตอนท้อง ทำให้ลูกแพ้ถั่วได้จริง ๆ หรือไม่

 

เนยถั่วคืออะไร

เนยถั่ว คือ อาหารที่มีลักษณะเนื้อข้นเหนียว คล้ายแยมผลไม้ที่เรากินกันกับขนมปัง ทำจากถั่วลิสงหลัก ๆ มักนำมาทานคู่กับขนมปังหรือแซนด์วิช คนในแถบประเทศอเมริกาเหนือ สหรัฐอเมริกา และเนเธอร์แลนด์ นิยมรับประทานกัน อย่างในประเทศไทยเราเอง ก็มีหลายคนที่ชอบรับประทานเนยถั่ว ซึ่งเนยถั่วก็หาซื้อได้ทั่วไปตามซูเปอร์มาร์เก็ต นอกจากนี้ เนยถั่วยังเป็นอาหารที่มีโปรตีนสูง เป็นแหล่งโปรตีน มีไขมันและสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย รวมทั้งรสชาติยังอร่อยถูกปากใครหลายคน

 

เนยถั่ว กินตอนท้องแล้วจะทำให้ลูกแพ้ถั่วจริงหรือ

ในช่วงที่คุณแม่ตั้งครรภ์ ฮอร์โมนและภูมิคุ้มกันในร่างกายคุณแม่จะเกิดการเปลี่ยนแปลง ทำให้ร่างกายตอบสนองต่ออาหาร หรือย่อยอาหารไม่เหมือนเดิม ดังนั้น จึงเป็นเรื่องธรรมดา ที่คุณแม่จะกังวลเมื่อต้องทานอาหารบางชนิด และกลัวว่าเด็กจะแพ้อาหารหรือเด็กอาจเป็นโรคต่าง ๆ ซึ่งจากผลสำรวจของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (CDC) ของสหรัฐอเมริกา ก็พบว่า เด็ก ๆ 1 ใน 13 คน มักจะมีอาการแพ้อาหาร โดยอาหารที่แพ้ส่วนใหญ่ คือ ถั่วลิสง และ ถั่วเปลือกแข็ง ในปัจจุบัน นักวิจัยก็กำลังทำการศึกษากันอยู่ ว่าทำไมเด็กหลาย ๆ คนที่เกิดมาจึงมีอาการแพ้อาหาร

 

อย่างไรก็ตาม หากคุณแม่ที่กำลังท้อง ชอบทานเนยถั่วอยู่แล้ว ก็ไม่ต้องกลัวว่าเนยถั่วจะทำให้ลูกแพ้ถั่ว เพราะจากงานวิจัยหลาย ๆ ชิ้นชี้ว่า การรับประทานเนยถั่วในขณะที่ตั้งครรภ์ ไม่ได้เป็นอันตรายต่อเด็ก ๆ และไม่ทำให้เด็กแพ้ถั่ว ตราบใดที่คุณแม่ไม่ได้แพ้ถั่ว แม้ในสมัยก่อนหลาย ๆ คนจะเชื่อกันว่า การกินถั่วจะทำให้เด็กแพ้ถั่ว แต่ปัจจุบัน ได้มีการวิจัยศึกษาเพิ่มเติม จนได้ข้อสรุปว่า สิ่งที่คนเชื่อกันนั้น ไม่เป็นความจริง

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

นอกจากนี้ ยังมีงานวิจัยอีกชิ้น ที่พบว่า เนยถั่วอาจจะช่วยลดความเสี่ยง ไม่ให้เด็กที่เกิดมาแพ้ถั่วได้ แถมยังอาจช่วยไม่ให้เด็กพิการตั้งแต่กำเนิดได้อีกด้วย ดังนั้น หากต้องการทานเนยถั่วเป็นอาหารว่างขณะตั้งครรภ์ ก็สามารถทำได้เลย

บทความที่เกี่ยวข้อง : น้อยหน่า คนท้องกินได้ไหม ผลไม้หน้าฝน รสหวาน ดีต่อครรภ์ด้วยหรือเปล่า

 

เนยถั่ว ดีต่อแม่และเด็ก (ภาพโดย azerbaijan_stockers จาก freepik.com)

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

เนยถั่ว ดีต่อครรภ์ยังไง

เนยถั่วอุดมไปด้วยกรดไขมันไม่อิ่มตัว สารต้านอนุมูลอิสระ และโฟเลต ซึ่งมีประโยชน์ต่อคุณแม่และเด็กในครรภ์ ดังนี้

 

1. ลดความเสี่ยงไม่ให้แพ้ถั่วได้ง่าย

แม้ก่อนหน้า จะมีคนที่เชื่อว่าเนยถั่ว ทำให้เด็กในท้องเเพ้ถั่วได้ แต่ตอนนี้ กลับมีงานวิจัยที่ชี้ว่า เนยถั่วช่วยลดอาการแพ้ถั่วในเด็กได้ ยิ่งคุณแม่รับประทานถั่วมากเท่าไหร่ ก็จะยิ่งช่วยไม่ให้เด็กเเพ้ถั่วได้ง่ายมากยิ่งขึ้น แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็ไม่ใช่ว่าคุณแม่จะทานเนยถั่วทั้งวัน จนไม่ยอมกินอาหารประเภทอื่นเลย แม้ว่าเนยถั่วจะมีประโยชน์ แต่ทานมากไปก็ไม่ดี ควรทานอาหารที่มีประโยชน์อย่างอื่นร่วมด้วย เพื่อให้ตนเองและลูกได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนระหว่างการตั้งครรภ์

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

2 เนยถั่วเป็นแหล่งไขมันดีที่ดีต่อสุขภาพ

เนยถั่ว ประกอบไปด้วยไขมันอิ่มตัวที่ดีต่อครรภ์ ซึ่งไขมันที่อยู่ในเนยถั่ว จะมีส่วนช่วยให้ทารกมีพัฒนาการทางสมองและร่างกายที่ดี สมวัย ช่วยลดความเสี่ยงไม่ให้คุณแม่คลอดก่อนกำหนด แถมยังช่วยให้เด็กที่เกิดมามีน้ำหนักตัวที่สมบูรณ์ นอกจากนี้ เนยถั่วยังช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลที่ไม่ดีในร่างกายของคุณแม่ได้อีกด้วย

 

3. ช่วยให้แม่และเด็กได้รับโฟเลตอย่างเพียงพอ

โฟเลต ถือเป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อครรภ์อย่างมาก เพราะช่วยให้เด็กมีพัฒนาการที่ดีสมวัย ซึ่งเนยถั่วเองก็มีโฟเลตอยู่สูง โดยถั่วลิสงในเนยถั่ว 100 กรัมนั้น จะมีโฟเลตอยู่ประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนโฟเลตที่ร่างกายควรได้รับต่อวัน หากคุณแม่ชอบทานเนยถั่วอยู่แล้ว ก็ทานต่อไปได้ และสามารถเริ่มกินเนยถั่วได้ตั้งแต่ในไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์

บทความที่เกี่ยวข้อง : สะตอ ของอร่อยจากปักต์ใต้ คนท้องกินได้ไหม มีประโยชน์และโทษยังไง

 

4. มีโปรตีนสูง

คนท้องหลายคน ไม่สามารถรับประทานเนื้อสัตว์ หรืออาหารหลาย ๆ ชนิดได้ในช่วงที่ตั้งครรภ์ ซึ่งอาจส่งผลให้ร่างกายขาดโปรตีนไป และทำให้เด็กเจริญเติบโตได้ไม่เต็มที่ อย่างไรก็ตาม คุณแม่สามารถรับประทานเนยถั่วแทนได้ เพื่อชดเชยโปรตีนเหล่านั้น เพราะเนยถั่วมีโปรตีนสูง เพียงแค่รับประทานเนยถั่ว 100 กรัม ก็จะได้รับปริมาณโปรตีนที่ร่างกายต้องการภายในหนึ่งวันแล้ว

 

5. ช่วยป้องกันไม่ให้ลูกพิการแต่กำเนิด

นอกจากเนยถั่วจะมีโปรตีน โฟเลต และไขมันอิ่มตัวที่ดีแล้ว ก็ยังมีสารอาหารอย่างแคลเซียม วิตามิน และธาตุเหล็ก ที่ช่วยให้เด็กที่เกิดมามีสุขภาพดี กระดูกแข็งแรง และช่วยลดความเสี่ยงไม่ให้เด็กเป็นโรคโลหิตจาง หรือเกิดมาพิการได้

 

เนยถั่วโปรตีนสูง (ภาพโดย azerbaijan_stockers จาก freepik.com)

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

6. ช่วยลดความเหนื่อยล้าและทำให้ความจำดีขึ้น

เนื่องจากว่าผู้หญิงที่ตั้งครรภ์จะมีฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงไป จึงอาจรู้สึกเหนื่อยได้ง่าย แม้จะทำกิจกรรมเบา ๆ ที่ไม่ได้ออกแรงเยอะก็ตาม ซึ่งวิตามินและเเร่ธาตุที่อยู่ในเนยถั่ว มีส่วนช่วยให้คุณแม่เหนื่อยน้อยลง นอกจากนี้ เนยถั่วก็ยังช่วยให้คุณแม่มีความจำดีขึ้น และช่วยให้เลือดไปเลี้ยงสมองได้มากยิ่งขึ้น หากว่าช่วงตั้งครรภ์ คุณแม่หลง ๆ ลืม ๆ บ่อย ให้ลองทานเนยถั่ว เพื่อช่วยฟื้นฟูความจำได้

 

7.  ช่วยไม่ให้อารมณ์แปรปรวน

ผู้หญิงตั้งครรภ์มักจะอารมณ์ขึ้น ๆ ลง ๆ เนื่องจากฮอร์โมนในร่างกายเปลี่ยนแปลงบ่อย ห้านาทีที่แล้ว คุณแม่อาจจะกำลังร้องไห้ และสิบนาทีต่อมา ก็อาจกำลังนั่งหัวเราะอยู่ ซึ่งเนยถั่วประกอบไปด้วยกรดอะมิโนอย่างทริปโตเฟน ที่มีส่วนช่วยผลิตสารเซโรโทนิน หรือฮอร์โมนแห่งความสุขนั่นเอง ดังนั้น การทานเนยถั่ว ก็จะช่วยให้ร่างกายหลั่งสารแห่งความสุขมากขึ้น จนอารมณ์ดีขึ้นนั่นเอง

 

อย่างไรก็ตาม ยังมีอาหารอีกหลาย ๆ ชนิดที่คุณแม่ควรทานและไม่ควรทานระหว่างการตั้งครรภ์ ทางที่ดีที่สุด คุณแม่ควรเข้าปรึกษาคุณหมอระหว่างการตั้งครรภ์ตามนัด เพื่อปรึกษา ตรวจครรภ์ และเข้าพูดคุยเกี่ยวกับการปฏิบัติตัว และการรับประทานอาหารให้ปลอดภัยต่อตนเองและลูกในท้อง หากเราทานอาหารที่ดี มีประโยชน์ รวมทั้งหมั่นดูแลตัวเองให้ดีแล้วล่ะก็ ลูก ๆ ของเราก็จะเกิดมาสุขภาพแข็งแรง และพร้อมจะใช้ชีวิตอยู่บนโลกใบนี้ได้เหมือนกับเด็กคนอื่น ๆ ค่ะ

 

บทความที่เกี่ยวข้อง :
ข้าวโพด คนท้องกินได้ไหม รสชาติหวานแสนอร่อย แต่จะดีต่อแม่และเด็กหรือไม่
คนท้องกินกล้วยไข่ ได้ไหม? กล้วยไข่มีประโยชน์ต่อคุณแม่และทารกอย่างไร?
มะยงชิดผลไม้สุดฮิต ช่วงหน้าร้อน คุณแม่ท้องกินมะยงชิดได้ไหม? 

ที่มา : whmcenter , verywellfamily , healthypregnancy

 

บทความโดย

Kanokwan Suparat