มาถึงร้านอาหารแต่ไม่รู้ว่าจะกินอะไรดี แต่สั่งเส้นบะหมี่หยกมาด้วย คนท้องกินหมี่หยกได้ไหม เกิดความสงสัยขึ้นในจิตใจ เพราะกลัวว่ากินไปแล้วจะส่งผลไม่ดีหรือเปล่า คนท้องยิ่งต้องเลือกทานอาหารให้ดี หาอาหารทานได้ยาก หาคำตอบไปพร้อม ๆ กับเรากันเลย
สีเขียวของหมี่หยกมาจากไหน ?
สำหรับใครที่กำลังสงสัยว่าทำไมหมี่หยกถึงเป็นสีเขียวนั้น วัตถุดิบ และส่วนผสมต่าง ๆ ที่ใช้ในการทำหมี่เส้นบะหมี่หยกนั้นค่อนข้างคล้ายกับบะหมี่ไข่เส้นสีออกเหลืองที่เราคุ้นเคยกัน ซึ่งก็คือมีแป้งสาลี, ไข่ไก่, สารละลายด่าง ปละเกลือ แต่สิ่งที่เพิ่มเข้ามา คือ การที่จะต้องเติมน้ำคะน้าคั้นลงไปแทนการใช้น้ำทั่วไปในขั้นตอนการทำเส้นนั่นเอง เพราะน้ำคะน้าที่สีเขียวนี้เอง ทำให้เส้นหมี่จึงเปลี่ยนเป็นสีเขียวตามไปด้วย
ดังนั้นที่เส้นบะหมี่มีสีเขียวมาจากใบคะน้า ขั้นตอนในการทำนั้นก็ไม่ยาก ด้วยการนำคะน้ามาปั่นกับน้ำ แล้วกรองกากออก แล้วนำน้ำคะน้าที่ได้มาผสมเข้ากับแป้ง จะช่วยให้บะหมี่มีสีเขียว จากนั้นให้นำแป้งมานวดให้เนียน เพียงเท่านี้ก็เรียบร้อยแล้ว โดยปกติแล้ว เส้นบะหมี่หยก จะมีความกว้างมากกว่าเส้นบะหมี่ไข่ทั่วไปเล็กน้อย จึงทำให้สัมผัสในการทานบะหมี่หยกนั้น จะค่อนข้างนุ่ม และเหนียวกว่าการกินหมี่ไข่อย่างแน่นอน
บทความที่เกี่ยวข้อง : คนท้องกินถั่วงอกได้ไหม เจอในก๋วยเตี๋ยว ผัดไทย ระวังอ่านด่วน !
คนท้องกินหมี่หยกได้ไหม ?
แม่ท้องสงสัยว่าตนเองจะสามารถกินหมี่เส้นเขียว อย่างหมี่หยกได้หรือไม่ เส้นเหนียวนุ่ม ไปจนถึงเส้นร้อน ๆ ในหม้อชาบู อาจทำให้คุณแม่อดใจไม่ไหว ถ้าอยากทานก็สามารถทานได้ตามปกติ เพราะเส้นที่มีสีเขียวนั้นไม่ได้มาจากสารเคมี หรือสีผสมอาหาร แต่ความปลอดภัยก็ต้องขึ้นอยู่กับยี่ห้อของเส้น หรือสุขอนามัยของทางร้านด้วยนะ แม่ท้องอย่าลืมถามร้านก่อนว่าลวกมาแล้วหรือยัง หากยังคุณแม่ก็สามารถลวกทานได้เองเลย และระวังการทานในปริมาณหลายถ้วย อาจทำให้น้ำหนักของคุณแม่พุ่งโดยไม่รู้ตัวได้
หมี่หยกก่อนทานต้องลวกก่อนหรือไม่ ?
สำหรับแม่ท้องที่มีความสงสัยว่าก่อนทานบะหมี่หยกต้องลวกก่อนหรือไม่ เส้นบะหมี่ไม่ว่าชนิดไหนการจะลวกหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับทางร้านอาหารร้านนั้น ว่าลวกมาแล้วหรือยัง กรณีที่ลวกมาแล้ว แม่ท้องสามารถนำไปลวกซ้ำได้หรือไม่ก็ตามใจ หากไม่ลวกเส้นจะมีความแข็งกว่า หากลวกซ้ำเส้นจะมีความนุ่มขึ้นนั่นเอง สำหรับร้านที่ไม่ได้ลวกมาให้แน่นอนว่าแม่ท้องควรจะลวกเอง ดังนั้นก่อนที่จะทานควรสอบถามทางร้านก่อนว่าลวกเส้นหมี่หยกมาแล้วหรือยัง หากยังเราก็มีวิธีลวกเส้นมาแชร์กัน
6 ขั้นตอนลวกเส้นหมี่หยก ให้คนท้องกินง่าย ปลอดภัย
หากทางร้านอาหารยังไม่ลวกมาให้ คุณแม่สามารถนำลงไปลวกในหม้อได้เลย ใช้เวลาไม่เกิน 1 นาที ในน้ำต้มที่ร้อนจัด สำหรับการซื้อมาลวกเอง เราก็มีขั้นตอนง่าย ๆ ที่ทำได้สะดวก และอร่อย ดังนี้
- เริ่มจากการตั้งน้ำให้เดือดก่อน แล้วใส่น้ำส้มสายชูลงไป การทำแบบนี้จะช่วยให้เส้นบะหมี่มีความเงางามน่าทานมากขึ้น
- กรณีที่ทำที่บ้าน ให้เลือกที่จะตั้งน้ำในกระทะแทนการตั้งน้ำในหม้อ เพราะกระทะจะทำให้น้ำนั้นเดือดตลอด ดีต่อการลวกเส้น ส่วนหม้อก้นลึกจะหยุดเดือดเมื่อนำเส้นลงไป
- ก่อนนำเส้นลงไปลวก ให้คลี่บะหมี่ให้คลายตัวออกเป็นเส้น อย่าให้ติดกัน และใส่กระชอนล้างน้ำเอาแป้งออก
- เมื่อน้ำที่ตั้งไว้เดือดจัดแล้วให้โรยเส้นลงไป พยายามให้เส้นแผ่ออก กระจายให้ทั่วกระทะ แล้วใช้ตะเกียบเกลี่ย ๆ ให้ทั่ว ใช้เวลาลวกประมาณ 1 นาที ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับเส้นแต่ละยี่ห้อด้วย
- เมื่อครบเวลาแล้ว ยกบะหมี่หยกขึ้นให้สะเด็ดน้ำ แล้วเอาลงแช่ลงในน้ำเย็นทันที เพื่อให้เส้นอยู่ตัว การทำแบบนี้จะทำให้เส้นกรอบอร่อย
- ใส่เส้นหมี่ลงในชามคลุกน้ำมันกระเทียมเจียวให้ทั่ว เพราะจะช่วยให้เส้นหมี่ไม่ติดกัน แถมยังเป็นส่วนผสมที่ทำให้เส้นหมี่หยกอร่อยขึ้นด้วย
คนท้องทานหมี่หยกแบบไม่ลวกได้ไหม ลวกไม่ลวกแบบไหนอ้วนกว่า ?
ความจริงแล้วการทานแบบไม่ลวกซ้ำก็สามารถทานได้ตามที่กล่าวไป หากมั่นใจว่าทางร้านมีความสะอาด ถูกสุขลักษณะ ทางด้านของ พญ.ธิดากานต์ รุจิพัฒนกุล เจ้าของหนังสือ เมื่อหมอติด COOK ได้ให้ข้อมูลไว้ว่าการกินแบบไม่ลวก จะทำให้มีโอกาสที่จะอ้วนน้อยกว่า เนื่องจากการทำให้เส้นร้อนจัดก่อนรับประทาน สามารถกระตุ้นให้เกิดปริมาณน้ำตาลได้มากกว่าตามไปด้วย แต่อย่างไรก็ตามสำหรับแม่ท้องที่กลัวว่าน้ำหนักจะขึ้น ต่อให้กินแบบไม่ลวกซ้ำ แต่ถ้าหากกินหลายก้อนก็ทำให้เสี่ยงน้ำหนักขึ้นอยู่ดี
บทความที่เกี่ยวข้อง : คนท้องกินเผือก กินมันเทศ ได้ไหม ? ไม่กินระวังพลาดของดี
สารอาหารในบะหมี่หยก
หากเทียบปริมาณทั่วไปที่ 100 กรัม จะได้รับพลังงาน 138 กิโลแคลอรี แต่ในปริมาณโดยปกติ หรือเทียบ 1 ถ้วย ปริมาณจะอยู่ที่ประมาณ 160 กรัม จะให้พลังงานมากถึง 220 กิโลแคลอรี ส่วนในเรื่องของสารอาหาร ก็ถือว่ามีอยู่หลากหลายด้วยกัน นำมาโดยไขมัน, คาร์โบไฮเดรต, โปรตีน, โพแทสเซียม และโซเดียม รวมถึงวิตามินบางชนิดเพียงเล็กน้อยเท่านั้น การกินหมี่หยก 1 ถ้วย จะทำให้ร่างกายได้รับคอเลสเตอรอล 40 กรัม ซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักของเส้นหมี่หยก
โดยปกติแล้วการทานบะหมี่หยกโดยทั่วไป มักจะมาควบคู่กับการทานอาหารที่ใช้หม้อต้ม ชาบู หรือหม้อไฟ เป็นต้น ซึ่งทำให้ทานง่าย ประกอบกับการทานกับครอบครัว อาจส่งเสริมให้แม่ท้องมีความเจริญอาหารมากขึ้นด้วย กรณีนี้อาจส่งผลให้เกิดความเสี่ยงที่แม่ท้องจะทานบะหมี่หยกปริมาณมาก จนทำให้น้ำหนักขึ้นได้ จึงต้องจำกัดปริมาณการทานให้ดี เพราะเนื้อต่าง ๆ ในหม้อก็ให้พลังงานสูงมากอยู่แล้ว
การเลือกทานอาหารสำหรับแม่ท้องที่ยุ่งยากนี้ ตลอดทั้ง 3 ไตรมาส อาจทำให้แม่ท้องท้อแท้จิตใจ และเหนื่อยต่อการต้องกินอาหารให้ถูกหลักครบ 5 หมู่ แต่รับรองได้เลยว่าทารกในครรภ์จะได้ประโยชน์ไปด้วยอย่างแน่นอน
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
คนท้องกินขนมครกได้ไหม หอม ๆ มัน ๆ อันตรายกว่าที่คิดนะ
คนท้องกินเกาลัดได้ไหม หอม หวาน ต้องเลี่ยงหรือไม่เลี่ยง ?
คนท้องกินหมูยอได้ไหม หาซื้อง่าย แต่มีอันตรายถ้าเลือกไม่ดี
ที่มา : calforlife, sanook, facebook