X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
Product Guide
เข้าสู่ระบบ
  • TAP Awards
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ถุงยางแตกทำไง ปัญหาข้องใจวัยรุ่น รับมืออย่างไรเมื่อถุงยางเกิดรั่ว?

บทความ 5 นาที
ถุงยางแตกทำไง ปัญหาข้องใจวัยรุ่น รับมืออย่างไรเมื่อถุงยางเกิดรั่ว?

ถุงยางแตกทำไง คำถามคาใจวัยรุ่น เมื่อถุงยางแตก หลายคนจึงมีความกังวล ตื่นตระหนก และไม่สบายใจ แต่หากเรารู้วิธีป้องกันที่ถูกต้อง ก็จะช่วยลดความเสี่ยงและสามารถแก้ไขปัญหานี้ได้อย่างทันท่วงที อย่างไรก็ตาม วิธีการป้องกันอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ วัยรุ่นจำเป็นต้องรู้สาเหตุของถุงยางแตก และวิธีการเลือกใช้ถุงยางอนามัยที่ถูกต้อง เพื่อให้เราได้เตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้น เราจึงได้รวบรวมวิธีการรับมือเมื่อถุงยางแตก และเกร็ดความรู้ในการเลือกใช้ถุงยางที่ถูกต้องมาฝากกันครับ

 

ถุงยาง สำคัญอย่างไร?

ถุงยาง (Condom) มีความสำคัญกับวัยรุ่น และผู้ที่ยังไม่พร้อมมีบุตรอย่างมาก เนื่องจากถุงยาง สามารถป้องกันการกำเนิดได้ รวมถึงยังช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อีกด้วย ถุงยางอนามัยช่วยคุมกำเนิดและป้องกันกามโรคได้ดี แต่อย่างไรก็ตาม การสวมถุงยางเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์อย่างเดียวนั้น อาจไม่สามารถป้องกันได้ 100% อีกทั้งยังมีโอกาสหลุดหรือรั่วในขณะมีเพศสัมพันธ์ได้บ่อยด้วย ดังนั้น วัยรุ่นควรจะรู้วิธีการรับมือเมื่อถุงยางแตก วิธีการป้องกัน และการเลือกใช้ถุงยางที่ถูกต้อง เพื่อป้องกันถุงยางแตกในการมีเพศสัมพันธ์ในอนาคต

 

ถุงยางแตก เกิดขึ้นได้อย่างไร?

ถุงยางแตกเกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ วัยรุ่นและผู้ไม่พร้อมมีบุตรจึงควรเข้าใจสาเหตุของการแตก เพื่อป้องกันการกำเนิดบุตร และโรคติดต่อเมื่อมีเพศสัมพันธ์ โดยสาเหตุหลัก ๆ ที่ทำให้ถุงยางแตก มีดังนี้

  • การใช้ถุงยางที่ผิดขนาดหรือเล็กจนเกินไป : เมื่อผู้ใช้เลือกถุงยางที่มีขนาดใหญ่หรือเล็กเกินไปกว่าอวัยวะเพศของตน จะส่งผลให้บริเวณปลายของถุงยาง ไม่มีพื้นที่รองรับอสุจิที่หลั่งออกมา ภายหลังจากการมีเซ็กส์ วัยรุ่นควรจะรู้ขนาดของถุงยางที่เหมาะสมกับตัวเอง โดยอาจปรึกษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ หรือใช้วิธีลองสวมถุงยางหลาย ๆ ขนาดได้

 

  • การใช้ถุงยางที่หมดอายุหรือเก็บในอุณหภูมิที่สูงหรือต่ำเกินไป : การใช้ถุงยางที่หมดอายุแล้ว และการใช้ถุงยางที่เก็บไว้ในอุณหภูมิที่สูงหรือต่ำเกินไปนั้น ทำให้ประสิทธิภาพของถุงยางลดลงอย่างมาก เพราะมีโอกาสที่ถุงยางจะขยายตัวหรือหดลง ดังนั้น ผู้ใช้ควรจะดูวันที่หมดอายุก่อนสวมทุกอย่างทุกครั้ง และหลีกเลี่ยงการใช้ถุงยางที่เก็บไว้ในที่ที่อุณหภูมิต่างกัน

 

  • การใช้สารหล่อลื่นไม่เพียงพอ : การสวมถุงยาง โดยใช้สารหล่อลื่นที่ไม่เพียงพอ อาจทำให้ถุงยางแตกได้ วัยรุ่นควรใช้สารหล่อลื่นเพื่อช่วยให้การมีเพศสัมพันธ์ง่ายขึ้น โดยเฉพาะการมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก จำเป็นต้องใช้สารหล่อลื่นเพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดถุงยางแตก 

 

  • การใช้สารหล่อลื่นที่มีความเหลวเกินไป : การใช้สารหล่อลื่นที่เหลวเกินไป โดยเฉพาะสารหล่อลื่นประเภท น้ำมัน จะเพิ่มความเสี่ยงให้ถุงยางแตกได้ง่ายขึ้น ควรจะเลือกใช้สารหล่อลื่นประเภท เจล มากกว่า เพื่อป้องกันถุงยางแตก

 

  • เผลอกัดหรือฉีกถุงยางจนเกิดขาดโดยไม่รู้ตัว : บ่อยครั้งที่คู่หลับนอนมักเผลอกัดหรือฉีกถุงยางจนแตกโดยไม่รู้ตัว นั่นเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ถุงยางแตกขณะมีเพศสัมพันธ์ได้ ผู้ใช้ควรค่อย ๆ แกะถุงยาง และค่อย ๆ สวม เพื่อป้องกันการฉีกขาด หรือรั่วไหลของถุงยางได้

 

  • การสอดใส่ลำบาก : การสอดใส่ที่ลำบากอาจทำให้ถุงยางแตกได้เช่นกัน วัยรุ่นควรจะใช้ถุงยางและสารหล่อลื่นควบคู่ เพื่อทำให้มีเพศสัมพันธ์ได้ง่ายขึ้น รวมทั้งควรมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่รุนแรงจนเกินไป จึงสามารถลดความเสี่ยงของการเกิดถุงยากแตกได้

บทความที่เกี่ยวข้อง : 5 ความเข้าใจผิด ๆ ของการใช้ถุงยางอนามัย

 

ถุงยางแตกทำไง

 

รับมืออย่างไรเมื่อถุงยางแตก?

การรับมือและรู้ทันกับสถานการณ์อย่างทันท่วงที เป็นเรื่องที่ดี และยังทำให้เราเผชิญกับผลลัพธ์ที่เลวร้ายได้น้อยลง วัยรุ่นจึงจำเป็นที่จะรู้วิธีการรับมืออย่างปลอดภัย เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดปัญหาเช่นนี้ในอนาคต โดยวิธีการรับมือเมื่อถุงยางแตกนั้น มีดังนี้

  • หากถุงยางแตกในระหว่างมีเพศสัมพันธ์ให้หยุดกิจกรรมบนเตียงทันที : หากถุงยางอนามัยแตกในช่วงการมีเพศสัมพันธ์ทั้งภายในและภายนอก ผู้มีเพศสัมพันธ์ทั้งคู่ควรหยุดการมีเซ็กส์ทันที และให้พิจารณาว่าได้หลั่งอสุจิไปไหม และหลั่งภายในและภายนอก หากถุงยางแตกหลังจากการหลั่งภายใน อาจมีโอกาสที่อสุจิอาจเข้าไปในร่างกายฝ่ายหญิงได้

 

  • รีบชำระล้างและขับของเหลวที่อยู่ภายในร่างกายให้มากที่สุด : พยายามเข้าห้องน้ำและรีบปัสสาวะในทันที ไม่ฉีดน้ำหรือล้างช่องคลอดเด็ดขาด เพราะมีโอกาสที่จะทำให้เกิดความเสี่ยงในการตั้งครรภ์ หรือโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์มากขึ้น ฝ่ายหญิงควรจะล้างอวัยวะเพศตัวเองด้วยน้ำอุ่น โดยการนั่งยอง ๆ หรือนั่งบนโถส้วมได้ หรือหากมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก ก็ไม่ควรใช้น้ำฉีดเข้าไปล้างเช่นกัน ให้ใช้วิธีอุจจาระ เพื่อรีบขับอสุจิที่ตกค้างออกมามากที่สุด 

 

  • รีบเข้าพบแพทย์เพื่อตรวจสุขภาวะทางเพศและเชื้อเอชไอวีทันที : หลังจากการมีเพศสัมพันธ์ วัยรุ่นควรเข้าพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจสุขภาวะทางเพศ และเชื้อเอสไอวีโดยเร็วที่สุด ไม่ควรเกิน 14 วัน เพื่อการป้องกันและสามารถแก้ปัญหาได้อย่างทันท่วงที

 

  • รับประทานยาคุมกำเนิด : การรับประทานยาคุมกำเนิด เป็นวิธีที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในการป้องกันการตั้งครรภ์ เนื่องจากหาซื้อได้ง่าย และยังช่วยป้องกันการตั้งครรภ์ได้ อย่างไรก็ตาม การรับประทานยาคุมเพียงอย่างเดียว อาจไม่สามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ดังนั้น ฝ่ายหญิงควรปรึกษากับแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ เพื่อรู้จักการรับยาและดูแลร่างกายให้ถูกวิธี

 

วิธีการเลือกใช้ถุงยางที่ถูกต้อง

  1. เลือกถุงยางที่เหมาะสมกับขนาดอวัยวะเพศของตน ไม่ควรเลือกถุงยางที่มีขนาดเล็กหรือใหญ่จนเกินไป
  2. ไม่ใช้ถุงยางที่หมดอายุ หรือถุงยางที่เก็บไว้ในอุณหภูมิที่สูงหรือต่ำจนเกินไป หากใช้ถุงยางหมดอายุ อาจทำให้ขนาดของถุงยาง หดหรือขยายเพิ่มขึ้นได้
  3. ใช้ถุงยางเพียงครั้งเดียว ห้ามนำมาใช้ซ้ำโดยเด็ดขาด การนำถุงยางกลับมาใช้ซ้ำ อาจทำให้เกิดความเสี่ยงต่อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อย่างมาก
  4. ห้ามกัดถุงยางหรือแกะด้วยของมีคมต่าง ๆ เช่น เล็บ กรรไกร หรือ คัตเตอร์ เป็นต้น 
  5. ไม่ใช้สารหล่อลื่นคู่กับถุงยางจนมากเกินไป ควรใช้อย่างพอประมาณ และเลือกใช้สารหล่อลื่นประเภท เจล มากกว่าประเภท น้ำ
  6. สวมถุงยางเพียงชิ้นเดียว หากสวมถุงยางอนามัยมากกว่าหนึ่งชิ้น มีโอกาสที่ถุงยากจะแตกได้ง่ายขึ้น
  7. ตรวจสอบถุงยางทุกครั้งก่อนมีเพศสัมพันธ์ หากถุงยางขาด หรือไม่มั่นใจว่าถุงยางชิ้นนั้นรั่วหรือไม่ ควรเปลี่ยนชิ้นมากกว่าการเสี่ยงใช้
  8. ไม่พกถุงยางไว้ในพื้นที่เสี่ยง เช่น กระเป๋ากางเกง กระเป๋าเงิน หรือพื้นที่เสี่ยงที่อาจทำให้ถุงยางแตกขาดได้

 

เมื่อถุงยางแตก ไม่ควรตื่นตระหนกและกังวลมากจนเกินไป ผู้มีเพศสัมพันธ์ทั้งสองควรร่วมกันปรึกษาปัญหา โดยอาจปรึกษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และพยายามหาข้อมูลวิธีการป้องกันให้มากที่สุด เพื่อจะช่วยลดปัญหาการตั้งครรภ์ในช่วงวัยเรียนหรือไม่พร้อม และยังช่วยลดความเสี่ยงของโรคร้าย ที่จะตามมาหลังการมีเพศสัมพันธ์ได้ด้วย การเลือกใช้และการใช้ถุงยางอนามัยอย่างถูกวิธี จึงเป็นเรื่องที่เราควรรู้ เพื่อสามารถแก้ไขปัญหานี้ได้อย่างถูกต้อง

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

เลือก ถุงยางอนามัย อย่างไร ถึงจะเจอในแบบที่ใช่สำหรับคุณ

วิธีใส่ถุงยางอนามัย ข้อควรระวังในการใส่ถุงยางอนามัย ถุงยางอนามัยป้องกันอะไรได้บ้าง

วิธีคุมกําเนิด แบบไหนดีที่สุด! กินยาคุม ใส่ถุงยาง ฝังเข็มยาคุม หรือทำหมันเลยดีไหม

ที่มาข้อมูล : 1, 2

บทความจากพันธมิตร
ผลวิจัยล่าสุด MFGM  สุดยอดสารอาหาร เพื่อ IQ /EQ ที่เหนือกว่าของลูกน้อยในวัย 5 ขวบ
ผลวิจัยล่าสุด MFGM สุดยอดสารอาหาร เพื่อ IQ /EQ ที่เหนือกว่าของลูกน้อยในวัย 5 ขวบ
เด็กสมาธิสั้น ดื้อ ซน อารมณ์รุนแรง มีโอกาสรักษาหายไหม?
เด็กสมาธิสั้น ดื้อ ซน อารมณ์รุนแรง มีโอกาสรักษาหายไหม?
เด็กดื้อ เด็กซน ใช่อาการเด็กสมาธิสั้นหรือไม่ โรคสมาธิสั้น คืออะไร ทำไมต้องรีบพาลูกไปรักษา
เด็กดื้อ เด็กซน ใช่อาการเด็กสมาธิสั้นหรือไม่ โรคสมาธิสั้น คืออะไร ทำไมต้องรีบพาลูกไปรักษา
ผ้าห่อตัวทารก มีกี่ประเภท การเลือกซื้อผ้าห่อตัวให้ลูกต้องเลือกอย่างไร ?
ผ้าห่อตัวทารก มีกี่ประเภท การเลือกซื้อผ้าห่อตัวให้ลูกต้องเลือกอย่างไร ?

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Sittikorn Klanarong

  • หน้าแรก
  • /
  • วัยรุ่น
  • /
  • ถุงยางแตกทำไง ปัญหาข้องใจวัยรุ่น รับมืออย่างไรเมื่อถุงยางเกิดรั่ว?
แชร์ :
  • แชร์เคล็ด(ไม่)ลับลดปัญหาไม่สบายท้องของลูกรัก

    แชร์เคล็ด(ไม่)ลับลดปัญหาไม่สบายท้องของลูกรัก

  • เมื่อลูกน้อยหายใจครืดคราด ต้องดูแลอย่างไร จึงจะปลอดภัยกับเด็ก

    เมื่อลูกน้อยหายใจครืดคราด ต้องดูแลอย่างไร จึงจะปลอดภัยกับเด็ก

  • จุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหาร ทารกไม่สมดุล ระวังลูกเป็นโรค!

    จุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหาร ทารกไม่สมดุล ระวังลูกเป็นโรค!

  • แชร์เคล็ด(ไม่)ลับลดปัญหาไม่สบายท้องของลูกรัก

    แชร์เคล็ด(ไม่)ลับลดปัญหาไม่สบายท้องของลูกรัก

  • เมื่อลูกน้อยหายใจครืดคราด ต้องดูแลอย่างไร จึงจะปลอดภัยกับเด็ก

    เมื่อลูกน้อยหายใจครืดคราด ต้องดูแลอย่างไร จึงจะปลอดภัยกับเด็ก

  • จุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหาร ทารกไม่สมดุล ระวังลูกเป็นโรค!

    จุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหาร ทารกไม่สมดุล ระวังลูกเป็นโรค!

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว